ถ้า ไม่ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เมื่อฤดูกาลยื่นภาษีมาถึง ในฐานะพลเมืองที่ดีต่างก็วุ่นวายหาเอกสารประกอบการยื่นภาษีกันมือเป็นระวิง สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งจะมีโอกาสยื่นภาษีเป็นครั้งแรกในปีนี้ หรือบางคนที่อาจไม่เคยยื่นภาษีมาก่อนเลย ต้องระมัดระวังให้ดีทีเดียว ยิ่งถ้าใครได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองก็คงเคยผ่านตามาบ้างกับกรณีผู้โชคดีได้รับรางวัลเป็นทองคำมูลค่า 10 ล้านบาท แต่โดนสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเป็นล้าน! ด้วยความไม่รู้ว่ารางวัลก็นับเป็นรายได้อย่างหนึ่ง เห็นมั้ยว่าเรื่องใกล้ตัวขนาดนี้ แต่หลายคนก็ยังพลาดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่เชื่อว่าไม่มีใครอยากเจอภาษีย้อนหลังแน่ ๆ

เราซึ่งเป็นบุคคลผู้มีรายได้ จึงไม่ควรหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีในแต่ละปี เพื่อจะได้ไม่ให้เกิดเหตุการณ์โดนค่าปรับจากการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ฉะนั้นมาทำความรู้จักกับคำว่า การเก็บภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) ซึ่งเป็นการตรวจสอบการยื่นภาษีเพื่อป้องกันและปราบปรามทางภาษีอากร โดยมี 3 หน่วยงานรับผิดชอบคือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต แต่ที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรงคือ กรมสรรพากร ที่มีกลุ่มผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจ

โดยที่คุณจะเข้าข่ายโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง หากคุณไม่จ่ายภาษี และจ่ายภาษีไม่ถูกต้อง หรือเลี่ยงภาษี จ่ายภาษีไม่ครบตามที่ระบุ เป็นต้น แล้วกรมสรรพากรจะทราบได้อย่างไร? เขามีวิธีการตรวจสอบ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนด้วยกัน ขั้นตอนแรกคือ การตรวจแนะนำด้านภาษี ขั้นตอนต่อมาคือ การเตือนให้ยื่นแบบ ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์และการตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษี ขั้นตอนที่ 4 การตรวจปฏิบัติการ และขั้นตอนสุดท้ายคือ การออกหมายเรียก ซึ่งลำดับขั้นความรุนแรงก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับไป แต่เรามีวิธีง่าย ๆ มาแนะนำ เพื่อที่คุณจะไม่โดนภาษีย้อนหลังอย่างแน่นอน

1. ยื่นภาษีทุกปี


หลาย ๆ คนที่เพิ่งทำงานได้ไม่นาน คิดว่าตัวเองเงินเดือนไม่ถึงจึงไม่ต้องยื่นภาษี แต่จริง ๆ แล้ว เรามีรายได้เท่าไหร่ก็ต้องยื่นภาษี เพื่อความปลอดภัยเราควรยื่นภาษีทุกปี และต้องตรวจสอบเอกสารรายรับของเราให้ถูกต้องและครบถ้วนก่อนยื่นภาษี ที่สำคัญต้องดูว่ารายรับของเราอยู่ในเงินได้ประเภทไหน และอย่าลืมใช้สิทธิ์การลดหย่อนภาษียิ่งถ้าคุณลงทุนโดยการซื้อกองทุน หน่วยลงทุนต่าง ๆ ไว้ คุณอาจได้เงินคืนภาษีด้วย ถ้ายังไม่แน่ใจลองคำนวณภาษีเบื้องต้น Calculator Tax ก่อนได้ที่นี่

2. ทำบัญชีรายเดือน


การทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน นอกจากช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายของเราแล้ว ยังทำให้เรามีหลักฐานการมีรายได้เพื่อใช้ประกอบการยื่นภาษีในแต่ละปีได้อีกด้วย บางคนมีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน ก็ต้องนำมายื่นภาษีด้วยเช่นกัน นอกจากนี้คุณยังสามารถวางแผนลดหย่อนภาษีแบบเฉลี่ยเป็นรายเดือนได้โดยที่ไม่ต้องรอให้ถึงช่วงปลายปี เป็นการจัดการและบริหารบัญชีแบบง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

3. ติดตามข่าวสารเรื่องภาษี


คุณควรที่จะติดตามข่าวสารเรื่องการยื่นภาษี เพราะแต่ละปีจะมีกฎหมาย หรือเงื่อนไขใหม่ๆ ออกมา ที่อาจเป็นผลประโยชน์ต่อเราในการลดหย่อยภาษี ถ้ามีข้อสงสัยแนะนำให้สอบถามไปยังกรมสรรพากร สามารถเช็กยอดภาษี วิธีการตรวจภาษี การขอลดค่าปรับ หรือการขอเงินเพิ่ม ถ้าจะให้ดีเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากรเพื่อความถูกต้องกันเลย http://www.rd.go.th/publish/272.0.html

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงเริ่มสงสัยแล้วว่า ถ้าเราบังเอิญลืมยื่นภาษีหรือยื่นภาษีล่าช้า จะมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง ซึ่งบทลงโทษและค่าปรับจะลดหลั่นกันไปตามความผิด ดังต่อไปนี้

1. ยื่นแบบภาษีทันกำหนด แต่เสียภาษีไม่ครบ มีค่าปรับดังนี้

  • เสียเบี้ยปรับ 0.5 - 1 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

2. ไม่ได้ยื่นแบบภาษีภายในกำหนด มีค่าปรับดังนี้

  • มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 2,000 บาท
  • เสียเบี้ยปรับ 1 - 2 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

3. เจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อเลี่ยงภาษี มีค่าปรับดังนี้

  • มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 5,000 บาท จำคุกสูงสุด 6 เดือน
  • เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

4. หนีภาษี มีค่าปรับดังนี้

  • มีโทษปรับทางอาญาตั้งแต่ 2,000 - 200,000 บาท จำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี
  • เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

เห็นบทลงโทษแล้วก็มีหนาวๆ ร้อนๆ เหมือนกัน โดยเฉพาะกรณีของการหนีภาษีแบบจงใจ ทั้ง ๆ ที่เรื่องภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทย แต่พบว่ายังมีคนจำนวนหนึ่งเพิกเฉยและขาดความรู้เรื่องนี้ จึงเป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจและหมั่นศึกษาไปพร้อม ๆ กับการวางแผนการเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำการยื่นภาษีอย่างถูกต้องทุกปี เพราะการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังคงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากเจอแน่นอน

การหักภาษี ณ ที่จ่ายคือการที่ผู้จ่ายเงินได้หักเงินของผู้รับเงินไว้ทันทีที่จ่ายเงิน ตามอัตราที่กำหนดและนำเงินที่หักไว้นำส่งกรมสรรพากร ซึ่งผู้รับสามารถนำยอดเงินที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้นี้ไปรวมกับภาษีที่จ่ายตอนปลายปี ถ้าคำนวณแล้วจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายเกินต้องชำระเงินเพิ่ม แต่ถ้าจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายน้อยกว่าก็สามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้

ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 คืออะไร

ภ.ง.ด.3 เป็นแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นบุคคลธรรมดาที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้

ภ.ง.ด.53 เป็นแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้

ประเภทของเงินได้

ถ้า ไม่ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เงินได้ที่ยื่นแบบภ.ง.ด.3 ได้แก่

1. เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
2. เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ได้แก่ กฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
3. เงินได้จากการรับเหมา โดยผู้รับเหมาเป็นผู้ลงทุนในการจัดหาสิ่งของเพิ่มเติมนอกจากเครื่องมือที่มีอยู่
4. เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง

ถ้า ไม่ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เงินได้ที่ยื่นแบบภ.ง.ด.53 ได้แก่

1. เงินได้จากค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่านายหน้า การให้เช่าทรัพย์สินเช่น ที่ดิน,อาคาร, เครื่องจักร, รถยนต์  เป็นต้น การประกอบวิชาชีพอิสระ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินปันผล เป็นต้น
2. เงินได้จากมาตรา 40 (8) เฉพาะกรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่นๆที่นอกเหนือจากข้อ (1)
3. เงินได้จากการประกันวินาศภัยเฉพาะกรณีที่จ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย
4. เงินได้จากการขนส่งซึ่งไม่รวมการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ

ผู้มีหน้าที่หักภาษีตัองทำอย่างไรบ้าง

1. ขอข้อมูลผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ ชื่อที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
2. ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินได้ในอัตราที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร
3. จัดทำหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ที่ถูกหักภาษีทุกครั้งที่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย
4. ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายยื่นแบบภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53 พร้อมนำส่งภาษีที่หักไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

การยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย

มี 2 วิธีด้วยกันดังนี้

1. การยื่นแบบด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสาขาในท้องที่ที่ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่

2. การยื่นแบบและชำระภาษีทางออนไลน์ โดยเบื้องต้นผู้นำส่งต้องสมัครสมาชิกกับทางเว็บไซต์กรมสรรพากร ก่อน โดยการยื่นแบบจะได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน

ถ้าไม่ยื่นแบบจะมีบทลงโทษอย่างไร

ถ้า ไม่ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย

1. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มิได้หักและนำส่ง หรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้โดยต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ไม่ได้หัก และนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้วแต่ไม่ได้นำส่ง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดชอบชำระภาษีจำนวนนั้นทั้งหมด

2. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักนำส่งภายในกำหนดเวลาจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯและนำส่งภาษี ผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หากไม่ยื่นแบบฯนี้ภายในกำหนดเวลา เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

3. ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

PEAK โปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้งานบัญชีภาษีง่ายสำหรับทุกคน มีระบบจัดการธุรกิจแบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยคุณจัดการเรื่องภาษีอย่างเป็นระบบ

สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์