ผู้ สูงอายุ ควร ออก กํา ลังกา ย กี่นาที

อายุมากขึ้น ผู้สูงอายุ ก็แข็งแรงได้

เมื่อคนเราอายุมากขึ้นจนเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ที่เคยแข็งแรง กระฉับกระเฉงก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง เช่น

Show
  • กระดูกบาง
  • กล้ามเนื้อไม่ค่อยมีแรง
  • ผิวหนังเริ่มเหี่ยวย่น

รวมถึงระบบอวัยวะภายในต่างๆภายในร่างกายที่ทำงานได้ไม่เต็มร้อยเหมือนในช่วงวัยหนุ่มสาว

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเหล่านี้เป็นสัญญาณที่เตือนว่าเราได้เริ่มก้าวเข้าสู่ภาวะผู้สูงวัยแล้ว ดังนั้นสิ่งสำคัญที่เราควรคำนึงถึงคือการดูแลรักษาร่างกายให้ยังคงความแข็งแรงให้ได้มากที่สุดและเสื่อมถอยลงช้าที่สุด วิธีการหนึ่งที่ทำได้อย่างง่ายๆคือ “การออกกำลังกาย” แต่การออกกำลังกายในวัยสูงอายุนั้น เราไม่สามารถที่จะหักโหม หรือ กระทบกระทั่งแรงได้เหมือนแต่ก่อน จึงจำเป็นต้องมีวิธีการในการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกายของพวกเราแต่ละคน


การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ไม่ควรหักโหม กระหน่ำแรง ควรเริ่มออกกำลังกายเพียงช่วงระยะเวลา 20-30 นาทีต่อวัน โดยที่อาจแบ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงละ 10-15 นาที และควรปฏิบัติให้สม่ำเสมออย่างน้อย 2-3 วัน ต่อสัปดาห์


การออกกำลังกายผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 3 ประเภท

1. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของระบบหัวใจ และหลอดเลือด

เช่น เดินเร็ว, วิ่งเหยาะๆช้าๆ, ว่ายน้ำหรือเดินในน้ำ, เดินแกว่งแขน, ปั่นจักรยานช้าๆ, หรือเดินบนเครื่องออกกำลังกาย

2. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

เช่น การยกน้ำหนักเบาๆ การบริหารกล้ามเนื้อด้วยการดึงหนังยาง หรือทำท่ากายบริหารต่างๆ

3. การออกกำลังกายเพื่อฝึกการทรงตัว

เช่น ไทเก๊ก/ไทชิ เต้นลีลาศ โยคะแบบเน้นการทรงตัวและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือการฝึกย่ำเท้า ฝึกยืนขาเดียวผู้สูงวัยควรออกกำลังกายให้ได้ครบทั้ง 3 ประเภท โดยเลือกให้เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน ที่สำคัญ เราต้องระลึกไว้เสมอว่า ต้องออกกำลัง อย่างปลอดภัย ค่อยๆทำ ทำช้าๆ และทำสม่ำเสมอ จึงจะดีต่อใจและร่างกายอย่างแท้จริง

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ

  • ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เกิดจากการขยับกล้ามเนื้อต่างๆ
  • ทำให้ระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจทำงานได้ดีขึ้น
  • มีสุขภาพจิตที่ดี และนอนหลับได้ง่าย
  • ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องผูกได้
  • การทรงตัวดีขึ้น ไม่หกล้มง่ายๆ

หากระหว่างการออกกำลังกาย มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก ใจสั่นมาก ตัวเย็น มีอาการอ่อนแรงตามแขน ขา วิงเวียนศีรษะ ควรหยุดและรีบปรึกษาแพทย์

การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง การออกกำลังกายจะทำให้ผู้สูงอายุมีสมดุลของร่างกายที่ดี อวัยวะและกล้ามเนื้อต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดการพึ่งพิงผู้อื่น มีภูมิคุ้มกันที่ดีไม่เจ็บป่วยง่าย การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยหลักมีจุดมุ่งหมายหลักคือทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้น อาจจะไม่เหมาะสมนักถ้าจะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อการแข่งขัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละท่านหรือความสม่ำเสมอของการออกกำลังกายว่ามีการออกกำลังกายมาตั้งแต่หนุ่มๆหรือเปล่า…

เมื่อออกกำลังกายให้มีสุขภาพดีแล้วร่างกายก็จะชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ทำให้เพลิดเพลิน สนุกสนาน ช่วยให้ผู้สูงอายุมีอารมณ์ที่ผ่อนคลาย สุขภาพดีทั้งกายใจ ที่สำคัญทำให้ดูแก่ช้าลง คนที่อายุ 60 ปีเท่ากันถ้าคนหนึ่งออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่อีกคนหนึ่งไม่เคยออกกำลังกาย ถ้ามายืนใกล้กันจะเห็นได้ชัดว่าคนที่ออกกำลังกายจะดูหนุ่มกว่าอย่างน้อย 5 ปี เลยทีเดียว และนอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยป้องกันโรคให้ผู้สูงอายุได้หลายโรค อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ความดันโลหิตสูง มะเร็งบางชนิด กระดูกพรุนและภาวะซึมเศร้า

ผู้ สูงอายุ ควร ออก กํา ลังกา ย กี่นาที

สำหรับผู้สูงอายุที่จะมีปัญหาว่ามีโรคประจำตัวและไม่รู้ว่าจะออกกำลังกายอย่างไร แนะนำว่าควรออกกำลังกายแต่ละครั้งควรใช้เวลา 20-30 นาที และนอกจากการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุต้องดูแลตัวเองในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ(อ่านต่อ ผู้สูงอายุควรกินอย่างไรให้แข็งแรง)

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการจะออกกำลังกาย

  1. ผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจำตัว: ก่อนออกกำลังกายควรมีการตรวจร่างกายก่อนเริ่ม เพราะคนที่มีอายุมากขึ้นมักจะมีโรคภัยไข้เจ็บซ่อนเร้นอยู่ เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกายถ้าเกิดพบว่าเป็นโรค หรืออย่างน้อยก็สามารถออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมที่สุด
  2. ผู้สูงอายุที่มีโรคภัยไข้เจ็บ: สามารถที่จะออกกำลังกายได้ แต่ต้องออกกำลังกายภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรมีการตรวจสมมรถภาพทางกายตลอดเวลาด้วย

ผู้ สูงอายุ ควร ออก กํา ลังกา ย กี่นาที

หลักของการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุมีดังนี้

  1. ความหนักของการออกกำลังกาย: ควรออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 60 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของแต่ละบุคคล และไม่ควรเกินร้อยละ 85 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดแต่ละบุคคล
  1. ความบ่อยหรือความถี่ในการออกกำลังกาย: ในช่วงต้นของการออกกำลังกายควนปฏิบัติอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ทำวันเว้นวัน ให้กล้าเนื้อมีการพักผ่อน เมื่อร่างกายสามารถปรับตัวได้แล้วก็เพิ่มเป็น 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์
  1. ระยะเวลาในการออกกำลังกาย: การออกกำลังกายควรอยู่ในช่วง 20-30 นาที โดยแบ่งเป็นช่วงอบอุ่นร่างกายซึ่งรวมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อประมาณ 5-10 นาที ช่วงออกกำลังกายไม่ควรต่ำกว่า 12 นาที และช่วงฟื้นฟูสู่สภาพปรกติประมาณ 5-10 นาที เวลาในแต่ละช่วงสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมทั้งหมดนี้จะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นเมื่อทำอย่างสม่ำเสมอ
  1. ความก้าวหน้าในการออกกำลังกาย: ผู้สูงอายุควรเริ่มด้วยจำนวนน้อยๆก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มขนาดหรือความหนักในการออกกำลังกาย ในช่วงแรกควรเริ่มด้วยการออกกำลังกายที่ความหนักร้อยละ 55 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด จากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มเป็น ร้อยละ 60 ร้อยละ 65 และ 70 ตามลำดับ
  1. ชนิดของการออกกำลังกาย: การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องใช้แรงปะทะ หรือกีฬาทีต้องใช้ความสัมพันธ์ของประสาทสูง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตไม่ควรออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักเลยเพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดได้ ผู้สูงอายุไม่ควรออกกำลังกายชนิดนี้เพราะสามารถทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

ผู้ สูงอายุ ควร ออก กํา ลังกา ย กี่นาที

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

  1. ปัจจัยด้านผู้สูงอายุ ( 50 60 70 และ 80 ปี)

อายุ: ผู้สูงอายุที่ไม่เคยออกกำลังมาก่อนแนะนำให้เริ่มโดยการเดินเบาๆ แล้วค่อยปรับเพิ่มการเดินให้เร็วขึ้นหรือวิ่งช้าๆ แต่ถ้าผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว สามารถออกกำลังกายได้เช่นเดิมแต่ควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นถ้ามีโรคประจำตัว

เพศ: เพศหญิงมีความสามารถออกกำลังกายได้น้อยกว่าเพศชาย เพราะมีกล้ามเนื้อที่น้อยกว่า และความเข้มข้นของเลือดก็น้อยกว่าด้วย

น้ำหนัก: การออกกำลังกายของคนที่อ้วนควรตรวจสภาพร่างกายให้แน่ใจก่อน โดยเฉพาะถ้าเป็นกีฬาชนิดที่ใช้ความรุนแรงของอัตราการเต้นของหัวใจ

การทรงตัวและการเดิน: ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องนี้ควรระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีการเดินหรือวิ่งร่วมด้วยเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

โรคประจำตัว: ยาบางตัวมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำให้ผู้สูงอายุเป็นลมจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลังกาย หรือยากล่อมประสาทสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือมีอาการเครียดอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน จึงควรเพิ่มความระมัดระวังขณะออกกำลังกาย

  1. ปัจจัยด้านการออกกำลังกาย

ระยะเวลา: ประมาณครั้งละ 30 นาที

ความถี่: สัปดาห์ละ 3-5 วัน

ความรุนแรง: ประมาณร้อยละ 55, 60, 65, และ 75 ตามลำดับของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด

ผู้ สูงอายุ ควร ออก กํา ลังกา ย กี่นาที

ภาวะที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย

  1. อาการเจ็บหน้าอกที่ยังควบคุมไม่ได้
  2. มีความดันโลหิตสูงขณะออกกำลังกาย
  3. การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
  4. อาการเวียนศีรษะ
  5. สภาวะแวดล้อม และภูมิอากาศไม่เหมาะสม
  6. หลังรับปะทานอาหารมื้อหลัก

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่:

  1. การออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่นการบริหารข้อ ไหล่ ในผู้ป่วยโรคไหล่ติด การบริหารกล้ามเนื้อหลัง ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อม
  2. การออกกำลังกายโดยทั่วไป ซึ่งจะมีผลทำให้จิตใจแจ่มใส ร่างกาย สุขภาพแข็งแรง และมีผลดีทางอ้อมคือทำให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวที่ดีขึ้นช่วยลดการหกล้ม ซึงเป็นสาเหตุของกระดูกหักรวมทั้งการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่นๆ เช่นภาวะปอดบวม ภาวะติดเชื้อ เป็นต้น

ท้ายสุด การออกกำลังกายในผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆเช่น การวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่ไม่มีข้อเข่าเสื่อม การเดิน การเต้นแอโรบิค การรำมวยจีน การรำไม้พลอง เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง: การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ จาก สสส.

website: https://www.thaihealth.or.th/

ผู้สูงอายุควรออกกําลังกายแบบใด

การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ.
ควรตรวจสุขภาพก่อนการออกกำลังกาย.
หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่มีการเกร็งหรือเบ่งมากเกินไป ในบางรายอาจทำให้ความดันสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะท่าที่ทำให้ต้องกลั้นหายใจ.
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการปะทะ การแข่งขัน เพราะอาจเกิดอันตราย.

ผู้สูงอายุควรเดินให้ได้วันละกี่ก้าว

จำนวนก้าวเดินที่เหมาะสม ของคนแต่ละช่วงวัย วัยสูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่กระดูกจะเริ่มเสื่อมสภาพ ไม่ได้คงทนแข็งแรงเท่าแต่ก่อน จำนวนก้าวที่ควรมีในแต่ละวันจึงจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3,000-10,000 ก้าว แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว ภาวะสุขภาพ และความแข็งแรงของกระดูกด้วย

อายุ 60 ปี ควร ออกกำลัง กาย อย่างไร

ผู้สูงอายุ ควรเริ่มออกกำลังกายเพียงช่วงระยะเวลา 20-30 นาทีต่อวัน โดยที่อาจแบ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงละ 10-15 นาที หากมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก ใจสั่นมาก ตัวเย็น มีอาการอ่อนแรงตามแขน ขา วิงเวียนศีรษะ ในระหว่างออกกำลังกาย ควรหยุดและรีบปรึกษาแพทย์

คนสูงอายุควรออกกำลังกายแบบใดจึงจะปลอดภัยไม่เกิดการบาดเจ็บ

การว่ายน้ำเป็นวิธีการออกกำลังกายที่ดี ไม่เกิดแรงกระแทก ควรเริ่มว่ายน้ำช้าๆ หรือยืดกล้ามเนื้อก่อนเพื่ออบอุ่นร่างกาย แล้วว่ายน้ำตามปกติ ไปจนถึงเพิ่มความเร็ว แล้วค่อยกลับมาว่ายช้าลงเพื่อผ่อนคลายร่างกาย