แหล่งประมง ที่ สํา คั ญ ของทวีปอเมริกาเหนือ

สหรัฐบังคับใช้มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ มุ่งส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืน 

แหล่งประมง ที่ สํา คั ญ ของทวีปอเมริกาเหนือ
แหล่งประมง ที่ สํา คั ญ ของทวีปอเมริกาเหนือ
แหล่งประมง ที่ สํา คั ญ ของทวีปอเมริกาเหนือ
แหล่งประมง ที่ สํา คั ญ ของทวีปอเมริกาเหนือ


แหล่งประมง ที่ สํา คั ญ ของทวีปอเมริกาเหนือ
แหล่งประมง ที่ สํา คั ญ ของทวีปอเมริกาเหนือ

            แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทรัพยากรทางน้ำที่สมบูรณ์แต่ยังมีการนำเข้าสินค้าประมงเพื่อการบริโภคภายในประเทศมากกว่าร้อยละ ๘๕ เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำประมงสัตว์น้ำบางประเภท รวมถึงกฎระเบียบที่เคร่งครัดทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมประมงภายในประเทศสูง ในขณะที่การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีราคาต่ำและหลากหลายกว่า จึงส่งผลกระทบให้การแข่งขันของอุตสาหกรรมประมงภายในประเทศเป็นไปได้ยาก และเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 อุตสาหกรรมประมงของสหรัฐฯจึงได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การนำเข้าสินค้าประมงจากต่างประเทศลดลงจากสาเหตุการปิดประเทศของบางประเทศและปัญหาการขนส่ง ยอดจำหน่ายของสินค้าประมงมีปริมาณลดลง รวมทั้งส่งผลต่อการจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมประมง โดยในเดือนมีนาคม 2563 สถิติการยื่นขอล้มละลายของธุรกิจฟาร์มสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นอุตสาหกรรมประมงของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงได้ลงนามบังคับใช้คำสั่งพิเศษ (Executive Order) เรื่อง Promoting American Seafood Competitiveness and Economic Growth เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นมาตรการการส่งเสริมการผลิตอาหารทะเลและการจ้างงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ ในตลาดต่างประเทศ เพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารให้มากขึ้น ส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืนและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมโดยการลดขั้นตอนกฎระเบียบและขั้นตอนอนุญาตการทำประมงที่ล่าสมัยและยุ่งยาก ปรับปรุงการปฏิบัติตามนโยบายอย่างโปร่งใสและความมีประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล มุ่งเน้นแก้ปัญหาการประมง IUU ลดอุปสรรคด้านการค้า และสนับสนุนการจ้างงานภายในประเทศสร้างงานให้แก่ชาวอเมริกันอย่างยั่งยืน ให้ชาวอเมริกันได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ โดยคำสั่งดังกล่าวมีสรุปสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

(1) จัดทำนโยบายและยกเลิกกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นสำหรับชาวประมงและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสหรัฐฯ

ให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน เวลา ทรัพยากร และปรับปรุงแผนการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งชาติให้เป็นปัจจุบัน หลีกเลี่ยงขั้นตอนการออกใบอนุญาตทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น เพิ่มความโปร่งใสของกฎระเบียบและการวางแผนกลยุทธ์ในระยะยาวสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อลดปัญหาอุปสรรคและอำนวยความสะดวกให้กับโครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำการประมงภายในประเทศ ส่งเสริมกระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มการผลิตที่ได้จากการทำการประมงแบบยั่งยืนและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมด้านการประมง และกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIS) ในการก่อสร้างฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี

(3) ต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การการควบคุม (Fishing (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing – IUU)

สนับสนุนให้ภาครัฐภาคเอกชนองค์กรระหว่างประเทศและรัฐบาลต่างประเทศ ร่วมพัฒนาความตระหนักรู้ทางทะเลโลก ความร่วมมือด้านกิจกรรมการขนถ่ายในทะเล และประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายการทำประมง เพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการด้านประมงอย่างยั่งยืน มีการบังคับใช้กฎระเบียบการแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU อย่างจริงจัง และสนับสนุนให้มีการใช้ความตกลงว่าด้วยมาตรการรัฐเจ้าของท่า (Port State Measures Agreement) โดยสหรัฐฯ เสนอให้เพิ่มประเด็นแรงงานให้อยู่ในคำจำกัดความของการทำประมง IUU ในข้อตกลง The Western and Central Pacific Fisheries Commission (WCPFC) เพื่อแสดงความมั่นใจว่าแรงงานที่ทำงานบนเรือประมงได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม

(3) ส่งเสริมด้านสุขภาพสัตว์น้ำ (Promoting Aquatic Animal Health)

กำหนดให้พิจารณาว่าจะยกเลิกแผนสุขภาพสัตว์น้ำแห่งชาติปี พ.ศ. 2551 หรือ 2008 National Aquatic Animal Health Plan และนำแผนฉบับใหม่มาใช้แทนหรือไม่ภายใน ๓๐ วันนับจากวันออกคำสั่งฉบับนี้ ทั้งนี้ จะต้องจัดทำแผนฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จและสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายใน ๑๘๐ วันนับจากวันออกคำสั่งฉบับนี้ ซึ่งควรประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและกลยุทธ์การบริหารจัดการความเสี่ยงตามความเหมาะสม

(4) การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ (International Seafood Trade)

