ประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลทั่วไป

วิดีโอแนะนำ

ประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลทั่วไป

ประเทศอินโดนีเซีย(Indonesia)

เมืองหลวง อินโดนีเซีย : จาการ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ศาสนา : อิสลามร้อยละ 88 คริสต์ร้อยละ 8 ฮินดูร้อยละ 2 พุทธร้อยละ 1 และศาสนาอื่นๆร้อยละ 1

วันชาติ อินโดนีเซีย : วันที่ 17 สิงหาคม

การเมืองการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

พื้นที่ :  1,904,433 ตารางกิโลเมตร (หรือ 10 เท่า ของไทย)

ประชากร : มีจำนวนประชากร 241 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม

ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ

อาหารประจำชาติ อินโดนีเซีย : กาโด กาโด (Gado Gado) ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช 

สัตว์ประจำชาติ อินโดนีเซีย : มังกรโคโมโด

สกุลเงิน อินโดนีเซีย : รูเปียห์ (Rupiah) 

วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อมูลทั่วไปอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่ ๆ ห้าเกาะ และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ 30 หมู่เกาะ รวมแล้วมีอยู่ 13,677 เกาะ เป็นเกาะที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ 6,000 เกาะ รูปลักษณะหมู่เกาะจะวางตัวยาวไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร คล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหงาย คำว่าอินโดเนเซีย มาจากคำในภาษากรีกสองคำคือ อินโดซ หมายยถึง อินเดียตะวันออก และนิโซสหมายถึงเกาะ จึงมีความหมายว่า หมู่เกาะอินเดียตะวันออก

หมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิค จึงเป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร และสะพานเชื่อมระหว่างสองทวีปคือ ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย

อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ 2,000,000 ตารางกิโลเมตร มีพื้นน้ำใหญ่เป็นสี่เท่าของพื้นที่แผ่นดิน อาณาเขตจากตะวันออกไปตะวันตก ยาวประมาณ 5,100 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,800 กิโลเมตร

เกาะใหญ่ทั้งห้าเกาะ ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา มีพื้นที่ประมาณ 473,600 ตารางกิโลเมตร  เกาะกาลิมันตัน มีพื้นที่ประมาณ 539,500 ตารางกิโลเมตร (เฉพาะดินแดนของอินโดนีเซีย ซึ่งประมาณสองในสามของพื้นที่เกาะบอร์เนียวทั้งหมด) เกาะสุลาเวสี มีพื้นที่ประมาณ 189,200 ตารางกิโลเมตร  เกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ 132,200 ตารางกิโลเมตร และเกาะอิเรียนจายา (อิเรียนตะวันตก) มีพื้นที่ประมาณ 422,000 ตารางกิโลเมตรหมู่เกาะอินโดนีเซีย แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ ออกได้เป็นสี่ส่วนคือ

  • หมู่เกาะซุนดาใหญ่  ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา เกาะชวา กาสิมันตัน และสุลาเวสี
  • หมู่เกาะซุนดาน้อย  รวมเกาะต่าง ๆ จากบาหลีไปทางตะวันออกถึงตะมอร์
  • หมู่เกาะโมลุกกะ (มาลุกุ)  ประกอบด้วย หมู่เกาะที่อยู่ระหว่างเกาะอิเรียนจายา ถึงเกาะสุลาเวสี
  • หมู่เกาะอิเรียนจายา

ประเทศอินโดนีเซีย  มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ  ทิศเหนือของเกาะกาลิมันตัน ติดต่อกับรัฐซาราวัคและรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย โดยมีสันเขาเป็นเส้นกั้นพรมแดน
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอิเรียนจายา  ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศฟิลิปปินส์
  • ทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศปาปัวนิวกินี
  • ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศมาเลเซีย โดยมีช่องแคบมะละกาเป็นพรมแดนระหว่างเกาะสุมาตรากับประเทศมาเลเซีย

