เปิดร้านเหล้าต้องใช้งบเท่าไหร่

ประสบการณ์ตรงเรื่องการบริหารธุรกิจที่เจ้าของบาร์  Apoteka ชื่อดังใจกลางกรุงเทพฯ อยากแชร์ให้นักลงทุนมือใหม่ที่ อยากเปิดร้านเหล้า ได้รับรู้

เมื่อมีโอกาสได้ลงมือทำธุรกิจตอนอายุ 26 เขารู้ตัวดีว่ามันเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เขาไม่คาดคิดว่าประตูที่เปิดมานี้จะนำมาซึ่งประตูอีก 101 บาน!  อย่างไรก็ตามความท้าทายนี้ก็เป็นที่ยอมรับ และนี่คือ 7 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการจัดการบาร์แรกของตัวเอง

Show

7 เรื่องสำคัญถ้า อยากเปิดร้านเหล้า บาร์

1. อย่าดื่มเหล้าของร้านตัวเอง

การที่คุณเป็นเจ้าของบาร์ไม่ได้หมายความว่าคุณจะดื่มเท่าไรก็ได้ ถ้าคุณทำธุรกิจเหมือนอยู่ปาร์ตี้ ในที่สุดปาร์ตี้จะจบลง ดื่มกับลูกค้าเป็นครั้งคราวเพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้คงอยู่ต่อไป แต่จำว่าคุณทำธุรกิจไม่ใช่การกุศล สร้างความบันเทิงแก่ลูกค้าได้ แต่อย่าปรนเปรอพวกเขาด้วยเครื่องดื่ม

2. ความแข็งแกร่งของคุณมาจากทีม

ระบบการทำงานที่แข็งแกร่งจะอยู่ในมือของลูกทีมของคุณเมื่อคุณไม่อยู่ ฝึกฝนทักษะการทำงานให้แก่ลูกทีม เพื่อการให้บริการที่ยอดเยี่ยม การช่วยให้พวกเขาเติบโตย่อมส่งให้ธุรกิจคุณเติบโตด้วยเช่นกัน

3. ตัวเลขบอกความจริงได้ดีที่สุด

ถ้าคุณอยากทราบว่าธุรกิจของตัวเองในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง บัญชีของคุณจะบอกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เพียง 90% เท่านั้น ถ้าคุณคอยตรวจสอบด้วยตัวเอง ดูว่าเช็คไม่เคยเด้ง แล้วผลประโยชน์จะกลับมาหาธุรกิจคุณถึง 110%

เปิดร้านเหล้าต้องใช้งบเท่าไหร่

4. อย่าไว้ใจคนในทีมมากเกินไป

ในสายธุรกิจนี้การลักขโมยเป็นเรื่องปกติ ทุกคนล้วนมีเจตนา บ้างไม่ดี บ้างดี คุณไม่มีทางรู้เพียงแค่ดูหน้าพวกเขา การกระทำสำคัญกว่าการพูดนับล้านคำ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องความดีงามหรือตัวตนที่พวกเขาพร่ำบ่นออกมา ลองฟังและสังเกตให้มากขึ้น พูดให้น้อยลง

บาร์แห่งนี้เคยมีพนักงานเก็บเงินที่เก่งมาก เธอเก่งเรื่องตัวเลข เข้ากับคนได้ดี และปฏิบัติตัวต่อลูกค้าอย่างซื่อสัตย์ แต่ในไม่ช้าก็พบว่าเธอแอบขายเครื่องดื่มและขโมยเงิน โดยสวมบทนักบัญชีแก้ไขตัวเลข ธุรกรรม และบิลต่างๆ อย่างแนบเนียน!

ทันทีที่พวกเราจับได้ ก็ยกเลิกสัญญาของเธอในทันที รวมถึงสัญญาของบาร์เทนเดอร์ทั้งสองคนที่เป็นเพื่อนร่วมงานของเธอ แต่ผมเองถือว่าเป็นคนผิดพลาดที่สุดที่ไม่สามารถจับสังเกตได้ก่อนหน้านั้น การเชื่อมั่นในตัวทีมมากเกินไปถือเป็นบทเรียนราคาแพง

5. ทุกโครงสร้างจำเป็นต้องมีสายงานบังคับบัญชา

การลำดับสายบังคับบัญชาย่อมมีบทบาทสำคัญ นายทุนไม่ควรแสดงอำนาจในการจัดการมากเกินไป และสั่งการโดยตรง เนื่องจากจะทำให้โครงสร้างการทำงานของคุณวุ่นวาย ควรมีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย เริ่มด้วยความหลงใหลและความจริงจังเป็นอันดับแรก กำหนดเป้าหมายด้วยความเป็นจริงและดำเนินงานผ่านสายงานบังคับบัญชา จากนายทุน มาที่กลุ่มผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ต่อไป 

