วิธีการเผยแพร่มารยาทในการสนทนา

                   เรื่องที่ ๑ มารยาทไทย

มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นพฤติกรรมที่คนไทยปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ อ่อนน้อม สุภาพ เรียบร้อย และถูกต้องตามกาลเทศะไม่ว่าจะเป็นการแสดงความเคารพ การสนทนา การแต่งกาย รวมถึงการปฏิบัติอื่นๆ ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติตามมารยาทไทยได้อย่างถูกต้องย่อมแสดงถึงการมีสมบัติผู้ดี และย่อมได้รับการยอมรับจากสังคมทั่วไป เพราะเป็นผู้รู้จักปฏิบัติและวางตัวได้เหมาะ-สม

๑. มารยาทในการแสดงความเคารพ

การแสดงความเคารพ เป้นการแสดงออกถึการให้เกียรตอและความอ่อนน้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพ การแสดงความเคารพตามารยาทไทยมีหลายลักษณะ เช่น การไหว้ การกราบ การคำนับ ทั้งนี้ขึ้นอยู๋กับ โอกาส สถานที่ และระดับอาวุโสของผู้ที่เราแสดงความเคารพ ดังนั้น เราจะต้องปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๑.๑ การแสดงความเคารพในการกราบ

การกราบเป็นการแสดงความความเคารพผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอาวุโสมาก หรือผู้ที่เราให้ความเคารพนับถืออย่างสูง ถือเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้รับอย่างสูงสุด โดยการกราบมีระดับที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบุคคลที่เรากราบ

    การกราบบุคคลทั่วไป

เป็นการกราบบุคคลทั่วไปที่มีอาวุโสมากกว่าเรา ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

  • นั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ที่เราจะกราบ เก็บปลายเท้าให้เรียบร้อย
  • ค่อยๆ ค้อมตัวหมอบลงกับพื้น
  • วางแขนท่อนล้างทั้งสองข้างกราบไปกับพื้น
  • ประนมมือตั้งบนพื้นแบบไม่แบมือ
  • ค่อยๆ ก้มศีรษะโดยให้หน้าผากแตะสันมือ
  • กราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ
  • ทรงตัวขึ้นกลับเข้าสู่ท่านั่งพับเพียบอย่างสงบ

  การกราบผู้มีอาวุโส

เป็นการกราบพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้ที่เราให้ความเคารพ ซึ่งมีวิธีธีการปฏิบัติ ดังนี้

  • นั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ที่เราจะกราบ เก็บปลายเท้าให้เรียบร้อย
  • ค่อยๆ ค้อมตัวลงหมอบลงกับพื้น
  • ทอดแขนและมือทั้งสองข้างราบไปกับพื้น
  • ประนมมือตั้งบนพื้นแบบไม่แบมือ
  • ค่อยๆ ก้มศีรษะโดยให้หน้าผากแตะส่วนบนของมือ
  • กราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ
  • ทรงตัวขี้นกลับสู่ท่านั่งพับเพียบอย่างสงบ

        ๑.๒ การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงความเคารพ

    เมื่อเราแสดงความเคารพตามมารยาทไทยได้ถูกต้องแล้ว เราก็ควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อให้คนทั่วไปในสังคมเห็นความสำคัญ และสามารถแสดงความเคารพต่อกันได้อย่างเหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงความเคารพ ทำได้ ดังนี้

    ๑. แสดงความเคารพผู้อื่นทุกครั้งเมื่อพบเจอกัน

    ๒. แสดงความเคารพโดยปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบแผนมารยาทไทย

    ๓. แสดงความเคารพให้เหมาะสมกับโอกาส สถานที่ และกาลเทศะ

    ๔. แสดงความเคารพด้วยวิธีต่างๆ อยู่เสมอจนเป็นนิสัย

        ๑.๓ การมีส่วนและแนะนำผู้อื่นให้อนุกรักษ์การแสดงความเคารพ

    แนวทางที่จะช่วยอนุรักษ์การแสดงความเคารพตามมารยาทไทย ทำได้ ดังนี้

    ๑. บอกเล่าถึงความสำคัญของการแสดงความเคารพตามมารยาทไทยให้คนทั่วไปรับทราบ และนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง

    ๒. บอกเล่าถึงความภาคภูมิใจในการแสดงความเคารพให้คนรอบข้างรับฟัง

    ๓. แนะนำวิธีการแสดงความเคารพที่ถูกต้อง

    ๔.  เผยแพร่ความรู้ในการแสดงความเคารพตามมารยาทไทยผ่าสื่อต่างๆ

    ๕. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์มารยาทไทยในการแสดงความเคารพรวมถึงชักชวนบุคคลรอบข้างให้เข้าร่วมกิจกรมมด้วย

๒. มารยาทในการสนทนา

    การสนทนา เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะเราต้องการติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้างเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดต่างๆ การสนทนาที่ดีนั้น จะต้องคำนึงถึงมารยาทในการสนทนาเป้นสำคัญ เพราะจะช่วยในการสนทนาดำเนินไปอย่างราบรื่น ช่วยสร้างความรู้สึกอันดีต่อกัน และเป้นการแสดงถึงการให้เกียรติคู่สนทนา

    ๒.๑ มารยาทในการสนทนาที่ถูกต้อง

การปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนา สามารถทำได้ ดังนี้

  • เริ่มบทสนทนาด้วยการกล่าวคำทักทายที่สุภาพ
  • ใช้ภาษาสุภาพในการสนทนาทุกครั้ง
  • พูดในสิ่งที่เป็นความจริง มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์
  • พูดสนทนากันโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล
  • เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สนทนาแสดงความคิดเห็นบ้าง
  • ใช้น้ำเสียงในการพูดไม่ดังหรือเบาเกินไป
  • เปิดใจรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
  • ไม่พูดสอดแทรกในขณะที่คู่สนทนากำลังพูดอยู่
  • ไม่พูดนินทา หรือพูดในสิ่งที่ทำให้คู่สนทนาเสียความรู้สึก

    ๒.๒ การมีส่วนร่วมและแนะนำผู้อื่นในการสนทนาอย่างเหมาะสม

        เมื่อเราปฏิบัติตนเป็นผู้มรมารยาทในการสนทนาได้อย่างถูกต้องแล้วควรแนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตามด้วยวิธีการที่เหมาะสม ดังนี้

  • บอกเล่าผลดีที่เกิดจากการเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนา
  • แนะนำผู้อื่นให้เป้นผู้ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาที่ถูกต้อง
  • บอกเล่าประสบการณ์ของตนเองในการมีมารายาทในการสนทนาให้ผู้อื่นฟัง
  • เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมมารยาทการสนทนาอย่างสม่ำเสมอ
  • เผยแพร่ข้อมุลที่เป็นประโยชนืในเรื่องมารยาทในการสนทนาให้สังคมได้รับทราบ

  ๓.มารยาทในการแต่งกาย

        การแต่งกาย เป็นสิ่งที่แสดงถึงบุคลิกภาพของแต่ละคนได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถมามองเห็นได้เป็นลำดับแรก ผู้ที่แต่งกายได้ถูกต้องตามมารยาทย่อมได้รับการยอมรับจากคนในสังคมเพราะแสดงถึงการเป็นผู้มีความเคารพต่อบุคคลและสถานที่ รวมถึงความน่าเชื่อถือ

    ๓.๑ มารยาทในการแต่งกายที่ถูกต้อง

        การแต่งกายไปยังสถานที่ต่างๆ จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับโอกาส บุคคลที่ต้องพบเจอกิจกรรมที่ทำ ถือเป็นมารยาททางสังคมอย่างหนึ่ง การแต่งกายที่ถูกต้องสามารถทำได้ดังนี้

    ๑. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด

        เราควรดูแลเสื้อผ้าของเราให้สะอาดมีสภาพดีอยุ่เสมอ หากพบร่องรอยชำรุดก็ควนซ็อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิม ทั้งนี้ เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่ควรเป็นชุดที่ดูดี เรียบร้อย

     ๒. แต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาส

         เราต้องพิจารณาว่างานที่เราไปเข้าร่วมนั้นมีลักษณะอย่างไร เช่น เมื่อเราต้องไปในงานแต่งงานซึ่งถือเป็นงานมงคล เราก็ควรแต่งกายด้วยชุดสุภาพ ไม่ใส่ชุดสีเข้ม เพื่อเป็นการใหเ้เกียรติและแสดงความยินดีต่อเจ้าของงาน หรือถ้าหากไปร่วมงานศพ ก็ไม่ควรแต่งการด้วยชุดสีฉูดฉาด ควรแต่งการด้วยชุดไว้ทุกข์ สีดำ หรือสีขาว

     ๓. แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่

          ก่อนการแต่งกายทุกครั้ง เราควรคำนึงถึงสถานที่ที่จะไป เช่น หากไปทำทำบุญที่วัด ก็ควรแต่งกายด้วยชุดสุภาพเรียบร้อย มิดชิด เพื่อความเหมาะสมและแสดงความเคารพต่อศาสนสถาน

      ๔. แต่งกายให้เหมาะสมกับวัยของตนเอง

           การแต่งกายที่ดี จะต้องมีความเหมาะสมกับวัยของตนเอง เช่น วัยเด็กควรสวมเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส วัยรุ่นก้สามารถแต่งตัวตามสมัยนิยมได้แต่ไม่ล่อแหลมมากเกินไป ส่วนวับทำงานก็ควรแต่งกายด้วยชุดที่ดูดี สุภาพ เรียบร้อย มีความภูมิฐาน

        ๓.๒ การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย

            การเป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย เป็นการช่วยเสริมมารยาทแต่งกายแก่ผู้อื่นในทางหนึ่ง ซึ่งเราสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

     การเป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย

การแต่งกายในชุดนักเรียน

    ชุดนักเรียน เป็นเครื่องแบบที่มีเกียจติและสวยงาม เราจึงควรภาคภูมิใจเมื่อได้สวมใส่ และควรแต่งชุดนักเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ ดังนี้

  • เสื้อ กระโปรง หรือกางเกง ต้องมีสีหรือ ความยาวตามที่โรงเรียนกำหนด
  • ไม่ใส่เครื่องประดับที่มีแวววาวหรือตามกระแสแฟชั่น

การแต่งกายในชุดลำลอง

    ชุดลำลอง แม้จะใช้สวมใส่ในโอกาสส่วนตัว เช่น ไปเที่ยงพักผ่อนหย่อนใจ ก็ควรเลือกแต่งกายให้เหมาะสม ดังนี้

  • เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย
  • ควรเป็นชุดที่มีความคล่องตัว
  • ไม่สวมใส่ชุดที่มีความล่อแหลมมากเกินไป
  • เสื้อผ้ามีความสะอาดเรียบร้อย

        ๓.๓ การมีส่วนร่วมแนะนำผู้อื่นให้อนุรักษ์มารยาทการแต่งกาย

            การมีส่วนร่วมและแนะนำผู้อื่นให้อนุรักษ์มารยาทการแต่งกาย ทำได้ ดังนี้

๑. ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับมารยาทการแต่งกายที่ถูกต้องในโอกาสต่างๆ

๒. แต่งกายให้ถูกต้องตามมารยาท เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส สถานที่อยู่เสมอจนเป็นนิสัย

๓. อธิบายถึงความสำคัญของการมีมารยาทในการแต่งกาย และผลที่เิกดจากการแต่งกายอย่างเหมาะสมให้ผู้อื่นได้รับทราบ

๔. แนะนำวิธีการแต่งกายที่เหมาะสม ถูกต้องตามมารยาทให้คนทั่วไปได้นำไปปฏิบัติ

๕. เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการแต่งกายโดยใช้สื่อต่างๆ อย่างเหมาะสม

    ๔. การมีสัมมาคารวะ

        สัมมาคารวะ เป็นการแสดงออกทั้งทางด้านกาย วาจาและใจ อย่างสุภาพอ่อนโยน และความเคารพต่อผู้อื่น ซึ่งถือเป็นมารยาทที่คนไทยสำคัญที่คนไทยควรยึดถือปฏิบัติต่อกัน เพราะเป็นสิ่งที่แสดงถึงความดีงามตามวิถีไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผู้ที่มีสัมมาคารวะ ย่อมเป็นที่รักของบุคคลรอบข้าง

    ๔.๑ ลักษณะของผู้ที่มีสัมมาคารวะ

            ผู้ที่ถือได้ว่าปฏิบัติตนอย่างมีสัมมาคารวะ ย่อมมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

๑. ให้ความเคารพผู้อื่น

    เป็นผู้รู้ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีอาวุโส จะต้องมีความนับถือและเชื่อฟังคำสั่งสอน เพื่อนำมาเป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิต

๒. มีกริยามารยาทเรียบร้อย

    ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือสนทนา ก็ทำอย่างสุภาพตามมารยาทไทย มีความสำรวมทั้งกาย วาจา และใจอยู่เสมอทัั้งต่อหน้าและลับหลัง

๓. พูดจาสุภาพ

    ใช้ถ้อยคำในการพูดสนทนาด้วยภาาาสุภาพ มีน้ำเสียงอ่อนโยน ไม่ใช้คำหยาบ หรือให้ร้าย ดูมิ่นผู้อื่น สร้างบรรยากาศที่ดีในการสนทนาอยู่เสมอ

๔. อ่อนน้อมถ่อมตน

    ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ ให้เกียรติ ไม่ยึดเอาตนเป็นใหญ่

        ๔.๒ การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของการมีสัมมาคารวะ

            เราควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นในการปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ดังนี้

๑. ปฏิบัติตนด้วยความอ่อนน้อม

        โดยกระทำให้เป็นนิสัยเคยชินอยู่เสมอ  เพื่อให้ผู็อื่นเห็นเป็นตัวอย่างและสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

๒. มีสัมมาคารวะ

        ปฏิบัติต่อผู้ิื่นด้วยความเคารพ ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความจริงใจต่อผู้อื่น

๓. ปฏิบัติตนด้วยความอ่อนน้อม

        มีความเคารพนอบต่อผู้อื่น โยเฉพาะผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า

๔.ปฏิบัติตนอย่างสุภาพ

        มีกิริยามารยาทสำรวม คอยระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการกระทำที่ไม่เหมาะสมกับผู้อื่น

        ๔.๓ การมีส่วนร่วมและแนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตนมีสัมมาคารวะ

 เราสามรถแนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะได้ ดังนี้

    ๑. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

        แสดงออกถึงความเป็นผู้มีสัมมาคารวะด้วยวิธีต่างๆ  อย่างเปิดเผยและภาคภูมิใจ เพื่อให้ผู้อื่นได้เห็นและนำเอาไปปฏิบัติตาม

    ๒. บอกเล่าถึงความสำคัญ

        อธิบายความสำคัญและผลดีที่เกิดจากการปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะให้ผู้อื่นรับทราบเพื่อเิกดการนำไปปฏิบัติโดยทั่วกัน

    ๓. ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตนอย่างมีสัมมาคารวะ

        พูดชักชวนบุคคลทั่วไปให้ร่วมกันปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างมีสัมมาคารวะ โดยอาจเริ่มจากบุคคลที่อยู่ใกล้ตัว เช่น เพื่อนในโรงเรียน

    ๔. แนะนำการปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ

        อธิบายวิธีการปฏิบัติตน เป็นผู้มีสัมาคารวะในลักษณะต่างๆ โดยอาจยกตัวอย่างสถานการณ์และบอกวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง

    ๕. เผยแพร่ความรู้เรื่องการมีสัมมาคารวะ

        ศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะอย่างถูกต้องแล้วนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นโดยใช้วิธีต่างๆ อย่างเหมาะสม

    ๖. เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการมีสัมมาคารวะ

        ให้ความสนใจโดยเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ รวมถึงชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมด้วย