ลักษณะภูมิประเทศ     
หมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้สามส่วนคือ

  • ส่วนที่ 1  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซุนดา ได้แก่บริเวณเกาะชวา เกาะสุมาตรา และเกาะกาลิมันตัน กับร่องน้ำระหว่างเกาะต่าง ๆ เหล่านี้กับฝั่งทะเลของประเทศมาเลเซีย และอินโดจีน มีระดับน้ำลึกไม่เกิน 720 ฟุต
  • ส่วนที่ 2  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซาฮูลคือเกาะอีเรียนจายา และเกาะอารู มีอาณาเขตจากฝั่งทะเลออสเตรเลียทางเหนือ ระดับน้ำลึกไม่เกิน 700 ฟุต
  • ส่วนที่ 3  บริเวณพื้นที่ระหว่างบริเวณไหล่ทวีปซุนดา และไหล่ทวีปซาฮูล ได้แก่ บริเวณหมู่เกาะนูซาแตงการา มาลูกู สุลาเวสี มีความลึกของระดับน้ำถึง 15,000 ฟุต

ภูเขา
ภูเขาที่สำคัญ ๆ มีอยู่ประมาณ 100 ลูก จากจำนวนประมาณ 400 ลูก ภูเขาที่สูงที่สุดตามเกาะต่าง ๆ มีดังนี้

  • ภูเขาเกรินยี  อยู่บนเเกาะสุมาตรา สูง 12,460 ฟุต
  • ภูเขาเซมารู  อยู่บนเกาะชวา สูง 12,040 ฟุต
  • ภูเขาแรนโตคอมโบรา  อยู่บนเกาะสุลาเวสี สูง 11,300 ฟุต
  • ภูเขาปุมจักชวา  อยู่บนเกาะอิเรียนจายา สูง 16,000 ฟุต

ที่ราบ 
โดยทั่วไปมีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณเชิงเขา และบริเวณชายฝั่งทะเล ชายฝั่งทะเลมักเป็นที่ราบต่ำ บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะสุมาตรา และทางตอนเหนือของเกาะชวา จะมีลักษณะเป็นที่ราบกว้างใหญ่คลุมไปถึงบริเวณริมฝั่งทะเล และนอกจากนี้ก็มีบริเวณชายฝั่งของเกาะกาลิมันตัน และเกาะอีเรียนจายา

แม่น้ำและทะเลสาป  เนื่องจากหมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุกตลอดปี และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงทำให้เกิดแม่น้ำ และทะเลสาปอยู่บนเกาะต่าง ๆ มากมาย แม่น้ำและทะเลสาบที่สำคตัญได้แก่

  • บนเกาะสุมาตรา   มีแม่น้ำมุสิ แม่น้ำบาตังฮาริ และแม่น้ำกำปา
  • บนเกาะกาลิมันตัน  มีแม่น้ำดาพัวส์ แม่น้ำมาริโต แม่น้ำมหกรรม และแม่น้ำงาจัง
  • บนเกาะชวา  มีแม่น้ำเบนกาวันโซโล แม่น้ำซิตาวัม และแม่น้ำบราตัส

ทะเลสาบที่สำคัญ ๆ ส่วนมากจะอยู่บริเวณกลางเกาะคือ

  • บนเกาะสุมาตรา  มีทะเลสาบปโตมา ทะเลสาบมาบินิจอ  และทะเลสาบซิงการัก
  • บนเกาะสุลาเวสี  มีทะเลสาบเทมบิ ทะเลสาบโทวูติ ทะเลสาบสิเดนเรว ทะเลสาบปูโซ ทะเลสาบลิมลิมโบโต และทะเลสาบตันตาโน
  • บนเกาะอิเรียนจายา  มีทะเลสาบพิเนีย และทะเลสาบเซนตานี

