ดนตรีสากลมีอิทธิพลต่อสังคมไทย

        ดนตรีสากลมีบทบาทสำคัญในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม ซึ่งดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัยจะมีความแตกต่างกันไปตามการสร้างสรรค์ผลงานของนักดนตรีและสถานะทางสังคม

สารบัญ Show

  • ดนตรีสากลเข้ามาสู่สังคมไทยได้อย่างไร
  • ดนตรีมีบทบาทและอิทธิพลอย่างไรต่อสังคมไทย
  • เครื่องดนตรีสากลเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยสมัยใด
  • ในปัจจุบันสังคมไทยมีค่านิยมเกี่ยวกับดนตรีเป็นอย่างไร

เป้าหมาย

        1.นักเรียนจะต้องวิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ

2.อธิบายบทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนในสังคม

เพราะเหตุใด การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ จึงต้องมีการขับร้องเพลงประกอบ?

ดนตรีสากลมีแบบแผนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยระยะเริ่มแรกได้มีการนำดนตรีสากลมาใช้ในกิจกรรมทางศาสนา เพื่อสร้างความศรัทธา ความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า

คำถาม ชุดที่ 1

1.ค่านิยมในการนำดนตรีมาใช้ประกอบพิธีกรรมของคนไทยเกิดขึ้นมาจากสิ่งใด ?

2.ดนตรีสากลช่วยสร้างความบันเทิงให้แก่คนในสังคมไทยอย่างไร ?

3.ดนตรีสากลได้เข้ามามีบทบาทในด้านการเมืองการปกครอง ของสังคมไทยอย่างไร ?

        คนในสังคมไทยมีวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับดนตรีสากลเป็นจำนวนมาก ทั้งในด้านพิธีกรรม การใช้ความรู้และทักษะด้านดนตรีสากลในการประกอบวิชาชีพ

เพราะเหตุใด ในอดีตการเรียนวิชาดนตรี จึงไม่ได้รับความนิยม?
        เพราะความเชื่อที่ว่า การประกอบอาชีพด้านการแสดงดนตรีนั้น เป็นอาชีพที่ต่ำต้อย รายได้น้อย จึงเรียกอาชีพนักร้อง นักแสดงว่า อาชีพเต้นกินรำกิน ไม่อาจหาเลี้ยงครอบครัวได้ จึงทำให้การเรียนวิชาดนตรีในอดีตไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

        ดนตรีสากลที่บรรเลงและขับร้องกันอยู่ในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่เกิดจากการสร้างสรรค์ ของสังคีตกวีด้านดนตรีสากลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

       

ให้นักเรียนศึกษาประวัติและผลงานของ
        1. โยฮันเนส บรามส์ Johannes Brahms
        2. อาร์โนลด์ เชินแบร์ก Arnold Schoenberg or Schönberg
        3. ปีเตอร์ อีลิทช์ ไชคอฟสกี Pyotr Ilyich Tchaikovsky


คำถาม ชุดที่ 2
        1.เพราะเหตุใด จึงมีคำกล่าวว่า “การแสดงอุปรากร เป็นการรวบรวมผลงานศิลปะนานาชนิดเข้าด้วยกัน”?

2.โยฮันเนส บรามส์ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรีชนิดใด

3.เพราะเหตุใด โยฮันเนส บรามส์ จึงได้รับการยกย่องให้เป็น “ทายาทดนตรีของเบโธเฟน”

4.ผลงานการสร้างสรรค์ทางดนตรีของ โยฮันเนส บรามส์ มีลักษณะอย่างไร

5.รูปแบบการแต่งเพลงของ อาร์โนลด์ เชินแบร์ก มีลักษณะสำคัญอย่างไร

6.นอกจากผลงานด้านดนตรีแล้ว อาร์โนลด์ เชินแบร์ก ยังมีผลงานที่สำคัญใดอีกบ้าง

7.บทบาททางด้านดนตรีที่โดดเด่นของ อาร์โนลด์ เชินแบร์ก คืออะไร

8.Pathetique Symphony จัดเป็นผลงานที่แสดงออกถึงความอัจฉริยะของ ปีเตอร์ อีลิทช์ ไชคอฟสกี ได้อย่างไร

9.ผลงานของ ปีเตอร์ อีลิทช์ ไชคอฟสกี ส่วนใหญ่จัดเป็นงานประเภทใด

10.ผลงานโอเวอร์เชอร์ และคอนแชร์โต ของปีเตอร์ อีลิทช์ ไชคอฟสกี มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร

      ดนตรีตะวันตก เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยและไทยรับมาใช้ในราชการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทหารชาวอังกฤษสองคนชื่อ นอกซ์ (Knox) และ อิมเป (Impey) ได้นำแตรฝรั่งเข้ามาเป่าแตรสัญญาณและบรรเลงเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ต่อมาจึงพัฒนาขึ้นมาเป็นแตรวงของทหาร ใช้บรรเลงนำขบวนแห่และบรรเลงเพลงไทย เรียกสั้นๆ ว่า “แตรวง” ซึ่งต่อมา นายมนตรี ตราโมท ได้ขนานนามแตรวงนี้ว่า “วงโยธวาทิต”

      ประเทศไทยเริ่มมีเพลงแบบฝรั่งแต่งโดยคนไทยคนแรกคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์-วรพินิต ในราวปี พ.ศ.2448-2450 จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็เริ่มมีวงดุริยางค์สากลขนาดใหญ่คือวงเครื่องสายฝรั่งหลวง เทียบเท่ากับวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ของฝรั่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้มีการสร้างวงดนตรีขนาดเล็ก เรียกว่า “แย้สแบนด์” ขึ้น มีผลงานเพลงแบบฝรั่งที่คนไทยแต่งขึ้นแล้วต่อมาจึงได้รับขนานนามว่าเพลงไทยสากล มีนักประพันธ์เพลงผลิตผลงานเพลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงละครร้องและภาพยนตร์มีการสร้างเพลงปลุกใจขึ้น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 รัฐบาลไทยสมัยนั้นต้องการพัฒนาประเทศให้เป็นตะวันตกจึงส่งเสริมการดนตรีตะวันตกมากขึ้น แล้วสั่งให้ลดการเรียนการเล่นดนตรีไทยแท้ลงในปี พ.ศ.2482 ระหว่างที่เกิดสงครามโลกครั้งที่สองประมาณปี พ.ศ.2487-2488 ได้เกิดเพลงรำวงขึ้น มีอิทธิพลต่อเยาวชนไทยมากในสมัยนั้น เพราะเพลงรำวงเป็นเพลงที่ร้องง่ายจำง่ายรวมทั้งใช้ประกอบการร่ายรำได้สนุกสนาน เพลงรำวงยังมีผลต่อการละเล่นของเยาวชนไทยมาจนทุกวันนี้

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดนตรีตะวันตกได้เพิ่มอิทธิพลขึ้นในประเทศไทย ดนตรีจากสหรัฐอเมริกาผ่านสื่อแบบต่างๆ เช่น วิทยุและเครื่องเล่นจานเสียง เยาวชนไทยได้หันเหไปสนใจการร้องเพลงและการเต้นรำด้วยลีลาอารมณ์แบบตะวันตก จึงเกิดเพลงไทยสากลตามรูปแบบฝรั่งขึ้นมากมาย รวมทั้งเพลงแจ๊ส เพลงเต้นรำประเภทร้อนแรงจนถึงสมัยของเพลงร็อกในราวปี พ.ศ.2500 ถึงกระนั้นเยาวชนก็ยังร้องเพลงด้วยสำเนียงลีลาอย่างไทย คงใช้ภาษาไทยที่แสดงความเป็นไทยอยู่มาก

       ในระยะเดียวกันนี้ วงการดนตรีไทยได้พัฒนาดนตรีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยการนำดนตรีพื้นบ้านไทยภาคต่างๆ ดนตรีสำหรับการรำวงดนตรีไทยเดิมและดนตรีสากลเข้ามาผสมผสานกลายเป็นเพลงชนิดใหม่ที่เรียกว่าเพลง “ลูกทุ่ง” ซึ่งมีอิทธิพลสูงต่อเยาวชนคนไทยทุกท้องถิ่นทั่วประเทศเพลงลูกทุ่งจัดได้ว่าเป็นเพลงของไทยประเภทเดียวที่เข้าถึงประชาชนคนไทยทุกเพศทุกวัย และเป็นที่พอใจของเยาวชนมากที่สุด การพัฒนาวิทยุทรานซิสเตอร์และตลับแถบบันทึกเสียงทำให้เผยแพร่เพลงลูกทุ่งได้มาก เยาวชนจึงหันไปสนใจเพลงลูกทุ่งมาก เพราะเข้าถึงเยาวชนทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ

      ระหว่างที่เกิดสงคราบเวียดนามขึ้นในปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา อารยธรรมตะวันตกในด้านดนตรีเริ่มครอบงำเยาวชนไทยและเบี่ยงเบนไปสู่การประพันธ์เพลง การขับร้อง บรรเลงและการเต้นประกอบเพลงที่เบนเข้าหาความเป็นตะวันตกอย่างสิ้นเชิง เยาวชนไทยเริ่มชินกับเพลงที่ผลิตขึ้นเพื่อการค้ามากกว่าเพลงที่ผลิตขึ้นเพื่อสุนทรียะแห่งดนตรีภาษาที่ใช้ในการขับร้องเปลี่ยนแปลงจากรูปของฉันทลักษณ์ไทยที่ส่งสัมผัสไพเราะ กลายไปเป็นภาษาพูด ภาษาที่ใช้ในการตะโกนแผดเสียงเทคนิคการขับร้องเปลี่ยนไปเป็นแบบตะวันตก มีการออกเสียงบทร้องที่ไม่ชัดเจนหรือทำให้เกิดเสียงเบี่ยงเบนออกไปเป็นสำเนียงลีลาแบบตะวันตก แม้แต่เสียงจากเครื่องดนตรีก็มาจากกระแสไฟฟ้า แทนที่จะมาจากการสั่นสะเทือนตามธรรมชาติ เยาวชนสนใจในเพลงประเภทที่สร้างขึ้นเพื่อการค้าอย่างมากธุรกิจตลาดเพลงมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่เยาวชนซึ่งมีอัตราการบริโภคสูงมากกว่าคนทุกกลุ่มอายุวงการวิทยุและโทรทัศน์จะสนใจแต่ดนตรีที่จัดให้เยาวชนเสพย์ จนสถานีวิทยุส่วนมากจะบรรจุรายการเพลงสำหรับเยาวชนโดยสิ้นเชิงจะหาช่วงว่างสำหรับดนตรีเพื่อคนไทยในวัยอื่นได้ยากยิ่ง

ดนตรีกับเยาวชนในสมัยหลังปี พ.ศ.2530 จึงเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่อาจกล่าวได้ว่า ยุค พ.ศ.2530-2540 นั้นเยาวชนเป็นเจ้าของดนตรีในตลาดการค้าเพลงอย่างแท้จริงมีเยาวชนเป็นจำนวนมากเรียนดนตรีสากลประเภทเครื่องดีด (STRINGS) จัดตั้งวงดนตรีเรียกว่า วงสตริง ใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าเป็นพื้นคุมจังหวะด้วยเครื่องไฟฟ้า เล่นรวมกันแล้วจะเกิดเสียงดังมาก

        ถึงกระนั้นก็ดี มิใช่ว่าเยาวชนไทยจะนิยมดนตรีที่เป็นธุรกิจไปเสียทั้งหมด ยังมีอยู่บ้างที่สนใจดนตรีในแนวเก่า สนใจเรียนดนตรีและเล่นดนตรีที่เป็นไทย เช่น การเรียนดนตรีไทยและเรียนดนตรีสากลคลาสิก การเปิดสอนดนตรีในสถาบันการศึกษาต่างๆ ยังคงยึดรูปแบบดั้งเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง

การอนุรักษ์ดนตรีเก่า การแนะนำให้เยาวชนสนใจดนตรีในระบบเก่า อาจจะเป็นการยาก เพราะเสียงดนตรีที่เยาวชนชินหูอยู่ในขณะนี้เป็นเสียงวิทยาศาสตร์มากกว่า จนเยาวชนไม่เคยรู้รสแห่งเสียงจากเครื่องดนตรีตามธรรมชาติ (Acoustic Instrument) เวลาและโอกาสที่ผู้ปกครองหรือผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ จะต้องชักนำเยาวชนให้ได้สัมผัสดนตรีอย่างธรรมชาตินั้นจึงจำเป็นมากสำหรับพวกเขาเหล่านั้น

แหล่งที่มา : ที่มาข้อมูล : http://kanchanapisek.or.th

ดนตรีสากลเข้ามาสู่สังคมไทยได้อย่างไร

ดนตรีตะวันตก เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยและไทยรับมาใช้ในราชการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทหารชาวอังกฤษสองคนชื่อ นอกซ์ (Knox) และ อิมเป (Impey) ได้นำแตรฝรั่งเข้ามาเป่าแตรสัญญาณและบรรเลงเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ต่อมาจึงพัฒนาขึ้นมาเป็นแตรวงของทหาร ใช้บรรเลงนำขบวนแห่และบรรเลงเพลงไทย ...

ดนตรีมีบทบาทและอิทธิพลอย่างไรต่อสังคมไทย

1. ดนตรีให้ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด ปลุกเร้าอารมณ์และจิตใจให้มีความสุข มี สุขภาพจิตดี 2. ดนตรีช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในสังคมให้มีความรักชาติ ทาให้ชาติเป็นสังคมที่สงบ สุข เช่น เพลงปลุกใจ เพลงชาติไทย

เครื่องดนตรีสากลเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยสมัยใด

ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทย และไทยรับมาใช้ในราชการ ตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทหารชาวอังกฤษสองคนชื่อ นอกซ์ (Knox) และอิมเป (Impey) ได้นำแตรฝรั่งเข้ามาเป่าแตรสัญญาณ และบรรเลงเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ต่อมาจึงพัฒนาขึ้นมาเป็นแตรวงของทหาร ใช้บรรเลงนำขบวนแห่ และบรรเลงเพลงไทย ...

ในปัจจุบันสังคมไทยมีค่านิยมเกี่ยวกับดนตรีเป็นอย่างไร

1) ค่านิยมของสังคม ดนตรีไทยนับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยสะท้อนค่านิยมของผู้คนในสังคม กล่าวคือ ถ้าในช่วงใดที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูมากนั่นก็แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีค่านิยมให้ความสำคัญกับดนตรีไทย การจัดประกวด หรือการจัดการแข่งขันดนตรีไทยนับว่าเป็นแนวทาง การส่งเสริมให้เยาวชนไทยสนใจดนตรีไทยมากขึ้น

ดนตรีมีอิทธิพลต่อสังคมไทยได้อย่างไร

1. ดนตรีให้ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด ปลุกเร้าอารมณ์และจิตใจให้มีความสุข มี สุขภาพจิตดี 2. ดนตรีช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในสังคมให้มีความรักชาติ ทาให้ชาติเป็นสังคมที่สงบ สุข เช่น เพลงปลุกใจ เพลงชาติไทย

อิทธิพลของดนตรีที่มีผลต่อสังคมมีอะไรบ้าง

อิทธิพลของดนตรีกับบุคคลและสังคม ดนตรีถูกสร้างมาสนับสนุนการดาเนินชีวิตของมนุษย์ • ดนตรีช่วยจุดประกายแสงสว่างให้แก่เหตุการณ์สาคัญต่างๆ ทั้งในยามสุขและทุกข์ • ดนตรีช่วยให้บุคคลที่มีอารมณ์ตึงเครียดผ่อนคลายลงได้ • ดนตรีช่วยให้บุคคลมีความภาคภูมิใจในความเป็นหมู่คณะและความเป็นชาติของตน

ดนตรีไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศใดบ้าง

ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมา จากประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย, จีน, อินโดนีเซีย และอื่นๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า ดนตรีไทย ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนชาติไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณซึ่งดนตรีไทยได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะขอแบ่งยุคของดนตรีไทย เพื่อให้สะดวก ...

ข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยนิยมดนตรีต่างชาติ

ตอบ (นิยมกระแสดนตรีจากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ 4. ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้คนไทยนิยมดนตรีต่างชาติ ตอบ ปัจจัยทางด้านสานสื่อที่ไร้พรมแดน เช่น อินเตอร์เน็ท รายการโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และกลยุทธ์ในการเผยแพร่ เช่น ศิลปินดาราที่มีหน้าตาดี เป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง เป็นต้น