ปวดเหงือกด้านในสุด อ้าปากไม่ได้

คุณเคยมีเหงือกบวมหรือไม่ เหงือกบวมทำให้มีอาการปวดทรมานได้และค่อนข้างร้ายแรงหากติดเชื้อแบคทีเรีย ทำความเข้าใจถึงสาเหตุของเหงือกบวม วิธีปฏิบัติตัว และวิธีบรรเทาอาการ

ควรขอความช่วยเหลือจากทันตแพทย์ทันทีที่มีอาการเหงือกบวม แต่ถ้าเหงือกบวมพร้อมมีไข้และใบหน้าบวมด้วย แต่ติดต่อทันตแพทย์ไม่ได้ ให้ไปห้องฉุกเฉินทันที

สาเหตุที่เป็นไปได้ของเหงือกบวม

เกิดได้จากข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้:

ฟันมีหนอง: ฟันมีหนองเป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดที่บริเวณปลายรากฟัน (รอบปลายราก) หรือด้านข้างรากฟัน (ปริทันต์) ฝีมีหนองและส่วนใหญ่เกิดจากรอยฟันผุ ได้รับบาดเจ็บหรือการรักษาทางทันตกรรม แล้วเกิดรอยร้าวเป็นช่องทางให้แบคทีเรียเข้าไปภายในฟันจนเกิดการติดเชื้อ อาการฟันมีหนองได้แก่:

  • ปวดฟันตุบๆ อาจรู้สึกลามไปถึงบริเวณคอ หู และขากรรไกร
  • ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณใกล้ขากรรไกรหรือคอ
  • มีไข้
  • เสียวฟันเมื่อสัมผัสของร้อนและเย็น
  • ใบหน้าและคอบวม
  • เสียวฟันขณะกัดหรือเคี้ยว

อาการปวดฟันและบวมจากการติดเชื้อไม่ใช่เรื่องสนุก ต้องรับการรักษาทางการแพทย์ทันที แม้ว่าหนองจะระบายออกเอง แต่ก็ยังจำเป็นต้องพบทันตแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าการติดเชื้อจะไม่แพร่กระจายออกไป การรักษาเริ่มต้นคือต้องระบายหนองออก อาจได้รับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย บางกรณีก็ทำการรักษารากฟัน หรือถึงขั้นถอนฟัน

อาการปวดฟันคุด: การเจริญเติบโตและการขึ้นของฟันคุดเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ ที่อาจทำให้เหงือกบวมได้ ฟันคุดที่ฝังและงอกขึ้นมาเองไม่ได้เพราะติดอยู่ใต้เหงือก จึงทำให้เหงือกบวม ฟันคุดที่ขึ้นมาได้ แต่เกิดช่องว่างเป็นที่สะสมของแบคทีเรียและเกิดการติดเชื้อขึ้นก็ส่งผลให้เหงือกปวดบวมได้

วิธีรักษาเหงือกบวมบริเวณฟันคุดคือการผ่าฟันออก หลังผ่าฟันคุด เหงือกจะยังบวมสักระยะหนึ่งและจะค่อยๆ หาย ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ ทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อบรรเทาอาการรู้สึกไม่สบายและต่อสู้กับแบคทีเรีย การประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าอาการบวมเป็นมากขึ้น ให้ไปพบทันตแพทย์ทันที

เหงือกอักเสบ: เหงือกอักเสบเป็นระยะเริ่มต้นของโรคเหงือก ภาวะเช่นนี้ทำให้เหงือกบวม แดง ระบมและอาจมีเลือดออกตามไรฟันหลังจากแปรงฟัน แก้ไขได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี จำกัดของว่างและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และหยุดสูบบุหรี่ เมื่อใดที่มีอาการของเหงือกอักเสบ ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและรักษา

ขาดวิตามินซี: โรคลักปิดลักเปิดคือการขาดวิตามินซี และการขาดวิตามินซีทำให้เหงือกบวมได้ ทางแก้ง่ายมาก เพียงแค่รับประทานผลไม้รสเปรี้ยวเพิ่มอย่างส้มและเกรปฟรุต หรือรับประทานวิตามินซีเสริมก็ช่วยได้เช่นกัน ปรึกษาทันแพทย์หรือแพทย์เพื่อขอคำแนะนำถึงปริมาณวิตามินซีที่เหมาะสมได้

ยาที่รับประทานและสาเหตุอื่น: ยาบางประเภทก็มีผลข้างเคียงทำให้เหงือกบวม ถ้ายาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่ใช้อยู่ทำให้ฟันและเหงือกระคายเคือง ให้หยุดใช้จนกว่าจะได้พบผู้เชี่ยวชาญ

การรักษาและบรรเทาอาการปวดจากเหงือกบวม

มีอาการเหงือกบวมเมื่อใด ให้ไปพบทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ดีที่สุด หรือจะเลือกวิธีอมน้ำเกลืออุ่นๆ ที่บ้านเพื่อช่วยกำจัดแบคทีเรีย กินยาแก้ปวดที่วางขายทั่วไปอย่างพาราเซตามอลและไอบูโพรเฟนเพื่อช่วยลดอาการบวมและระบมได้

แบคทีเรียมีอยู่ในช่องปากตลอดเวลา แม้แต่คนที่แปรงฟันเป็นประจำก็มีเหงือกบวมได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีก็เป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันเหงือกบวม ต้องแปรงฟันวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์และทำความสะอาดซอกฟันทุกวันด้วยไหมขัดฟัน ไหมขัดฟันพลังน้ำ หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟันอื่นๆ

อาการบวมในช่องปากต่างจากรอยช้ำที่ผิว เพราะอาจเป็นปัญหาร้ายแรงได้และควรรีบรักษาทันที ทันตแพทย์จะจ่ายยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยาอื่นๆ ที่ไม่เพียงรักษาอาการปวดแต่มุ่งกำจัดการติดเชื้อ รีบรักษาเร็วเท่าใด จะได้มีรอยยิ้มที่สดใส มั่นใจ ไร้อาการปวดได้เร็วเท่านั้น

ในฐานะแพทย์คนหนึ่ง ฉันมักจะได้ยินคนไข้บ่นว่า "ปวดฟัน" ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าฟันมักจะเป็นต้นเหตุของปัญหา แต่บ่อยครั้งที่พบว่าที่มาของความเจ็บปวดที่ว่านั้นมาจากเหงือก แต่ใครเคยได้ยินถึงอาการ "เจ็บเหงือก" บ้าง?