6. ความเรียบง่ายมักถูกมองข้าม

คิดในทางปฏิบัติ เมื่อวางแผนว่าคุณจะทำอะไร บ่อยครั้งเรามักคิดว่าความซับซ้อนเป็นสิ่งที่ขายได้ อย่าพยายามเป็นสิ่งที่คุณไม่ใช่ ยกตัวอย่าง การสร้างสรรค์เมนูใหม่ที่ล้วนหรูหราเกินกว่าความเป็นบูลส์บาร์ มีซี่โครงแกะ สเต็ก ฟิเลมิยอง ทุกจานเหมือนอาหารตามภัตตาคารชั้นเลิศ หลังจากที่เปิดตัวเมนูก็พบว่า การที่คิดสร้างความประทับใจแก่คนรสนิยมล้ำเลิศเหล่านี้ล้วนดูเสแสร้ง ซับซ้อนเกินไป และผิดที่ผิดทาง

7. คำวิจารณ์ในแง่ลบถือเป็นสิ่งดี

เช่นเดียวกับทุกๆ สิ่ง การทำธุรกิจก็มีด้านหยินและหยาง ในธุรกิจนี้ สิ่งเดียวที่คุณจะรู้ว่ากำลังทำผิดคือการฟังเสียงลูกค้า โดยเฉพาะเรื่องร้องเรียนต่างๆ การมุ่งที่คำวิจารณ์ด้านบวกแต่อย่างเดียวจะหยุดการเติบโตของคุณไป

อ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ 

มาโบกมือลางานประจำ แล้วหันมาทำงานฟรีแลนซ์แบบเต็มตัวกันเถอะ

สัญญาณเตือนว่าถึงเวลาลาออกจากงาน สังเกตตัวเองว่าถึงเวลาลาออกจากงานแล้วหรือยัง

จับตาดู 5 เทรนด์ สุขภาพและเทคโนโลยี ธุรกิจน่าลงทุน ปี 2019

Got a parenting concern? Read articles or ask away and get instant answers on our app. Download theAsianparent Community on iOS or Android now!

ทุกวันนี้ ในช่วงค่ำคืนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด หลายคนคงพบเห็นร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มสุรา เช่น เหล้า เบียร์ คอกเทล ทั้งของไทยและของเทศ เปิดให้บริการอยู่เต็มไปหมดในทุกหัวเมือง ทั้งเปิดแบบชั่วคราวช่วงใดช่วงหนึ่ง หรือเปิดเป็นร้านถาวร รวมถึงอาจมีการแสดงดนตรี ร้องเพลงให้ความบันเทิงแขกที่มาใช้บริการก็มี การ เปิดร้านเหล้า ไม่ใช่คิดจะเปิดก็เปิดได้แบบเสรี ทุกร้านที่เปิดจำเป็นต้องมีการขออนุญาต และ ใบอนุญาตเปิดร้านเหล้า จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐก่อนจึงจะเปิดให้บริการได้

หากไม่ขออนุญาตและถูกตรวจพบก็จะถูกสั่งปิดและยังต้องเสียค่าปรับอีกด้วย การขออนุญาตประกอบกิจการร้านอาหารและจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา มีหลายหน่วยงานของรัฐกำกับดูแล และก็ต้องขออนุญาตทุกหน่วยงานไป ส่วนการขออนุญาตต้องทำอย่างไร ขอกับหน่วยงานไหน ขออธิบายเป็นกรณีๆ ไป ดังนี้

หลังจากได้เคยนำเสนอเรื่อง ขั้นตอนการเปิดบาร์ และ การขอ ใบอนุญาตขายสุรา เบี้องต้นไปแล้ว ในบทความก่อนหน้านี้ แต่ในบทความนี้เราจะมาลงในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น ให้ครบถ้วนสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัว หรือ มีไอเดียที่กำลังจะเปิดร้านเหล้า ไม่ว่าจะเป็น การ เปิดร้านเหล้าเล็กๆ หรือ ค็อกเทลบาร์

1. การขอจดทะเบียนพาณิชย์

การเปิดร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มสุรา เป็นการประกอบกิจการพาณิชย์อย่างหนึ่ง หากดำเนินการในรูปแบบบุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ ประเภทร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม โดยยื่นขออนุญาตได้ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำหนักงานเขตที่ร้านอาหารตั้งอยู่ (กรณีจดทะเบียนบริษัทไว้แล้ว และใช้บริษัทเป็นผู้ดำเนินกิจการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ซ้ำอีก)

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับประกอบการยื่นขออนุญาต

  1. แบบฟอร์มคำขอจะทะเบียนพาณิชย์
  2. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขออนุญาต
  3. หนังสือยอมยินให้ใช้สถานที่เพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่
  4. กรณีเป็นสถานที่เช่า ใช้สัญญาเช่ามาแสดงแทนหนังสือยินยอมก็ได้ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ให้เช่า
  5. แผนที่ตั้งของร้านอาหารที่จะทำการเปิด
  6. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

เมื่อยื่นขออนุญาต หากเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง ก็จะออกใบอนุญาตให้เลยทันที ผู้ขออนุญาตสามารถรอรับใบอนุญาตจดทะเบียนพาณิชได้เลยในวันเดียวกัน มีค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์ 50 บาทเท่านั้น

เปิดร้านเหล้าต้องใช้งบเท่าไหร่

2. ป้ายชื่อร้าน

การเปิดร้านร้านอาหารทั่วไป และ เปิดร้านเหล้า ที่ขายเครื่องดื่มสุรา แน่นอนว่าทุกร้านก็อยากให้มีคนรู้จักและเข้ามาใช้บริการกันให้มาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีป้ายบอกชื่อร้าน ซึ่งป้ายชื่อร้านจะต้องขึ้นทะเบียนภาษีป้าย เพื่อการเสียภาษีป้ายประจำปี ถ้าเป็นในกรุงเทพมหานครก็ยื่นที่สำนักงานเขต หากเป็นต่างจังหวัดก็ที่ยื่นที่องค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือที่ว่าการอำเภอแล้วแต่กรณีว่าร้านอาหารจะตั้งอยู่ในเขตหรือท้องที่การดูแลของหน่วยงานใด

เอกสารที่ต้องใช้ในการขึ้นทะเบียนภาษีป้าย

  1. แบบคำขอขึ้นทะเบียน ตามแบบฟอร์มที่ท้องที่กำหนด
  2. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นขอเสียภาษีป้าย
  3. แบบป้ายชื่อร้าน ขนาดความกว้างความยาว หรือใบเสร็จรับเงินที่ร้านทำป้ายออกให้
  4. แผนที่ร้านที่จะติดตั้งป้ายชื่อร้าน
  5. หนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่น

ป้ายชื่อร้าน มีด้วยกัน 3 ประเภท และมีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน

  1. ป้ายชื่อร้านที่มีข้อความเป็นภาษาไทยล้วน อัตราภาษีจะอยู่ที่ 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร แต่จะเก็บขั้นต่ำ 200 บาท
  2. ป้ายชื่อร้านที่มีข้อความเป็นภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ และภาษาไทยอยู่ด้านบนภาษาอังกฤษ อัตราภาษี 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ขั้นต่ำ 200 บาท
  3. ป้ายชื่อร้านที่มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษล้วน หรือไทยปนอังกฤษแต่ภาษาอังกฤษอยู่ด้านบนภาษาไทย อัตราภาษี 40 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ขั้นต่ำ 200 บาท
    การไปขอขึ้นทะเบียนภาษีป้าย ก่อนจะมีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่รับคำขอจะออกไปทำการตรวจสอบป้ายและวัดขนาดเพื่อดูว่าเป็นความจริงตามที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนหรือไม่ หากเห็นว่าถูกต้องก็จะขึ้นทะเบียนให้ หากไม่ถูกต้องก็จะขอให้แก้ไขเอกสารคำขอให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และเสียภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้ ส่วนในปีต่อๆ ไป ให้เสียภาษีอัตราเดิม ภายในเดือนมีนาคม ของทุกๆ ปี

เปิดร้านเหล้าต้องใช้งบเท่าไหร่

3. การขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา

เครื่องดื่มสุรา เป็นเครื่องดื่มประเภทที่อยู่ในข่ายต้องขออนุญาตในการจำหน่าย หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและออกใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา คือ กรมสรรพสามิต ในท้องที่กรุงเทพมหานครขออนุญาตได้ที่กรมสรรพสามิต ส่วนในต่างจังหวัดขออนุญาตได้ที่สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด ใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา แบ่งออกเป็นใบอนุญาตผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีก

  1. ใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตหรือนำเข้าสุรา ใบอนุญาตประเภทนี้ การขออนุญาตจะมีขั้นตอนยุ่งยากมาก และเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ทั้งการจัดตั้งโรงงานผลิต การติดตั้งเครื่องจักร การแจ้งสูตรผสม การติดฉลาก อีกทั้งยังต้องทำสัญญากับกรมสรรพสามิต กำหนดราคาหน้าโรงงาน เพื่อการคิดคำนวณแสตมป์และภาษีสรรพสามิตอีก บุคคลธรรมดาไม่สามารถขออนุญาตได้ ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเท่านั้นจึงจะสามารถขออนุญาตได้
  2. ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการค้าส่งสุรา เป็นใบอนุญาตจำหน่ายส่งสุราที่ผลิตหรือนำเข้าที่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้อง จำหน่ายในปริมาณครั้งละมากๆ และไม่ใช่เป็นผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าด้วยตัวเอง
  3. ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกสุรา ใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบการขายปลีกสุรา ซึ่งผู้ทำกิจการร้านอาหารพร้อมจำหน่ายสุรา จะเข้าข่ายต้องขออนุญาตประเภทนี้
    ในกิจการร้านอาหาร จะอยู่ในประเภทผู้ค้าปลีก ต้องยื่นขออนุญาตเป็นผู้ค้าปลีกสุรา อย่างไรก็ตาม ร้านอาหารที่จะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องดื่มสุรา จะมีข้อกำหนดเรื่องโซนนิ่งอยู่ด้วย กล่าวคือจะต้องไม่เป็นร้านที่ตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษา อยู่ใกล้ศาสนสถาน หรืออยู่ในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นคำขออนุญาต

  1. แบบฟอร์มคำขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา แบบ สยพ.1
  2. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นขออนุญาต
  3. หนังสือยินยอมของเจ้าของสถานที่ ยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่จำหน่ายเครื่องดื่มสุราพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่
  4. กรณีเป็นสถานที่เช่า ให้แนบหนังสือสัญญาเช่าสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านสถานที่เช่า
  5. แผนที่ตั้งร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มสุรา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบโซนนิ่ง
  6. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

เมื่อยื่นคำขออนุญาตแล้ว เจ้าหน้าที่สรรสามิตจะทำการตรวจสอบโซนนิ่งและเอกสารประกอบการยื่นคำขอ หากครบถ้วนและไม่อยู่เขตห้ามจำหน่ายสุรา เจ้าหน้าสรรพสามิตก็จะออกใบอนุญาตให้ โดยผู้ยื่นขออนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาต 1 ปี และต้องต่อใบอนุญาตเป็นประจำทุกๆ ปีไป

ใบอนุญาตจำหน่ายปลีกเครื่องดื่มสุรานี้ ใช้ได้กับการจำหน่ายปลีกเครื่องดื่มสุรา ทุกยี่ห้อที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตและมีจำหน่ายในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ ที่ติดแสตมป์และเสียภาษีโดยถูกต้องแล้วเท่านั้น ผู้ที่ได้รับอนุญาต จะไปผลิตสุราเองแล้วนำมาจำหน่ายไม่ได้ อย่างไรก็ตามมีข้อสงสัยว่า เครื่องดื่มประเภทคอกเทลที่ปรุงแต่งโดยพนักงานของร้านอาหารหรือบาร์ ที่มีชื่อเรียกเฉพาะออกไป เช่น การนำเอาเปลือกส้ม หรือ ผลไม้มาหมักผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มประเภทคอกเทลจำหน่าย เข้าข่ายเป็นการผลิตเครื่องดื่มสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ตราบใดที่การปรุงแต่งเครื่องดื่มคอกเทลทำด้วยส่วนผสมของสุราที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายก็ไม่เป็นความผิด แต่ถ้าการใช้วัตถุดิบอื่นนำมาหมัก ทำเครื่องดื่มสุราเองแล้วนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มคอกเทล เข้าข่ายเป็นการผลิตสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตจะเป็นความผิด ทางแก้คือควรหลีกเลี่ยงการหมักสุราที่นำมาเป็นส่วนผสมเครื่องดื่มคอกเทลด้วยตัวเอง ควรใช้สุราที่มีจำหน่ายอยู่แล้ว

