รถยนต์ไฮ บ ริ ด ข้อดี ข้อเสีย

ข้อดีข้อเสีย รถไฮบริด (Hybrid Cars)

รถยนต์ไฮ บ ริ ด ข้อดี ข้อเสีย

รถไฮบริด เป็นรถที่มีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันและระบบมอเตอร์ไฟฟ้ามาขับเคลื่อนผสมผสานกัน และรูปแบบที่นิยมใช้กันในรถยนต์ไฮบริดปัจจุบัน ก็คือ แบบ Power-split หรือ ซีรีส์-พาราลเรล (Series-Parallel Hybrid) โดยในช่วงปกติที่ต้องใช้ความเร็วรอบสูงๆ ก็จะใช้ระบบเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน ส่วนในช่วงที่เราใช้ความเร็วรอบต่ำๆ อย่างวิ่งในเมือง ช่วงรถติดรถก็จะปรับให้ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าโดยดึงเอาพลังงานออกมาจากแบตเตอรี่ทำงานแทน หรือในช่วงเร่งแซงก็จะใช้ทั้งสองตัวประสานพลังร่วมกัน และด้วยเหตุที่มีระบบไฟฟ้าเข้ามาช่วยนี่แหละ ทำให้รถไฮบริดมีการประหยัดน้ำมันมากกว่ารถยนต์ทั่วไป

ข้อดีของรถยนต์ไฮบริด

ประหยัดน้ำมันได้ระหว่าง 10-50% ด้วยพลังขับเคลื่อนจากมอเตอร์ไฟฟ้า (มีตัวเลขประหยัดมาตรฐานที่ 20 กิโลเมตรต่อลิตรในทุกสภาวะ)
เครื่องจะเงียบเมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
ช่วยลดมลพิษทางอากาศ

ข้อเสียของรถยนต์ไฮบริด

ราคาค่อนข้างแพง
แบตเตอรี่ราคาแพง ถ้าเสียเปลี่ยนทีก็เป็นแสน
ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงค่อนข้างสูง

รถยนต์ไฮบริดยังเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่ในบ้านเรา ด้วยราคาที่ค่อนข้างแพง อุปกรณ์ต่างก็ยังมีราคาแพงอยู่ และอู่ที่ชำนาญตอนนี้ยังมีน้อย เสียทีอาจจะต้องลากเข้าศูนย์กันอย่างเดียว ดังนั้นคงต้องคิดให้รอบคอบล่ะครับว่ามันคุ้มกับการลงทุนจริงหรือเปล่า แต่แนวโน้มของโลกจะออกไปในทางลดโลกร้อนและประหยัดพลังงานมากขึ้น ผู้คนตื่นตัวมากขึ้น ค่ายรถหลายๆ ค่ายก็ต้องพัฒนารถในแนวนี้ออกมามากขึ้น เมื่อมีการแข่งขันสูงราคาก็ย่อมจะลดลงแน่นอน ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อผูบริโภคอย่างเราๆ
cr.kkpadvicecenter


รถยนต์ไฮบริดคืออะไร

รถยนต์ไฮบริด (Hybird) คือ รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงาน ซึ่งส่วนประกอบของเครื่องยนต์และการดูแลรักษาก็จะแตกต่างกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับรถยนต์ไฮบริด คือ

  • รถยนต์ไฮบริดต้องเติมน้ำมันหรือไม่
  • รถยนต์ไฮบริดต้องเข้าสถานีชาร์จไฟหรือไม่
  • รถยนต์ไฮบริด (Hybrid) แตกต่างกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างไร
  • รถยนต์ไฮบริดราคาสูงกว่ารถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ที่ใช้น้ำมันหรือไม่

คำถามเหล่านี้สามารถตอบได้จากข้อมูลของรถยนต์ไฮบริด ดังนี้

หลักการทำงานของรถยนต์ไฮบริด

รถยนต์ไฮบริด เป็นรถยนต์ที่ยังคงต้องเติมน้ำมัน ขณะรถวิ่งจะมีอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานที่ต้องสูญเสียของเครื่องยนต์มาเป็นกระแสไฟฟ้า เก็บไว้ในแบตเตอรี่ เมื่อ ความต้องการใช้พลังงานของรถมากกว่าที่เครื่องยนต์ผลิตได้ รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เสริม

ส่วนประกอบของรถยนต์ไฮบริด

รถยนต์ไฮบริดมีส่วนประกอบในห้องเครื่องยนต์แตกต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์น้ำมัน ดังนี้

1. เครื่องยนต์แก๊สโซลีน

รถยนต์ไฮบริดถูกออกแบบมาให้ใช้เครื่องยนต์สันดาปน้ำมันที่มีขนาดเล็ก เพื่อความประหยัด และลดการปล่อยแก๊สเสียออกสู่ชั้นบรรยากาศ จึงมักเลือกใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีนในเครื่องยนต์ไฮบริด

2. ถังน้ำมัน

ถังน้ำมันรถยนต์ไฮบริดออกแบบมาให้มีขนาดพอเหมาะสำหรับเก็บน้ำมัน ไปพร้อมๆ กับขนาดของแบตเตอรี่ ให้เพียงพอต่อการใช้ขับเคลื่อนของตัวรถ

3. มอเตอร์ไฟฟ้า

มอเตอร์ไฟฟ้ารถยนต์ไฮบริด ไม่ใช่มอเตอร์ที่ป้อนพลังงานหล่อเลี้ยงระบบภายในห้องโดยสายอย่างเดียว เป็นมอเตอร์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง เพราะต้องทำงานเป็นตัวสร้างกระแสไฟฟ้าเจเนอเรเตอร์ และมอเตอร์ไฟฟ้าไปพร้อมๆ กัน

4. เจเนอเรเตอร์

รถยนต์ไฮบริดต้องมีตัวเจเนอเรเตอร์ เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าป้อนกลับไปยังแบตเตอรี่เพื่อใช้หล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ขณะรถยนต์ทำงาน

5. แบตเตอรี่

แบตเตอรี่ของรถยนต์แบบไฮบริดจะเป็นแบบกักเก็บพลังงานสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฮบริดดีไหม

รถยนต์ไฮบริดเข้ามาในประเทศไทยแล้วกว่า 10 ปี รุ่นแรกๆ คือ Toyota Prius เปิดตัวช่วงเดือน พฤศจิกายน 2010 โดยรถยนต์ไฮบริดรุ่นแรกๆ นั้นจะมีการรับประกันอะไหล่ แบตเตอรี่ และส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ผู้ใช้งานรถยนต์ไฮบริดที่ใช้งานถึง 10 ปี อาจมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับรถยนต์น้ำมัน

ความคุ้มค่าของการซื้อรถยนต์ไฮบริดใช้ ผู้ที่ใช้งาน 10 ปี จะเปรียบเทียบกับ

1. ค่าน้ำมัน

คนเลือกใช้รถยนต์ไฮบริดก็คาดหวังการประหยัดน้ำมันมากกว่า โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้รถยนต์ทุกวัน

2. ราคาซ่อมบำรุง

รถยนต์ไฮบริดที่มีการันตีการรับประกันแบตเตอรี่ 10 ปี กับระบบเครื่องยนต์ 5 ปี ก็คุ้มค่ากับการวางแผนรายการจ่ายค่าซ่อมบำรุงรถไปได้เยอะ ยกเว้นค่าเปลี่ยนยาง เปลี่ยนฟิล์ม ที่ต้องจ่ายเพิ่มเองไม่อยู่ในรับประกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน

ส่วนเรื่องการออกตัว ช่วงล่างแข็ง การเกาะถนน ฯลฯ ถือเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลที่วัดค่ายาก ผู้ที่เลือกใช้รถยนต์ไฮบริดในยุคนี้ถือว่าคุ้มค่า เพราะเป็นนวัตกรรมที่อยู่ตรงกลางระหว่างรถยนต์น้ำมันและรถยนต์ไฟฟ้า โดยเน้นประโยชน์ของการใช้รถทุกวันเพื่อลดค่าน้ำมันเป็นหลัก

รถยนต์ไฮบริด ข้อดี ข้อเสีย

รถยนต์ไฮบริดมีข้อดี ดังนี้

1. ประหยัดพลังงาน

รถยนต์ไฮบริดใช้พลังงานไฟฟ้าร่วมด้วยขณะขับขี่ จึงเป็นรถยนต์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนอย่างดีเยี่ยม เมื่อลดความเร็วโดยการแตะเบรก เครื่องยนต์จะหยุดทำงาน เป็นการลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง และพลังงานความร้อนที่ปกติจะสูญเสียจะถูกเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี่

2. ลดมลพิษ

รถยนต์ไฮบริดลดปริมาณการปล่อยแก๊สจากการสันดาป เนื่องจากการหยุดทำงานของเครื่องยนต์ในบางจังหวะของการขับขี่

3. อัตราเร่งราบรื่น

การทำงานร่วมกันของมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำให้ระบบรถยนต์ไฮบริดมีสมรรถนะขับขี่ที่ดีกว่า

4. ไร้เสียงรบกวนขณะขับขี่

รถยนต์ไฮบริดมีเสียงที่เงียบ เนื่องจากขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ เครื่องจะดับขณะจอด จึงไร้เสียงรบกวน

รถยนต์ไฮบริดมีข้อเสีย ดังนี้

1. เงียบ จนไม่รู้ว่าจอดหรือออกตัว

เนื่องจากเครื่องยนต์ของรถยนต์ไฮบริดมีเสียงเบากว่ารถยนต์ทั่วไป เมื่อออกตัวหรือจอดเครื่องยนต์จะเสียงเงียบ ทำให้สัตว์เลี้ยง และเด็ก ไม่ทันได้สังเกตว่ามีรถอยู่ใกล้ๆ จึงต้องอาศัยความระมัดระวังเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น

2. แกะมาซ่อมเองไม่ได้ ต้องเข้าศูนย์

เมื่อเครื่องยนต์ส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหา ต้องนำรถยนต์ไฮบริดเข้าศูนย์ให้ช่างผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแล ไม่ควรเข้าอู่ทั่วไป ป้องกันอะไหล่ส่วนอื่นเสียหาย โดยช่างที่ศูนย์จะถูกฝึกมาให้จัดการกับปัญหาเครื่องยนต์ไฮบริดได้เฉพาะทางมากกว่า

3. แบตเตอรี่มีราคาสูงกว่าแบตรถยนต์น้ำมัน

หากต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ ราคาเปลี่ยนแบตรถยนต์น้ำมันทั่วไป เริ่มต้น 1,800-2,000 บาท แต่รถยนต์ไฮบริดมีแผงแบตเตอรี่ที่ซับซ้อนกว่า ใช้การเก็บพลังงานมากกว่า ราคาแบตจึงสูงกว่ารถยนต์ทั่วไปมาก

รถยนต์ไฮบริด 2022 และราคาเริ่มต้น

รถยนต์ไฮบริดเริ่มมีให้เห็นหลายแบรนด์มากขึ้นในท้องตลาด บางคันเปิดตัวมาหลายปีแล้ว รุ่นที่มีวางจำหน่ายในปี 2565/2022 แล้ว ได้แก่

  1. รถยนต์ไฮบริด Toyota Corolla Cross ราคาเริ่มต้น 1,019,000 บาท*
  2. รถยนต์ไฮบริด Toyota Corolla Altis Hybrid ราคาเริ่มต้น 939,000 บาท*
  3. รถยนต์ไฮบริด Toyota C-HR 2022 ราคาเริ่มต้น 1,069,000 บาท*
  4. รถยนต์ไฮบริด Toyota Camry 2022 ราคาเริ่มต้น 1,650,000 บาท*
  5. รถยนต์ไฮบริด Honda CR-V Hybrid 2020 ยังไม่ระบุราคาในไทย
  6. รถยนต์ไฮบริด Honda Accord Hybrid ราคาเริ่มต้น 1,639,000 บาท*
  7. รถยนต์ไฮบริด Honda City e:HEV ราคาเริ่มต้น 839,000 บาท*
  8. รถยนต์ไฮบริด Nissan X-Trail ราคาเริ่มต้น 1,537,000 บาท*
  9. รถยนต์ไฮบริด Nissan Kicks e-Power ยังไม่ระบุราคาในไทย
  10. รถยนต์ไฮบริด MG HS PHEV ราคาเริ่มต้น 1,359,000 บาท*
  11. รถยนต์ไฮบริด Mitsubishi Outlander PHEV ราคาเริ่มต้น 1,640,000 บาท*
  12. รถยนต์ไฮบริด Haval Jolion 2022 ราคาเริ่มต้น 879,000 บาท*
  13. รถยนต์ไฮบริด Haval H6 2022 ราคาเริ่มต้น 1,149,000 บาท*

*หมายเหตุ : ราคาที่ปรากฏเป็นเพียงราคาเริ่มต้นเท่านั้น ไม่รวมของแถม โปรโมชั่น และส่วนลดอื่นๆ ตรวจสอบราคาล่าสุดที่โชว์รูมที่จำหน่าย