อาการเจ็บเหงือกเป็นปัญหาที่พบได้ในคนทุกวัยและเกิดได้จากสาเหตุขั้นแรกในการหาสาเหตุของอาการเจ็บเหงือก คือ การฟังคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้

ทำไมถึงเจ็บเหงือก

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บที่เหงือกได้ ไม่ใช่แค่จากปัญหาปริทันต์อักเสบเท่านั้น เช่น การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่แรงเกินไปบ่อย ๆ นอกจากนี้ การรับประทานอาหารบางอย่าง เช่น ซีเรียล ขนมกรุบกรอบที่ค่อนข้างแข็ง หรืออาหารจานร้อน ก็ทำให้เหงือกของคุณระคายเคืองอันเนื่องมาจากการเสียดสีจนเหงือถลอกหรือแสบร้อน ผู้ที่ได้รับวิตามินน้อยเกินไปหรือมีความเครียดสูงก็เกิดอาการเจ็บเหงือกได้ด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่า แบคทีเรียก็เป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเหงือก เหงือกของคุณโอบล้อมรอบฟันและมีเนื้อเยื่อที่ยึดฟันเข้ากับกระดูกเบ้าฟัน บริเวณรอยต่อระหว่างเหงือกและฟันจะมีช่องว่างเล็ก ๆ ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(CDC) ระบุว่าบริเวณนี้มักเต็มไปด้วยแบคทีเรียที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่ปัญหาเหงือกและปริทันต์อักเสบได้ ปัญหาเหงือกมักพบในวัยผู้ใหญ่และในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

เหงือกอักเสบมีลักษณะอย่างไร

เหงือกอักเสบจะมีอาการปวด บวม และมีสีแดงช้ำ ถ้าเหงือกอักเสบ จะระบมและมีเลือดออกขณะแปรงฟัน หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะรุนแรงถึงขั้นสูญเสียฟันในที่สุด

อาการเจ็บเหงือกอาจเกิดจากแผลในปากที่มองเห็นได้ เกิดขึ้นที่เหงือกหรือที่กระพุ้งแก้ม แผลในปากหรือรู้จักกันดีในอีกชื่อหนึ่งว่า แผลร้อนใน ตามที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ระบุว่า แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเอง ก็ไม่ทราบถึงรายละเอียดของความเจ็บปวดจากแผลเหล่านี้ มีเพียงข้อสงสัยบางประการของแผลร้อนใน ได้แก่ การแพ้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การขาดวิตามินและความเครียด

เมื่อไหร่จึงจะเรียกว่าเป็นปกติ

เวลาที่ฟันน้ำนมเด็กเริ่มงอกจึ้นมาจากเหงือก ก็ทำให้เกิดอาการไม่สบายตัวได้ อาการเจ็บ ปวด จากฟันงอกจะเกิดกับเด็กเล็กช่วงอายุ 4 เดือนถึง 3 ปี หรือ ช่วงอายุ 5 ปี และ 14 ปี นอกจากนี้ อาการเจ็บเหงือกอาจเกิดขึ้นได้ช่วงแรกของการจัดฟันเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่ที่มีอาการเจ็บปวดที่เหงือกต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่ใช่เรื่องปกติ ควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเพื่อวินิจฉัยและแก้ไขสาเหตุของปัญหาอย่างตรงจุด การไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเป็นประจำจะช่วยยับยั้งอาการเจ็บหรือบวมนี้ได้ เพื่อป้องกันปัญหาปัญหาเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์อักเสบได้

คุณจะจัดการปัญหานี้ได้อย่างไร

การป้องกันอาการเจ็บเหงือกขั้นแรก คือการมีกิจวัตรการดูแลช่องปากที่ดี ซึ่งรวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกำจัดการเจริญเติบโตและการสะสมของเชื้อโรค ยาสีฟันที่มีสารต้านแบคทีเรียที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพจริง จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บเหงือกในระยะเริ่มแรกได้

ขอดย้ำว่า การแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง การแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำเพื่อกำจัดเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดคราบจุลินทรีย์ในปากโดยเฉพาะบริเวณเหงือกได้ คราบจุลินทรีย์ เป็นคราบเหนียวและมองไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกิดจากแบคทีเรียในช่องปากรวมตัวกับเศษอาหาร และเกาะแน่นที่บริเวณผิวฟัน หากปล่อยทิ้งไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวเหงือก ย่อมก่อให้เกิดอาการเจ็บเหงือกแน่นอน ยิ่งคุณปล่อยทิ้งไว้นานเท่าไหร่ ผลร้ายก็จะเกิดกับเนื้อเยื่อรอบเหงือกรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

ปัญหาเหงือกระยะลุกลามควรรับการรักษาโดยด่วน วิธีป้องกันคือ เลิกสูบบุหรี่ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารสูง ลดความเครียดและควรนอนหลับพักผ่อนให้อย่างเพียงพอในทุก ๆ คืน สอบถามทันตแพทย์เพื่อรัรบการตรวจว่าคุณมีความเสี่ยงหรือไม่ เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที