ถ้า นักเรียน เกิดความขัดแย้ง กับ เพื่อน หรือ ครอบครัว ตนเอง นักเรียน จะ มี วิธี แก้ไขปัญหา อย่างไร

ปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป เพราะทุกครอบครัวล้วนมีเหตุที่อาจก่อความขัดแย้งระหว่างสมาชิกภายในบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นที่แตกต่าง การเลี้ยงลูก ปัญหาสุขภาพ หรือสถานภาพทางการเงิน ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้อาจบานปลายจนกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว อาจทำให้ชีวิตคู่จบลงและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็กได้ด้วย

ดังนั้น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นภายในครอบครัว คนในบ้านควรร่วมมือกันจัดการปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ชีวิตคู่ราบรื่น และสมาชิกคนอื่น ๆ ก็สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้

ถ้า นักเรียน เกิดความขัดแย้ง กับ เพื่อน หรือ ครอบครัว ตนเอง นักเรียน จะ มี วิธี แก้ไขปัญหา อย่างไร

สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาครอบครัว

ปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้ มักเป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในครอบครัว

ภาวะเจ็บป่วย

หากสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กหรือหัวหน้าครอบครัวมีปัญหาสุขภาพหรือป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนในครอบครัวและสร้างความกังวลใจไม่น้อย เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น สถานะทางการเงินของครอบครัว เป็นต้น

ปัญหาด้านการเงิน

ภาวะเศรษฐกิจและการว่างงานอาจทำให้สมาชิกภายในครอบครัวเกิดความเครียด วิตกกังวล และอาจเผชิญภาวะซึมเศร้าได้ ปัญหาทางการเงินอาจเป็นสาเหตุทำให้พ่อหรือแม่ต้องออกไปหางานทำ จนส่งผลให้เด็กต้องอยู่กันตามลำพังและขาดการดูแลหรืออบรมสั่งสอนอย่างที่ควรจะได้รับ

นิสัยและความเคยชินส่วนตัว

แม้จะตกลงใช้ชีวิตคู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาแล้ว แต่นิสัยส่วนตัวที่มีมานานนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก ซึ่งอาจทำให้คู่สมรสไม่พอใจนิสัยหรือการกระทำของอีกฝ่ายเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน และอาจนำมาสู่ความขัดแย้งได้

ความบกพร่องในการรับผิดชอบหน้าที่

ในยุคปัจจุบัน ผู้หญิงมีบทบาทในการทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัวเช่นเดียวกับผู้ชาย หากผู้หญิงต้องรับผิดชอบงานบ้านต่าง ๆ หลังเลิกงานก็อาจทำให้รู้สึกเหนื่อย หงุดหงิด และอาจเกิดความขัดแย้งในครอบครัวขึ้นได้ เนื่องจากสามีและภรรยาควรมีความรับผิดชอบในงานบ้านและการดูแลบุตรร่วมกัน

การนอกใจ

การนอกใจเป็นปัญหาที่อาจร้ายแรงจนถึงขั้นทำให้ความสัมพันธ์ของคู่สมรสจบลงและเกิดการหย่าร้างได้ ซึ่งเด็กที่พ่อแม่หย่าร้างกันนั้นอาจรู้สึกขาดความอบอุ่น ขาดการดูแลอบรมที่ดี ขาดที่พึ่งและการชี้แนะให้คำปรึกษา จนอาจทำให้เด็กขาดการควบคุมตนเองและส่งผลให้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น ติดยาเสพติด ติดการพนัน และมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เป็นต้น

การใช้ความรุนแรง

เมื่อขาดการสื่อสารที่ดีและได้รับแรงกดดันจากภายนอกครอบครัว เช่น ภาวะเศรษฐกิจ และความเครียด เป็นต้น ก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้งและใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวได้ โดยผู้ที่ถูกกระทำมักเป็นเด็กและสตรี ซึ่งเด็กที่เติบโตจากครอบครัวที่มีการใช้ความรุนแรงนั้นมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อโตขึ้น มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ติดยาเสพติด ติดการพนัน และมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้

การขาดความเอาใจใส่และไม่มีเวลาให้กัน

ด้วยภาระหน้าที่ของสมาชิกในบ้านแต่ละคน อาจทำให้ไม่มีเวลาพูดคุย สอบถามสารทุกข์สุกดิบ หรือทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  

ปัญหาครอบครัวนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ

ปัญหาครอบครัวอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้ โดยผู้ที่เผชิญปัญหาครอบครัวอาจมีอาการเครียด ปวดหัว หงุดหงิดง่าย แยกตัว ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ มีปัญหาการนอนหลับ อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า สิ้นหวัง พึ่งพาสารเสพติด และอาจทะเลาะเบาะแว้งกับสมาชิกในครอบครัวอยู่บ่อย ๆ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจลุกลามใหญ่โตหรือเรื้อรังได้ และอาจทำให้สมาชิกครอบครัวเกิดอาการทางจิตเวช เช่น โรคจิตประสาท โรคซึมเศร้า โรคบุคลิกภาพแปรปรวน เป็นต้น ดังนั้น การแก้ไขปัญหาครอบครัวตั้งแต่ต้นจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพกายใจของสมาชิกในครอบครัวได้

การรับมือเมื่อเกิดปัญหาครอบครัว  

แนวทางต่าง ๆ ต่อไปนี้ อาจช่วยแก้ไขสถานการณ์และความขัดแย้งภายในครอบครัวได้

  • เปิดใจและรับฟัง หากสังเกตว่าสมาชิกในครอบครัวมีท่าทีที่แปลกไป ควรสอบถามถึงความผิดปกติและพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการเปิดใจพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวจะช่วยให้เข้าใจความรู้สึกของกันและกันได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ควรเป็นผู้ฟังที่ดีและบอกความต้องการของตนเองด้วยความนุ่มนวล ใช้วาจาสุภาพ และไม่ควรว่ากล่าวหรือตำหนิอีกฝ่ายหนึ่งด้วยคำพูดที่รุนแรง
  • ร่วมมือกันดูแลครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ควรร่วมมือและช่วยเหลือกันในการดูแลครอบครัว แก้ไขปัญหาต่าง ๆ และสอดส่องดูแลพฤติกรรมของลูก ๆ โดยไม่ปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น   
  • ทิ้งความเครียดไว้นอกบ้าน คนในครอบครัวอาจรับรู้ถึงความเครียดสะสมจากที่ทำงานผ่านการแสดงสีหน้าของสมาชิกในครอบครัวได้ ซึ่งส่งผลให้คนอื่น ๆ รู้สึกไม่ดีไปด้วย ดังนั้น อาจฟังเพลงหรือสูดหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อปรับอารมณ์ตนเองให้ดีขึ้นก่อนเข้าบ้าน
  • แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การแบ่งงานบ้านต่าง ๆ เช่น การกวาดบ้าน การถูบ้าน การทิ้งขยะ และการดูดฝุ่น เป็นต้น จะทำให้สมาชิกทุกคนในบ้านมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน ซึ่งอาจช่วยป้องกันความขัดแย้งและยังเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเองเมื่อโตขึ้นอีกด้วย
  • รับประทานอาหารร่วมกัน การรับประทานอาหารเย็นร่วมกันทำให้สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพูดคุยกัน ช่วยสานสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้ดีขึ้น เป็นโอกาสที่ดีสำหรับพ่อแม่ที่จะสังเกตอารมณ์และเรียนรู้นิสัยใจคอของลูก ๆ และยังเป็นช่วงเวลาที่เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากพ่อแม่อีกด้วย
  • ทำกิจกรรมร่วมกัน การใช้เวลาที่มีคุณภาพร่วมกันแม้เพียงเล็กน้อยก็ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาครอบครัวที่มีคุณภาพ โดยอาจทำกิจกรรม เช่น เล่นบอร์ดเกม ทำงานศิลปะ ออกไปเดินเล่นด้วยกันตอนเย็นหรือช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นต้น
  • ใส่ใจตัวเองมากขึ้น ภาวะเครียดจากปัญหาครอบครัวอาจทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมและทำลายสุขภาพได้ ดังนั้น ควรดูแลและใส่ใจสุขภาพตัวเองเสมอ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี สภาพแวดล้อมอาจส่งผลต่อพฤติกรรมได้ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านหรือรอบ ๆ บ้านให้ดีขึ้นอาจช่วยลดอาการเครียดที่เกิดขึ้นได้

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ ?

ปัญหาครอบครัวอาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสภาพจิตใจได้ ดังนั้น ผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ภายในครอบครัว ทั้งปัญหาการใช้ความรุนแรงหรือปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส อาจโทรศัพท์เพื่อขอรับคำปรึกษาจากกรมสุขภาพจิตที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ อาจไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาและรับคำแนะนำได้ตามโรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ

นักเรียนจะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในครอบครัวได้อย่างไร

แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวโดยไม่ใช้ความรุนแรง ๑) เรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์ และระบายความโกรธ โดยไม่ทำร้ายผู้อื่น ๒) ให้ความรักความเข้าใจต่อคนในครอบครัว ๓) สร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่น เอาใจใส่ มีบรรยากาศของความเป็นมิตร ๔) มีเทคนิคการหลีกเลี่ยงหรือการจัดการอย่างเหมาะสมเมื่อถูกก้าวร้าว

นักเรียนจะมีแนวทางป้องกันแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัวอย่างไร

ใช้เวลาร่วมกันเป็นครอบครัว การใช้เวลาที่ดีร่วมกัน จะช่วยสานสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้น และลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น โดยสามารถใช้ช่วงเวลานี้ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังความทุกข์หรือความกังวลใจของคนในครอบครัว อาจให้คำปรึกษาหรือแนวทางแก้ปัญหาอย่างเข้าใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกวางใจ รู้สึก ...

เมื่อเรามีปัญหาความขัดแย้งกับเพื่อนเราจะแก้ไขอย่างไร

1. ไม่เกี่ยวว่าใครจะถูกหรือผิด แต่คำถามคือ อะไรคือสิ่งที่ถูกที่ควรทำ ... .
2. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ... .
3. พูดคุยกันต่อหน้ากับเพื่อนร่วมงาน ... .
4. ยึดเอาความจริงเป็นหลัก ... .
5. ป้องกันความขัดแย้งในอนาคต ... .
6. ปล่อยมันไป.

เมื่อนักเรียนเกิดปัญหา นักเรียนมีหลักในการคิดแก้ปัญหาอย่างไร

บทสรุป.
ระบุปัญหาให้ถูกต้อง ชัดเจน.
รวบรวมและบริหารข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง.
วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา.
กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแก้ไข.
สร้างทางเลือก/วิธีการในการแก้ปัญหา.
ประเมิน/เปรียบเทียบทางเลือก.
ตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างมีเหตุผล.
ปฏิบัติตามทางเลือก.