วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล grammar translation

แนวการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงก่อนทศวรรษ 1940  >> แนวการสอนในช่วงนีให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ของภาษา เพราะเห็นว่าเป็นฐานในการให้มีสมิทธิภาพภาษา (language proficiency) เช่น

วิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล (Grammar Translation Method) : การสอนแบบนี้เน้นให้ผู้เรียนจำกฎเกณฑ์และชื่อศัพท์เฉพาะต่างๆ ในไวยากรณ์
ข้อดีของวิธีสอนแบบนี้ได้แก่ :-
1.ประหยัดเวลาและแรงงาน
2.ผู้สอนไม่จำเป้นต้องเป็นเจ้าของภาษา และไม่จำเป็นต้องพูดภาษาที่สอนได้คล่องแคล่ว
3.ผู้เรียนที่มีความสนใจในการเรียนภาษาจะมีความสามารถในทักษะการอ่านและการแปลเป็นอย่างดี

อีกหนึ่งวิธีสอนคือวิธีสอนแบบตรง (Direct Method) : การสอนวิธีนี้เน้นที่การฟังและพูด ผู้เรียนได้รับการฝึกให้เชื่มโยงคำและวลีเข้ากับความหมาย โดยใช้ของจริงหรือการกระทำเป็นสื่อเสนอความหมาย
** การสอนแบบตรงเน้นการใช้ภาษาที่ต้องการเรียนเป็นสื่อในการสอนในห้องเรียน **
ข้อดีของวิธีสอนแบบตรงได้แก่ :-
1.มีกิจกรรมในการเรียนมาก ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุก
2.ช่วยให้ผู้เรียนฟังและพูดได้คล่อง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการเรียนการอ่านและเขียน
3.ช่วยให้ผู้เรียนคุ้นกับภาษาที่เรียนได้เร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนระดับต้นๆ

ที่มา : จากหนังสือเหลียงหลังแลหน้า การสอนภาษาอังกฤษ โดย รศ.อรุณี  วิริยะจิตรา และคณะ (2555)

ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบ Direct Method

วิธีสอน : Grammar Translation Method

วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล grammar translation
Picture From : teaching-in-the-middle.com

วีธีนี้อยู่ในการสอนยุคแรกๆเลยเลยเดียว และตอนนี้ก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่




หลักของวิธีนี้มีอยู่ว่า
- เป้าหมายของการเรียนคืออ่าออกเขียนได้ สามารถแปลประโยคเป็นภาษาเป้าหมายได้
- เน้นการอ่านและเขียนเป็นหลัก ( ไม่เน้นฟังและพูด)
- ท่องจำคำศัพท์
- เรียนหลักไวยากรณ์
- เน้นความถูกต้อง
- สอนไวยากรณ์แบบ Deductive
-  ใช้ภาษาแม่ในการสอน

 Teaching steps
1.  สอนคำศัพท์
2.  เรียนโครงสร้างไวยากรณ์ และ แบบฝึกหัด
3.  อ่าน และตอบคำถามเพื่อตรวจสอยความเข้าใจ
4.  ตรวจการบ้าน, ทบทวน, เขียนประโยค และแปลประโยค

Teaching techniques
- แปลบทวรรณกรรม
- อ่านและตอบคำถาม
- คำศัพท์ เหมือน และ ต่าง
- การสอนแบบ deductive
- เติมคำในช่องว่าง
- ท่องจำคำศัพท์
- แต่งประโยค
- เขียนความเรียง


#มีวีดีโอตัวอย่างวิธีการสอนนี้ให้ดูด้วย จะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



The Grammar-Translation Method 
(วิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล )

วิธีสอนแบบนี้ถึงแม้จะเกิดมานาน แต่ยังคงมีการใช้อยู่แม้ในปัจจุบัน ซึ่งได้รับอิทธิพลการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ(ภาษากรีกและลาติน)ในยุโรปจากศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 20(1840’s-1940’s) หลักการสอนคือ เน้นให้ผู้เรียนรู้กฎของไวยากรณ์และสามารถแปลประโยคหรือบทความจากภาษาแม่เป็นภาษาเป้าหมายหรือสามารถแปลจากภาษาเป้าหมายเป็นภาษาแม่ได้ถูกต้อง และยังเน้นการอ่านและการเขียนโดยให้ผู้เรียนท่องจำศัพท์ในภาษาที่จะเรียนจากเรื่องที่อ่านพร้อมทั้งคำแปลในภาษาแม่โดยอาจจะใช้ดิกชันนารีเป็นตัวช่วยในการแปล วิธีการสอนนี้ผู้สอนใช้วิธีการบรรยายโดยใช้ภาษาแม่ การวัดผลวัดจากความจำในกฎเกณฑ์ต่างๆ การเรียนรู้ความหมายของคำศัพท์ และการแปลจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง

ข้อดีของวิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์

  • ประหยัดเวลาและแรงงาน เนื่องจากการสอนแบบนี้ผู้สอนใช้ภาษาของผู้เรียนบรรยายจึงประหยัดเวลาในการอธิบายให้เข้าใจ และเนื่องจากเป็นการเรียนแบบบรรยาย ห้องเรียนจึงรับผู้เรียนได้เป็นจำนาวนมากจึงสามารถประหยัดผู้สอนได้

ข้อเสียของวิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล

  • ผิดลักษณะธรรมชาติของการเรียนภาษาเพราะไม่เน้นทักษะการฟังและการพูด
  • การท่องจำกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นงานหนักและน่าเบื่อสำหรับผู้เรียน

Video-The Grammar-Translation Method


6. วิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง

(Total Physical Response Method)

    แนวการสอนแบบนี้ ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี

        ลักษณะเด่น

       6.1 ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงผู้ฟังและทำตามครู

       6.2 ครูเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของนักเรียนทั้งหมด ครูจะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง เมื่อถึงระยะเวลาที่สมควรพูดแล้วเรียนอ่านและเขียนต่อไป

         6.3 ภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์ และคำศัพท์มากกว่าด้านอื่นๆ โดยอิงอยู่กับประโยคคำสั่ง

       6.4 นักเรียนจะเข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางของครู

      6.5 ครูทราบได้ทันทีว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ จากการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของนักเรียนเมื่อครูสั่ง

     6.6 ครูต้องทำพร้อมกับนักเรียนในระยะแรก

     6.7 ต้องสั่งจากง่ายไปหายาก

7. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)

     เป็นวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รวมพลังความคิดเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา หาข้อเท็จจริง

      ลักษณะเด่น

      7.1 ฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นกล้าพูด อย่างมีเหตุผล ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และอดทนที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

     7.2 ครูสร้างสถานการณ์ใหนักเรียนทำงานว่า สมมุตินักเรียนจะเข้าค่ายพักแรมเป็นเวลา 5 วันนักเรียนจะต้องเตรียมเครื่องใช้อะไรไปบ้างช่วยกันอภิปราย และสรุปผลออกมาเป็นรายงานส่งครู เป็นต้น

8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)

     เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ

       ลักษณะเด่น

     8.1 นักเรียนจะดำเนินการอย่างอิสระ

    8.2 ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะช่วยเหลือและติดตามผลงานของนักเรียนว่าการดำเนินการ ความก้าวหน้า

       อุปสรรคการประเมินผลงานใดบ้าง

    8.3 นักเรียนจะมีอิสระในการใช้ภาษาได้อย่างเต็มที่

 9. วิธีสอนภาษาแบบกลุ่มสัมพันธ์ 

(Community Language Learning)

         วิธีการ สอนแบบนี้มีแนวคิดที่ต่างไปจากแนวคิดอื่น

       ลักษณะเด่น

    9.1 ยึดผู้เรียนเป็นหลัก

    9.2 เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม

   9.3 นักเรียนแต่ละคนร่วมกิจกรรม

   9.4 ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษาเท่านั้น ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

   9.5 เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สิ่งที่นำมาเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การฝึกให้ผู้เรียนใช้โครงสร้างประโยค คำศัพท์และเสียง ตามวิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์

   9.6 การประเมินผลการเรียนนั้นจะเป็นการทดสอบแบบบูรณาการโดยให้นักเรียนประเมินตนเอง  ดูจากการเรียนรู้ของตนเอง และความก้าวหน้าของตน

  9.7 ถ้านักเรียนมีที่ผิด ครูจะพยายามแก้ไข โดยไม่ใช้วิธีคุกคาม โดยให้ฝึกทำซ้ำๆ กัน

10. วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร

(Communicative Approach)

       จากข้อเท็จจริงพบว่า ถึงแม้นักเรียน จะเรียนรู้โครงสร้างของภาษามาแล้วเป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดได้หรือสื่อสารได้ดีนัก ด้วยเหตุผลนี้นักภาษาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศ ได้เสนอแนวการสอนแบบใหม่ คือ การสอนเพื่อการสื่อสาร โดยมีความเชื่อว่าภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยเสียง ศัพท์ และโครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษาคือ ระบบที่ใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการสอน จึงควรให้นักเรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้  และจะต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสภาพสังคมด้วย

11. โปรแกรม CIRC

 (Cooperative Intergrated Reading and Composition)

วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล grammar translation

      CIRCคือ โปรแกรมสำหรับสอนการอ่าน การเขียนและทักษะทางภาษา (Language arts) ใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โดยเน้นที่หลักสูตรและวิธีการสอน โดยการพยายามนำการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ โปรแกรม CIRC พัฒนาขึ้นโดย Madden, Slavin และ Stevens ในปี 1986 นับว่าเป็นโปรแกรมที่ใหม่ที่สุดของวิธีการเรียนรู้เป็นทีม ซึ่งเป็นโปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือที่น่าสนใจยิ่ง เนื่องจากเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนที่นำการเรียนแบบร่วมมือมาใช้กับการอ่านและการเขียนโดยตรง

     CIRC-Readingสำหรับการอ่าน นักเรียนจะได้รับการสอนภายในกลุ่มการอ่าน หลังจากนั้นให้นักเรียนแยกออกเป็นทีม เพื่อทำงานตามกิจกรรมแบบร่วมมือ โดยการจับคู่กันอ่าน การทำนายเรื่องที่อ่าน การสรุปเรื่องให้อีกคนหนึ่งฟัง การเขียนตอบคำถามจากเรื่อง การฝึกสะกดคำศัพท์ การถอดรหัสและฝึกเรื่องคำศัพท์ นักเรียนทำงานร่วมกันในทีมเพื่อให้นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ และได้ทักษะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในการอ่าน

      CIRC-Writing/Language Arts สำหรับการเขียน วิธีการที่ใช้ขึ้นอยู่กับรูปแบบกระบวนการเขียน ซึ่งใช้รูปแบบทีมเหมือนกับโปรแกรม CIRC สำหรับการอ่าน วิธีการนี้นักเรียนทำงานร่วมกันเพื่อวางแผน (plan) ร่างต้นฉบับ (draft) ทบทวนแก้ไข (revise) รวบรวมและลำดับเรื่อง (edit) และพิมพ์หรือแสดงผลงาน (publish) เรื่องที่แต่งออกมา โดยครูเป็นผู้เสนอเนื้อหาเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทาง (style) เนื้อหา และกลวิธีของการเขียน

     CIRC สำหรับการอ่านและการเขียนนั้น โดยปกติแล้วจะใช้ควบคู่ไปด้วยกัน แต่กระนั้นก็สามารถใช้โปรแกรมนี้แยกในการสอนอ่าน หรือสอนการเขียนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้

    โปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือ มีลักษณะกิจกรรมโดยรวมดังนี้คือ

   1. การสอนเริ่มต้นจากครู (Teacher Instruction)

   2. การฝึกปฏิบัติภายในทีม (Team Practice) นักเรียนทำงานในกลุ่มซึ่งมีสมาชิก 4-5 คนโดยมีความสามารถแตกต่างกัน เรียนรู้กันจากที่ครูได้มอบหมายให้โดยการใช้ Worksheet หรืออุปกรณ์การฝึกอื่นๆ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เรียน นักเรียนจะได้ประเมินเพื่อนสมาชิกในกลุ่มซึ่งกันและกัน

   3. นักเรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (Individual Assessment) ในเรื่องของข้อความรู้หรือทักษะที่เขาได้รับในบทเรียน

   4. คะแนนจากการประเมินนักเรียนแต่ละคน จะรวมเป็นคะแนนของทีม (Team Recognition) ทีมใดที่ได้คะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับใบประกาศนียบัตรหรือรางวัลอื่นๆ

การจัดกลุ่มนักเรียน

    นักเรียนจะทำงานตามกิจกรรมที่กำหนด ภายในกลุ่มการเรียนรู้ที่มีนักเรียนซึ่งมีความสามารถแตกต่างกันในกลุ่มการอ่าน (Reading Groups) นั้น นักเรียนจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม การอ่าน จำนวน 2-3 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับระดับการอ่านของเขา โดยครูเป็นผู้กำหนดให้ว่า นักเรียน คนใดจัดว่าอยู่ในกลุ่มเก่ง ปานกลาง หรืออ่อน

   ที่มา : http://sites.google.com/site/prapasara/h2

      ปัจจุบันการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญที่ครูจะต้องจัดเตรียมแผนการสอน เพื่อที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนในแต่ละบทเรียน ครูจึงต้องเลือกแนวทางทฤษฎี หลักการ รูปแบบการสอนและวิธีการทีหลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางที่เหมาะสม นำมาดัดแปลงเป็นแผนของแต่ละคน ได้แก่ 1.วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล (Grammar Translation) ครูจะเป็นศูนย์กลางสำคัญ สอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้คำศัพท์ คำแปล ท่องจำหลักโครงสร้าง เน้นกฎไวยากรณ์ 2. วิธีสอนแบบตรง นักเรียนสามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น ไม่เน้นไวยากรณ์กฎเกณฑ์มากนัก บทเรียนส่วนใหญ่เป็นกิจกรรสนทนา นักเรียนได้ใช้ภาษาเต็มที่  3. วิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio – Lingual Method) เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติของทักษะทั้ง4 สอนครบองค์ประกอบลำดับจากง่ายไปหายาก  4. วิธีการสอนตามทฤษฏีการเรียนแบบความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Code Learning theory)เรียนรู้กฎเกณฑ์ ความเข้าใจ และการแสดงออก ทางภาษาขึ้นอยู่กับความเข้าใจ กฎเกณฑ์ เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจรูปแบบของภาษาและความหมายแล้ว ก็จะสามารถใช้ภาษาได้ 5. วิธีสอนตามเอกัตภาพ (Individualized Instruction) ผู้เรียนเริ่มมีบทบาทจากการเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียวมาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม ในการเรียนการสอนมากขึ้นเป็นลำดับ

6. วิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response Method) ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี 7. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)  เป็นวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รวมพลังความคิดเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา หาข้อเท็จจริง

8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method) เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ 9. วิธีสอนภาษาแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning)วิธีการ สอนแบบนี้มีแนวคิดที่ต่างไปจากแนวคิดอื่น10. วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach)การสอนเพื่อการสื่อสาร โดยมีความเชื่อว่าภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยเสียง ศัพท์ และโครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษาคือ ระบบที่ใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการสอน จึงควรให้นักเรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้ และจะต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสภาพสังคมด้วย 11. โปรแกรม CIRC (Cooperative Intergrated Reading and Composition)โปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือ  คือ การสอนเริ่มต้นจากครู การฝึกปฏิบัติภายในทีม  นักเรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง  คะแนนจากการประเมินนักเรียนแต่ละคน จะรวมเป็นคะแนนของทีม

     ดังนั้นวิธีการสอนขึ้นอยู่กับครูที่จะเลือกทฤษฎี หลักการที่มา1วิธีมาดัดแปลงให้เหมาะสม ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่เราสอนด้วย เช่น  วิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response Method) ครูจะกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ ในระยะแรกของการเรียนการสอนผู้เรียนไม่ต้องพูดแต่ฟังและทำตามผู้สอน ผู้สอนเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งหมด ผู้เรียนเป็นผู้เลียนแบบการกระทำของผู้สอนโดยผู้สอนออกคำสั่งให้ผู้เรียน 2-3 คน ปฏิบัติตามผู้สอนปฏิบัติตามคำสั่งนั้นด้วย จากนั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่าง ๆ ของผู้สอน หลังจากที่เรียนโดยปฏิบัติตามคำสั่งแล้วระยะหนึ่งเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะพูดก็จะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง แล้วจะเรียนอ่านและเขียนต่อไป ผู้สอนได้สื่อกับผู้เรียนทั้งชั้น และเป็นรายบุคคล ส่วนผู้เรียนได้เรียนรู้จากการสังเกตดูเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ช่วยให้เข้าใจและจำได้ดี นอกจากนี้การให้ผู้เรียนพูด เมื่อพร้อมที่จะพูดช่วยลดความวิตกกังวลของผู้เรียน ทำให้การเรียนภาษาเป็นเรื่องน่าสนใจ สนุกและง่ายขึ้น ภาษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นภาษาพูด โดยเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ และคำศัพท์มากกว่าด้านอื่น ๆ โดยอิงอยู่กับประโยคคำสั่ง           

วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล grammar translation