ทำงาน กี่เดือน กู้เงิน ธนาคาร ได้

  • กู้เงินซื้อบ้าน ก...

  • สมัครออนไลน์

รายละเอียดสินเชื่อบ้าน

หากคุณฝันอยากมีบ้าน ความฝันของคุณเป็นจริงได้ไม่ยาก ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมให้คำปรึกษา และมอบสิทธิประโยชน์สูงสุดให้คุณ เพื่อให้คุณและครอบครัวมีความสุขในบ้านที่อบอุ่น ด้วยวงเงินกู้สูงสุด 100%* ของราคาประเมินหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยสุดพิเศษทั้งแบบคงที่ และแบบลอยตัว

* เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด 

ทำงาน กี่เดือน กู้เงิน ธนาคาร ได้

เลือกได้ตามใจคุณ

สินเชื่อบ้านใหม่ ให้อิสระในการเลือกดอกเบี้ย และรูปแบบการผ่อนที่ตอบสนอง Lifestyle ของคุณ ทั้งดอกเบี้ยคงที่ ดอกเบี้ยลอยตัว เพื่อให้คุณวางแผนการเงินได้ตามที่คุณต้องการ

ผ่อนสบาย

ผ่อนสบายแบบ ลดต้น ลดดอก กับระยะเวลากู้นานสูงสุด 30 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระรวมอายุผู้กู้แล้วไม่เกิน 65 ปี

อนุมัติรวดเร็ว

ทราบผลอนุมัติ วงเงินอนุมัติ และอัตราผ่อน รวดเร็วทันใจ

บริการอย่างมืออาชีพ

เราพร้อมเป็นคู่คิดในการ วางแผนการขอสินเชื่อ และมอบสิทธิประโยชน์ที่ดีที่สุดให้แก่คุณ เพราะการกู้บ้าน เป็นเรื่องระยะยาว คุณจึงต้องมีที่ปรึกษามืออาชีพดูแล

อัตราดอกเบี้ย

เป็นไปตามประกาศของธนาคาร

อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม

ค่าสำรวจและประเมินราคาหลักประกัน

  • กรณีเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุน 500 บาท (ไม่รวม VAT)
  • กรณีบ้านเดี่ยว 5,000 บาท ต่อหลัง (ไม่รวม VAT)
  • กรณีทาวน์เฮ้าส์, บ้านแฝด และห้องชุด 3,450 บาท ต่อยูนิต (ไม่รวม VAT)
  • สำหรับการปลูกสร้างบ้าน กรณีที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ ประมาณ 4,550 บาท (ไม่รวม VAT) และค่าตรวจงวดงานก่อสร้าง 1,100 บาทต่อครั้ง (ไม่รวม VAT)
  • ค่าใช้จ่ายอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศของธนาคาร

ค่าธรรมเนียมการให้บริการสินเชื่อ

  • ยกเว้น

ค่าอากรแสตมป์

  • 0.05% ของวงเงินสินเชื่อ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ค่าจดจำนอง

  • 1% ของวงเงินกู้

ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย

  • ตามอัตราของบริษัทประกัน

คุณสมบัติและเอกสารการสมัคร

คุณสมบัติผู้สมัคร

สัญชาติไทย

ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน

อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ ไม่เกิน 65 ปี

เอกสารประกอบการสมัคร

เอกสารยืนยันตัวตน

  1. สำเนาบัตรประชาชนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ หรือ สำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีเลขที่ประจำตัวประชาชน และ รูปถ่ายบนหน้าบัตร หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (ใช้สำหรับคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ) พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้าน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)

เพิ่มเติม

เอกสารหลักประกัน

เอกสารยืนยันรายได้

ผู้มีรายได้ประจำ

  1. หนังสือรับรองเงินเดือน และสลิปเงินเดือน
  2. เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน

ผู้มีธุรกิจส่วนตัว

  1. เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (บัญชีส่วนตัว, บัญชีกิจการ)
  2. ภาพถ่ายกิจการ 4-5 ภาพ และแผนที่ตั้งกิจการโดยสังเขป
  3. สำเนาทะเบียนการค้า, หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  4. หลักฐานการนำภาษีย้อนหลัง 1 ปี (ภงด.) บันทึกรายรับ-รายจ่าย, ใบเสร็จซื้อ-ใบเสร็จขายสินค้า

ผู้มีอาชีพอิสระ

  1. เอกสารการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (แพทย์, วิศวกร, ทนายความ, สถาปนิก)

เพิ่มเติม

​​​​​​หากมีความจำเป็นต้องขอสินเชื่อ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่เราต้องพิจารณาคือความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง จากนั้นจึงเลือกประเภทของสินเชื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ แล้วทำความเข้าใจในกระบวนการและเงื่อนไขในการขอสินเชื่อ เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อมและได้รับอนุมัติสินเชื่อตามที่ยื่นขอ

เอกสารที่ใช้ในการขอสินเชื่อ

การเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอสินเชื่อนั้นอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสินเชื่อ ซึ่งเอกสารประกอบคำขอสินเชื่อแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ

เอกสารประจำตัว เช่น

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หรือใบมรณบัตรสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)กรณีนิติบุคคล อาจใช้สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

  

เอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น 

2.1 ผู้มีรายได้ประจำ

ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

2.2 ผู้มีอาชีพอิสระ

กรณีเป็นสัญญาจ้าง อาจใช้สำเนาสัญญาว่าจ้างและหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างกรณีเป็นแพทย์ ทนายความ ผู้สอบบัญชี วิศวกร สถาปนิก ควรแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วยบัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (statement) ของบัญชีเงินฝากของตนเองหรือของกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือนหลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร

2.3 นิติบุคคล

สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปีสำเนาเอกสารสิทธิในทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ

เอกสารอื่น ๆ  เช่น 

สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำสำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิมในกรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานประจำตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วมในกรณีที่ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นคือแผนธุรกิจ เช่น แผนธุรกิจของ SMEs แผนโครงการที่ต้องการดำเนินการ

ทั้งนี้ เอกสารในการยื่นขอสินเชื่อแต่ละประเภทอาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราควรศึกษาหรือสอบถามรายละเอียดจากผู้ให้สินเชื่ออีกครั้ง นอกจากนี้ ในการขอสินเชื่ออาจมีแบบฟอร์มอื่น ๆ ที่แนบมา ซึ่งเราควรพิจารณาก่อนกรอกข้อมูลและลงนาม เช่น

แบบคำยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เพื่อขอตรวจสอบประวัติเครดิตจาก เครดิตบูโร และนำมาวิเคราะห์การให้วงเงินสินเชื่อที่เหมาะสม แบบคำขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของผู้ให้สินเชื่อติดต่อ แนะนำสินค้าอื่น หรือให้ข้อมูลแก่ผู้อื่น ซึ่งเรามีสิทธิเลือกที่จะลงนามหรือไม่ก็ได้ใบคำขอประเภทอื่น เช่น คำขอมีบัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล หรือบริการแจ้งเตือน SMS

การค้ำประกันและหลักประกัน

การค้ำประกันและหลักประกันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ให้สินเชื่ออาจใช้ประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ เพื่อให้มั่นใจว่าหากผู้ขอสินเชื่อชำระหนี้ไม่ได้ สถาบันการเงินยังมีทางที่จะได้เงินคืน เช่น สามารถยึดหลักประกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ที่ค้างอยู่ หรือให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทน โดยหลักทรัพย์ที่นิยมนำมาเป็นหลักประกัน เช่น เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงิน หุ้นกู้ และอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีสินเชื่อที่มีบุคคลค้ำประกัน สถาบันการเงินก็จะพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันประกอบด้วย

ทำงาน กี่เดือน กู้เงิน ธนาคาร ได้
 

สิ่งที่ควรทำเมื่อเป็นผู้ค้ำประกัน

อย่าลืมว่าผู้ค้ำประกันไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบที่จะเกิดตามมาได้หากลูกหนี้ผิดสัญญา ดังนั้น หากต้องเป็นผู้ค้ำประกันให้ผู้อื่นควรปฏิบัติดังนี้ 
     1. อ่านเงื่อนไขในการค้ำประกันให้ละเอียด 
     2. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน 
     3. ตรวจสอบความถูกต้องของวงเงินและประเภทของสินเชื่อที่ค้ำประกันที่ระบุในสัญญา ซึ่งแบงก์ชาติกำหนดว่าจะต้องระบุวงเงินของเงินต้นที่ค้ำประกันในสัญญาให้ชัดเจน และห้ามทำข้อตกลงว่าให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันแบบไม่จำกัดจำนวน 
     4. หากสงสัยอะไรรีบถามก่อนลงชื่อในสัญญา