กรณีบาดเจ็บในงาน ประกันสังคม

ทั่วไป

เจ็บป่วยจากการทำงาน "ประกันสังคม" ช่วยได้ รับเงินรวดเร็วขึ้น ทำอย่างไรไปดู

19 พ.ย. 2564 เวลา 11:33 น.3.1k

เจ็บป่วยจากการทำงาน "ประกันสังคม" ช่วยได้โดยกองทุน เงินทดแทน ผ่านระบบใหม่ "E-Compensate" ที่ www.sso.go.th หัวข้อ SSO E-Service เพื่อดำเนินการ

เจ็บป่วยจากการทำงาน "ประกันสังคม" ช่วยได้โดยกองทุน เงินทดแทน ผ่านระบบใหม่ "E-Compensate" ที่ www.sso.go.th หัวข้อ SSO E-Service เพื่อดำเนินการ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "ประกันสังคม" โอนเงินเยียวยา คนที่ยังไม่ได้ เช็คอัพเดทที่นี่

- ชวน "ผู้ประกันตน" ตรวจสุขภาพฟรี ทุกรพ.ประกันสังคม

- ส่อง 14 รายการ "ตรวจสุขภาพ" ฟรีผู้ประกันตน วิธีเช็คสถานพยาบาลร่วมโครงการฯ

เว็บไซต์ "ประกันสังคม" แจ้งข่าวสำหรับกรณีเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วยจากการทำงาน สามารถแจ้งการประสบอันตรายผ่านระบบ "E-Compensate" โดยการสมัครขอทำธุรกรรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์ และเข้าใช้งานระบบได้ที่ www.sso.go.th หัวข้อ SSO E-Service เพื่อดำเนินการ

ขั้นตอนการแจ้งการประสบอันตราย

- แจ้งการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

- ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมทางระบบเพื่อประกอบการพิจารณา วินิจฉัย 

- ตรวจสอบ ติดตามสถานะของเรื่องประสบอันตรายและแจ้งผลการวินิจฉัย 

สถานพยาบาลในความตกลง ของกองทุนเงินทดแทน เข้าใช้งานระบบ "E-Compensate" เพื่อดำเนินการ 

- ตรวจสอบการส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล

- ส่งเอกสารประกอบการรักษาและใบแจ้งหนี้ เพื่อประกอบการพิจารณาค่ารักษาพยาบาล

- ตรวจสอบ ติดตามสถานะของการจ่ายค่ารักษาพยาบาล

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ 

- ลดขั้นตอนและระยะเวลา ไม่ต้องมาติดต่อที่สำนักงานประกันสังคม 

- ได้รับพิจารณาวินิจฉัยการประสบอันตรายและได้รับเงินทดแทนอย่างรวดเร็ว 

- สามารถตรวจสอบ ติดตาม สถานะของเรื่องประสบอันตรายได้

- ได้รับข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประกันสังคมโดยตรง

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์สายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.sso.go.th

กรณีบาดเจ็บในงาน ประกันสังคม

กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่จ่ายเงินเข้า สำนักงานประกันสังคม ทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้า

กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่จ่ายเงินเข้า สำนักงานประกันสังคม ทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยไม่คำนึงถึงวัน เวลา และสถานที่ แต่จะดูจากสาเหตุที่ทำให้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ซึ่งลูกจ้างจะได้รับสิทธิจากกองทุนเงินทดแทนทันทีนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานให้นายจ้าง

กรณีทุพพลภาพ ได้รับค่าทดแทน 70% ของค่าจ้าง

  • - ได้รับค่าทดแทนรายเดือนเป็นระยะเวลาตลอดชีวิต
  • - สิ้นสุดการรักษาและประเมินจากแพทย์

กรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ได้รับค่าทดแทน 70% ของค่าจ้าง

  • - ได้รับค่าทดแทนรายเดือนเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยจ่ายให้กับผู้มีสิทธิตามกฎหมาย

ค่าทำศพได้รับตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

  • - ได้รับค่าทดแทนเท่ากับ 50,000 บาท ตั้งแต่วันที่ประกาศ 12 กรกฎาคม 2564

ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

  • - ได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟู 24,000 บาท
  • - ได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและการผ่าตัด 40,000 - 180,000 บาท
  • - ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูไม่เกิน 160,000 บาท
  • - ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพไม่เกิน 24,000 บาท

