ข้อสอบการค้าระหว่างประเทศ พร้อมเฉลย

Podcast นี้จัดทำโดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และ The Standard ซึ่งได้นำเสนอซีรีย์ Podcast ชื่อว่า 50 Years The Making of The Modern Thai Economy ส่งต่อบทเรียนประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อเปิดทางไปสู่โอกาสแห่งอนาคต

Podcast นี้มีทั้งหมด 6 ตอน ตอนละประมาณ 30-40 นาที เหมาะสำหรับคนที่อยากทำความเข้าใจความเป็นมาของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปี 2489 หรือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในทุกช่วงเวลาจะมีเรื่องของเศรษฐกิจและการเมืองที่สัมพันธ์กันมาโดยตลอด ในบางช่วงเวลาก็เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การเงินของต่างประเทศด้วย รวมไปถึงวิวัฒนาการทางการเงินจนมาถึงปัจจุบัน

เนื้อหาใน Podcast หลายตอนค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนพอสมควร เพราะมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติที่เศรษฐกิจและการเมืองจะมีความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม เด็กการเงิน ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้มาถกเถียงกันในเรื่องการเมืองแต่อย่างใด ทางผู้จัดทำเองก็จัดทำอย่างเป็นกลาง ต้องการเพียงแค่ให้คนที่สนใจได้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของเศรษฐกิจไทยเท่านั้น

สำหรับใครที่อยากอ่านในรูปแบบหนังสือฉบับเต็ม ทางเกียรตินาคินภัทรเปิดให้ดาวน์โหลดหนังสือในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีแล้วที่นี่ >> https://link.kkpfg.com/vqLON

ฟัง Podcast ทั้ง 6 EP ได้ที่ >> https://youtube.com/playlist?list=PLZ0vRaBzdrQ25Vo26IbuFqeZuTZF2BmkI

แต่ละ EP เขาเล่าถึงอะไรบ้าง?

  • EP จุดเริ่มต้นเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ เนื้อเรื่องเล่าเหตุการณ์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างไร สภาพเศรษฐกิจและสังคมสมัยนั้นเป็นอย่างไร และเมื่อเข้าสู่สงครามเย็น รัฐบาลไทยสมัยนั้นมีการเจรจาตกลงกับสหรัฐอเมริกาอย่างไร ทำไมสหรัฐอเมริกาถึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ยังเล่าถึงว่าทำไมประเทศไทยในตอนนั้นจึงเป็นยุครุ่งเรืองของธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว เป็นจุดเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรม มาเป็นประเทศที่มีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว รวมไปถึงจุดเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติระยะยาว

  • EP พลังเจ้าสัว จากเสื่อผืนหมอนใบสู่ยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ เส้นทางของเจ้าสัว หรือนักธุรกิจคนไทยเชื้อสายจีนในหลายธุรกิจชื่อดังมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมถึงเลือกมาตั้งรกรากที่ประเทศไทย เบื้องหลังความสำเร็จของพวกเขานอกจากจะมาจากความขยัน อดทน ฝ่าฟันต่อความยากลำบากแล้ว ส่วนนึงก็ต้องยอมรับว่ามาจากโครงสร้างทางการเมืองไทยด้วย นี่จึงเป็นที่มาของปัญหาความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งในปัจจุบัน

  • EP พลังเทคโนแครต ยุคทองแห่งเศรษฐกิจไทย เนื้อเรื่องเล่าที่มาที่ไปในช่วงทศวรรษที่ 70-80 ว่าทำไมเศรษฐกิจไทยถึงมีความโชติช่วงชัชวาล และสะท้อนออกมาใน GDP ที่สูงมากในระดับที่ว่า GDP ไทยในปัจจุบันยังไม่เคยกลับไปเติบโตได้ใกล้เคียงจุดนั้นอีกเลย นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการให้ “เทคโนเเครต” หรือกลุ่มคนที่มีความรู้ ความสามารถด้านเศรษฐกิจโดยตรง เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจช่วยเศรษฐกิจไทยอย่างไร

  • EP วิกฤตต้มยำกุ้ง จากความเฟื่องฟูสู่หุบเหวทางเศรษฐกิจ ช่วงทศวรรษ 1990 หลากหลายนโยบายที่ทางการไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนเพื่อให้ภาคการเงินของไทยสามารถรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจได้ สามารถเปิดเสรีทางการเงินและคาดหวังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค แต่เพราะเหตุใดเศรษฐกิจไทยจึงไม่เป็นดั่งคาด ทั้งยังลุกลามให้เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย และจากวิกฤตการณ์ครั้งนั้น ธุรกิจที่รอดมาได้เขาสูญเสียอะไรไปบ้าง และต้องปรับตัวอย่างไร

  • EP ประชานิยม ประชารัฐ ประชาธิปไตย เศรษฐกิจไทยใต้เงาการเมือง เนื้อเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์หลังจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 กว่า 20 ปีที่ไทยเผชิญอยู่กับความผันผวนของการเมือง ม็อบ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศรุมเร้า และความจริงที่ว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมในช่วง 10 ปี (Cumulative GDP 2549-2558) เติบโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและเวียดนาม

  • EP เบื้องหลังโลกการเงินไทย ใจกลางพายุเศรษฐกิจ เนื้อเรื่องเล่าถึงประวัติความเป็นมาของโลกการเงินไทย การเกิดขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ตลาดทุน และวิวัฒนาการของตลาดการเงินที่มีกลุ่ม Non-bank เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นที่มาของ Cryptocurrency และ Fintech

    แจกฟรีแนวข้อสอบ ความรู้เกี่ยวกับการค้าต่างประเทศ

    ข้อสอบการค้าระหว่างประเทศ พร้อมเฉลย

    ดาวน์โหลด ไฟล์ PDF >>> คลิ๊ก

    1.ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใด
    ก. แบบปิด
    ข. แบบเปิด
    ค. แบบถดถอย
    ง. แบบก้าวหน้า
    ตอบ   ข.แบบเปิด

    2.เมื่อเริ่มต้นการค้าระหว่างประเทศใช้อะไรในการแลกเปลี่ยนสินค้า
    ก. Barter System
    ข. การนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน
    ค. ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
    ง. ถูกทั้ง ก และ ข
    ตอบ   ง. ถูกทั้ง ก และ ข

    3.เงินที่ใช้ในยุคเริ่มต้นในการแลกเปลี่ยนสินค้าคืออะไร
    ก. เงินกระดาษ
    ข. เหรียญ
    ค. เช็ค
    ง. ทองคำ
    ตอบ   ง. ทองคำ

    4.รูปแบบและลักษณะการค้าระหว่างประเทศได้รับแนวความคิดมาจากที่ใด
    ก.นักเศรษฐศาสตร์ในแต่ละยุคสมัย
    ข.อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
    ค.การพัฒนาเทคโนโลยีในแต่ละช่วง
    ง.ถูกทุกข้อ
    ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

    5.ประเทศจะร่ำรวยมั่งคั่งได้ต้องมีดุลการค้าเกินดุล เป็นความเชื่อของกลุ่มใด
    ก. ลัทธิพาณิชยนิยม
    ข. ทฤษฎีการค้าของสำนักคลาสิค
    ค. ภูมิภาคนิยม
    ง. นโยบายการค้าแบบกีดกัน
    ตอบ   ก. ลัทธิพาณิชยนิยม

    6.ทฤษฎีการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ อยู่ในกลุ่มใด
    ก. ลัทธิพาณิชยนิยม
    ข. ทฤษฎีการค้าของสำนักคลาสิค
    ค. ภูมิภาคนิยม
    ง. นโยบายการค้าแบบกีดกัน
    ตอบ ข. ทฤษฎีการค้าของสำนักคลาสิค

    7.ข้อใดเป็นนโยบายการค้าแบบกีดกันที่ประเทศต่าง ๆ นำมาใช้เพื่อทำให้มีความได้เปรียบทางการค้า
    ก. การตั้งกำแพงภาษีให้สูง ๆ
    ข. ให้การสนับสนุนการส่งออก
    ค. กำหนดโควต้าการนำเข้า
    ง. ถูกทุกข้อ
    ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

    8.การเจรจาที่ยาวนานและครอบคลุมประเทศทั่วโลกทั้งสิ้น 117 ประเทศเป็นผลทำให้ประเทศต่างๆ ไม่มั่นใจในผลการเจรจา คือข้อใด
    ก. NAFTA
    ข. GATT
    ค. AFTA
    ง. APEC
    ตอบ ข. GATT

    9.การเจรจาทำความตกลงการค้า GATT ได้เริ่มเจรจาครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ใด
    ก. พ.ศ. 2490
    ข. พ.ศ. 2491
    ค. พ.ศ. 2459
    ง. พ.ศ. 2495
    ตอบ ข. พ.ศ. 2491

    10.การเจรจาในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
    ก.ปกป้องรักษาผลประโยชน์ทางการค้า
    ข.เพิ่มอำนาจการต่อรองในการเจรจา
    ค.สร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก
    ง.ถูกทุกข้อ
    ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

    11.รูปแบบการค้าในยุคปัจจุบันที่กำลังได้รับความนิยมคืออะไร
    ก. การแลกเปลี่ยนสินค้า
    ข. E-Commerce
    ค. การค้าอิเล็กทรอนิกส์
    ง. ถูกทั้ง ข และ ค
    ตอบ   ง. ถูกทั้ง ข และ ค

    12.ปัจจุบันGATT มีสมาชิก ทั้งสิ้นกี่ประเทศ
    ก. 135 ประเทศ
    ข. 150 ประเทศ
    ค. 120 ประเทศ
    ง. 147 ประเทศ
    ตอบ   ค. 120 ประเทศ

    13.ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกอันดับที่เท่าใดใน GATT
    ก. อันดับที่ 115
    ข. อันดับที่ 93
    ค. อันดับที่ 87
    ง. อันดับที่ 80
    ตอบ   ค. อันดับที่ 87

    14.ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการค้าเสรี GATT มีบทบาทที่สำคัญอย่างไร
    ก.เป็นเวทีเพื่อการเจรจาระหว่างประเทศในการลดข้อกีดกันทางการค้า
    ข.เป็นเวทีให้ประเทศคู่กรณีระงับข้อพิพาททางการค้า
    ค.ถูกทั้ง ก และ ข
    ง.ไม่มีข้อถูก
    ตอบ   ค. ถูกทั้ง ก และ ข

    15.การประชุมเจรจาการค้าภายใต้ GATT รอบสุดท้ายเรียกว่าอะไร
    ก. Tokyo
    ข. Uruguay
    ค. Kennedy
    ง. Geneva
    ตอบ   ข. Uruguay

    16.WTO หรือองค์การการค้าโลก ยกฐานะมาจากอะไร
    ก. GATT
    ข. AFTA
    ค. NAFTA
    ง. APEC
    ตอบ   ก. GATT

    17.ประเทศที่ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ EEC มีกี่ประเทศ
    ก. 10 ประเทศ
    ข. 8 ประเทศ
    ค. 4 ประเทศ
    ง. 6 ประเทศ
    ตอบ ง. 6 ประเทศ

    18.EU คืออะไร
    ก. ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
    ข. สหภาพศุลกากร
    ค. องค์การการค้าโลก
    ง. สหภาพยุโรป
    ตอบ   ง. สหภาพยุโรป

    19.ในปัจจุบัน สหภาพยุโรป มีสมาชิกทั้งสิ้นกี่ประเทศ
    ก. 20 ประเทศ
    ข. 35 ประเทศ
    ค. 27 ประเทศ
    ง. 21   ประเทศ
    ตอบ   ค. 27 ประเทศ

    20.AFTA คืออะไร
    ก. ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
    ข. เขตการค้าเสรีอาเซียน
    ค. องค์การการค้าโลก
    ง. สหภาพยุโรป
    ตอบ   ข. เขตการค้าเสรีอาเซียน