Resume กับ Curriculum Vitae แตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด

หนึ่งในคำถามที่ผู้สมัครงานต้องเจอกันแน่ๆก็คือเรื่องของการทำ CV ซึ่งแม้ว่าคุณจะเป็นนักเรียนจบใหม่ หรือเป็นคนที่ทำงานมา 10 ปีแล้วกำลังหางานใหม่ก็ต้องกลับมาทบทวนเรื่อยๆ ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า CV คืออะไรและแปลว่าอะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และวิธีการเขียน CV ที่ดี จนผู้รับสมัครต้องเรียกคุณมาสมัครงานให้ได้เลย มีอย่างไรบ้าง

สำหรับคนที่รู้ข้อมูลพื้นฐานแล้วอยากจะข้ามไปส่วนองค์ประกอบและวิธีการเขียนเลย สามารถกดตรงนี้ได้เลยนะครับ

CV คืออะไร (Curriculum Vitae)

Curriculum Vitae หรือ CV แปลว่าประวัติย่อ หมายถึงการจัดทำเอกสารเพื่อ อธิบายเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของคุณด้านการทำงานและด้านการเรียน CV ส่วนมากรวมถึงประสบการณ์ทำงานการเรียน และ ความสำเร็จหรือรางวัลต่างๆ มักใช้ในการสมัครงานแนววิชาการหรือที่ต้องลงรายละเอียดเยอะ

ในประเทศไทย คนส่วนมากแนะนำว่า CV ควรจะมีความยาวประมาณ 2 หน้าขึ้นไป อย่างไรก็ตามความยาวส่วนนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทำงานและสิ่งที่คุณเรียนมาอีกทีด้วย บริษัทในต่างประเทศหลายที่ก็ระบุไว้ว่า ‘CV จะยาวเท่าไหร่ก็ได้ตราบใดที่มีข้อมูลครบทุกอย่าง’

และแน่นอนว่าฝ่ายบุคคลในบางบริษัทก็ยังใช้คำว่า CV และ Resume สลับกันไปมา ซึ่งในส่วนนี้ผมจะอธิบายข้อแตกต่างกันอีกที แต่โดยเบื้องต้นแล้วก่อนที่จะยื่นเอกสารสมัครงาน เราก็ควรสังเกตเนื้องานที่สมัครและวิเคราะห์ว่าต้องให้ข้อมูลด้านไหนบ้างถึงจะเหมาะสม 

Curriculum Vitae (CV) จะเป็นเอกสารสมัครงานด้านวิชาการที่ลงรายละเอียดการทำงานและการศึกษาของคุณที่มีความยาวอย่างน้อย 2 หน้ากระดาษขึ้นไป ส่วน Resume จะเป็นเอกสารสมัครงานทั่วไปที่จะรวมถึงทักษะ คุณสมบัติ ล้างประวัติการทำงาน โดยรวมแล้ว Resume ที่ดีไม่ควรยาวเกิน 1-2 หน้า

อย่างแรกเลยก็คือข้อแนะนำด้านบนเป็นแค่ข้อแนะนำสำหรับคนที่เพิ่งจบใหม่หรือทำงานมาไม่กี่ปีเท่านั้น หากคุณทำงานมา 10 ถึง 20 ปี โอกาสที่คุณจะย่อยข้อมูลทุกอย่างให้อยู่ใน 1 ถึง 2 หน้ากระดาษก็คงทำได้ยาก (ยกเว้นว่าคุณจะคัดมาแค่เนื้อหาส่วนที่จำเป็นจริงๆ) ในกรณีนี้ Resume ของผู้ที่มีประสบการณ์ก็เลยอาจจะดูคล้าย CV นิดหน่อย

อีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของ ‘การใช้คำศัพท์’ บริษัทจากประเทศอเมริกาจะนิยมใช้คำว่า Resume ส่วนบริษัทฝั่งยุโรปจะชอบคำว่า CV ซึ่งหลายบริษัทจากประเทศเหล่านี้ก็มักใช้เป็นคำทดแทนกันไปเลย ทางที่ดีที่สุดก็คือให้เราศึกษาจากเนื้องานที่กำลังสมัคร แล้วค่อยตัดสินอีกทีว่าจะเขียนยาวหรือลงรายละเอียดมากแค่ไหน 

สรุปก็คือ หากเป็นงานวิชาการก็ลงรายละเอียดหน่อย ถ้าหากเป็นงานทั่วไปก็ให้ใส่รายละเอียดแค่ส่วนที่จำเป็นสำหรับการทำงาน โดยให้เน้นประสบการณ์หรือความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับเนื้องาน

หากคุณกำลังเขียน CV อยู่ ในส่วนต่อไปผมจะมีตัวอย่างแล้วก็องค์ประกอบต่างๆของ CV อธิบายไว้ ให้นำสิ่งเหล่านี้ไปปรับให้เหมาะกับประสบการณ์ทำงานและการเรียนของคุณได้เลยนะครับ 

องค์ประกอบของ CV ที่ดี (ต้องใส่ให้ครบ)

ถึงแม้ว่า CV ควรจะลงข้อมูลให้ละเอียดเข้าไว้ แต่โดยรวมแล้วเราก็ต้องปรับเนื้อหาใน CV ให้เหมาะกับสถานที่หรือเนื้องานที่เรากำลังจะสมัครเข้าไปด้วย และเพื่อที่จะทำให้ CV ของคุณมีความโดดเด่นเหนือคนอื่น คุณก็ควรใส่องค์ประกอบดังนี้ 

รูปภาพของคุณ*
ข้อมูลการติดต่อ
ประวัติการศึกษา (ประวัติด้านวิชาการ)
ประสบการณ์ทำงาน
คุณสมบัติและทักษะต่างๆ
สิ่งพิมพ์ด้านวิชาการ (Publications)
ทุนเรียนและทุนวิจัยต่างๆ
ใบอนุญาตและใบรับรอง
งานอาสาสมัคร 
ข้อมูลส่วนตัว (ใส่ได้แต่ไม่จำเป็น) 
งานอดิเรกและสิ่งที่สนใจ (ใส่ได้แต่ไม่จำเป็น) 

*รูปภาพ เป็นองค์ประกอบของ CV ที่ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทเลย จากประสบการณ์ของผม องค์กรประเทศไทยยังใช้รูปภาพในการสมัครอยู่ แต่สำหรับองค์กรต่างประเทศอย่างของอเมริกาหรือยุโรปก็อาจจะไม่ได้ยอมการใส่รูปภาพ แต่ตราบใดที่คุณยังมีรูปภาพให้ดูเป็นมืออาชีพอยู่ ส่วนนี้ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร 

วิธีเขียน CV ให้คนสัมภาษณ์ถูกใจ 

ในส่วนที่แล้วผมได้อธิบายองค์ประกอบต่างๆไปแล้ว ที่นี้ผมจะลงรายละเอียดอีกทีว่าในแต่ละองค์ประกอบต้องเขียนอย่างไรบ้าง

#1 ข้อมูลติดต่อของคุณ 

ในส่วนนี้รวมถึงชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ อีเมล และที่อยู่ โดยข้อมูลที่ควรระวังที่สุดก็คือชื่ออีเมลของคุณ หากคุณยังใช้อีเมลที่ตั้งเล่นๆตอนอยู่โรงเรียน ผมก็แนะนำให้คุณสร้างอีเมลใหม่ที่ดูเป็นมืออาชีพมากกว่านี้  

#2 เรียกประวัติการศึกษาจากล่าสุดในอดีต 

รวมถึงประวัติการศึกษาตั้งแต่ปริญญาเอกย้อนลงมาถึงระดับมัธยมปลายเลย อย่างน้อยที่สุดก็ควรที่จะรวมประวัติการศึกษา 2 สถาบันล่าสุด (แปลว่าหากคุณเรียนถึงปริญญาเอก คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเรียนตอนมปลายก็ได้) 

สาเหตุที่นำประวัติการศึกษาขึ้นก่อนก็เพราะว่า CV เป็นเอกสารสมัครงานด้านวิชาการที่ให้ความสำคัญกับความรู้เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นแล้ว ผู้อ่านส่วนมากของบทความนี้น่าจะยังเป็นคนที่เพิ่งเริ่มสมัครงานใหม่ๆ อาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ทำงานที่โดดเด่นมากนัก

#3 เรียงประสบการณ์จากล่าสุดไปอดีต 

เช่นเดียวกันกับประวัติการศึกษา เราก็ควรที่จะเรียงประวัติการทำงานจากล่าสุดไปยังอดีตเหมือนกัน หากเป็นไปได้ให้พยายามอธิบายเนื้อหางานให้กระชับและอยู่ในประโยคสั้นๆพอ เพราะพื้นที่ส่วนมากในช่วงนี้ควรจะเน้นไปที่ความสำเร็จและโปรเจคใหญ่ๆ ที่สามารถวัดผลได้แล้วจะทำให้คุณโดดเด่นจากผู้สมัครคนอื่น 

หลายๆคนที่เรียนจบมาสักพักแล้ว (หรือรู้สึกว่าประสบการณ์ทำงานตัวเองโดดเด่นกว่าประวัติการศึกษา) ก็สามารถขยับประสบการณ์ทำงานขึ้นมาก่อนประวัติการศึกษาก็ได้ 

#4 คุณสมบัติและทักษะต่างๆ

เป็นการแยกพื้นที่ออกมาเพื่ออธิบายลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ที่คุณคิดว่าช่วยสนับสนุนและทำให้ CV ดูโดดเด่นขึ้นมาได้ ให้เลือกเฉพาะคุณสมบัติหรือทักษะที่โดดเด่น หรือมีความเกี่ยวข้องกับเนื้องานที่คุณกำลังสมัคร 

เช่น หากคุณไม่ได้สมัครงานเกี่ยวกับด้านดนตรี คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องบอกว่าเล่นกีต้าร์ก็ได้ ยกเว้นว่าคุณจะเป็นแชมป์กีตาร์ระดับมหาลัยหรือเคยออกอัลบั้มส่วนตัว 