กรณีบาดเจ็บในงาน ประกันสังคม

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

วิธีการแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยพร้อมเอกสารประกอบการยื่นคำขอ

นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจแจ้งตามแบบ กท.16 โดยยื่นเรื่อง ณ สำนักงานประกันสังคมที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา ซึ่งสามารถส่งเอกสารได้โดยตรงที่สำนักงานประกันสังคมหรือส่งทางไปรษณีย์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง หรือลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหาย หรือหากการเจ็บป่วยเกิดหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย

หลักฐานการแจ้งการประสบอันตรายหรือการขอรับเงินทดแทนทุกกรณี

1. แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16)

2. แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) (กรณีนายจ้างส่งตัวเข้ารับ การรักษาที่สถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน) ต้นฉบับพร้อมสำเนา

3. ใบรับรองแพทย์ (กท.16/1) หรือใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาล

4. การประสบอันตรายที่ไม่ชัดเจน เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ เกิดเหตุนอกสถานที่ เป็นต้น ต้องขอหลักฐานเพิ่ม เช่น หลักฐานการลงเวลาทำงาน บันทึกประจำวันตำรวจ แผนที่เกิดเหตุ เป็นต้น

5. ใบเสร็จรับเงิน (กรณีนายจ้าง ลูกจ้างสำรองจ่ายไปก่อน)

6. กรณีเสียชีวิตหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน ต้องมีหลักฐานแสดงการเสียชีวิต ใบชันสูตรศพ ใบมรณบัตรของลูกจ้าง บันทึกประจำวันตำรวจ (ถ้ามี) พร้อมด้วยหลักฐานของ ผู้มีสิทธิ ดังนี้ สูติบัตรของบุตร ทะเบียนสมรสของลูกจ้างกับสามีหรือภรรยา ทะเบียนสมรสของบิดา - มารดา ทะเบียนบ้านของลูกจ้าง บิดา - มารดา ภรรยาหรือสามี บุตร / ทะเบียนหย่าของลูกจ้างหรือบิดามารดาหรือคู่สมรส (ถ้ามี) / หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุลของลูกจ้าง บิดา มารดา คู่สมรส บุตร (ถ้ามี) หรือถ้ากรณีผู้มีสิทธิเสียชีวิต ควรมีหลักฐาน ดังนี้ สามีหรือภรรยา บิดามารดา หรือบุตร ต้องมีหลักฐานใบมรณบัตรของทุกคนมาแสดง เพื่อประกอบการพิจารณา

ทั้งนี้ การยื่นแบบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย (กท.16) เพียงครั้งเดียว สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้ทุกกรณี ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ค่าทำศพ ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทำงานได้ ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ และค่าทดแทนกรณีตายหรือสูญหาย

ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

ที่มาภาพ : AFP

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

อุบัติเหตุในงานใช้ประกันสังคมได้ไหม

1) หากลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน เบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทน ได้ไม่เกิน 50,000 บาท 2) กรณีค่ารักษาพยาบาลเกิน 50,000 บาท ก็ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงเพิ่มอีกไม่เกิน 100,000 บาท แต่จะต้องมีเงื่อนไขกำหนด ดังนี้ บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายใน และต้องผ่าตัดทันที

อุบัติเหตุประกันสังคมจ่ายเท่าไร

ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ดังนี้ ผู้ป่วยนอก เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท - เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ถ้ามีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้

ลูกจ้างประสบอันตรายในกรณีใดจึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทน

มาตรา ๒๐ เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง (๑) บิดามารดา (๒) สามีหรือภรรยา (๓)[๑๐] บุตรมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนต่อไปจนกว่าจะจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี

กท 44 และ กท 16 คืออะไร

แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16) แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) (กรณีนายจ้างส่งตัวเข้ารับ การรักษาที่สถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน) ต้นฉบับพร้อมสำเนา ใบรับรองแพทย์ (กท.16/1) หรือใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาล