ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจ

ปักกิ่ง, 5 เม.ย. (ซินหัว) — รายงานจากสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน (CCPIT) ชี้ว่าความขัดแย้งทางการค้าทั่วโลกทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในปี 2020 เนื่องจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) และผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

รายงานที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมายด้านความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการค้าของสภาฯ ระบุว่าดัชนีความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการค้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นในปี 2020 โดยพิจารณาจากความขัดแย้งทางการค้าใน 20 ประเทศและภูมิภาค ซึ่งรวมถึงสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น และการประกาศใช้มาตรการทางการค้าต่างๆ อาทิ การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออก การเยียวยาทางการค้า และมาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า

การแข่งขันระหว่างประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมอ้างถึงดัชนีย่อยของประเทศและภูมิภาคอย่างอินเดีย สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งชี้ว่าการแข่งขันในประเทศเหล่านี้ยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงเวลาที่รายงาน ขณะเดียวกันความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศอื่นๆ ยังอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก

นอกจากนี้ 20 ประเทศและภูมิภาคยังได้กำหนดมาตรการทางการค้า 3,497 ข้อในปี 2020 ซึ่งร้อยละ 46.8 เป็นมาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า โดยสหรัฐฯ ขึ้นแท่นประเทศที่ประกาศใช้มาตรการทางการค้าบ่อยครั้งที่สุดด้วยมาตรการทางการค้ารวม 624 ข้อตลอดทั้งปี 2020 ครองสัดส่วนร้อยละ 17.8 ของมาตรการทั้งหมด

จางเยว่เจียว ผู้อำนวยการคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ เผยว่าภาวะถดถอยของเศรษฐกิจทั่วโลกหลังเผชิญโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและอุตสาหกรรมทั่วโลก

“ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเศรษฐกิจที่ซบเซาเป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของลัทธิกีดกันทางการค้า” จาง ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านกฎหมายประจำมหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) กล่าว

การปะทะกันระหว่างอินเดียกับจีนครั้งล่าสุดมีข่าวว่าทั้งสองฝ่ายเริ่มต้นปะทะกันในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 สาเหตุที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการปะทะครั้งนี้ เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ กล่าวคือมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองทั้งคู่และจะส่งกระทบต่อผลประโยชน์หลายประเทศเช่น ข้อตกลงการค้าต่างๆรวมทั้งประเทศไทยด้วย หากบานปลายเป็นสงครามจะเป็นเรื่องใหญ่

จุดที่ปะทะ พื้นที่พิพาทใหญ่ๆ มี 2 จุดคือบริเวณ “รัฐอรุณาจัลประเทศ” ตั้งอยู่ตรงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และพื้นที่ “อักไซ ชิน” ตั้งอยู่ภาคตะวันตกของอินเดีย ทั้ง 2 จุดเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญเพราะเชื่อมระหว่างจุดปกครองตัวเองซินเจียงอุยกูร์และเขตปกครองธิเบตของจีน จุดปะทะล่าสุดคือบริเวณ “อักไซ ชิน” บริเวณหุบเขากัลวานซึ่งอยู่บนสันเขา เป็นเส้นพรมแดนระหว่างจีนกับภูมิภาคลาดักห์ในแคชเมียร์อยู่ภายใต้เขตการปกครองของอินเดีย จุดที่ทับซ้อนกันอยู่มีระยะทางประมาณกว่า 4,000 กิโลเมตรมีปัญหากันมานานเนื่องจากเป็นเส้นแบ่งพรมแดนธรรมชาติ จึงกำหนดตายตัวไม่ได้เพราะเป็นพรมแดนที่กำหนดด้วย แม่น้ำ ทะเลสาบ หิมะ ซึ่งปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ส่งผลทำให้การลาดตระเวนสามารถคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งการปะทะระหว่างทหารทั้ง 2 ประเทศก็มีมาเรื่อยๆแต่ครั้งนี้ถือว่าหนักที่สุดในรอบ 45 ปี ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการสูญเสีย

ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจ

ที่มา : Source: Satellite image via Microsoft Corporation Earthstar GeographicsBy Jugal K. Patel

ปัญหาเหนือพื้นที่พิพาทที่แก้ไม่ตก

สำหรับปมความขัดแย้งครั้งนี้มาจากการอ้างปัญหาเหนือพื้นที่พิพาทที่แก้ไม่ตกมายาวนาน โดยทางอินเดียเริ่มสร้างถนนเลียบเส้นแบ่งพรมแดนบริเวณเขตควบคุมตามความเป็นจริง (Line of Actual Control-LAC) ทำให้จีนไม่พอใจเพราะกลัวว่าพออินเดียมาสร้างถนนตรงนี้จะทำให้อินเดียสามารถเข้าควบคุมพื้นที่ได้ ในขณะที่อินเดียเองระบุว่าเป็นการก่อสร้างถนนในเขตแดนของตน ความไม่ลงรอยกันในเรื่องนี้ส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายต่างเสริมกำลังทางการทหารเข้าไปในพื้นที่ รวมถึงมีการลาดตระเวนที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น

ปะทะด้วย ก้อนหิน ท่อนเหล็ก ไม้ติดตะปู

การปะทะในครั้งนี้ไม่เหมือนที่เราเคยได้ยิน เนื่องจากไม่มีการใช้อาวุธหนักเช่นการใช้อาวุธปืนและระเบิด สาเหตุเพราะจีนกับอินเดียมีการทำข้อตกลงเมื่อปี 1996 ว่าไม่ให้ใช้อาวุธ เนื่องจากจะลุกลามไปเป็นสงคราม การปะทะครั้งนี้จึงมีเพียงแค่ก้อนหิน ท่อนเหล็กหรือไม้ติดตะปูเท่านั้น ทั้งสองฝ่ายเปิดฉากปะทะกันราว 3 ชั่วโมง แต่นั่นก็ยังทำให้มีทหารอินเดียเสียชีวิตมากถึง 20 นาย ส่วนจีน มีรายงานที่ไม่แน่ชัดแต่ทางอินเดียรายงานว่าจีนมีนายทหารที่บาดเจ็บและเสียชีวิตราว 45 นาย

ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจ

ภาพถ่ายอาวุธที่เจ้าหน้าที่กองทัพอินเดียส่งให้สำนักข่าวบีบีซีโดยอ้างว่าเป็นอาวุธที่มีการใช้ระหว่างปะทะกัน

ชาวอินเดียเรียกร้องให้รัฐบาลคว่ำบาตรการค้ากับจีน

การปะทะที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนอินเดียไม่พอใจ ที่เดลีมีประชาชนมาถือป้ายประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลแบนสินค้าจากจีน และยกเลิกการค้ากับจีนไปเลย เพราะถ้าย้อนไปดูข้อมูลทางเศรษฐกิจในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าตัวเลขการค้าระหว่างอินเดีย-จีนมีมูลค่ามากกว่า 9 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์ แต่ในจำนวนนี้อินเดียเสียเปรียบดุลการค้าให้กับจีนเป็นจำนวนกว่า 8 เท่าตัว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียคว่ำบาตรทางการค้ากับจีน มีการเอาภาพผู้นำจีนอย่างสีจิ้นผิง มาเผาทิ้งด้วย แต่หากมีการแบนสินค้าจากจีนจริงๆอาจส่งผลแง่ลบกับอินเดียมากกว่าเพราะอินเดียนำเข้าสินค้าจากจีนจำนวนมากกว่าที่จีนนำเข้าจากอินเดีย โดยอินเดียอาจจะผลิตสินค้าได้ไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่มีอยู่ถึง 1,300 ล้านคน รวมทั้งสินค้าจากจีนก็มีราคาถูกด้วย คนชนชั้นล่างของอินเดียจึงนิยมซื้อสินค้าจากจีน

https://twitter.com/NoToMadeInChina/status/1274606951234547712

หลังเกิดการปะทะ รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองประเทศก็ยกหูโทรศัพท์หารือถึงเรื่องที่เกิดขึ้น ทั้งด้านการทหารและการทูต ทั้งสองเห็นตรงกันว่าจะไม่ให้เหตุการณ์ความรุนแรงนี้เกิดขึ้นอีก โดยในวันที่ 23 มิถุนายน 2563 จะมีการประชุมเข้าร่วมเพื่อหาทางออกร่วมกันเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองว่า ทั้งสองประเทศไม่ได้ต้องการให้เกิดสงครามและความขัดแย้งบานปลาย จึงต้องการเพียงรักษาสถานการณ์ให้อยู่ในจุดที่ควบคุมได้เท่านั้น

จีนอินเดียใช่อื่นไกลมีภูมิประเทศและประวัติศาสตร์ร่วมกันยาวนาน

ถึงแม้ในประเด็นปัญหาความมั่นคงและพรมแดนจะทำให้สองประเทศนี้บาดหมางกัน แต่ใช่ว่าจะไม่มีมุมที่รักกันเลย สถานีโทรทัศน์ซีจีทีเอ็นของจีน รายงานว่าทั้งสองประเทศต่างแชร์หลายๆอย่างร่วมกันไม่ว่าจะเป็น ในเชิงภูมิศาสตร์ จีนอินเดียแชร์เส้นแบ่งพรมแดนราวกว่า 4,000 กิโลเมตร ส่วนในเชิงประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศดำเนินมายาวนานกว่า 2,000 ปี แม้จะเคยทำสงครามร่วมกันในปี 1962  ในครั้งนั้นอินเดียกล่าวหาจีนว่า ได้ไปยึดครองดินแดนของอินเดียในเขตแคชเมียร์ และยังคงนำมาซึ่งความขัดแย้งในปัจจุบัน แต่สิ่งที่อินเดียและจีนควรทำมากที่สุดในช่วงเวลาคือนี้หวนคืนความทรงจำระหว่างสองประเทศและนึกถึงอนาคตของกันและกันมากขึ้น จีนและอินเดียคือเพื่อนบ้าน ทั้งสองมีความต้องการที่จะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจ ซึ่งทางเดียวที่จะเป็นไปได้คือ ทั้งสองต้องไว้ใจซึ่งกันและกันในการมองภาพอนาคต