ถ้าแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่แยกจากกันที่เทือกสันเขากลางมหาสมุทร

ก็อยากให้ลองทำดูน่ะนะ :P
เอากระดาษปากกามาจดแล้วกัน อย่าแอบดูเฉลยก่อนล่ะ!


1. บริเวณที่อยู่เหนือชั้นหินหนืด หมายถึงข้อใด
ธรณีภาค
ฐานธรณีภาค
แผ่นเปลือกโลก
ธรณีภาคชั้นนอก

2. เมื่อพื้นแผ่นมหาสมุทรใหม่ก่อรูปขึ้น จะเกิดผลอย่างไรกับพื้นแผ่นมหาสมุทรเก่า
พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่ารวมตัวกันเป็นแนวเทือกเขา
พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่ารวมตัวกันเป็นบริเวณพื้นทวีป
พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่าเคลื่อนตัวลงไปภายในโลก บริเวณร่องลึกก้นสมุทร เกิดการมุดตัวของเปลือกโลก
พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่ารวมตัวกันเป็นแนวภูเขาไฟกลางมหาสมุทร

3. ถ้าแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่แยกจากกันที่เทือกสันเขากลางมหาสมุทร จะเกิดผลตามข้อใด
การขยายตัวของทวีป
เกิดภูเขาไฟใต้มหาสมุทร
เกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร
เกิดการขยายตัวของมหาสมุทร

4. สีของดาวฤกษ์ในข้อใดมีการเรียงลำดับตามอุณหภูมิพื้นผิวจากสูงไปต่ำ
เหลือง ขาว ค่อนข้างไปทางแดง
ค่อนข้างไปทางน้ำเงิน เหลือง ขาว
ค่อนข้างไปทางน้ำเงิน ขาว เหลือง
ค่อนข้างไปทางน้ำเงิน ขาว เหลือง

5. การเคลื่อนที่ปรากฏประจำวันของดาวฤกษ์ จะเคลื่อนที่ในลักษณะใด
ไม่มีการเคลื่อนที่
เคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก
เคลื่อนที่จากทิศเหนือไปยังทิศใต้
เคลื่อนที่จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก

6. ส่วนที่เป็นธรณีภาค (Lithosphere) ได้แก่ บริเวณใด
เปลือกโลกแสะส่วนบนของเนื้อโลก
เปลือกโลกและเนื้อโลกทั้งหมด
เปลือกโลก (Crust)
เนื้อโลก (Mentle)

7. บริเวณบนผิวโลกที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยมากที่สุดได้แก่
แนวรอยต่อภูเขาแอลป์กับภูเขาหิมาลัย
บริเวณวงแหวนแห่งไฟ
บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
บริเวณใจกลางแผ่นยูราเซียน (Eurasian plate)

8. ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่นักเรียนอยู่บนอาคารสูง ควรปฏิบัติตนอย่างไร
รีบวิ่งลงบันได
รีบลงชั้นล่างโดยใช้ลิฟต์
มุดเข้าใต้โต๊ะภายในอาคาร
ไปที่หน้าต่าง เพื่อขอความช่วยเหลือ

9. บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก เช่น ประเทศไทย มีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิดหรือไม่ เพราะเหตุใด
มีโอกาส เพราะแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ตลอดเวลา
ไม่มีโอกาส เพราะอยู่ห่างจากบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ
ไม่มีโอกาส เพราะประเทศไทยไม่มีรอยแยกของชั้นหินอยู่เลย
มีโอกาส เพราะหินหนืดมีโอกาสดันขึ้นมาตามรอยแตกของชั้นหินได้

10. พืชและสัตว์เลื้อยคลานสามารถเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่นำมาพิสูจน์การแยกตัวของทวีปได้เพราะเหตุใด
เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์
เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะคล้ายกันในแต่ละทวีป
มีอยู่เป็นจำนวนมากและหาได้ง่ายในการใช้สังเกต
มีลักษณะใหญ่พอที่จะสามารถนำมาวัดน้ำหนัก และวัดขนาดที่แท้จริงในปัจจุบันได้

11. ข้อใด ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกัน
แผ่นเปลือกโลกแผ่นเล็ก ๆ จะมีพื้นที่หายไป
แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นอาจเกิดการกระแทกซึ่งกันและกัน
แผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่จะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับทวีปเคลื่อนอย่างช้า ๆ

12. ทางช้างเผือก หรือ Milky Way เป็นชื่อของอะไร
กาแล็กซีเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด
กลุ่มดาวบนท้องฟ้าซีกเหนือ
กาแล็กซีที่เราอยู่
กลุ่มดาวบนท้องฟ้าซีกใต้

13. จุดจบของดวงอาทิตย์เป็นอย่างไร
ดาวแคระขาว เพราะดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก
ดาวแคระขาว เพราะดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย
หลุมดำ เพราะดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก
หลุมดำ เพราะดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย

14. ถ้าท่านอยู่ที่เส้นศูนย์สูตร จะเห็นดาวเหนืออยู่ตำแหน่งใด
อยู่เหนือศีรษะพอดี
อยู่ที่ขอบฟ้าในแนวทิศเหนือพอดี
อยู่เหนือขอบฟ้าในแนวทิศเหนือพอดี
อยู่ในแนวทิศเหนือทำมุมเงย 45 องศา

15. การที่พื้นดินและพื้นน้ำดูดกลืนและคายความร้อนได้ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดปรากฎการณ์ในข้อใด
การเกิดหมอก
การเกิดน้ำค้างเกาะตามใบไม้ใบหญ้า
การไหลเวียนของบรรยากาศบนพื้นโลก
การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร

16. หินหลอมละลายที่เรียกว่าแมกมา อยู่ตรงบริเวณใด
แก่นโลก
ธรณีภาค
ฐานธรณีภาค
ด้านล่างสุดของเปลือกโลก

17. แกนโลกชั้นใน(Inner core) ของโลกมีลักษณะเป็นอย่างไร
หินที่เป็นของแข็ง
โลหะของแข็ง
หินที่หลอมละลายเป็นของเหลว
โลหะที่หลอมละลายเป็นของเหลว

18. การเกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ มีสาเหตุมาจากอะไร
รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ทำปฏิกิริยากับบรรยากาศชั้นบนบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ ทำปฏิกิริยากับบรรยากาศชั้นบนบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้
อนุภาคอิเล็กตรอนและไอออนจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กมาชนกับอะตอมของแก๊สที่บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
อนุภาคโปรตอนพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กมาชนกับอะตอมของแก๊สที่บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

19. ลมสุริยะที่เกิดจากการระเบิดของกลุ่มแก๊สที่จุดบนดวงอาทิตย์ได้ปลดปล่อยสิ่งที่มีผลต่อระบบโทรคมนาคมของโลก สิ่งนั้นคืออะไร
รังสีอัลตราไวโอเลต
รังสีแกมมา
อนุภาคโปรตอน
สนามแม่เหล็ก

20. การป้องกันการเกิดสภาพไร้น้ำหนักบนยานอวกาศ ทำได้หรือไม่
ได้ โดยการมัดตัวเองให้ติดกับยาน
ได้ โดยการออกกำลังกายในยานอวกาศ
ไม่ได้ เพราะยานอวกาศมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
ไม่ได้ เพราะขณะที่อยู่ในยานอวกาศมีการตกอย่างอิสระ

21. ประเทศไทยจะได้รับผลจากแผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการกระทบกันของแผ่นธรณีภาคคู่ใดมากที่สุด
แผ่นยูเรเซียกับแผ่นแปซิฟิก
แผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย-อินเดีย
แผ่นแปซิฟิกกับแผ่นนาสกา
แผ่นแอนตาร์กติกกับแผ่นออสเตรเลีย- อินเดีย

22. มาตราที่ใช้วัดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว คือข้อใด
ริกเตอร์
เมอร์แคลลี
โมลด์
เวอร์นเวิร์ด

23. แนวการเกิแผ่นดินไหวของโลกในข้อใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด
แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย
แนวแถบหมู่เกาะอันดามัน
แนวล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก
แนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

24. เครื่องบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวมีชื่อเรียกว่าอะไร
ไซสโมกราฟ
บารอมิเตอร์
สเฟียร์โรมิเตอร์
ไกเกอร์ มูเลอร์ เคาเตอร์

25. อัตราเร็วในการแผ่ของคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นอยู่กับอะไร
ความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของตัวกลาง
ความหนาและความหนืดของตัวกลาง
อุณหภูมิและความลึกของตัวกลาง
มวลและอุณหภูมิของตัวกลาง

26. เหตุใดจึงต้องมีการกำหนดขนาดของแผ่นดินไหว
เพื่อตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้า
เพื่อทราบถึงศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว
เพื่อทราบผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว

27. จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) คืออะไร
จุดที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวแต่อยู่ในชั้นเนื้อโลก (Mantle)
จุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว
จุดในอากาศที่อยู่เหนือการเกิดแผ่นดินไหว
จุดล่างสุดของชั้นเปลือกโลก (Crust) ที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว

28. ริกเตอร์ (Richter) เป็นหน่วยวัดปริมาณใด
ความรุนแรงของการชนกันของแผ่นธรณีภาค
ความรุนแรงของการระเบิดของภูเขาไฟ
ความรุนแรงของการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว

29. บริเวณบนผิวโลกที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยมากที่สุดได้แก่
แนวรอยต่อภูเขาแอลป์กับภูเขาหิมาลัย
บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
บริเวณวงแหวนแห่งไฟ
บริเวณใจกลางแผ่นยุราเซียน (Eurasian plate)

30. พันเจีย (Pangaea) คืออะไร
บริเวณวงแหวนแห่งไฟ
แผ่นดินบนโลกทั้งหมดขณะที่ติดเป็นผืนเดียวกันหมด
ใจกลางธรณีภาค
บริเวณปากปล่องภูเขาไฟ

31. นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบว่าดาราจักรทางช้างเผือก มีรูปร่างแบบใด
กลมโต
คล้ายจาน
คล้ายไข่ต้ม
คล้ายลูกบอล

32. ดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวใด
หมีใหญ่
คนคู่
นายพราน
สุนัขใหญ่

33. ประเภทของดาวฤกษ์ในข้อใดมีการเรียงลำดับตามอุณหภูมิพื้นผิวจากต่ำไปสูง
1. A O R G
2. R G B A
3. B A F M
4. M G A O

34. ปรากฏการณ์ใดที่ไม่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง
การเกิดลมสุริยะ
การขยายตัวของของเอกภพ
การค้นพบอุณหภูมิพื้นหลัง
การวัดสเปกตรัมจากการเคลื่อนที่ของดาราจักร

35. ในวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ช่วงเวลาในข้อใดมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงมากที่สุด
ดาวยักษ์แดง
ดาวแคระขาว
ดาวแคระดำ
เนบิวลา

36. ดาว A ที่สว่างที่สุดมีความสว่าง -4.5 ดาว B เมื่อสว่างที่สุดมีความสว่าง -2.5 ดาว B มีความสว่างมากกว่าดาว A กี่เท่า
2.5
4.0
6.25
10.0

37. สิ่งที่เกิดขึ้นกับดาวฤกษ์ทุกดวงเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายเป็นตามข้อใด
ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น
การระเบิดซูเปอร์โนวา
การกลายสภาพเป็นดาวนิวตรอน
มวลสลายไปหมด

38. ข้อใดจัดเป็นดาวเคราะห์ชั้นในทั้งหมด
ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก
ดาวเสาร์ ดาวศุกร์ โลก
ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส โลก
ดาวศุกร์ ดาวยูเรนัส โลก

39. ยานอวกาศใดที่นำนักบินอวกาศขึ้นไปบนดวงจันทร์สำเร็จเป็นครั้งแรก
ยานอะพอลโล 11
ยานโคลัมโบ
ยานโมล็อคโค
ยานแคลเลนเจอร์

40. ดาวเทียมไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ ใช้เพื่อจุดประสงค์ด้านใด
เชิงพานิชย์
สำรวจทรัพยากร
ทางการทหาร
ความมั่นคง