สมุทรศาสตร์ประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีมหาสมุทรล้อมรอบทั้งสามด้าน ระดับความลึกของน้ำทะเลจึงแตกต่างกันไป บริเวณที่น้ำตื้นส่วนใหญ่จะมีหินโสโครก และหินปะการัง เนื่องจากลาวาของภูเขาไฟ เกาะใหญ่น้อยของอินโดนีเซียมีลักษณะแยกกัน จึงก่อให้เกิดเส้นทางผ่านทะเลเป็นจำนวนมาก

เขตเวลาประเทศอินโดนีเซีย แบ่งเขตเวลาออกเป็นสามเขต ได้มีการประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.2507 คือ
 - เวลามาตรฐาน อินโดนีเซียตะวันตกเท่ากับ G.M.T บวกเจ็ดชั่วโมง (เส้นเมอริเดียน 105 องศาตะวันออก) คลุมถึงเกาะสุมาตรา เกาะชวา มาดูรา และเกาะบาหลีทฤษฎีน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะ  อินโดนิเซียได้ออกคำประกาศเมื่อปี พ.ศ.2500 ว่า อินโดนิเซียมีความจำเป็นต้องใช้ทฤษฎีน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนในประเทศ พร้อมกับข้อเสนอเรียกร้องสามประการคือ

  • ให้ลากเส้นเชื่อมโยง รอบนอกของเกาะทุกเกาะ และแนวปะการังเข้ารวมเป็นดินแดนทั้งหมดของอินโดนิเซีย
  • ให้อินโดนิเซียมีอธิปไตยเหนือน่านน้ำดังกล่าวข้างต้น รวมตลอดถึงพื้นที่ในอากาศเหนือน่านน้ำ พื้นที่ใต้ทะเล พื้นที่ใต้ดิน และทรัพยากรต่าง ๆ
  • เรียกร้องสิทธิที่จะกำหนดขอบเขตทางทะเล เศรษฐกิจทางทะเล และวางข้อกำหนดกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับทะเล น่านน้ำอาณาเขต

เดิมข้อเสนอของอินโดนิเซีย ถูกคัดค้านอย่างกว้างขวาง แต่ต่อมาปรากฎว่า หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ได้แสดงท่าทีผ่อนคลายลงมาก หากอินโดนิเซีย ประสบผลสำเร็จแล้ว จะทำให้อินโดนิเซีย มีดินแดนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 8.75 ล้านตารางกิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นส่วนที่เป็นพื้นดินประมาณ 2 ล้านตารางกิโลเมตร และยังสามารถคุมเส้นทางเดินเรือ ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย กับมหาสมุทรแปซิฟิก จะทำให้อินโดนิเซียมีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ และการทหารในบริเวณพื้นที่แถบนี้มากขึ้น

ประชากร ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายมาเลย์ ประมาณร้อยละ 95 ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และชาวยุโรป แต่ถ้าแบ่งตามหลักฐานชาติวงศ์วิทยาแล้ว ถือว่าชาวอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดมาจาก 365 เชื้อชาติ รวมเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้สี่กลุ่มด้วยกันคือ

  • เมสเลเนเซียน (Melanesians) เป็นเผ่าพันธุ์ที่ผสมกันระหว่างกลุ่มมองโกลลอยด์ กับวาจาด
  • โปรโตออสโตรเนเซียน (Proto - Autronesians)
  • โพลีเนเซียน (Polynesians)
  • โมโครเนเซียน (Micronesians)

ประชากรที่มีเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้ อาศัยอยู่ตามเกาะสุมาตรา เกาะชวาตะวันตก เกาะมาดูรา เกาะบาหลี เกาะลอมบก  เกาะตีมอร์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุลาเวสี เกาะอีเรียนจายา และตามแนวชายแดนด้านตะวันตก

ลักษณะของชาวอินโดนีเซีย จะมีตาคม ผมดำ ผิวสีน้ำตาล กระดูกแก้มกว้าง ตาเล็ก จมูกใหญ่ มีความสูงประมาณ 5 - 6 ฟุต พอกับความสูงของคนไทยทั่วไป ประชากรของอินโดนีเซีย มีมากเป็นอันดับห้าของโลก รองลงมาจาก จีน อินเดีย โซเวียตรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 63 จะอยู่ทีเกาะชวา และเกาะมาดูรา จำนวนประชากรกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ คือ

  • เกาะชวา  มีพื้นที่ประมาณ 132,200 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับสี่ของอินโดนิเซีย มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ในบรรดาเกาะทั้งหลายของอินโดนิเซีย ประมาณร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองจาการ์ตา ซึ่งเป็นเมืองหลวงมีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด กว่าทุกเมืองในอินโดนิเซีย
  • เกาะกาลิมันตัน  มีพื้นที่ประมาณ 539,500 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ แต่มีประชากรอาศัยอยู่ไม่มากนัก ประมาณร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมด
  • เกาะสุมาตรา  มีพื้นที่ประมาณ 473,600 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับสองของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่เป็นอันดับสอง รองลงมาจากเกาะชวา ประมาณร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมดเกาะสุลาเวสี  มีพื้นที่ประมาณ 189,000 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่ อันดับสามของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 6 ของประชากรทั้งหมด
  • เกาะมาลูกู  มีพื้นที่ประมาณ 74,500 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับห้าของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด
  • หมู่เกาะนุสาเตงการา บาหลี และติมอร์  มีพื้นที่ประมาณ 76,300 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด
  • เกาะอิเรียนจายา  มีพื้นที่ประมาณ 72,700 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด

ภาษาภาษาประจำชาติของอินโดนีเซีย ได้แก่ บาฮาซา อินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีภาษามลายูโปสีนีเซียน และภาษาท้องถิ่นอีกประมาณ 250 ภาษา ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สำคัญรองลงมาจากภาษาประจำชาติ และถือเป็นภาษาบังคับในโรงเรียนมัธยม นอกจากนี้ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในวงราชการและธุรกิจ สำหรับภาษาดัทช์ ใช้พูดกันในหมู่ผู้สูงอายุ  ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซียได้โครงสร้างและคำส่วนใหญ่มาจากภาษามาเลย์ ประกอบด้วยภาษาท้องถิ่นอีกมากมาย ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะรู้สองภาษา

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ( Republic of Indonesia)

ประเทศอินโดนีเซียเป็นรัฐหมู่เกาะ ประกอบด้วยเกาะ ขนาดต่างๆ มากกว่า 17,508 เกาะ ตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อ ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพาน เชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถ ควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่อง แคบที่สำคัญต่างๆ เช่นช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่อง- แคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ประชากรทั้งหมดประมาณ 226 ล้านคน มีค่า GDP 837.74 พันล้านดอลลาร์- สหรัฐ

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรสำคัญประกอบด้วย น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรประมง จำนวนมากอีกด้วย

อินโดนีเซียมีความยาวชายฝั่งทะเล 81,000 กิโลเมตร ซึ่งภายหลังจากที่อินโดนีเซียประกาศเขต เศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล ทำให้อินโดนีเซียมีพื้นที่ทางทะเลมากถึง 5.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีผลผลิต สูงถึง 6.4 ล้านตัน สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ ปลาหน้าดิน หมึก ปลาทูน่าท้องแถบ ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน กุ้งมังกร ปลาผิวน้ำขนาดเล็ก และสาหร่ายทะเล เป็นต้น พื้นที่ทำการประมงที่ สำคัญในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของอินโดนีเซีย สำหรับปลาหน้าดิน ได้แก่ บริเวณหมู่เกาะนาทูน่าในทะเลจีนใต้ และในทะเลอาราฟูร่า ส่วนการ ประมงปลาผิวน้ำขนาดใหญ่ทำกันแพร่หลายในบริเวณทะเลสุลาเวลี และ มหาสมุทรแปซิฟิก และในมหาสมุทรอินเดีย

