การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีกี่รูปแบบ

    มาตรา 58   งบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ทำเป็นข้อบัญญัติ ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น : ใช้หลักการกระจายอำนาจ ที่ส่วนกลางได้มอบอำนาจระดับหนึ่งให้ประชาชนในท้องถิ่นไปดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระ โดยที่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน กิจกรรมที่ทำได้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการพัฒนา มีอิสระในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือการสนับสนุนกิจกรรมของท้องถิ่น ออกข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ มาบังคับในเขตการปกครองของตนได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในปัจจุบันมีรูปแบบ (1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (2) เทศบาล (3) องค์การบริหารส่วนตำบ และ (4) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินคือการจัดโครงสร้างหน่วยงานราชการและองค์กรภาครัฐ รวมถึงการจัดสรรอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ เพื่อให้หน่วยงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐ

แนวคิดรูปแบบการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

แนวคิดรูปแบบการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีอยู่ 3 หลักใหญ่คือ

1.หลักการรวมอำนาจการปกครอง (Centralization) หมายถึงการรวมอำนาจปกครองทั้งหมดไว้ที่รัฐส่วนกลาง คือการบริหารราชการส่วนกลาง อันได้แก่กระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้ดำเนินการปกครอง มีลักษณะสำคัญดังนี้

1) มีการรวมอำนาจในการบังคับหน่วยการปกครองต่างๆไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อให้ส่วนกลางสามารถใช้อำนาจในการบังคับบัญชาได้อย่างเด็ดขาดและทันต่อสถานการณ์

2) มีการรวมอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ส่วนกลาง เมื่อเกิดปัญหาต้องมีการตัดสินใจ อำนาจในการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่ส่วนกลาง หน่วยการปกครองส่วนกลางจะมีอำนาจในการสั่งการครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ

3) มีการรวมอำนาจในการบังคับบัญชาไว้ที่ส่วนกลาง

2.หลักการแบ่งอำนาจการปกครอง (Deconcentralization) คือการที่ราชการบริหารส่วนกลางแบ่งอำนาจหน้าที่ที่เป็นของราชการบริหารส่วนกลางบางส่วนให้กับราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่เจ้าหน้าที่ การแต่งตั้งโยกย้าย การบังคับบัญชายังเป็นของราชการบริหารส่วนกลางอยู่ โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

1) มีการแบ่งอำนาจที่เป็นของราชการบริหารส่วนกลางบางส่วน

2) อำนาจในการสั่งการ ควบคุมบังคับบัญชา ยังเป็นของราชการบริหารส่วนกลาง

3.หลักการกระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization) คือการมอบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมอบอำนาจทั้งในด้านการเมืองและบริหารให้กับราชการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

1) มีการแยกหน่วยการปกครองเป็นนิติบุคคลต่างหากจากราชการบริหารส่วนกลาง มีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหารงาน การจัดทำบริการสาธารณะและจัดทำงบประมาณ มีเจ้าหน้าที่ของตนเอง

2) ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง

3) มีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ราชการบริหารส่วนกลางมีเพียงอำนาจในการกำกับมิให้มีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มีสาระสำคัญดังนี้คือ

1.มาตรา 4 ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้

1)ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

2)ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

3) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

2. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ได้บัญญัติในมาตรา 7 โดยให้แบ่งส่วนราชการ ดังนี้

1)สำนักนายกรัฐมนตรี

2)กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง

3) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง

4) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง โดยให้สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวงและส่วนราชการทั้งสี่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

3.การบริหารราชการส่วนกลางให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 11 ดังนี้

1) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น

2) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง

3) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม

4) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม

5) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรง ตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

6) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง

7) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

8) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

9) ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย

นอกจากนี้ มาตรา 12 ได้บัญญัติ ให้ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทบวง นายกรัฐมนตรีจะมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนก็ได้

4.ให้การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค มาตรา 51 ดังนี้

1)จังหวัด

2)อำเภอ

ในระดับจังหวัด มาตรา 54 ได้บัญญัติให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ

มาตรา 55 ได้บัญญัติให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น

มาตรา 62 ให้มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ

5.การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามมาตรา 70 ให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้

1)องค์การบริหารส่วนจังหวัด

2)เทศบาล

3)องค์การบริหารส่วนตำบล

4) ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบคือ กรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528และเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542

ที่มา: ส่วนวิจัยและพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง, สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (9 มิถุนายน 2557)

ธันยวัฒน์ รัตนสัค, (2555), การบริหารราชการไทย,เชียงใหม่ : คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มานิตย์ จุมปา, (2548), คำอธิบายกฎหมายปกครองว่าด้วยการจัดระเบียบราชการบริหาร,กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีกี่รูปแบบ

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบัน.
1. ระเบียบการบริหารราชการส่วนกลาง.
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค.
3. ระเบียบราชการส่วนท้องถิ่น.

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีอะไรบ้าง

การปกครองท้องถิ่น (Local Government) 1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. เทศบาล 3. สุขาภิบาล 4. ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนด

รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอะไรบ้าง

สาหรับการปกครองท้องถิ่นของไทยในปัจจุบัน มี2 รูปแบบด้วยกันคือ 1. รูปแบบการปกครองท้องถิ่นทั่วไป ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 2) เทศบาล 3) องค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) 2. รูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งมี ฐานะเป็นทบวงการเมือง และนิติบุคคล โดยใน ประเทศไทยมีอยู่2 แห่งคือ 1) กรุงเทพมหานคร 2) เมืองพัทยา

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมีลักษณะแบบใด

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นรูปแบบการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามหลักการกระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization) คือรัฐบาลกลางได้กระจายอำนาจทางการปกครองและการบริหารให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆเพื่อดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย