โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง อันตรายไหม

  • 28Apr 17

วิธีสังเกตอาการ “โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง”

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง อันตรายไหม

        กรมการแพทย์ชี้ “โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเอแอลเอส”  มีอาการเตือนกล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบเล็กลงเรื่อย ๆ พูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจติดขัดและหอบเหนื่อยจากการหายใจไม่เพียงพอ หากพบสัญญาณเตือนดังกล่าว  ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยรักษาให้เร็วที่สุด

          นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง  หรือ ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis) จัดเป็นโรคที่พบมากที่สุดในกลุ่มโรคเสื่อมของเซลล์ควบคุมกล้ามเนื้อ ทั้งในส่วนของสมอง และไขสันหลัง โดยมีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบเล็กลงเรื่อย ๆ  บริเวณมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน และจะค่อยๆ เป็นมากขึ้น จนลามไป ทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งหรือกล้ามเนื้อกระตุก ต่อมาจะมีอาการพูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจติดขัดและหอบเหนื่อยจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง จนกระทั่งเสียชีวิต ส่วนใหญ่ร้อยละ75 จะพบอาการเริ่มแรกที่แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่งก่อน ร้อยละ 25 ผู้ป่วยที่แสดงอาการครั้งแรกด้วยการกลืนหรือพูดลำบาก ส่วนสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดจากพันธุกรรม  โรคดังกล่าวมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่เกิดในช่วงอายุ 40 – 60 ปี

          วิธีการสังเกตอาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง  คือ  อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ แขน หรือ ขา หรือมีอาการกลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน ร่วมกับอาการกล้ามเนื้อลีบและกล้ามเนื้อเต้นกระตุก โดยอาการอ่อนแรงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยรักษา โดยแพทย์อายุรกรรมสาขาประสาทวิทยาที่มีประสบการณ์ จะทำการซักประวัติ  ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยการตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้า

          ทั้งนี้  การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ส่วนยาในปัจจุบันที่มีการยอมรับในวงการแพทย์ ช่วยชะลอการดำเนินของโรคได้มีเพียงยา Riluzole โดยมีฤทธิ์ในการยับยั้งสารกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ชนิดหนึ่งซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดการตายของเซลล์  นอกเหนือจากการใช้ยาแล้ว การให้กำลังใจผู้ป่วยไม่ให้เกิดการท้อแท้และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมและทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรง  เพื่อป้องกันการลีบที่เกิดจากภาวะที่กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งานนาน ๆ และป้องกันการติดของข้อ การรับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีปัญหานอนราบไม่ได้หรือเหนื่อย เนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจที่บ้าน จะทำให้ผู้ป่วยนอนได้ไม่เหนื่อย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

Please follow and like us:

Home > โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | สาเหตุสำคัญ อาการ และการรักษา

นายแพทย์ธีระศักดิ์ ศรีเฉลิม
ศัลยแพทย์ทรวงอก


โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ อาการที่เกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจ (สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน หรือที่เราเรียกว่า อาการหัวใจวาย นั่นเอง)

สาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรค

  • พันธุกรรม  สำหรับบุคคลที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • อายุ ที่เพิ่มมากขึ้นจากสถิติพบในเพศชายอายุ ตั้งแต่  40  ปี และเพศหญิงตั้งแต่  45 ปีขึ้นไป
  • เพศ จากสถิติพบว่าเพศชายมีโอกาสและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง
  • การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเล็กลง
  • โรคประจำตัวอื่นๆ  เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เผาผลาญพลังงานน้อย และการสะสมของไขมัน

ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ “ เจ็บแน่นหน้าอก” อาจเป็นภัยเงียบของเส้นเลือดหัวใจตีบ พบแพทย์ด่วน 

สัญญาณเตือนโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับใครที่มีอาการเจ็บหน้าอก สงสัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือไม่? สามารถสังเกตอาการซึ่งเป็นสัญญาณเตือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ดังนี้

  • เจ็บหน้าอก (Chest Pain) ทั้งแบบทันทีทันใดหรือเจ็บเป็นๆ หายๆอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่ค่อยออก  อึดอัด จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เจ็บแน่นคล้ายของหนักมากดทับ หรือบีบรัด  อาจร้าวไปบริเวณต่างๆ เช่น คอ  หัวไหล่หรือแขนด้านซ้ายมักเป็นนานติดต่อกันมากกว่า 20 – 30 นาที นั่งพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • เหนื่อยขณะออกแรง(Dyspnea)
  • เหนื่อย เพลีย  นอนราบไม่ได้ (Congestive Heart Failure)
  • หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น (Unconscious or Cardiac Arrest)

โรคหัวใจรักษาได้ วิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • การรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด เพื่อละลายเลือดที่แข็งตัวและอุดตันอยู่ที่เส้นเลือดแดงหัวใจ
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจ (วิธีบอลลูน) เป็นวิธีที่นิยมมากและได้ผลการรักษาที่ดีกว่าการใช้ยาสลายลิ่มเลือด
  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (วิธีบายพาส) เพื่อให้เลือดมีทางไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากแล้วการรักษาด้วยวิธีนี้ในกรณีที่คนไข้มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันหลายเส้น

Cardiac Catheterization Lab ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ

เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ได้มาตรฐาน และให้ผลที่แม่นยำสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด “ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ” ห้องพิเศษที่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลภาพหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย


การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ผู้ที่มีอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นครั้งแรก จะรู้สึก “เจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย หรือเหนื่อยง่ายกว่าปกติโดยหาสาเหตุไม่ได้” ควรรีบพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง พร้อมทั้งจะได้รับการรักษา และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ยังดีอยู่จะได้ทำงานเป็นปกติต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม การป้องกันไม่ให้เกิดโรค คือ วิธีที่ดีที่สุด ซึ่งเราสามารถป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่
  • ควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • หลีกเลี่ยงอาหารหวาน และเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
  • ทานอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงหัวใจ เช่น ปลาทะเล ผักใบเขียว และผลไม้ อัลมอลด์ ถั่วชนิดต่างๆ ธัญพืชไม่ขัดสี อะโวคาโด น้ำมันมะกอก เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ
  • ฝึกสมาธิ ทำให้จิตใจให้ผ่องใส
  • หมั่นตรวจเช็กสุขภาพของตนเองเป็นประจำ ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี

ไม่กินผัก ผลไม้ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ!


แชร์บทความ

บทความทางการแพทย์

โรคหัวใจอ่อนอันตรายไหม

ชื่อเรียกที่นิยมใช้กันในปัจจุบันก็คือ โรคประสาท หรือ โรคกังวล หรือ โรคประสาทกังวล ซึ่งให้ความหมายได้ตรงกว่าคำว่า หัวใจอ่อนหรือประสาทอ่อน โรคนี้แม้ว่าอาจจะเป็นเรื้อรัง แต่ก็ไม่เป็นอันตรายอะไรมาก คือไม่ทำให้เกิดอาการหัวใจวายตายแบบโรคหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงรักษาอย่างไร

โรคหัวใจรักษาได้ วิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด เพื่อละลายเลือดที่แข็งตัวและอุดตันอยู่ที่เส้นเลือดแดงหัวใจ การขยายหลอดเลือดหัวใจ (วิธีบอลลูน) เป็นวิธีที่นิยมมากและได้ผลการรักษาที่ดีกว่าการใช้ยาสลายลิ่มเลือด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง เป็นอย่างไร

Broken Heart Syndrome หรือ Stress Cardiomyopathy เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด ซึ่งค้นพบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในชื่อเรียกว่า Takotsubo Cardiomyopathy พบมากในหญิงวัยกลางคน มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากโรคทางกาย (Physical Stress) หรือความเครียดด้านจิตใจ (Mental Stress) ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่บีบตัวและ ...

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาได้ไหม

กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด สำหรับวิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะเป็นการรักษาตามอาการและเน้นการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการ ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน