หลังจากประเมินบ้านแล้วกี่วันรู้ผล ธอส 2565

เป็นธนาคารยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นธนาคารของรัฐบาลที่พร้อมจะสนับสนุนประชาชนให้มีบ้านและที่ดินเป็นของตัวเอง ทางธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อบ้านนั้นโดดเด่นมากในเรื่องการปล่อยการกู้ ธอส หากท่านใดที่สนใจซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างบ้าน ธอส บอกเลยว่าคุ้มที่สุดในปี 2565 จากการอ่านรีวิวในโลกออนไลน์นั้น ลูกค้าส่วนใหญ่ตัดสินใจยื่นกู้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อบ้าน 2565 ด้วยหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยบ้าน ธอสต่ำ ยอดผ่อนชำระต่อเดือนต่ำมากๆยอดเงินกู้ 1 ล้านบาทท่านสามารถผ่อนชำระแค่สามพันบาทต่อเดือนถือว่าถูกที่สุดเลยก็ว่าได้ ยังมีมาตรการลดค่าโอน ลดค่าจดจำนอง ระยะผ่อนที่นานสูงสุดถึง 40 ปี แต่ผู้กู้นั้นจะต้องปลอดภาระหนี้ ถึงจะมีสิทธิขอกู้บ้าน ธอสทางธนาคารได้ออกโปรโมชั่นนี้มาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหลายกลุ่มมากขึ้น ธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อบ้าน 2565หรือสินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ออกโปรโมชั่นดีขนาดนี้พลาดได้ไง สามารถสมัครยื่นขอสินเชื่อได้แล้วตั้งแต่ ต้นเดือนมกราคมไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2022 

Show

 

รีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อบ้าน 2565  

ท่านใดที่อยากจะรีไฟแนนซ์บ้านแต่ยังไม่รู้ว่าจะไปยื่นที่ไหนดี สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อบ้าน 2565 ดอกเบี้ยนั้นเฉลี่ยหนึ่งถึงสามปีแรกจะอยู่ที่ 2.92% ถือว่าเป็นดอกเบี้ยที่ต่ำพอสมควร บอกเลยว่าหากใครที่กำลังลังเลอยู่ในช่วงนี้ เจอโปรโมชั่นนี้ต้องรีบตัดสินใจ หรือท่านอาจจะเป็นลูกค้าเก่าของธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อบ้าน 2565 อยู่แล้วนั้นท่านสามารถยื่นขอรีไฟแนนซ์ได้เลยเพียงแค่เตรียมเอกสารมาให้พร้อม และหากท่านใดที่คิดว่าประเมินบ้านแล้วกี่วันรู้ผล ธอส ไม่นานเกินรออย่างที่คิด ทางธนาคารรับเรื่องและดำเนินงานแล้วเสร็จภายใน 1 วันก็ทราบผลได้ทันที ไม่ต้องนั่งกลุ้มใจว่าจะไม่ผ่าน  

หลังจากประเมินบ้านแล้วกี่วันรู้ผล ธอส 2565

จะดีไหมหากยื่นกู้สินเชื่อบ้านแลกเงิน ธอส กับ ธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อบ้าน 2565  

สำหรับหัวข้อนี้จะมาตอบคำถามของทุกท่านให้หายสงสัย เกี่ยวกับสินเชื่อบ้านแลกเงิน กับธนาคารอาคารสงเคราะห์สินเชื่อบ้าน 2565 บ้านแลกเงินนั้นเหมาะมากๆกับท่านที่มีบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัยอื่น โดยทรัพย์สินเหล่านี้ของท่านจะต้องปลอดภาระหนี้ ไม่ติดจำนองกับธนาคารอื่น หรือผ่อนชำระงวดหมดแล้วนั้นเอง หากท่านใดมีปัญหาด้านการเงิน หรืออาจจะนำเงินก้อนไปลงทุนในด้านอื่น ท่านจะต้องมั่นใจว่าท่านสามารถผ่อนชำระหนี้คืนธนาคารได้เช่นกัน สำหรับสินเชื่อบ้าน ธอสหรือสินเชื่อบ้านแลกเงิน ธอสนั้นมีจุดเด่นอีกอย่างที่น่าสนใจคือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและมีระยาเวลาผ่อนนาน 30-40 ปี ส่งผลทำให้ยอดชำระรายเดือนของท่านน้อยลงไปด้วย เท่ากับยื่นกู้บ้านใหม่เลยก็ว่าได้ หากมองอีกมุมก็ทำให้เป็นปัญหาได้เช่นกันท่านอาจจะเป็นหนี้ระยะยาวนานถึง 30 ปี 

