การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกี่แนวทาง

การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกี่แนวทาง

การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกี่แนวทาง

                                                             

การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกี่แนวทาง

                       
 ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง   ความสามารถของมนุษย์ในอันที่จะคิดแก้ปัญหาและพัฒนาจนสามารถประดิษฐ์
                                             ผลิตผลใหม่ๆ เพื่อสนองความต้องการของตนเอง  สังคม  ดังนั้นการสร้างสรรค์จึงเป็นการกระทำให้ดีขึ้น
                                             งดงามยิ่งขึ้น  หรือมีคุณค่ายิ่งขึ้น
                                              การที่มนุษย์รู้จักการสร้างสรรค์  เป็นผลให้โลกได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ เจริญก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน
                                              และเชื่อว่าโลกจะเปลี่ยนไปสู่ความเจริญทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีต่อไปในอนาคตอย่างไม่หยุดยั้ง
                                              ตราบใดที่ยังมีการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

ความคิดสร้างสรรค์สร้างสรรค์แบ่งออกเป็น  ๓ ประเภท ได้แก่

๑.  ความคิดสร้างสรรค์ทางความคิด [Creative in Thinking ]

            ความคิดสร้างสรรค์ทางความคิด  หมายถึง  การคิดแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนางาน หรือการบริหาร

งานให้ประสบความสำเร็จ และเจริญก้าวหน้า รู้จักการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา  สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้

ปัญหา เพื่อนำมาวางแผนงานต่อไป เช่นการประชุมสัมมนาระดมสมองในการพัฒนางาน

๒.  ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม  [Creative in Beauty ]

            ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม  หมายถึง การสร้างสรรค์ความงามที่แปลกใหม่ให้งดงามและมีคุณค่ายิ่งขึ้น

 ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ในทางปฏิบัติ เช่น การสร้างสรรค์งานศิลปะ  การออกแบบสีสันและลวดลายเสื้อผ้า  

การตกแต่งห้องเรียน  บ้าน สำนักงาน ให้มีความงามและแปลกใหม่เป็นต้น

๓.  ความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย [Creative in Function ]

           ความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย  หมายถึง     การสร้างสรรค์ดัดแปลงสิ่งต่างๆ   ให้มีคุณค่าทาง

ประโยชน์ใช้สอย เช่น งานสิ่งประดิษฐ์ งานศิลปะที่นำวัสดุต่างๆมาผลิตขึ้นให้เกิดประโยชน์ใช้สอยเป็นต้น                       

ตัวอย่างเหล่านี้เป็นผลงานของเด็กนักเรียนที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีและได้สื่อความคิด  จินตนาการออกมาเป็นรูปภาพ

การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกี่แนวทาง

         การตัดทอนหมายถึง การสร้างสรรค์งานศิลปะในลักษณะบิดเบือนไปจากของจริง โดยจะให้ความสำคัญกับรูปแบบที่เหมือนจริงน้อยลง แต่ให้ความสำคัญกับรูปแบบจากความคิดของศิลปินมากขึ้น เพื่อสื่อความงามในการรับรู้ให้เข้าใจง่ายและรวดเร็วการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบแบบตัดทอน เป็นการนำทัศนธาตุมาจัดองค์ประกอบศิลป์ของผลงาน โดยการบิดเบือนไปจากของจริงตามความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน เพื่อสื่อความงามในการรับรู้ให้เข้าใจง่ายและรวดเร็ว เช่น สัญลักษณ์ต่างๆ โลโก้ในปัจจุบันเป็นต้น
             ศิลปะที่ว่าด้วย "ความน้อย" เกิดจากการลดตัดทอนมีมานานแล้ว และเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของ ศิลปะสมัยใหม่ เสียด้วย เช่น ในจิตรกรรมของฝรั่งเศสตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19จิตรกรหัวก้าวหน้าทำการลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของแบบที่เขียนลง โดยศิลปินดังต่อไปนี้
             พอล เซซานต์( Paul Cezanne) บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ ได้วางแนวทางในการตัดทอน เขากล่าวว่า ภาพเขียนมิใช่ความจริง  แต่เป็นผลกระทบจากการรับรู้ความจริง ถ้าศิลปินเปลี่ยนมุมมอง ภาพเขียนก็จะเปลี่ยนไปทันที เขาค้นหา (ความเป็นหนึ่งเดียว) โดย นำเสนอธรรมชาติด้วยรูปทรง กระบอก ทรงกลม ทรงกรวย
            พาโบล พิคาสโซ (Pabol Picasso) ได้คิดค้นรูปแบบการตัดทอน ในรูปแบบ บาศก์นิยม หรือ Cubism ขึ้น
            พีท มองเดรียน ( Piet Mondrain ) กับแนวทาง เดอ สไตลจ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการออกแบบ
            เรมอนด์ โลวี่ (Raymond loewy) กับงานออกแบบอุตสาหกรรมและรูปแบบศิลปินมินิมอลิซึ่ม (Minimalism) คือการทำให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งเป็นรูปแบบสมัยใหม่ที่เป็นจุดขีดสุด
           กล่าวสรุปได้ว่า จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จิตรกรลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของรูปทรงลงจนกลายเป็นเหลี่ยมเรขาคณิต แล้วก็ลดทอนลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นศิลปะนามธรรม
           สุนทรียศาสตร์แห่งการตัดทอนนั้น เป็นส่วนที่สำคัญในทฤษฏีทฤษฎีนิยมรูปทรง เป็นการแสดงความคิดในการ สร้างสรรค์งานศิลปะ โดยเน้นการนำมูลฐานของศิลปะ (Element of Visual Art) เช่น สี น้ำหนัก เส้น รูปร่าง พื้นผิว มาใช้โดยตรง 


การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกี่แนวทาง

 ขอบคุณเว็บไซต์ : http://distrorion.blogspot.com/

การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกี่แนวทาง

การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกี่ประเภท

เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์งานศิลปะและได้แบ่งประเภทของงานศิลปะ ออกไปเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือวิจิตรศิลป์ (fine art) และประยุกต์ศิลป์ (applied art) ซึ่งจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจตั้งแต่ความหมายของศิลปะ การแบ่งประเภทของศิลปะ ความหมายของ การออกแบบ การแบ่งประเภทของการออกแบบ เพื่อให้มองเห็นองค์ประกอบสำคัญ และจุด ...

รูปแบบของศิลปะมีแบบใดบ้าง

ศิลปะแบ่งตามลักษณะของสื่อในการแสดงออก 1. จิตรกรรม (Painting) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้สี แสง เงา และแผ่นภาพที่แบนราบเป็น 2 มิติ 2. ประติมากรรม (Sculpture) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้วัสดุ และปริมาตรของรูปทรง 3. สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้วัสดุ โครงสร้าง และปริมาตรของที่ว่างกับรูปทรง

งานสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง

งานสร้างสรรค์ หมายถึง ผลงานศิลปะที่มีการศึกษา ค้นคว้าอย่างเป็นระบบที่เหมาะสมกับกลุ่มวิชาทางศิลปะ ตามการจัดกลุ่มศิลปะของอาเซียน ได้แก่ ทัศนศิลป์ (Visual Arts) ศิลปะการแสดง (Performing Arts) และวรรณศิลป์ (Literature) และตามการแบ่งกลุ่ม ISCED (International Standard Classification of Education ได้แก่ คณะวิจิตรศิลป์ คณะ ...

สร้างสรรค์งานศิลปะมีความหมายว่าอย่างไร

ศิลปะสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของกรรมวิธีที่ลำดับความคิด การกระทำอย่างต่อเนื่องไปสู่ ปรากฏการณ์ให้เกิดมีขึ้น ให้ปรากฏขึ้นจนมีความสำเร็จผลด้วยความรู้สึกนึกคิดของปัจเจกศิลป์ผู้ สร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการระหว่างวิถีชีวิต ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตามความจำเป็นเพื่อ การดำเนินชีวิต เมื่อการดำเนินชีวิตมีความพร้อมครบถ้วน ...