41. พืชและสัตว์เลื้อยคลานสามารถเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่นำมาพิสูจน์การแยกตัวของทวีปได้เพราะเหตุใด
1. เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์
2. มีอยู่เป็นจำนวนมากและหาได้ง่ายในการใช้สังเกต
3. เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะคล้ายกันในแต่ละทวีป
4. มีลักษณะใหญ่พอที่จะสามารถนำมาวัดน้ำหนัก และวัดขนาดที่แท้จริงในปัจจุบันได้

42. ภูเขาไฟฟูจี ประเทศญี่ปุ่น จัดเป็นภูเขาไฟแบบใด
1. ภูเขาไฟสลับชั้น
2. โดมภูเขาไฟ
3. ภูเขาไฟรูปโล่
4. ภูเขาไฟรูปกรวยกรวดภูเขาไฟ

43. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้หินหนืดในชั้นแมนเทิลไหลวนได้
1. การหมุนรอบตัวเองของโลก
2. พลังงานความร้อนจากแก่นโลก
3. แรงดึงดูดของโลกและดวงจันทร์
4. น้ำหนักของโลกและแรงโน้มถ่วงของโลก

44. การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในข้อใดที่ ไม่ มีอิทธิพลจากภายใต้ผิวโลก
1. การกร่อน
2.การเกิดภูเขา
3.แผ่นดินไหว
4.การระเบิดของภูเขาไฟ

45. ข้อใดกล่าวถึงเปลือกโลกที่ปกคลุมมหาสมุทรได้ถูกต้อง
1. ประกอบด้วยหินแกรนิตเป็นส่วนใหญ่
2. มีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกที่ปกคลุมทวีป
3. มีอายุมากกว่าเปลือกโลกที่ปกคลุมทวีป
4. คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ผ่านได้ช้ากว่าเปลือกโลกที่ปกคลุมทวีป

46.แนวการเกิดแผ่นดินไหวของโลกในข้อใด มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด
1.แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย
2.แนวแถบหมู่เกาะอันดามัน
3.แนวล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก
4.แนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

47. เครื่องมือตรวจวัดการไหวสะเทือนของแผ่นดินไหว เรียกว่าอย่างไร
1. โซนาร์
2. เรดาร์
3. ไซสโมกราฟ
4. ไฮโกรมิเตอร์

48. คลื่นใด ไม่ สามารถเคลื่อนที่ผ่านของเหลวภายใต้เปลือกโลก
1. คลื่นพื้นผิว
2. คลื่นปฐมภูมิ
3. คลื่นทุติยภูมิ
4. คลื่นตามยาว

49. ภูเขาไฟรูปโล่ก่อรูปจากธารลาวาของหินชนิดใด
1. หินฟิลไลต์
2. หินบะซอลต์
3. หินไรโอไลต์
4. หินแอนดีไซต์

50. การปะทุของภูเขาไฟแบบใดที่มีการระเบิดอย่างรุนแรง ในท้องฟ้าจะเต็มไปด้วยเถ้าถ่านและแก๊ส
1. แบบพีเลียน
2. แบบฮาวายเอียน
3. แบบโวลแคเนียน
4. แบบสตรอมโบเลียน


เฉลย


1. 1
2. 3
3. 4
4. 3
5. 2
6. 1
7. 2
8. 3
9. 4
10. 2
11. 1
12. 3
13. 2
14. 2
15. 3
16. 3
17. 2
18. 3
19. 4
20. 2
21. 2
22. 1
23. 3
24. 1
25. 1
26. 3
27. 2
28. 4
29. 3
30. 2
31. 2
32. 1
33. 4
34. 1
35. 1
36. 3
37. 1
38. 1
39. 1
40. 1
41. 3
42. 1
43. 2
44. 1
45. 2
46. 3
47. 3
48. 3
49. 2
50. 1

ใครได้เท่าไหร่ ลงความเห็นมาบอกกันด้วยล่ะ

ถ้าแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่แยกจากกันที่เทือกสันเขากลางมหาสมุทร



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 15 มกราคม 2554 / 02:58

PS. �Thanks for comments.
ถ้าแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่แยกจากกันที่เทือกสันเขากลางมหาสมุทร