กำหนดให้จัดตั้งคณะทำงานด้านการค้าสินค้าประมงระหว่างหน่วยงาน (Interagency Seafood Trade Task Force)เพื่อให้คำแนะนำแก่สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (US Trade Representative - USTR) ในการจัดทำกลยุทธ์การเข้าถึงตลาดต่างประเทศผ่านนโยบายการค้าและการเจรจาแก้ไขปัญหาเทคนิคการกีดกันการส่งออกสินค้าประมงสหรัฐฯและสนับสนุนการเข้าถึงตลาดอย่างเป็นธรรมของการส่งออกสินค้าประมงสหรัฐฯในต่างประเทศภายใน ๙๐ วันนับจากวันออกคำสั่งฉบับนี้และกำหนดให้ USTR เสนอแผนการดังกล่าวต่อประธานาธิบดีฯ ภายใน ๙๐ วันนับจากวันที่คณะทำงานการค้าสินค้าประมงให้คำแนะนำนอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้ดำรงนโยบายการค้าสินค้าประมงที่ยุติธรรมและเท่าเทียม (Fair and reciprocal trade) และบังคับใช้กฎระเบียบด้านความปลอดภัยอาหาร (Food safety) ต่อสินค้าประมงภายในประเทศและสินค้าประมงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอย่างเท่าเทียมกัน ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีสหรัฐฯจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อประเทศที่ส่งสินค้าประมงเข้าไปยังสหรัฐฯอย่างไร แต่เป็นที่ต้องจับตามองว่าคำสั่งพิเศษดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสินค้าประมงไทยในตลาดสหรัฐอย่างไรในอนาคต เพราะเมื่อสหรัฐฯ สามารถออกใบอนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ครอบคลุมการเพาะเลี้ยงได้หลายสายพันธุ์ทั้งสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำทะเล และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงสาหร่ายภายในประเทศได้สำเร็จ อาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในประเทศลดต่ำลงในระดับที่สามารถแข่งขันกับสินค้าประมงนำเข้าจากต่างประเทศได้ นอกจากนี้ การบังคับใช้กฎระเบียบด้านความปลอดภัยอาหารกับสินค้าประมงนำเข้าอย่างเคร่งครัดและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทำการประมง IUU คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ต้นทุนสินค้าประมงจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทยในอนาคตด้วย  

เรียบเรียง: ชรินรัตน์ อุบลบาน, กลุ่มความร่วมมือทวิภาคี กองประมงต่างประเทศ

อ้างอิง:

- สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. 12 พฤษภาคม 2563. กษ 0211.2/98. “ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาออกคำสั่งพิเศษ เรื่อง การส่งเสริมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าประมงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา (Executive Order on Promoting American Seafood Competitiveness and Economic Growth)”

- สำนักการเกษตรต่างประเทศ. 3 สิงหาคม 2563. กษ 0204/1702. “สถานการณ์สินค้าประมงในตลาดสหรัฐฯ ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19”

- Globthailand.com. 2563. “สหรัฐบังคับใช้มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ มุ่งส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืน”. https://globthailand.com/usa-18052020

- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา. 2563. “สหรัฐฯ เดินหน้าหนุนอุตสาหกรรมประมงภายในประเทศ”. https://www.thaibicusa.com/2020/05/19/fisheries-industry/

- Bridget Goldschmidt. 2563. "Trump Signs Executive Order Promoting U.S. Seafood". https://progressivegrocer.com/trump-signs-executive-order-promoting-us-seafood

เหตุใดอเมริกาเหนือจึงเป็นแหล่งประมงที่สำคัญหลายแห่ง

ทำไมการประมงจึงจัดเป็นอาชีพสำคัญของทวีปอเมริกาเหนือ เพราะประเทศในทวีปนี้ส่วนใหญ่มีพื้นที่ติดทะเล ทำไมบริเวณแกรนด์แบงส์ (Grand Banks) จึงมีปลาชุกชุม เพราะเป็นบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมไหลมาบรรจบกับกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ จึงเป็นที่รวมของแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารปลาอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์น้ำชุกชุม

แหล่งเพาะปลูกที่สําคัญของทวีปอเมริกาเหนืออยู่บริเวณใดบ้าง

เพาะปลูกเพื่อการค้าแบบไร่ขนาดใหญ่ และการเพาะปลูกเพื่อยังชีพใช้แรงงานเกษตรเป็นหลัก 2. พื้นที่เพาะปลูกสำคัญของทวีปอเมริกาเหนืออยู่ในแถบใด 1) ที่ราบชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้ แถบรัฐแอลเบอร์ตา ซัสแคตเชวันของแคนาดา 2) ชายฝั่งตะวันออก และแถบตอนกลาง ตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา

บริเวณใดเป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สําคัญที่สุดของทวีปอเมริกาเหนือ

2.2 ที่ราบแพรรีในแคนาดา บริเวณมณฑลมานิโตบา ซาสเคตเชวันและ แอลเบอร์ตา เป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของโลก

ทรัพยากรดินในทวีปอเมริกาเหนือข้อใดเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดและข้าวสาลีมากที่สุด

ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ปลูกมากบริเวณที่ราบภาคกลาง ข้าวสาลี ปลูกมากในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ฝ้าย เป็นสินค้าออกที่สำคัญของทวีปอเมริกาเหนือ ถั่วเหลือง บริเวณที่ปลูกมาก ได้แก่ เขตที่ราบภาคกลางของสหรัฐอเมริกา