#5 สิ่งพิมพ์ด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง

ส่วนนี้ก็เหมาะสำหรับการเขียน CV ที่ใช้สมัครงานด้านวิชาการเป็นพิเศษ ซึ่งก็รวมถึงงาน Presentation งานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ หนังสือต่างๆ หรือข้อมูลต่างๆที่คุณเผยแพร่ออกไปที่เกี่ยวข้องกับอาชีพหรือการศึกษาของคุณ

สำหรับสื่อตีพิมพ์ ใช้ใส่ชื่อผู้แต่ง วันที่ถูกตีพิมพ์ คำอธิบาย และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้หมดนะครับ ส่วนสำหรับงานพรีเซ้นต์ ให้ใส่ชื่อหัวข้อ วันที่ และสถานที่ที่เราไปพรีเซ้นต์งาน

#6 ข้อมูลอื่นๆที่สนับสนุนประวัติคุณ

อย่างที่ผมอธิบายไว้ว่า CV นั้นควรที่จะรวมข้อมูลให้เยอะที่สุดเพื่อที่จะทำให้ประวัติของเราดูโดดเด่นและแตกต่างจากคนสมัครคนอื่น ในส่วนนี้คุณสามารถใส่ข้อมูลอื่นๆเช่น ทุนวิจัยทุนการศึกษาต่างๆใบอนุญาตใบรับรอง หรือแม้แต่งานอาสาสมัครก็ได้ 

แน่นอนว่าควรจะเลือกข้อมูลที่สำคัญและทำให้คุณโดดเด่นออกมาก่อน ยิ่งสามารถวัดผลได้ หรือสามารถเปรียบเทียบให้ดูโดดเด่นได้ก็ยิ่งดี

สุดท้ายนี้เกี่ยวกับการ CV

เนื่องจากว่า CV เป็นเอกสารที่เราต้องใช้เวลานานในการเขียน ผมแนะนำให้เรียบเรียงข้อมูลที่คุณอยากจะนำเสนอเอามาก่อนแล้วค่อยนำมาจัดเตรียมให้อยู่ในรูปแบบ CV อีกที อย่าลืมว่า CV ก็คือการสื่อสารอย่างหนึ่ง (ในรูปแบบเขียน) และการสื่อสารทุกอย่างก็มีทั้งแบบดีและไม่ดี ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและผู้อ่านเข้าใจได้ยาก 

ข้อแนะนำอย่างไรก็คือให้ไปลองดูในเว็บไซต์ของบริษัทที่กำลังสมัครงานอยู่ก่อน บริษัทหลายๆที่ (โดยองค์กรด้านวิชาการ) มักจะมีตัวอย่างของ CV ให้เรานำไปปรับใช้ ซึ่งในแต่ละบริษัทก็อาจจะมีข้อจำกัดหรือข้อแนะนำที่แตกต่างกันไป หากเป็นไปได้เราก็ควรศึกษาข้อมูลก่อนสมัคร อย่างน้อยที่สุดเราก็จะได้ไม่พลาดอะไรง่ายๆ

อย่างที่สองก็คือให้เอา CV ให้เพื่อนหรือคนรู้จักดูหลายๆคน ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับงานหรือวิชาการที่คุณสมัครก็ได้ บางครั้งเราอาจจะใช้คำศัพท์เฉพาะทางมากเกินไป (ใช้ได้เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเชี่ยวชาญจริง แต่อย่าใช้เกินจำเป็น) ซึ่งจริงๆแล้วผู้คัดกรอง CV ที่อาจจะเป็นฝ่ายบุคคล ก็อาจจะไม่ได้เข้าใจคำศัพท์วิชาการแบบเฉพาะทางมากๆเหล่านี้ก็ได้  

When to use CV vs resume?

The differences between a resume and a CV

  • Length. Since a resume includes your skills and qualifications for a specific role only, it should typically be just one or two pages.
  • Experience/career type. CVs are mostly used to apply for academic roles or programs, grants, fellowships and research or teaching positions.
  • Geographic location. ...

How to create an effective curriculum vitae?

Tips for writing a CV

  • Choose the right format. All three common formats —chronological, functional and combination—work for a CV, but an effective format is combination.
  • Tailor your CV for each application. Each section of your CV should be tailored to the position in order to make it through an ATS and pique the interest of ...
  • Make your CV ATS-friendly. ...

What is difference between resume and CV?

The points given below are substantial, so far as the difference between CV and Resume is concerned:

  • A CV is a descriptive document which lists out all the details about a person’s career. ...
  • A CV is comprehensive while a Resume is concise.
  • The word CV is an abbreviation for Curriculum Vitae, which is a Latin word. ...
  • The length of a resume is shorter as compared to CV.

More items...

How to make CV resume?

writing a resume, think about it from the employer’s perspective and be sure to tailor your resume content to your reader and the job description. Prioritize and select information that enhances your qualifications and only include what is pertinent to the position. Your resume or CV are personal marketing tools. Make