กฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

(2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ให้หักได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

 ( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2526 เป็นต้นไป )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 385) พ.ศ. 2544 )
( ดูประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 51) )

การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าว ให้คำนวณหักตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา 

( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ต้องยื่นใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.3/2527 )

(3) ราคาทรัพย์สินอื่นนอกจาก (6) ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ และในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ห้ามมิให้นำราคาที่ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ส่วนทรัพย์สินรายการใดมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลา และมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น

( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป )

(4) ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงิน 

( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค. 2522 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.57/2538 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.64/2539 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.95/2543 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.111/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.123/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.127/2546 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.129/2547 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.131/2548 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.159/2564 )

“(5) เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทย อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

     (ก) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (ข) ให้เลือกใช้วิธีการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ หรือวิธีการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา หรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้และคำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ หรือวิธีการอื่นซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามวิชาการบัญชีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ เมื่อใช้วิธีการใดในการคำนวณค่าหรือราคาดังกล่าวแล้ว ให้ใช้วิธีการนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีจึงจะเปลี่ยนแปลงได้

    (ข) กรณีธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด ให้ใช้วิธีการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้

เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้ใช้วิธีการคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 50) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)

พระราชบัญญัติ
ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พุทธศักราช 2481
-------------------

ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2481
เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน 


    โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรตราประมวลรัษฎากรเพื่อปรับปรุงการรัษฎากรตามหลักความเป็นธรรมแก่สังคม


    จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้


    มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พุทธศักราช 2481"


    มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2482
เป็นต้นไป


    มาตรา 3ให้ใช้ประมวลรัษฎากรตามที่ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2482 เป็นต่อไป เว้นแต่บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 6 ว่าด้วยอากรแสตมป์นั้น ให้ใช้เป็น กฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พุทธศักราช 2482 เป็นต้นไป


    มาตรา 4 นับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิก
    (1) พระราชบัญญัติเงินรัชชูปการ พุทธศักราช 2468
    (2) พระราชบัญญัติลักษณะเก็บเงินค่านา ร.ศ.119
    (3) พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บภาษีค่าที่ไร่อ้อย พุทธศักราช 2464
    (4) พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีเก็บภาษียา ร.ศ.119

    (5) ประกาศพระราชทานยกเงินอากรสวนใหญ่ค้างเก่า และเดินสำรวจต้นผลไม้ใหม่ สำหรับเก็บเงินอากรสวนใหญ่ รัตนโกสินทร์ศก 130

    (6) พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475
    (7) พระราชบัญญัติภาษีการค้า พุทธศักราช 2475
    (8) พระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและการประกันภัย พุทธศักราช 2476
    (9) บรรดาพิกัดอัตรา ข้อบังคับ กฎ ประกาศ และบทกฎหมายอื่น ซึ่งออกเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหรือดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น


    และนับตั้งแต่วันใช้บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรว่าด้วยอากรแสตมป์ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติอากรแสตมป์ พุทธศักราช 2475 กับบรรดาพิกัดอัตรา ข้อบังคับ กฎ และบทกฎหมายอื่น ซึ่งออกเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหรือดำเนินการตามพระราชบัญญัตินั้น

    มาตรา 5 บรรดาพระราชบัญญัติ ประกาศ พิกัดอัตรา ข้อบังคับ กฎ และบทกฎหมาย ที่ให้ยกเลิกตามความในมาตรา 4 วรรคแรกนั้น ยังคงให้ใช้บังคับได้ในการเก็บภาษีอากรจำนวนพุทธศักราชต่าง ๆ ก่อนใช้ประมวลรัษฎากร


    ส่วนพระราชบัญญัติ พิกัดอัตรา ข้อบังคับ กฎ และบทกฎหมาย ที่ให้ยกเลิกตามความในมาตรา 4 วรรคสุดท้าย ก็ยังคงให้ใช้บังคับได้ในการเก็บอากร ที่จะพึงเรียกเก็บได้ก่อนใช้บทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ว่าด้วยอากรแสตมป์


    มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
   จอมพล ป. พิบูลสงคราม
       นายกรัฐมนตรี

ภาษี อากร ตาม ประมวลรัษฎากร มี กี่ ประเภท

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax : PIT) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax : CIT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax : SBT) อากรแสตมป์ (Stamp Duty : SD) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT)

ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรจัดเป็นภาษีประเภทใด

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อม ผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (ผู้ประกอบการจดทะเบียน) เป็นผู้ทำหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้บริโภค 15 แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรเป็นรายเดือน โดยต้องยื่นภาษีทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าผู้ประกอบการฯ จะมีภาษีต้องชำระหรือ ...

กฎหมายภาษีอากรอยู่ในพระราชบัญญัติใด

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรตราประมวลรัษฎากรเพื่อปรับปรุงการ รัษฎากรตามหลักความเป็นธรรมแก่สังคม จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่ง ประมวลรัษฎากร พุทธศักราช ๒๔๘๑”