ผู้สมัครสินเชื่อต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยสามารถเลือกระยะเวลาผ่อนชำระได้สูงสุด 40 ปี ทั้งนี้เมื่อนำอายุของผู้สมัครรวมกับระยะเวลาผ่อนชำระหนี้แล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี

ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

1. ยื่นคำขอสินเชื่อที่สาขาธนาคาร 

ท่านสามารถยื่นคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบได้ที่สาขาธนาคารที่ท่านสะดวก พนักงานจะพิจารณาสินเชื่อเบื้องต้นจากข้อมูลการสัมภาษณ์ และเอกสารของท่าน เช่น รายได้ ค่าใช้จ่ายครอบครัว หนี้สินอื่นๆ เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของท่าน

2. สรุปวิเคราะห์และนำเสนอคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบเพื่อรอการพิจารณาอนุมัติ 

เมื่อพิจารณาแล้วว่าท่านมีความสามารถในการผ่อนชำระเงินงวดได้ตามวงเงินที่ยื่นขอสินเชื่อไว้ พนักงานจะส่งเรื่องต่อให้งานประเมินหลักทรัพย์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากบริษัทประเมินราคา ติดต่อท่านเพื่อนัดหมายเข้าไปประเมินมูลค่าหลักประกัน ตามวันและเวลาที่ท่านสะดวก ภายใน 3 วันทำการ หลังจากที่ท่านได้ยื่นใบคำขอสินเชื่อแล้ว 

หลังจากนั้นพนักงานสาขาจะทำการบันทึกข้อมูลลงในระบบตามการสัมภาษณ์ และเอกสารของท่าน เช่น รายได้ ค่าใช้จ่ายครอบครัว หนี้สินอื่นๆ เพื่อส่งให้ผู้อนุมัติสินเชื่อพิจารณาต่อไป

โดยพิจารณาจาก 

  • วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ เช่น ซื้อที่ดินอาคาร ,ซื้อห้องชุด ,ไถ่ถอนจำนอง ฯลฯ
  • คุณสมบัติผู้ขอกู้ เช่น สถานภาพ, การศึกษา, อาชีพ ฯลฯ
  • ความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อ
  • ประเภทและมูลค่าของหลักประกัน

3. แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ 

ธนาคารจะติดต่อและแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้ท่านทราบภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่ท่านยื่นใบคำขอสินเชื่อ พร้อมเอกสารประกอบ(ครบถ้วน) เพื่อเตรียมนัดวันทำสัญญา 

4. ทำสัญญากู้เงิน และสัญญาจดจำนอง 

หากท่านได้รับอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารจะนัดหมายท่านเพื่อทำสัญญากู้เงินที่สาขาของธนาคาร และนัดวันทำนิติกรรม ณ กรมที่ดิน ที่หลักประกันหรือโฉนดที่ดิน จดทะเบียนไว้

ยิ่งถ้าราคาประเมินสูงเท่าไร วงเงินกู้ก็จะสูงขึ้นได้เท่านั้น ในทางกลับกัน ถ้าธนาคารประเมินราคาบ้านได้ต่ำ วงเงินสินเชื่อสูงสุดที่จะได้ก็จะน้อยลงไปด้วย

สำหรับผู้กู้หลายๆ คน จึงอยากรู้ว่า ธนาคารหรือบริษัทประเมินราคาบ้าน/ที่ดิน มีเกณฑ์การพิจารณาอะไรบ้าง และเราจะสามารถคำนวณราคาประเมินคร่าวๆ ได้เองก่อนจะไปติดต่อขอสินเชื่อกับธนาคารได้หรือไม่ บทความนี้จะช่วยให้คำตอบกับคุณ

หัวข้อหลัก

  • ราคาประเมินบ้านคืออะไร 
  • การประเมินราคาบ้าน ทำตอนไหน ทำไมถึงสำคัญ?
  • การประเมินราคาบ้าน พิจารณาจากอะไรบ้าง
  • ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาประเมินบ้าน
  • สรุปการประเมินราคาบ้าน พิจารณาจากอะไร
  • แนะนำสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจาก ธอส.

ราคาประเมินบ้านคืออะไร 

“ราคาประเมินบ้าน” หรือ “ราคาประเมิน” คือ ราคากลางที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าบ้านมีมูลค่าเท่าไร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตั้งราคาอสังหาริมทรัพย์และประกอบการตัดสินใจของผู้ซื้อ รวมไปถึงเป็นราคากลางที่ธนาคารจะใช้พิจารณาวงเงินสินเชื่อบ้านให้ผู้กู้ โดยผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ประเมินราคาบ้าน/ที่ดิน ก็มีได้ทั้งเจ้าหน้าที่ของธนาคารและบริษัทประเมินราคาทรัพย์สินภาคเอกชน 

ทั้งนี้ การประเมินราคาบ้านจะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 1,000 – 3,000 บาท ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร/บริษัทประเมิน และผู้ซื้อเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนนี้

ราคาประเมินไม่เท่ากับราคาซื้อขาย

หลังจากประเมินบ้านแล้วกี่วันรู้ผล ธอส 2565

อีกเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน นั่นคือ “ราคาประเมิน ≠ ราคาซื้อขาย” เพราะตามนิยามแล้ว ราคาประเมิน หมายถึง ราคากลางที่ประเมินจากเกณฑ์มาตรฐาน ต่างจากราคาซื้อขายที่เป็นราคาที่ผู้ขายตั้งหรือเป็นราคาที่เกิดจากการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย 

และโดยทั่วไป ราคาประเมินมักจะต่ำกว่าราคาซื้อขายจริง เวลาที่ขอสินเชื่อกับธนาคาร ธนาคารก็จะให้วงเงินกู้โดยคิดจากราคาที่ต่ำกว่า ทำให้ผู้กู้อาจจะต้องออกส่วนที่เหลือจากราคาประเมินด้วยตัวเอง

ยกตัวอย่างเช่น ผู้กู้ต้องการซื้อบ้านที่ราคาซื้อขาย 1,200,000 บาท แต่ธนาคารประเมินราคาบ้านได้เพียง 1,000,000 บาท และปล่อยวงเงินกู้ให้ 90% ของราคาประเมิน ผู้กู้จะสามารถกู้ได้เพียง 900,000 บาท และต้องดาวน์หรือจ่ายส่วนต่างด้วยตัวเองอีก 300,000 บาท เป็นต้น 

การประเมินราคาบ้าน ทำตอนไหน ทำไมถึงสำคัญ?

ตอบ 2 ข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินราคาบ้านของธนาคาร

1. การประเมินราคาบ้านเกิดขึ้นเมื่อไร?

การประเมินราคาบ้านจะเกิดขึ้นเมื่อผู้กู้ทำเรื่องขอสินเชื่อกับธนาคาร แล้วธนาคารส่งเจ้าหน้าที่ไปประเมินราคาทรัพย์สินที่ผู้กู้มีความประสงค์จะซื้อ เพื่อนำราคาประเมินที่ได้มาพิจารณาให้วงเงินกู้สูงสุด ซึ่งแต่ละธนาคารหรือแต่ละบริษัทที่มาประเมินอาจให้ราคาที่แตกต่างกันออกไป 

2. ทำไมธนาคารจึงต้องประเมินราคาบ้านก่อนให้สินเชื่อ?

สาเหตุที่ธนาคารต้องทำการประเมินราคาบ้านก่อนที่จะพิจารณาวงเงินกู้นั่นก็เป็นเพราะว่า ธนาคารต้องการที่จะทราบมูลค่าของบ้านจริงๆ ว่าประเมินแล้วได้ราคาที่เท่าไร ราคาบ้านที่ใช้ขอวงเงินมานั้น จริงๆ แล้วมีมูลค่าถึงหรือไม่ 

เพื่อพิจารณาให้วงเงินกู้ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ (ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน เป็นต้น) เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้กู้ขอวงเงินเกินวัตถุประสงค์ เช่น ร่วมมือกับผู้ขายทำหนังสือจะซื้อจะขายที่มีราคาขายแพงกว่าความเป็นจริง เพื่อขอวงเงินได้มากขึ้นได้ เป็นต้น 

นอกจากนี้ การที่ธนาคารยึดราคาที่ต่ำกว่าในการพิจารณาให้วงเงินและผู้กู้ยังมีส่วนที่ต้องออกเองก่อน จะช่วยยืนยันได้ส่วนหนึ่งว่า ผู้กู้ต้องการซื้อบ้านจริง 

การประเมินราคาบ้าน พิจารณาจากอะไรบ้าง

ประเมินราคาบ้าน ดูจากอะไรบ้าง?​ เจ้าหน้าที่ใช้เกณฑ์อะไรในการประเมินบ้าง?

เกณฑ์ในการประเมินราคาบ้านนั้น จะคิดจาก 3 อย่างด้วยกัน ซึ่งคิดรวมกันแล้วประเมินออกมาเป็นราคาบ้าน ได้แก่ 1) ราคาประเมินบ้านของกรมที่ดิน 2) ราคาตลาด และ 3) ปัจจัยเสริมอื่น ๆ

1. ราคาประเมินของกรมธนารักษ์

ราคาประเมินบ้านจากกรมธนารักษ์ คือ ราคากลางที่ประเมินโดยกรมธนารักษ์ เป็นราคากลางที่สามารถใช้อ้างอิงสำหรับการตั้งราคาและการประเมินราคาต่อไปได้ 

ซึ่งในปัจจุบัน เราสามารถค้นหาราคาประเมินที่ดินหรือบ้านผ่านทางเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้จากเลขที่โฉนด เลขที่ดิน นส. 3 ก ฯลฯ โดยทรัพย์สินที่เราสามารถตรวจสอบราคาประเมินได้ ได้แก่

  • ที่ดินเปล่า
  • อาคารชุด เช่น อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม เป็นต้น
  • สิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ฯลฯ

ราคาประเมินจากกรมธนารักษ์จะมีราคาที่ต่ำกว่าราคาซื้อขายและราคาตลาดค่อนข้างมาก และไม่ใช่ราคาประเมินที่ธนาคารจะนำมายึดเป็นเกณฑ์ข้อเดียว เพียงแต่นำมาเป็นราคาตั้นต้นหรือ “ฐาน” ในการประเมิน

2. ราคาตลาดและทำเล

ราคาตลาด หมายถึง ราคาของทรัพย์สินชนิดเดียวกันในละแวกหรือทำเลเดียวกัน หากทำเลบริเวณนั้นเป็นที่ต้องการ มีสิ่งอำนวยความสะดวก เดินทางง่าย ก็จะมีราคาสูง ผู้กำหนดราคาตลาด คือ ผู้ขาย นักลงทุน และผู้ซื้อ โดยธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ราคาขายคอนโดมิเนียมขนาดเดียวกันในย่านเดียวกัน เริ่มต้นที่ 1,200,000 บาท ราคาตลาดของสินทรัพย์ที่คล้ายกันก็จะราคาไม่ต่างกันมาก 

ทั้งนี้ ในบางพื้นที่ราคาตลาดกับราคาประเมินของกรมธนารักษ์อาจจะใกล้เคียงหรือต่ำกว่า แต่สำหรับพื้นที่ที่มีความต้องการสูง ราคาตลาดอาจสูงกว่าราคาประเมินของกรมธนารักษ์ได้ถึง 20% – 40% 

3. ปัจจัยเสริมอื่น ๆ 

นอกเหนือจากราคากลางจากกรมธนารักษ์และราคาตลาดแล้ว อีกปัจจัยที่ชี้วัดว่าราคาบ้านจะสูงขึ้นหรือต่ำลง ก็คือ “ตัวบ้าน” นั้นๆ โดยเจ้าหน้าที่จะประเมินตั้งแต่ 

  1. ลักษณะของบ้านว่า เป็นอาคารประเภทใด บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรืออาคารพาณิชย์ ฯลฯ 
  2. ขนาดของบ้านและที่ดิน 
  3. อายุของบ้าน 
  4. โครงสร้างของอาคารและวัสดุที่ใช้สร้างตัวบ้าน
  5. สภาพของบ้านหรืออาคาร ว่ายังมีสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ มีส่วนที่ชำรุด ต้องปรับปรุงหรือไม่

นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว เจ้าหน้าที่ยังอาจดูไปถึงปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น เฟอร์นิเจอร์ สิ่งของ หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ในโฉนด ที่ขายพร้อมกับตัวบ้าน เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาประเมินบ้าน

การประเมินราคาบ้านจากแต่ละธนาคารหรือแต่ละบริษัท อาจประเมินได้ราคาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาของบริษัทนั้นๆ นอกจากนี้ การประเมินราคาบ้านในคนละช่วงเวลา ก็อาจจะมีผลต่อการปรับจขึ้นของราคาได้ เช่น อีก 6 เดือนต่อมา ราคาประเมินบ้านอาจเพิ่มขึ้นได้เป็นแสน เพราะมีแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน

ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อราคาประเมินต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณสามารถคาดการณ์แนวโน้มของราคาประเมินได้ด้วยตัวเอง

1. ขนาดและลักษณะของที่ดิน 

ที่ดินที่มีเนื้อที่เท่ากัน ในทำเลใกล้เคียงกันอาจมีราคาต่างกันได้มาก เพราะลักษณะของที่ดินที่แตกต่างกัน เช่น ที่ดินมีลักษณะหน้ากว้าง เกือบเป็นจัตุรัส ก็มีแนวโน้มที่จะมีราคาประเมินสูงกว่าที่ดินที่หน้าแคบ มีลักษณะเป็นแนวลึก

2. สภาพของบ้านและที่ดิน

สภาพของบ้านที่พร้อมใช้งาน พร้อมเข้าอยู่อาศัย ไม่มีส่วนชำรุด ต้องปรับปรุง หรืออยู่ในสภาพใหม่กว่าก็ย่อมได้รับการประเมินราคาบ้านที่สูงกว่าบ้านที่สภาพเก่า เช่นเดียวกับลักษณะที่ดิน หากพร้อมใช้ ไม่ต้องปรับปรุงก็จะได้ราคาที่สูงกว่า

3. การคมนาคม

การคมนาคมเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อราคาประเมินค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นถนน การเข้า-ออก จากพื้นที่ หรือระบบขนส่งสาธารณะ บางพื้นที่ถ้าหากมีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าหรือขยายถนน ราคาบ้านและที่ดินเหล่านั้นก็จะสูงขึ้นตาม

4. สาธารณูปโภค

ระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ น้ำประปาและไฟฟ้า บ้านที่มีครบก็ย่อมได้ราคาประเมินบ้านที่สูงกว่า เช่นเดียวกับการคมนาคม หากพื้นที่นั้นๆ มีแผนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ดียิ่งขึ้น ราคาประเมินก็จะสูงขึ้นด้วย  

5. สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ชุมชน สวนสาธารณะ ธรรมชาติ สถานที่ราชการ ตลาด ห้างสรรพสินค้า และสถานที่/สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ คือ ปัจจัยที่ชี้วัดคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ได้ หากบ้านอยู่ในทำเลที่ใกล้กับสถานที่สำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวก ราคาประเมินบ้านก็จะสูงกว่าบ้านที่อยู่ในบริเวณที่ไม่มีอะไร

6. ทำเลและความนิยม 

ทำเลเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาประเมิน แต่มากไปกว่าน้ัน คือ ความนิยม หากบ้านหรือที่ดินในบริเวณหนึ่งได้รับความนิยมสูง เป็นที่ต้องการของคนจำนวนมาก ราคาตลาดก็จะดีดตัวสูงขึ้นตามความต้องการหรืออุปสงค์ (Demand) 

7. ประโยชน์ใช้สอย

บ้านและที่ดิน หากมีลักษณะ พื้นที่ หรือสิ่งปลูกสร้างที่สามารถใช้ประโยชน์ใช้สอยได้มากกว่าจะถูกนำมาพิจารณาเป็นมูลค่าด้วย เช่น มีลานจอดรถ มีสวน มีสระน้ำ เป็นต้น 

ปัจจัยอื่นๆ ที่สงผลต่อราคาประเมินบ้านและที่ดิน

ยกตัวอย่างเช่น บ้าน/ที่ดินอยู่ในบริเวณที่เป็นเขตเวนคืน อยู่ในบริเวณที่มีติดเรื่องกฎหมายจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นต้น 

