กลยุทธ์การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน ตัวอย่าง

การมุ่งตลาดเฉพาะส่วน(Market focus)
หมายถึง ขอบเขตซึ่งบริษัทเน้นการตลาดอยู่ในวงจำกัดที่แคบ (Narrowly defined)ซึ่งการมุ่งตลาดเฉพาะส่วนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันได้ แต่การมุ่งที่ตลาดเฉพาะส่วนจะเป็นพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทในการดำเนินการของข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differantiation strategy)
ปกติจะมีความสัมพันธ์กับการมุ่งตลาดเฉพาะส่วนที่เน้นการตลาดอยุ่ในวงแคบ (ในส่วนเล็กของตลาด) ส่วนตลาดกว่างที่เป็นตลาดมวลชน (Mass market) มักไม่เน้นการสร้างความแตกต่างให้เป็นหมวดหมุ่ตามประเภทสินค้าโดยเฉพาะที่เป็นพื้นฐานของสถาพ (Status) และภาพลักษณ์ (Image) ของสินค้า เพราะสัญลักษณะของสถานภาพ (Status symbol) จะสูญเสียประสิทธิภาพไปถ้าถูกนำมาใช้กับสินค้าจำนวนมาก นอกจากนั้นบริษัทซึ่งมุ่งตลาดเฉพาะส่วน ในส่วนแบ่งตลาดเฉพาะเจาะจงจากตลาดโดยรวมทั้งหมดก็จะมีสถานะภาพที่ดีกว่าในการนำเสนอรูปแบบสินค้าที่มีความแตกต่างให้น่าสนใจไปสู่ส่วนแบ่งตลาดดังกล่าวได้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัท Tendem ประสบความสำเร็จอย่างมากในการใช้การวงกลยุทธ์แบบนี้ โดยการมุ่งตลาดเฉพาะส่วนที่เน้นทางด้านมาตรการ การรักษาความปลอดภัยมาใช้กับการขายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe computer)

กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost leadership strategy)
ปกติมีความสัมพันธ์กับตลาดเป้าหมายที่มีขอบเขตอย่างกว้างขวาง ซึ่งมักจะมุ่งให้ได้ปริมาณการผลิตจำนวนมากของสินค้าแต่ละตัว และปริมาณจำนวนมากนี้เองก็มีผลต่อการลดต้นทุนที่ต่ำลงโดยวิธีการประหยัดจากขนาดของการผลิต (Economics of scale) และเส้นโค้งประสบการณ์ (Experience eurve effects) ซึ่งวิธีการประหยัดจากขนาดของการผลิตเฉลี่ยค่าใช้จ่าย หรือการลงทุนไปสู่จำนวนการผลิตที่มีมากขึ้น ตัวอย่าง สายการบินได้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการบริการขายบัตรโดยสาร และกำหนดตารางการบินของเครื่องบิน แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงแต่จะมีต้นทุนต่ำลง เมื่อคำณวนจากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการจึงให่้ผลคุ้มค่าสำหรับสายการบินขนาดใหญ่ มากกว่าสายการบินขนาดเล็ก ส่วนใจด้ายประสบการณ์จะเกิดประโยชน์เมื่องานสามารถดำเนินไปได้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการปฎิบัติสิ่งเหล่านั้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนกระทั่งเกิดความชำนาญและกระบวนการในการทำงานก็กลายเป็นงานประจำวัน (Routine) ขึ้นมา

ดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วในตอนต้นว่า บริษัทสามารถเลือกกลยุทธ์ตลาดเป้าหมายใน 3 แบบของตลาดที่มีผู้บริโภคต่างแบบ (heterogeneity) ต่อไปจะขยายความสำคัญของกลยุทธ์นี้ให้ละเอียดยิ่งขึ้น