อินโดนีเซียมีเรือประมง 7.3 แสนลำในปี 2547 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากการพัฒนา ด้านเครื่องยนต์ที่มีมากขึ้น มีการจัดการประมงโดยใช้มาตรการการให้โควต้าโดยอ้างอิงจากจำนวนที่สามารถ จับได้ คิดจาก 80 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่คาดการไว้ โดยประมาณผลผลิตที่อนุญาตให้จับได้อยู่ที่ประมาณ 6.4 ล้านตันต่อปี และมีการบังคับใช้ใน 9 แหล่งทำการประมงของประเทศ ในปี 2547 คิดผลผลิตทางการ ประมงเป็นสัดส่วนประมาณ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ของทั้งประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ( Republic of Indonesia)

การประมงไทยในอินโดนีเซีย 

รูปแบบการเข้าทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย เปิดโอกาสให้เรือประมงไทยเข้าไปได้ 3 ลักษณะ คือ 
1) การลงทุนร่วม (joint venture) 
2) การเช่าซื้อเรือประมง (purchase on installment) และ 
3) การให้สัมปทาน การทำประมง (licensing) โดยเงื่อนไขการให้สัมปทานจะขี้นอยู่กับปริมาณทรัพยากรที่มีในเขตเศรษฐกิจ- จำเพาะและต้องมีข้อตกลงระหว่างรัฐทั้งสอง

การลงทุนร่วม (Joint Venture) 
การทำประมงในอินโดนีเซียสามารถดำเนินการได้ ภายใต้กรอบการลงทุนร่วม โดยให้ผู้ประกอบการไทยร่วมกับ ผู้ประกอบการอินโดนีเซียยื่นจดทะเบียนตั้งบริษัทร่วมทุน (อินโดนีเซีย) ตามกฎหมายการลงทุนสำหรับคนต่างชาติ เพื่อ ประกอบธุรกิจด้านการประมง โดยบริษัทไทยสามารถใช้ เรือประมงเป็นทุนในการร่วมจดทะเบียน

ขณะนี้ได้มีเรือประมงไทยทำการประมงภายใต้ความร่วมมือรัฐต่อรัฐในรูปแบบสัมปทานประมงแล้ว จำนวน 315 ลำ เป็นเรืออวนลาก 304 ลำ และเรืออวนลอย 11 ลำ อย่างไรก็ดีมีแนวโน้มในอีก 3-5 ปี ที่ทาง อินโดนีเซียอาจยกเลิกระบบการให้สัมปทานกับเรือต่างชาติ และหันมาใช้การลงทุนร่วมเป็นหลัก เพื่อ ส่งเสริมการผลิต และอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศ ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยจึงควรปรับตัวในทิศทาง ดังกล่าวด้วย

สัมปทานประมง (Licensing) 
ในเดือนกรกฎาคม 2545 มีการจัดการประชุมคณะอนุกรรมการ ด้านการประมงไทย-อินโดนีเซีย ผลจากการประชุมทำให้ประเทศไทย ได้รับสัมปทานประมงในบริเวณทะเลจีนใต้ให้แก่เรือประมง เรือไม้ ขนาด 60-150 ตันกรอส หรือเรือประมงเหล็กขนาด 100-400 ตันกรอส รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,000 ตันกรอส โดยเงื่อนไขในทางปฏิบัติในการที่ เรือประมงไทยจะเข้าไปทำการประมงในอินโดนีเซียที่สำคัญ คือ ต้องผ่านการตรวจสอบและออกหนังสือ รับรองโดยกรมประมงไทยก่อน อินโดนีเซียถึงจะรับพิจารณา ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐต่อรัฐมีส่วนในการควบคุมเรือประมงร่วมกัน และได้มีการ เพิ่มเติมประเภทเครื่องมืออวนลอย อวนลาก 4,000 และ 16,900 ตันกรอส ในทะเลจีนใต้ และทะเลอาราฟูร่า ตามลำดับ อวนลอย 2,130 ตันกรอส เฉพาะในทะเลอาราฟูร่า อวนลอย 1,720 ตันกรอส เฉพาะในทะเลจีนใต้ ได้ในปี 2546

