ธนาคารของไทยแห่งแรกสร้างขึ้นในรัชกาลใด

ธนาคารของไทยแห่งแรกสร้างขึ้นในรัชกาลใด

Advertisement

ธนาคารของไทยแห่งแรกสร้างขึ้นในรัชกาลใด

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (Siam Commercial Bank of Thailand) เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรก ของไทยกิจการของธนาคารเริ่มต้นขึ้นในนาม ‘บุคคลัภย์’ (Book Club) ในวันที่ 4 ต.ค. พ.ศ. 2447 ก่อตั้งโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เนื่องจากขณะนั้นทรงเชื่อว่า สยามประเทศมีความจำเป็น ต้องมีระบบการเงินธนาคาร เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ หลังจากบุคคลัภย์ขยายตัวทางธุรกิจขึ้นเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานอำนาจพิเศษ ให้จัดตั้ง ‘บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด’ เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการ นับแต่วันที่ 30 ม.ค. พ.ศ. 2449 ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการ เปิดทำการ ในที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร

ถัดจากนั้นมา 6 ปี ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง อำเภอสัมพันธวงศ์ และในปี พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่อภาษาไทย จากแบงก์สยามกัมมาจล เป็นธนาคารไทยพาณิชย์ และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก The Siam Commercial Bank, Limited เป็น The Thai Commercial Bank, Limited ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 2482 เป็นต้นไปจากนั้น 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 แต่งตั้ง นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ชาวไทยคนแรก

ถือได้ว่าเป็นธนาคารที่ทันสมัยที่สุดของประเทศในยุคนั้น โดยเริ่มให้บริการเงินด่วน ด้วยเครื่อง ATM เป็นครั้งแรก และแห่งแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2526 และมีสิ้นปี พ.ศ.2531 มีปริมาณสินทรัพย์รวม 1 แสนล้านบาท

ต่อมาในปี พ.ศ.2539 ได้ย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่ จากถนนชิดลม ไปยังอาคาร SCB Park Plaza ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ จนถึงปัจจุบัน โดยมีนาย อาทิตย์ นันทวิทยา เป็นประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คนปัจจุบัน

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สรุปจำนวนสาขาและจุดให้บริการของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ระบุว่า ณ เดือนตุลาคม 2563 ธนาคารไทยพาณิชย์ มีจำนวนสาขาและจุดบริการในประเทศ 903 สาขา ต่างประเทศ 6 สาขา รวม 909 สาขา

ธนาคารไทยพาณิชย์มีบริการทางด้าน การเงินครบวงจรให้แก่ลูกค้าทุกประเภท ทั้งที่เป็น บริษัทขนาดใหญ่ วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และลูกค้ารายย่อย ได้แก่ การรับฝากเงิน การโอนเงิน การให้กู้ยืมประเภทต่างๆ การรับซื้อลด การรับรองอาวัล ค้ำประกัน บริการด้านปริวรรตเงินตรา Bancassurance บริการด้านการค้าต่างประเทศ บริการ Cash Management บริการด้านธุรกิจหลักทรัพย์ อาทิ บริการจำหน่ายหุ้นกู้ บริการนายทะเบียนหุ้นกู้ การรับประกันการจัดจำหน่ายตราสารหนี้ นายทะเบียนหลักทรัพย์ บริการรับฝากทรัพย์สิน การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคล บัตรเครดิตและการรับฝากทรัพย์สินผ่านทางสำนักงานใหญ่ และเครือข่ายสาขาของธนาคาร

ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อ-ขาย เมื่อ วันที่ 12 ก.พ. 2519  โดย ณ วันที่ 30 ก.ย.2563 ธนาคารมีสินทรัพย์รวม 3,225,380.90 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 2,818,778.43  ล้านบาท มีเงินฝาก 2,407,000 ล้านบาท และมีสินเชื่อ 2,171,000 ล้านบาท ปัจจุบันหุ้นของธนาคาร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย หุ้นสามัญ (SCB, SCB-F) หุ้นบุริมสิทธิ (SCB-P, SCB-Q) ณ วันที่ 30 ก.ย. 2563 ธนาคารมีมูลค่าหุ้น ตามราคาตลาด (Market Capitalization) 220,940 ล้านบาท

โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 12 อันดับ ณ วันที่ 22 พ.ค. 2563 มีรายละเอียดดังนี้

ธนาคารของไทยแห่งแรกสร้างขึ้นในรัชกาลใด

  • ที่มา: 
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • https://sites.google.com/a/srisawat.ac.th/economics-th/thnakhar-haeng-raek-khxng-prathesthiy

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

ธนาคารออมสิน ถือกำเนิดโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรักษาทรัพย์ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย โดยทรงตราพระราชบัญญัติจัดตั้งคลังออมสินขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2456 ด้วยพระราชปณิธานที่จะให้คลังออมสินเป็นที่เก็บรักษาทรัพย์สินอย่างปลอดภัย และฝิกฝนให้ราษฎรรู้จักเก็บออมทรัพย์อย่างถูกวิธี ซึ่งคลังออมสินได้ยืนหยัดในการทำหน้าที่นี้ตลอดมา โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ และอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ ที่จารึกไว้ นั่นคือใน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะคลังออมสินขึ้นเป็นธนาคารออมสิน โดยทรงตราพระราชบัญญัติธนาคารออมสินขึ้น เพื่อรองรับกับความก้าวหน้าของกิจการคลังออมสิน และเปิดดำเนินการในรูปแบบธนาคารตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2490 และในปี พ.ศ. 2509 ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน ถนนพหลโยธิน ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ อันยังความปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นเปรียบเสมือนพลังและแรงใจในการทำงานของชาวธนาคารออมสินในการทำหน้าที่สถาบันการเงินที่ยืนหยัดเพื่อคนไทยและนำพาประเทศพัฒนาในทุกทางสืบไป

การเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งชาติจนถึงวันนี้ความโศกเศร้าอาดูรก็ยังไม่เคยจางลง นับเป็นสิ่งที่ยากจะยอมรับได้ ด้วยทรงเป็นต้นแบบของกษัตริย์ที่ทรงครองแผ่นดินโดยธรรมครบถ้วนทศพิธราชธรรม ที่คงสถิตอยู่ในหัวใจคนไทยเป็นนิรันดร์ และสิ่งหนึ่งที่เราคนไทยจะรวมใจทำให้พระองค์ท่านสุขสถิตในสวรรค์ นั่นคือการดำเนินรอยตามพระจริยวัตรอันงดงามที่พระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างให้เราตลอดมา

ในนามธนาคารออมสิน ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้จากพระองค์ท่าน ธนาคารออมสินขอน้อมถวายความอาลัยด้วยการแสดงความจงรักภักดีอย่างสูงสุด นับตั้งแต่มีประกาศสำนักพระราชวังเรื่องการเสด็จสวรรคตในวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ธนาคารออมสิน ได้จัดทำสื่อถวายความอาลัยทั้งร้อยแก้วร้อยกรองในทุกช่องทางการสื่อสารนอกจากนี้ยังได้วางแนวทางปฏิบัติในการถวายความอาลัยให้กับสาขาทั่วประเทศเพื่อจักได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรีโดยพร้อมเพรียงกันและได้จัดกิจกรรมสำคัญขึ้นในหลากหลายกิจกรรมเพื่อถวายความอาลัย อาทิ การจัดทำกระปุกถวายความอาลัย การจัดทำบทเพลงและซีดีเพลงถวายความอาลัย การจัดทำเสื้อยึดสีดำแจกประชาชนผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น เพื่อให้พี่น้องประชาชนคนไทยได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ และแม้วันนี้พระองค์ท่านจะเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว แต่สิ่งหนึ่งทีเราคนไทยทุกคนจะน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านได้นั่นคือ การแสดงความจงรักภักดีสืบสานพระราชปณิธาน ปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่พระองค์ท่านได้พระราชทานไว้

ธนาคารออมสิน จะดำรงตนเป็นแบบอย่างตามรอยพระราชจริยวัตรอันงดงามยิ่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร โดยธนาคารออมสินจะยึดมั่นในการทำหน้าที่ธนาคารที่จะสร้างความสุขให้พี่น้องคนไทยและนำพาความเจริญเพื่อประเทศชาติพัฒนาในทุกด้านสืบต่อไป