สรุปการประเมินราคาบ้าน พิจารณาจากอะไร

การประเมินราคาบ้าน ธนาคารหรือบริษัทประเมินจากพิจารณาจาก 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ ราคากลางจากกรมธนารักษ์ ราคาตลาด และปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ ทำเล สิ่งแวดล้อม และสภาพของตัวบ้าน ฯลฯ 

ในวันที่เจ้าหน้าที่เข้าไปประเมินบ้าน เจ้าหน้าที่อาจจะเข้าไปถ่ายรูป ตรวจสอบดูลักษณะที่ดินและโครงสร้างสิ่งปลูกสร้าง พร้อมเขียนแปลนออกมา จากนั้นอาจขอเข้าไปดูสภาพของบ้านภายใน ดังนั้น ผู้ซื้อ/ผู้กู้ควรติดต่อนัดหมายกับผู้ขายหรือนายหน้าให้ช่วยเปิดบ้านให้เจ้าหน้าที่ ซึ่งการประเมินราคาบ้านอาจใช้เวลาเพียง 20 นาที หรือไม่ถึง 1 ชั่วโมง หลังจากประเมินเสร็จ ทางเจ้าหน้าที่จะให้ใบแจ้งหนี้พร้อมใบเสร็จสำหรับชำระค่าประเมินตั้งแต่ 1,000 – 3,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร 

การที่เราเข้าใจเกณฑ์และปัจจัยต่างๆ ในการประเมินราคาบ้าน จะช่วยให้ผู้ซื้อคิดราคาขายได้สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ซื้อหรือผู้กู้ก็จะมีหลักในการประเมินว่าสินทรัพย์ที่จะซื้อแพงหรือคุ้มค่าแค่ไหน 

สำหรับผู้กู้ หากต้องการทราบราคาประเมินที่แน่นอน แนะนำให้ลองยื่นกู้สินเชื่อกับธนาคาร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญเข้ามาประเมินโดยตรง

อ่านเพิ่มเติม: คำแนะนำก่อนปรึกษาขอสินเชื่อบ้าน

แนะนำสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจาก ธอส.

หากคุณกำลังมองหาสินเชื่อสำหรับที่อยู่อาศัย ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีข้อเสนอสินเชื่อสำหรับที่อยู่อาศัยดีๆ มานำเสนอให้กับคุณ!

โดยเรามีสินเชื่อสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ที่ดินพร้อมอาคาร เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ห้องชุด คอนโด หรือที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร ก็มีผลิตภัณฑ์หลากหลายที่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสม

หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่

ประเมินราคาบ้านกี่วันรู้ผล

เมื่อยื่นกู้แล้ว ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะส่งเจ้าหน้าที่สำรวจและประเมินราคาบ้านและที่ดิน ที่จะนำมาจำนองเป็นหลักประกันโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารและสถาบันการเงิน วิเคราะห์รายได้ ฐานะทางการเงิน

Pre approved ธ อสใช้เวลากี่วัน

ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการขอ Pre-approve แต่มีค่าธรรมเนียมในการขอสินเชื่อ เว้นแต่ธนาคารจะมีโปรโมชั่นยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น ระยะเวลาผลของ Pre-approve การขอ Pre-approve ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันในขณะที่การขอสินเชื่อใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์

สินเชื่อสร้างบ้าน ธนาคารไหนดี 2565

สินเชื่อบ้านใหม่ 2565 เลือกผ่อนบ้านกับธนาคารไหนดี.
1. ดอกเบี้ยบ้านธนาคารอาคารสงเคราะห์ ... .
2. ดอกเบี้ยบ้านธนาคารกรุงศรีอยุธยา ... .
3. ดอกเบี้ยบ้านธนาคารกสิกรไทย ... .
4. ดอกเบี้ยบ้านธนาคารกรุงไทย ... .
5. ดอกเบี้ยบ้านธนาคารออมสิน ... .
6. ดอกเบี้ยบ้านธนาคารทีทีบี.

เซ็นสัญญา ธกส กี่วันได้เงิน

ทั้งนี้ หากสินเชื่อได้รับการอนุมัติ ระบบจะทำการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากโดยตรงภายใน 1 วัน ซึ่งท่านสามารถถอนเงินสดผ่านตู้ ATM โดยใช้บัตร ATM บัตรเดบิต หรือบริการกดเงินไม่ใช้บัตรผ่านแอปพลิเคชัน ... A-Mobile. Latest News.