วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

       อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น หากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ด้วย เราจึงควรรู้จักป้องกัน บำรุงรักษาอวัยวะต่าง ๆ ในทุกระบบ ให้สมบูรณ์แข็งแรง

        ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมากนับล้าน ๆ เซลล์ กลุ่มเซลล์ที่ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เมื่อร่วมกันทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อวัยวะ อวัยวะหลาย ๆ อวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็น ระบบ ที่สำคัญต่าง ๆ ในร่างกาย

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย      

ความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย การแบ่งส่วนประกอบของร่างกายออกเป็นระบบต่าง ๆ จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้องง่ายขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น ระบบย่อยอาหารต้องมีน้ำย่อย ซึ่งหลั่งออกมาภายใต้การควบคุมของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาท อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตเพื่อนำไปเก็บสะสมหรือส่งต่อไปยังเซลล์ต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นระบบทุกระบบในร่างกายต้องทำงานสัมพันธ์กัน

หลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆในร่างกาย มีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

1.  รักษาอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน 

2.  บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการและความสะอาด

3.  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าจิตใจเบิกบานแจ่มใส

4.  พักผ่อนให้เพียงพอ  ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ

5.  ทำจิตในให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ 

6.  หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ 

7.  ตรวจเช็คร่างกาย เช่นชั่งน้ำหนักเป็นประจำ 

ระบบประสาท (Nervous System)

       ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน รวมถึงความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่าง ๆ สมองและไขสันหลังจะเป็นศูนย์กลางคอยรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกาย แล้วส่งกระแสคำสั่งผ่านเส้นประสาทที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

องค์ประกอบของระบบประสาท

1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system)
ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal card)ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

2. ระบบประสาทรอบนอก

ระบบประสาทรอบนอกประกอบไปด้วย เส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal nerve)

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

การทำงานของระบบสมอง

 ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ

การบำรุงรักษาระบบประสาท

1. ระมัดระวังไม่ให้เกิดโรคทางสมอง

2. ระมัดระวังการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ

3. หลีกเลี่ยงยาเสพติดและแอลกฮอล์

4. ผ่อนคลายความเครียด

5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System)

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย

1. อัณฑะ (testis)  ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ

2. ถุงหุ้มอัณฑะ (scrotum) ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ

3. หลอดเก็บตัวอสุจิ ( epididymis) ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็ม

4. หลอดนำตัวอสุจิ ( vas deferens) ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอ

5. ต่อมน้ำสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ

6. ต่อมลูกหมาก ( prostate gland) ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ

7. ต่อมคาวเปอร์ (cowper’s glands) ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะ

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง
1.รังไข่ (ovary) ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง

2. ท่อนำไข่ (oviduct) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก

3.มดลูก (uterus) ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว

4. ช่องคลอด (vagina) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก

การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์

1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

3. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
4. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เคร่งเครียด

5. ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ

6. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น

7. ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่น

ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)

       ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียกระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมไร้ท่อจะต้องมีปริมาณพอดีกับร่างกาย และมีฤทธิ์มากพอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
1. ต่อมใต้สมอง สร้างฮอร์ดมนควบคุมการเจริญเติบโต การบีบตัวของมดลูก  

2. ต่อมหมวกไตสร้างอะดินาลีนและฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร 

3. ต่อมไทรอยด์  ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

4. ต่อมพาราไทรอยด์  ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด

5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างอินซูลิน

6. รังไข่และอัณฑะ สร้างฮอร์โมนเพศ

7. ต่อมไทมัส  ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

4. ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ

6. พักผ่อนให้เพียงพอ