ผู้ยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ต้องมีทุนชำระเท่าใด

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​บริษัทที่ออกหลักทรัพย์

  • สรุปหลักเกณฑ์

  • คู่มือ/แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

  • กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง​​

  • แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง​​​​

  • FAQ เกี่ยวกับการส่งรายงานตามมาตรา 56​

  • คำอธิบาย มาตรา 334/1 เรื่อง การสิ้นสุดหน้าที่ในการรายงานฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่เพิกถอนหลักทรัพย์จากการเป็นบริษัทจดทะเบียน (delist) และไม่มีการออกหลักทรัพย์ใด ๆ​​

งบการเงินและการรายงานตามมาตรา 56 

บริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหน้าที่จัดทำและนำส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานหรือเรียกอย่างย่อว่า งบการเงินและการรายงานตามมาตรา 56 ต่อ ก.ล.ต. เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจลงทุน

การกำหนดหน้าที่การจัดทำรายงาน ประเภท ระยะเวลาและเงื่อนไขการส่งรายงาน และการสิ้นสุดหน้าที่การจัดทำรายงาน กำหนดแตกต่างกันตามลักษณะต่าง ๆ  เช่น

  • การเป็นผู้ออกและเสนอขายหลักทรัพย์

  • ประเภทหลักทรัพย์ที่ออกและเสนอขาย (เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน เป็นต้น)

  • การเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือไม่ 

สรุปหลักเกณฑ์

ใครมีหน้าที่จัดทำและส่งรายงาน

เมื่อใดจึงสิ้นสุดหน้าที่ในการทำและจัดส่งรายงาน

การจัดทำและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

ใครมีหน้าที่จัดทำและส่งรายงาน

บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ มีหน้าที่จัดทำและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

  • บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

  • บริษัทที่ออกหุ้นซึ่งเคยมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นนั้น ต่อ ก.ล.ต. ไม่ว่าโดยบริษัทที่ออกหุ้นหรือผู้ถือหุ้น

  • บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ประเภทที่มีอายุของตราสารและยังไม่ครบอายุของตราสารนั้น โดยการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อ ก.ล.ต. ไม่ว่าโดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหลักทรัพย์

เมื่อใดจึงสิ้นสุดหน้าที่ในการทำและจัดส่งรายงาน

บริษัทที่ออกหลักทรัพย์สิ้นสุดหน้าที่จัดทำและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทต่อ ก.ล.ต. เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

1. มีการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

​(1/1) อยู่ระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด​

2. บริษัทไม่ได้ขายหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่ ก.ล.ต. อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือบริษัทยกเลิกการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ให้บริษัทสิ้นสุดหน้าที่จัดทำและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทเฉพาะเนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสำหรับการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น

3. บริษัทที่เพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยความสมัครใจ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้  ทั้งนี้ ให้บริษัทสิ้นสุดหน้าที่จัดทำและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทในฐานะที่ออกหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ถ้ามี)

ก) ภายหลังการทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว ปรากฏว่ามีผู้ถือหุ้นรายอื่นซึ่งมิใช่ผู้ทำคำเสนอซื้อ บุคคลที่กระทำการร่วมกับผู้ทำคำเสนอซื้อ (concert party) และบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลเหล่านั้น ถือหุ้นรวมกันไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท

ข) ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ถือหุ้นทุกรายว่าไม่ประสงค์จะได้รับข้อมูลตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุนที่ ทจ. 44/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

ค) คณะกรรมการบริษัทมีมติให้มีการรับซื้อหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นจากผู้ถือหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป และมีการดำเนินการตามที่กำหนดในข้อ 42 ของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 44/2556 เรื่อง  หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์แล้ว​

​4. บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มิได้มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือมิได้มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และบริษัทเข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

​ก) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

ข) เป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

ค) บริษัทเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังนี้  ทั้งนี้ ให้บริษัทสิ้นสุดหน้าที่จัดทำและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทในฐานะที่ออกหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ถ้ามี)

​1. มีจำนวนผู้ถือหุ้นและผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยราย
​2. คณะกรรมการบริษัทมีมติให้มีการรับซื้อหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นจากผู้ถือหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป และมีการดำเนินการตามที่กำหนดในข้อ 42 ของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 44/2556

​ง) บริษัทได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ถือหลักทรัพย์ทุกรายว่าไม่ประสงค์จะได้รับข้อมูลตามประกาศที่ ทจ. 44/2556​

การจัดทำและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

กำหนดประเภทการจัดทำและนำส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน ดังนี้ 

1.  บริษัทไทยที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพ​ย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บริษัท listed)  ไม่ว่าเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใด

1.1  กรณีปกติ

1.2  กรณีบริษัทถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขึ้นเครื่องหมาย SP เนื่องจากมีปัญหาฐานะการเงินหรือบริษัทอยู่ในกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ภายในเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด (Non-Performing Group : NPG) ตามข้อ 26 ของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.44 /2556   

2.  บริษัทไทยที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (Public Offering) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการนำหุ้นเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

3.  บริษัทไทยที่ไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บริษัท non-listed)

4.  สาขาธนาคารต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

5.  รัฐบาลต่างประเทศ   

6.  บริษัทต่างประเทศ (ที่มิใช่กรณีสาขาธนาคารต่างประเทศตาม 4. และรัฐบาลต่างประเทศตาม 5.)   

ตารางสรุประยะเวลาและเงื่อนไขการส่งรายงานกรณีปกติของบริษัท Listed


FAQ เกี่ยวกับการส่งรายงานตามมาตรา 56

​​​การส่งรายงานตามมาตรา 56 (งบการเงิน แบบ 56-1 และแบบ 56-2)
คำถาม 

เมื่อบริษัทจดทะเบียนส่งแบบ 56-1 One Report ต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว จะต้องส่ง hard copy ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ห​รือไม่

คำตอบ   

1. เมื่อบริษัทที่มีหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (“DW”) เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้จัดส่งรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดถือว่าเป็นการส่งรายงานต่อสำนักงานแล้ว จึงไม่ต้องจัดส่ง hard copy ต่อสำนักงาน

2. กรณีบริษัทอื่นนอกจากข้อ 1 ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสำนักงาน 1 ชุด และในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อสำนักงานตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด​


คำถาม 

​ในการส่งรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริษัทจดทะเบียนต้องส่งรายงานฉบับที่มีลายมื่อชื่อขอ​​​​งกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ด้วยหรือไม่

คำตอบ 

​​ให้บริษัทส่งรายงานทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด โดยไม่จำเป็นต้องส่งรายงานฉบับที่กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง  ​


คำถาม 

เมื่อบริษัทจดทะเบียนส่งรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว จะต้องจัดเก็บแบบ 56-1 One Report ในรูปแบบเอกสาร (hard copy) ไว้ที่บริษัท หรือไม่ 

คำตอบ 

บริษัทจดทะเบียนต้องเก็บแบบ 56-1 One Report​ ไว้อย่างน้อย 5 ปีตามมาตรา 89/17 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ โดยต้องแจ้งสถานที่เก็บเอกสารให้สำนักงานทราบ และสามารถเลือกวิธีจัดเก็บได้ 2 วิธี ดังนี้

(1) จัดเก็บแบบเอกสาร (hard copy) ซึ่งเป็นเอกสารที่กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) หรือ

(2) จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอื่นใด ที่สามารถเรียกดูได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความ (อาจเก็บในรูปแบบที่ไม่มีการลงนาม หรือเก็บเป็นไฟล์เอกสารภาพที่ scan จาก hard copy ที่กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้)​


เข้าตลาดหลักทรัพย์ต้องมีรายได้เท่าไร

ในกรณีที่มีผลการดำเนินการเพียง 1 ปี สามารถเข้าจดทะเบียนได้ หากมีมูลค่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า 300 ราย ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 20% ของทุนชำระแล้ว การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน

ค่าใช้จ่ายในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีอะไรบ้าง

ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออนุญาต : 50,000 บาท ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น (แบบFiling) : 0.08% ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย แบ่งชำระดังนี้ 30,000 บาท ในวันที่ยื่นแบบ Filing. ส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) ในวันที่แบบ Filing มีผลบังคับใช้

บริษัทที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ต้องทำอย่างไร

ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ / ยื่นคำขอเสนอขายหุ้น IPO ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมการเรื่องการเยี่ยมชมกิจการ และตอบข้อซักถามของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ สำนักงาน ก.ล.ต. เสนอขายหุ้นแก่ประชาชน เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์

บมจ. ต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ไหม

ดังนั้นข้อสรุปคือ : บริษัทมหาชนไม่จำเป็นต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์