เมื่อปี 2544 ได้มีการประชุมสภารัฐมนตรีของสมาคมความร่วมมือแห่งมหาสมุทรอินเดีย (IOR-ARC) ณ กรุงมัสกัต ประเทศโอมาน ผลการประชุมเรื่องการประมงคือ ไทยได้ขอให้อินโดนีเซียผ่อนผันกฎระเบียบ ที่กำหนดให้ใช้เรือเหล็กสำหรับเรือประมงต่างชาติ ที่จะเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียแก่ เรือประมงไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้ และแจ้งให้ฝ่ายอินโดนีเซียทราบว่า ฝ่ายไทยจะขึ้นทะเบียน เรือประมงของไทยทั้งหมดและจะคอยติดตามการทำประมงของเรือดังกล่าวด้วย ฝ่ายอินโดนีเซียเสนอให้มี การทำการค้าต่างตอบแทนเหมือนเช่นกรณีการซื้อเครื่องบิน 2 ลำของอินโดนีเซียแลกกับการซื้อข้าวจากไทย ในอดีต ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่าจะหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป

ล่าสุดนี้( 20 มิถุนายน 2550) รัฐบาลอินโดนีเซียได้ยกเลิก ระบบการออกใบอนุญาตทำประมง(ใบอนุญาตจับปลา) และมีการ บังคับใช้กฎหมายประมงระบบบูรณาการ (Integrated Fisheries) ซึ่ง เป็นระบบการร่วมทุนกับอินโดนีเซีย ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2549 โดยเจ้าของเรือประมงไทยจะต้องโอนเรือประมง ไปเป็นทุนร่วมกับบริษัทผู้ประกอบการในอินโดนีเซียหรือบริษัท ผู้ประกอบการธุรกิจประมงในอินโดนีเซียเช่าเรือประมงไทยไปทำประมงในอินโดนีเซียเท่านั้น

  • อินโดนีเซียมีทรัพยากรประมงทะเลที่หลากหลาย ซึ่งเปิดโอกาสให้มีกิจกรรมทางการประมงที่ หลากหลายได้
  • รูปแบบการเข้าไปทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียเปิดโอกาสให้เรือประมงไทยเข้าไปได้ 3 วิธี นอกจากนี้ถ้าเป็นเรือชักธงต่างชาติยังไม่ต้องเสียภาษีการส่งออกสัตว์น้ำ และได้รับการคุ้มครองดูแลจาก ทางการของอินโดนีเซียด้วย
  • รูปแบบการลงทุนร่วม และการซื้อขายเรือ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนชาวไทย ในกรณีที่ต้องการใช้ สิทธิประโยชน์ที่ทางการอินโดนีเซียจัดสรรให้กับคนอินโดนีเซีย การดำเนินการภายใต้รูปแบบการ ลงทุนร่วม ผู้ประกอบการไทยสามารถร่วมลงทุนในสัดส่วนที่ยืดหยุ่นมาก (ลงทุนในอัตราส่วนมากกว่า หรือน้อยกว่าผู้ประกอบการอินโดนีเซียก็ได้)
  • รูปแบบการซื้อขายเรือก็เป็นการเปิดโอกาสให้มีการขายเรือไทยที่มีจำนวนมากให้กับผู้ประกอบการ อินโดนีเซียเพื่อใช้ทำการประมง

ประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลทั่วไป

                                                            ตราแผ่นดินประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลทั่วไป

รูเปียห์ (Rupiah) เป็นสกุลเงินของประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลทั่วไป

ประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงคือ กรุงจาการ์ตา (Jakarta)

ประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลทั่วไป


ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี

ประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลทั่วไป

ชุดประจำชาติอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลทั่วไป

กาโด กาโด (Gado Gado)