ร้านจำหน่ายอาหารและสุราที่มียอดขายถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี กฎหมายภาษีอากรกำหนดให้ต้องเป็นผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และจำเป็นต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพกรและจะต้องเรียกเก็บและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่สรรพกรประจำทุกเดือน

เปิดร้านเหล้าต้องใช้งบเท่าไหร่

4. ร้านจำหน่ายอาหารและสุรา ที่มีการแสดงดนตรีด้วย
การเปิดร้านจำหน่ายอาหารและสุรา และเปิดให้มีการแสดงดนตรีด้วย หากเปิดเกินเวลา 24.00 น เข้าข่ายเป็นสถานบริการตามกฎหมายสถานบริการ มาตรา 3 (4) ต้องขออนุญาตประกอบกิจการสถานบริการ แต่หากเปิดไม่เกิน 24.00 น. ก็ไม่เข้าข่ายเป็นสถานบริการ ไม่ต้องขออนุญาต

ส่วนร้านจำหน่ายอาหารและสุราที่จะจัดเป็นสถานบริการได้ ต้องไม่อยู่ใกล้ชิดวัด สถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา โรงเรียนหรือสถานศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สโมสรเยาวชนหรือหอพัก หรือในย่านที่ประชาชนอาศัยอยู่ ขนาดที่เห็นได้ว่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สถานที่อยู่อาศัยดังกล่าว
ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในกรุงเทพมหานคร คือ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล โดยให้ยื่นขออนุญาตผ่านสถานีตำรวจท้องที่ ที่สถานบริการตั้งอยู่ ส่วนต่างจังหวัดผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ให้อนุญาต ยื่นขออนุญาตผ่านอำเภอท้องที่ การพิจารณาอนุญาตใช้เวลา 15 วันโดยประมาณ

ข้อควรระวังสำหรับร้านจำหน่ายอาหารและสุราที่มีการแสดงดนตรีและร้องเพลง คือเรื่องของ ลิขสิทธิ์เพลง ต่างๆ หากจะมีการนำเพลงของคนอื่นมาร้องให้บริการแขกโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงอาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงอาจแจ้งความดำเนินคดี ฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพลงได้ และ เป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษจำคุกและปรับอีกด้วย

การเปิดร้านเหล้า มีข้อกำหนดที่ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการจะต้องปฎิบัติ ไม่ว่าจะเป็น การ เปิดร้านเหล้าเล็กๆ ก็ต้องทำให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้น หลังจากเปิดไปอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นภายหลังได้ เราแนะนำให้จดทะเบียน และ มีใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา มี ใบอนุญาตเปิดร้านเหล้า อย่างถูกต้อง และ เมื่อทำถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จะไม่ต้องมีห่วงเรื่องใบอนุญาติต่างๆ และ จะทำให้คุณสามารถที่จะโฟกัส ไปที่การบริหารร้านได้อย่างเต็มที่ และ คุณ สามารถอ่านบทความ เกียวกับ การจดทะเบียนร้านอาหาร ที่ได้เขียนไว้ในบทความก่อน

สู้ๆครับ 🥃

เปิดร้านเหล้าเริ่มยังไง

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นขออนุญาตจำหน่ายสุรา สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นขออนุญาต หนังสือยินยอมของเจ้าของสถานที่ ยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่จำหน่ายเครื่องดื่มสุราพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่ กรณีเป็นสถานที่เช่า ให้แนบหนังสือสัญญาเช่าสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านสถานที่เช่า

จะเปิดร้านเหล้าต้องเตรียมอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นขออนุญาตจำหน่ายสุรา สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นขออนุญาต หนังสือยินยอมของเจ้าของสถานที่ ยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่จำหน่ายเครื่องดื่มสุราพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่ กรณีเป็นสถานที่เช่า ให้แนบหนังสือสัญญาเช่าสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านสถานที่เช่า

เปิดร้านเหล้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

เมื่อเปิดร้านแล้วมีรายได้.
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่ ... .
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ ... .
ภาษีมูลค่าเพิ่ม.

ขาย เหล้า ปั่น ต้อง ขอ อนุญาต ใคร

เครื่องดื่มสุรา เป็นเครื่องดื่มประเภทที่อยู่ในข่ายต้องขออนุญาตในการจำหน่าย หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและออกใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา คือ กรมสรรพสามิต ในท้องที่กรุงเทพมหานครขออนุญาตได้ที่กรมสรรพสามิต ส่วนในต่างจังหวัดขออนุญาตได้ที่สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด ใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา แบ่งออกเป็นใบอนุญาตผู้ผลิต ...