ธนาคารของคนไทย เพื่อความสุขที่ยั่งยืน

ทุกย่างก้าวของธนาคารออมสิน นอกจากการทำหน้าที่สถาบันการเงินเพื่อการออมของประเทศแล้ว ยังคงมุ่งมั่นในการทำหน้าที่สืบสานสร้างสรรค์พัฒนาสังคมในทุกด้านเพื่อสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้พี่น้องคนไทย โดยในปีที่ผ่านมาธนาคารได้เป็นเสาหลักสำคัญของรัฐบาลในการผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในหลากหลายโครงการ อาทิ สินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน / สินเชื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา / บ้านประชารัฐ /การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างความรู้ทางการเงินแก่ผู้ประกอบการรายย่อยฯ / National e-Payment / มาตรการประชารัฐเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชน (พักชำระหนี้) / มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน /โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและเบ็ดเสร็จ ซึ่งนอกจากนี้ยังมีแผนงานที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้แนวคิด ออมเศรษฐกิจ ออมสังคม ออมสิ่งแวดล้อม อาทิ กิจกรรมตลาดนัดประชารัฐสีชมพู โครงการประกวดชุมชนประชารัฐสีชมพู ซึ่งทุกกิจกรรม ทุกโครงการ ได้ดำเนินการสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ที่ทางรัฐบาลได้วางไว้ทำให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เติบโตได้อย่างเข้มแข็ง และส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ในเชิงบูรณาการได้อย่างยั่งยืน

ธนาคารของคนไทย กับรางวัลแห่งความสำเร็จ

จากความร่วมมือร่วมใจกันผลักดันเป้าหมาย แผนงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมกับการปรับปรุงกระบวนการที่สำคัญ ทั้งกระบวนการทางธุรกิจ การบริหารจัดการ การตรวจสอบและควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการบริหารความเสี่ยง เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐานสากล ภายใต้การกำกับและตรวจสอบโดยธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2560 โดยมีผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ต่อหน่วยงานภายนอก นำมาซึ่งรางวัลเกียรติยศต่าง ๆ ทั้งในระดับองค์กร ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านผู้นำองค์กร ที่สร้างความภาคภูมิใจ และเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันให้ธนาคารออมสินพร้อมก้าวเดินหน้าต่อไป เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยในทุกด้าน

ธนาคารของคนไทย มากกว่าการธนาคาร ธนาคารเพื่อสังคม

เพราะเราเป็นธนาคารของคนไทย 108 ปี ธนาคารออมสินยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการด้านการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการให้กับพี่น้องคนไทยในทุกด้าน และพร้อมเดินหน้าสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันและช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อนำมาซึ่งอนาคตที่มั่นคง มั่งคั่ง และความสุขที่ยั่งยืนของประเทศและประชาชน นับจากนี้ธนาคารออมสินจะเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการทางการเงินที่มีคุณค่า ตอบโจทย์ด้านการเงินของทุกกลุ่มลูกค้า นำมาซึ่งความพึงพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการ และพร้อมที่จะร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ยุค Digital Economy และ Thailand 4.0 เพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ของธนาคารออมสินอย่างสง่างาม เป็นธนาคารของคนไทย….มากกว่าการธนาคาร ธนาคารเพื่อสังคม

ธนาคารของไทยแห่งแรกสร้างขึ้นในรัชกาลใด *

2.ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานอำนาจพิเศษให้จัดตั้ง บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449. 3.เป็น “ธนาคารไทยแห่งแรกของประเทศไทย

ข้อใดเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย

ธนาคารไทยพาณิชย์หรือ SCB นับเป็นธนาคารแห่งแรกของไทย โดยก่อตั้งขึ้นในนาม"บุคคลัภย์" (Book Club) โดย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ขณะนั้นทรง ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวง พระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

ธนาคารแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นสมัยใด

ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธนาคารแห่งแรกของโลกเกิดขึ้นในประเทศใด

ทั้งนี้ หากย้อนไปค้นหาว่าธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่ใด คำตอบที่มักจะปรากฏให้เห็น ได้แก่ Banca Monte dei Paschi di Siena ธนาคารในเมือง Siena ประเทศอิตาลี ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1472 [3] คำว่า banca ที่ปรากฏนำหน้าชื่อธนาคารแห่งนี้ เป็นที่มาของคำว่า bank ที่แปลว่า ธนาคาร ในภาษาอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำ ...