การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดเศรษฐกิจสังคมมี 2 แนวทางคือ

ได้มีผู้ให้ความหลากหลายแตกต่างกันไป  เช่น  การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต    การเพิ่มปริมาณผลผลิต เป็นต้น ซึ่งความหมายการเพิ่มผลผลิตสามารถแบ่งออกเป็น  2  แนวคิด  คือ

1.  การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์    หมายถึงอัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป (Input)  (แรงงาน   เครื่องมือ   วัตถุดิบ   เครื่องจักร   พลังงาน  และอื่น ๆ )   กับผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต  (Output)  ตู้เย็น   รถยนต์   การขนส่ง)   สามารถคำนวณได้จาก

                    

                       การเพิ่มผลผลิต  (Productivity)       =         ผลผลิต  (Output)

                                                                        ปัจจัยการผลิต   (Input)


ซึ่งทำได้ทั้งการวัดเป็นจำนวนชิ้น น้ำหนัก เวลา ความยาว และการวัดตามมูลค่าในรูปของตัวเงิน

2.  การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม  หมายถึงการที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีความเชื่อว่าเราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ ซึ่งเป็นความสำนึกในจิตใจ (Consciousness   of   Mind)  เป็นความสามารถหรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเสมอ  ทั้งเรื่องของการประหยัดทรัพยากร พลังงาน และเงินตรา ที่ต้องร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับ        

เพื่อหาความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวม


ความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต💇


                การเพิ่มผลผลิตเป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์การต้องพยายามทำให้การผลิตขององค์การดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทรัพยากรต่าง ๆ นับวันจะขาดแคลนลงหรือลดน้อยลงไปทุกวัน ดังนั้นองค์การจึงต้องพยายามหาวิธีการเพิ่มผลผลิตในทุกวิถีทาง เพื่อที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการที่จะทำให้การผลิตสินค้าพอกับความต้องการของลูกค้า  โดยพยายามให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด หรือไม่มีการสูญเสียใด ๆ เลยในกระบวนการผลิต ซึ่งก็จะเป็นการประหยัดทรัพยากรที่มีให้ได้ใช้อย่างคุ้มค่า ความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต คือ


💞 ช่วยให้คนงานได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงวิธีการทำงานของตนเองหรือของหน่วยงานของตน

💞 ช่วยให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ  เข้ามาสู่กระบวนการผลิต

💞 ช่วยให้มีการพัฒนาและทักษะในการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

💞 ช่วยให้ลูกค้าได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูก

💞 ช่วยให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

💞 ช่วยให้องค์สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในด้านคุณภาพและบริการ

💞 ช่วยทำให้ลดต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการ


               ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตจึงมีความสำคัญต่อองค์การในการช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้

สินค้าที่ผลิตได้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสียต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต อีกทั้งช่วยให้คนงานมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงาน เพราะคนงานได้มีส่วนร่วมในการทำงาน มีการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นการเพิ่มทักษะในการทำงานและยังเป็นการพัฒนาให้คนงานมีความรู้ความสามารถความชำนาญในหน้าที่ของเขา ซึ่งผลดีก็จะตกอยู่กับองค์การนั่นเอง


ปัจจัยการผลิต💪


                   ปัจจัยการผลิต   หมายถึงทรัพยากรต่าง ๆ  ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ  ซึ่งประกอบด้วย  คน  เงิน  วัตถุดิบ  เครื่องจักร  เทคโนโลยี  ที่ดิน   อาคาร   การบริการจัดการ  ตลอดจนสิ่งจำเป็นต่าง ๆ   ที่ต้องใช้การผลิตสินค้าหรือบริการ
ปัจจัยการผลิตสามารถแบ่งได้เป็น  5  ประเภท  คือ
1.  ด้านแรงงาน  เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเพิ่มผลผลิต   คงไม่มีสินค้าหรือบริการใด ๆ  ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับคนงาน  เพราะกิจการบางประเภทต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก  ทั้งนี้ปัจจัยการผลิตด้านแรงงานจึงมีความสำคัญในการเพิ่มผลผลิตที่ต้องการพิจารณาถึงจำนวนของพนักงาน  เงินเดือน  สวัสดิการ  และอื่น ๆ
2.  ด้านทุน  ในกิจการทางอุตสาหกรรมบางประเภทต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในการซื้อเครื่องจักร  วัสดุอุปกรณ์  ที่ดิน  อาคาร  ค่าเสื่อมต่าง ๆ  ดังนั้น  การพิจารณาปัจจัยการผลิตด้านทุนจึงจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงด้วย
3.  ด้านวัตถุดิบ  วัตถุดิบจะถูกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เช่น   การผลิตกระดาษ   การผลิตรถยนต์   เป็นต้น    การทำให้ไม่มีของเสียในระบบผลิตเลยหรือหากมีก็ให้มีของเสียน้อยที่สุด  ย่อมจะเป็นผลดี    เพราะผลผลิตก็จะสูงขึ้นและได้ใช้วัตถุดิบคุ้มค่าต่อเงินที่เสียไป    ปัจจัยการผลิตด้านวัตถุเป็นปัจจัยที่ต้องพยายามให้สูญเสียน้อยที่สุด ทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด   ทั้งด้านปริมาณ  ราคา   และจำนวนที่ใช้
4. ด้านพลังงาน   ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจกรรมทุกประเภทเสมอ    ปัจจัยการผลิตด้านพลังงาน   เช่น  ไฟฟ้า   น้ำประปา   น้ำมัน   ถ่านหิน  ฯลฯ  ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเหล่านี้เป็นจำนวนเงินที่สูงมากในแต่ละเดือน    ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้ปัจจัยการผลิตด้านพลังงานให้คุ้มค่าและประหยัด
5.  ด้านบริการ     ปัจจัยการผลิตด้านบริการจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทางอ้อมทุกประเภทที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เป็นสวัสดิการสำหรับพนักงานด้วย เช่น  ค่าโฆษณา   ค่าประกัน   เป็นต้น
ปัจจัยในการผลิตทั้งหมดจะนำไปใช้ในการคำนวณวัดการเพิ่มผลผลิต   เพราะเมื่อเป้าหมายหรือผลผลิตที่ต้องการแตกต่างกัน    ความต้องการปัจจัยการผลิตก็ย่อมจะแตกต่างกัน   หรืออาจจะมีเป้าหมายหรือผลผลิตเหมือนกันแต่ก็ยังมีความต้องการปัจจัยการผลิตแตกต่างกันได้


แนวทางการเพิ่มผลผลิตมีดังนี้👋


       แนวทางที่ 1 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม คือ Output เพิ่มขึ้น Input เท่าเดิม แนวทางนี้นำไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตในสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในสภาพปกติ คือเมื่อพนักงานมีเท่าเดิมต้องการให้ผลิตผลมากขึ้น ก็หาวิธีการปรับปรุงงานด้วยการนำเทคนิค วิธีการปรุงปรับการเพิ่มผลผลิตเข้ามาช่วย เช่น ปรับปรุงวิธีการทำงาน ฝึกอบรมทักษะในเรื่องการทำงานให้มีทักษะคุณภาพ กิจกรรม 5 ส กิจกรรม QCC ฯลฯ จะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มีค่าสูงขึ้น โดยไม่เพิ่มปัจจัยการผลิต


       แนวทางที่ 2 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตลดน้อยลงคือ Output เพิ่มขึ้น Input ลดลง แนวทางนี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้การเพิ่มผลผลิตมีค่าสูงสุดมากกว่าวิธีอื่น ๆ เป็นแนวทางที่นำเอาแนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 4 เข้าด้วยกัน ผู้ปฏิบัติต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับปรุงกระบวนการผลิตวิธีการทำงานทั้งหมด จนไม่มีการสูญเสียในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง ใช้คนงานสุ่มเช็คความเรียบร้อยของสินค้าก่อนบรรจุลงในกล่อง หากพบสินค้ามีรอยตำหนิไม่เป็นมาตรฐานก็จะแยกส่งออกไปแก้ไขใหม่ใช้พนักงาน 6 คน ในจำนวนพนักงานทั้งหมด12 คน ในสายตาการผลิต จะเห็นว่าเวลาส่วนใหญ่ของพนักงานทั้ง6 ที่ยืนสังเกตแยกสินค้าออกนี้ ถูกนำไปใช้งานที่ไม่เกิดประโยชน์ ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นต้องปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ ในการหาวิธีตรวจสองสินค้าที่มีรอยตำหนิ โยกย้ายพนักงานออกไปทำหน้าที่อื่นที่ได้ประโยชน์ในการทำงานมากกว่าจะทำให้โรงงานได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และลดปัจจัยการผลิตน้อยลง แนวทางนี้จะเป็นวิธี “การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพด้วยต้นทุนต่ำ” ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรอย่างคุ้มค่า หรือมีประสิทธิภาวะสูงสุด โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตจากพนักงานให้สูงขึ้นและให้ลดความสูญเสียที่เกิดจาก “จุดรั่วไหล” ต่าง ๆ ให้มากที่สุด ประหยัดได้ต้องประหยัด ลดกันทุกจุกที่ทำได้ก็เท่ากับลดต้นทุน


       แนวทางที่ 3 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น (ในอัตราที่น้อยกว่าการเพิ่มของผลิตผล) คือ Output เพิ่มขึ้น แต่ Input เพิ่มน้อยกว่า แนวทางนี้นำไปใช้ในสภาวะเศรษฐกิจกำลังเติบโตต้องการขยายกิจการและขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น มีทุนพอที่จะจัดซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มขึ้น จ้างแรงงานเพิ่มใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการผลิต ลงทุนในด้านปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้วอัตราส่วนของผลผลิตที่เพิ่มจะมากกว่าการเพิ่มของปัจจัยการผลิต


       แนวทางที่ 4 ทำให้ผลิตผลเท่าเดิม แต่ปัจจัยการผลิตลดลง คือ Output คงที่ แต่ Input ลดลง แนวทางนี้ไม่เพิ่มยอดการผลิต นั่นคือ การใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะที่จะใช้กับช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความต้องการของตลาดมีไม่มากนัก เช่น การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ขจัดเวลาที่สูญเสียต่าง ๆ การประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่ให้ใช้อย่างจำกัดและจำเป็นลดความฟุ่มเฟือยต่าง ไหลหาจุดไหลในการผลิตและลดจุดรั่วนั้น ๆ



       แนวทางที่ 5 ทำให้ผลิตผลลดลงจากเดิมแต่ปัจจัยการผลิตลดลงมากกว่า (ในอัตราลดลงมากกว่าลดผลิตผล) คือ Output ลดลง Input ลดลงมากกว่าแนวทางนี้ใช้ในภาวะที่ความต้องการของสินค้าหรือบริการในตลาดน้อยลง เพื่อใช้เพิ่มค่าของการเพิ่มผลผลิตเช่นสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย คนไม่มีกำลังซื้อ สินค้าฟุ่มเฟือยไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น รถยนต์ น้ำหอมฯลฯ ขายไม่ได้มาก บริษัทที่ผลิตต้องลดปริมาณการผลิตลง และพยายามลดปัจจัยการผลิตให้มากกว่าด้วย เพื่อให้การเพิ่มผลผลิตค่าสูงขึ้น

สาเหตุที่ต้องมีการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตเพราะอะไร

เหตุผลที่ต้องทำการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เนื่องจากการที่โลกเรามีทรัพยากรจำกัด และนับวันจะร่อยหรอลง การเพิ่มผลผลิตจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นได้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสูญเสียน้อยที่สุด โดยการเลือกใช้เครื่องมือ หรือเทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตที่เหมาะสม เช่น 5ส QCC…

แนวทางในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตมีอะไรบ้าง

วิธีการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต คือ การดำเนินงานขององค์การให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จาการวางแผนการผลิต มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตตามแผนที่กำหนดไว้ โดยองค์การอำนาจเทคโนโลยีเข้ามาใช้การเพิ่มผลผลิตหรือใช้เทคนิคทางวิศวอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการปรับปรุงการทำงานจากการศึกษาวิธีการทำงาน การผลิตแบบทันเวลา รวมทั้งการบำรุงรักษาทวีผล กิจกรรมดัง ...

ข้อใดคือการเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดเศรษฐกิจและสังคม

การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม หมายถึง การแสวงหาวิธีการในการแก้ไข ปรับปรุงกระบวนการผลิต กระบวนการท างาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดความสูญเสียที่เปล่า ประโยชน์ลง และการแสวงหาแนวทางในการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด

การเพิ่มผลิตภาพมีแนวทางอย่างไรบ้าง

วิธีเพิ่มเพิมผลิตภาพให้กับบุคลากรและองค์กร.
1.ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพ ... .
3.ช่วยเหลือเกื้อกูล ... .
5.ปรับเปลี่ยนปัจจัยในการวัดผล ... .
6.ให้รางวัลตอบแทน ... .
7.การประเมินผล ... .
8.การคัดสรรทรัพยากรบุคคลที่ดี ... .
9.การทำงานที่ถนัดหรืองานที่รัก ... .
10.พัฒนาวิธีการทำงานอยู่เสมอ.