การตลาดที่ไม่แบ่งส่วนตลาด

บริษัทไม่เลือกตลาดส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นตลาด แต่ให้ความสำคัญของตลาดเป็นแบบรวม และพิจารณาถึงความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่มากว่าแต่ละส่วน โดยพยายามออกแบบสินค้าและโปรแกรมการตลาดที่ดึงดูดคนจำนวนมาก เพราะฉะนั้นต้องใช้สื่อมวลชนในการโฆษณา และใช้บทโฆษณาที่มุ่งคนจำนวนกว้าง ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของสินค้าสำหรับการตลาดที่ไม่แบ่งส่วนตลาด คือ น้ำอัดลมโคคาโคล่า สมัยก่อนผลิตเพียงขนาดเดียว มีรสชาติอย่างเดียว มุ่งขายคนทั่วไป

การใช้การตลาดที่ไม่แบ่งส่วนตลาด อาจจะเนื่องมาจากความต้องการประหยัดต้นทุนการผลิต ต้นทุนการเก็บสินค้าคงคลัง ตลอดจนต้นทุนค่าขนส่ง การโฆษณาที่ไม่แตกต่างกัน ก็ทำให้บริษัทสามารถประหยัดได้ การที่ไม่ต้องทำการวิจัยตลาด และการวางแผนตามแต่ละส่วนตลาดก็จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้น สรุปได้ว่า การตลาดที่ไม่แบ่งส่วนตลาดนี้ สามารถจะลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้หลายประเภท

การมุ่งต่างส่วน

บริษัทตัดสินใจเข้าส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 2 ตลาด แต่ออกแบบสินค้าและจัดโปรแกรมการตลาดเฉพาะแต่ละส่วนแบ่งตลาด การที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อจะได้ยอดขายที่สูงขึ้น และได้ตำแหน่งที่ดีในแต่ละส่วนแบ่งตลาด โดยหวังว่าการมีตำแหน่งที่ดีในแต่ละส่วนแบ่งตลาดจะทำให้แข็งแกร่งและทำให้ลูกค้ารู้จักบริษัทที่ดี ยิ่งกว่านั้น บริษัทหวังว่าคงจะได้รับความภักดี และซื้อซ้ำ เพราะบริษัทพยายามสนองความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะ ไม่ได้เหวี่ยงแหเหมือนแบบแรก บริษัทเริ่มเปลี่ยนท่าทีจากการตลาดแบบแรก มาเป็นแบบมุ่งต่างส่วนเพิ่มมากขึ้น เข่น โค้ก ปัจจุบันผลิตขวดหลายขนาดเพื่อรสนิยมและการใช้ที่ต่างกัน ผลของการตลาดมุ่งต่างส่วนคือ เพิ่มยอดขายรวมให้มากกว่าการตลาดที่ไม่แบ่งส่วนตลาด แต่อย่างไรก็ตามการใช้การตลาดมุ่งต่างส่วนจะทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น ต้นทุนต่าง ๆ เหล่านั้น ได้แก่
-ต้นทุนการปรัปปรุงดัดแปลงสินค้า การดัดแปลงสินค้าเพื่อได้ตรงตามความต้องการของส่วนแบ่งตลาดต่าง ๆ กัน ต้องทำการวิจัยและพัฒนาสินค้า หรือต้นทุนในการใช้เครื่องมือพิเศษ
-ต้นทุนการผลิต โดยทั่ว ๆ ไป การผลิตสินค้าหลายชนิด ชนิดละน้อยหน่วย จะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดแพงกว่าการผลิตสินค้าชนิดเดียวเป็นจำนวนมาก
-ต้นทุนการดำเนินงาน ภายใต้การตลาดมุ่งต่างส่วน บริษัทต้องพัฒนาแผนการตลาดแยกจากกัน สำหรับส่วนแบ่งตลาดที่ต่างกัน ซ้ำต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการพยากรณ์ตลาด วิเคราะห์ยอดขาย การส่งเสริมการจำหน่าย
-ต้นทุนสินค้าคงคลัง เป็นธรรมดาที่การจัดการสินค้าคงคลังของสินค้าต่างชนิดกัน ย่อมสิ้นเปลืองมากกว่าการจัดการสินค้าคงคลังของสินค้าชนิดเดียว ตันทุนที่เพิ่มขึ้นคือ การเก็บทะเบียน
(records) มากขึ้น การตรวจสอบมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นสินค้าแต่ละชนิดต้องมีให้อยู่ ณ ระดับที่พอเพียงกับความต้องการของลูกค้าด้วย รวมทั้งต้องคาดคะเนความต้องการที่อาจจะคาดไม่ถึงที่เกิดขึ้นด้วย ดังนั้นบางครั้งอาจทำให้ต้องสต็อกสินค้าแต่ละชนิดไว้มากเกินไป ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสินค้าคงคลังไว้
-ต้นทุนการส่งเสริมการจำหน่าย การที่จะเข้าถึงส่วนแบ่งตลาดต่าง ๆ กัน ก็ต้องใช้สื่อโฆษณาให้เหมาะสมแต่ละกรณี ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายด้านนี้ ยิ่งกว่านั้น แต่ละส่วนแบ่งตลาดอาจต้องมีการวางแผนการโฆษณาที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้สูงขึ้น

เนื่องจากการตลาดมุ่งต่างส่วน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ก็ทำให้ยอดขายสูงขึ้นด้วย บางบริษัทพบว่าได้แบ่งแยกตลาดมากเกินไป เขาต้องการที่จะบิหารตราสินค้าเพียง 2-3 ตรา ซึ่งแต่ละตราสินค้าให้ดึงดูดลูกค้าจำนวนมาก โดยพยายามสร้างฐานให้กว้างขึ้น นั่นคือพยายามหาจำนวนลูกค้าให้มาก สำหรับแต่ละตราสินค้า เช่น บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน พยายามดึงดูดลูกค้าที่เป็นส่วนผู้ใหญ่ให้มาใช้แชมพูเด็ก เป็นต้น

การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน

ทั้งการตลาดที่ไม่แบ่งส่วนตลาดและการตลาดมุ่งต่างส่วน ต่างก็วิ่งหาตลาดขายทั้งหมด อย่างไรก็ตามบริษัทอาจเลือกทางเลือกที่ 3 คือ ดึงดูดเพียงตลาดเดียว เมื่อทรัพยากรของบริษัทมีจำกัด แทนที่จะเข้าหาตลาดส่วนใหญ่ และมีส่วนครองตลาดเล็ก บริษัทจะเข้าไปมีส่วนครองตลาดสูงของตลาดย่อยเพียง 1 หรือ 2 แห่ง คือ มุ่งเฉพาะส่วนของตลาดที่ดี ตัวอย่างเช่น บริษัทเกอร์เบอร์ มุ่งเฉพาะตลาดเด็กอ่อน หรือห้างขายเสื้อผ้าสุภาพสตรีที่มีครรภ์โดยเฉพาะ เป็นต้น การมุ่งเฉพาะส่วนนั้บริษัทจะได้ตำแหน่งตลาดที่แข็งแกร่งในส่วนตลาดนั้น ทำให้ความต้องการของตลาดนั้นโดยเฉพาะ ยิ่งกว่านั้นอาจจะทำให้ประหยัดในการผลิตเฉพาะสินค้านั้น การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย ถ้าเลือกตลาดดี บริษัทจะสามารถได้อัตราผลตอลแทนจากการลงทุนสูง ในขณะเดียวกัน การตลาดมุ่งเฉพาะส่วนนี้ ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ เพราะตลาดเฉพาะสวนอาจจะเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าผุ้หญิงคุมกำเนิดทั้งประเทศ ร้านขายเสื้อผ้าเฉพาะผู้หญิงมีครรภ์ก็ขายไม่ได้ หรือบริษัทคู่แข่งอาจจะเข้ามาในส่วนแบ่งตลาดเดียวกัน ก็จะกระทบกระเทือนบริษัทเราได้

การที่จะเลือกกลยุทธ์ตลาดเป้าหมายการแบ่งตลาดแบบใดนั้น ควรพิจารณาลักษณะต่าง ๆ ดังนั้
1.ทรัพยากรของบริษัท (Company resources) ถ้าทรัพยากรของบริษัทมีจำกัด ไม่สามารถผลิตสินค้าต่าง ๆ เพื่อควบคุมตลาดทั้งหมดได้ ก็จำต้องเลือกตลาดแบบการตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated marketing)
2.
ลักษณะสินค้า (Product homogeneity) การไม่แบ่งแยกตลาดเลย เหมาะสำหรับสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน เช่น ผลไม้ หรือ แร่เหล็ก แต่ถ้าสินค้ามีลักษณะต่างกัน เช่น กล้องถ่ายรูปเหมาะกับการตลาดต่างส่วน (Differentiated marketing)
3
.ลักษณะสินค้า (Product stage in the life cycle) เมื่อบริษัทเริ่มแนะนำสินค้าใหม่ ออกสู่ตลาด บริษัทต้องพยายามสร้างอุปสงค์ขั้นปฐม (Primary demand) ดังนั้นควรใช้กลยุทธ์แบบไม่แบ่งส่วนตลาด จึงจะเหมาะ ต่อเมื่อถึงขั้นอิ่มตัวแล้ว บริษัทอาจจะต้องใช้กลยุทธ์แบบการตลาดมุ่งต่างส่วน (Differentiated marketing)
4
.ลักษณะของตลาด (Market homogenuity) ถ้าผู้ซื้อมีรสนิยมเหมือนกัน มีปฏิกิริยาเหมือนกันต่อตัวกระตุ้นทางการตลาด ก็ควรใช้กลยุทธ์การตลาดไม่แบ่งส่วนตลาด (Undifferentiated marketing)
5.
กลยุทธ์การตลาดการแข่งขัน (Competitive marketing strategy) เมื่อมีคู่แข่งขันมาก จึงควรใช้กลยุทธ์แบบการตลาดมุ่งต่างส่วน การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated marketing)

กลยุทธ์การมุ่งเฉพาะส่วนตลาดคืออะไร

กลยุทธ์การตลาดเฉพาะทาง (Niche Market) หมายถึง การใช้เครื่องมือการตลาดโดยมุ่งที่ ตลาดกลุ่มเล็ก ซึ่งมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มที่แคบกว่าส่วนของตลาด แต่มีกาลังซื้อมาก พอที่จะท าให้ธุรกิจอยู่รอดได้ กลยุทธ์การตลาดมุ่งไปที่ตลาดกลุ่มเล็ก (Niche Market) หมายถึง การใช้เครื่องมือ การตลาดสาหรับลูกค้าจ านวนน้อย

ข้อใดเป็นตัวอย่างของการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ Niche Marketing

การตลาดแบบ Niche Marketing คือการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง การขายสินค้าให้กับคนเฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่การขายสินค้าให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่จะหมายถึงเฉพาะกลุ่มที่ชอบสิ่งนั้นๆ ซึ่งอาจจะมีหลายเพศและหลายวัย ตัวอย่างเช่น การขายรองเท้า > รองเท้ากีฬา > รองเท้ากีฬาสำหรับผู้ชาย > รองเท้ากีฬาสำหรับผู้ชายที่ใช้เล่นกอล์ฟ เป็นต้น ซึ่งการตลาดแบบ ...

Niche Market มีอะไรบ้าง

Niche Market เป็นส่วนหนึ่งของตลาดในภาพใหญ่กว่าที่มีตัวตน ความต้องการ หรือความชอบแบบเฉพาะกลุ่ม (ที่แตกต่างกับตลาดในภาพใหญ่กว่า) ตัวอย่างเช่น Niche Market ของธุรกิจขายเสื้อผ้าแฟชั่นคือธุรกิจขายเสื้อผ้าแฟชั่นแบบไซส์ XXL โดยเฉพาะ หรือ Niche Market ของคลินิกรักษาอาการปวดตามร่างกายคือคลินิกรักษาอาการปวดจาก Office Snydrome ...

การเลือกส่วนตลาดเป้าหมายคืออะไร

การเลือกตลาดเป้าหมาย หมายถึง กลุ่มผู้บริโภคหรือส่วนตลาด ที่นักการตลาดสนใจและเลือกที่จะเข้า ไปด าเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค กลุ่มนั้น ๆ ตลาดเป้าหมาย (Evaluating the Market Segment)