ซัพพลายเชนมีความเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์อย่างไร

เมื่อพูดถึงคำว่าโลจิสติกส์ ในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยินคำนี้ คำว่าโลจิสติกส์ได้แทรกเข้ามาสู่ในสังคมของเรามานาน และเป็นที่รู้จักคุ้นหูในสังคมไทยเราเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันโลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐิกิจ และการพัฒนาประเทศของไทยเป็นอย่างมาก และอีกทั้งยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) อีกด้วย

ซัพพลายเชนมีความเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์อย่างไร

ความหมาย
โลจิสติกส์ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องการขนส่ง แต่เป็นแนวคิด กิจกรรม และกระบวนการทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการและการควบคุมการทำงานขององค์กรให้เกิดการเคลื่อนย้ายการจัดเก็บ การรวบรวม และการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ หรืออาจรวมถึงการบริการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความ พึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ

กระบวนการกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญของโลจิสติกส์นั้นประกอบไปด้วย
– การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications)
– การบริการลูกค้า (Customer Service)
– กระบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
– การคาดการณ์ความต้องการ (Demand Forecasting)
– การจัดซื้อ (Procurement)
– การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
– การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing และ Storage)
– การบริหารการขนส่ง (Transportation Management)
– การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Pasts และ Services Support)
– การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant และ Warehouse Site Selection)
– การเคลื่อนย้ายวัสดุ (Material Handling)
– การบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ (Packaging และ Packing)
– โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
เป็นต้น

ความสัมพันธ์
นอกจากคำว่าโลจิสติกส์แล้ว เรายังจะเคยได้ยินคำว่า โซ่อุปทาน หรือซัพพลายเชน (Supply chain)

สำหรับคำว่าโซ่อุปทาน หรือซัพพลายเชน (Supply chain) นั้นเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กร ทรัพยากร และกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมกันก่อให้เกิดคุณค่าในรูปของสินค้าสำเร็จรูป หรือบริการให้ลูกค้า

จากคำกล่าวของ Michael Hugos ที่อธิบายคำว่าโซ่อุปทานไว้ว่า

“…เนื่องจากความเป็นจริงที่ว่า ไม่มีบริษัทใดที่จะสามารถพัฒนาทักษะทางด้านการจัดการโซ่อุปทานให้สูงขึ้นได้ในทุก ๆ ด้าน ดังนั้น บริษัทจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและการสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะ นอกจากนี้ยังจะต้องเชื่อมโยงกับบริษัทอื่น ๆ ที่มีทักษะที่เกื้อกูลกันให้สมบูรณ์ได้ อันจะเป็นพลวัตที่กระตุ้นการก่อให้เกิด…ห่วงโซ่อุปทาน” 


โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน
สภาการจัดการลอจิสติกส์ (Council of Logistics Management : CLM) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าโลจิสติกส์กับโซ่อุปทานสำหรับในธุรกิจซึ่งใช้กันโดยทั่วไป ไว้ดังนี้ :

“โลจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทานซึ่งจะวางแผน ดำเนินการ และควบคุมการไหลไปข้างหน้าและการไหลย้อนกลับและการจัดเก็บสินค้า การบริการ และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันระหว่างจุดกำเนิดและจุดบริโภคอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”


ข้อเท็จจริง
ดังนั้น ข้อเท็จจริงของคำว่าโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้

ความเข้าใจที่ผิดว่าโลจิสติกส์นั้นครอบคลุมถึงห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)

ข้อเท็จจริงสลับกัน คือ ห่วงโซ่อุปทานนั้นกว้างใหญ่กว่า ด้วยโครงสร้างจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ วัตถุดิบจนถึงมือลูกค้า แต่โลจิสติกส์ เป็นกิจกรรมในห่วงซุ่ปทาน ที่เราบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อให้ห่วงโซ่อุปทานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้านั่นเอง

Supply chain เป็นชื่อที่คุ้นหูมาก พอแปลเป็นไทยเรียกว่า ห่วงโซ่อุปทาน ในตอนแรกที่ได้ยินก็คิดว่า เหมือนกับห่วงโซ่อาหารไหม แต่พอได้มาหาข้อมูลดูคือไม่ใช่เลย เพราะ Supply chain เกี่ยวกับการขนส่ง ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็กเลยแม้แต่น้อย

แล้วตกลง Supply chain หรือห่วงโซ่อุปทาน คืออะไร ถ้าสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ อยากให้ทุกคนนึกถึง โซ่ ที่มีการเกี่ยวกัน การทำงานก็มีการส่งต่อ ทำงานเกี่ยวเนื่องกัน โดยเริ่มตั้งแต่การหาสินค้า หรือวัตถุดิบ จนสิ้นสุดกระบวนการส่งถึงมือลูกค้า เพื่อตอบสอบความพึงพอใจของลูกค้า โดยสิ่งที่เชื่อม Supply Chain ด้วยกันคือ Logistics นั้นเอง

ตัวอย่างของ Supply Chain มีอะไรบ้าง

การเชื่อมกันของ โซ่ อุปทาน เพื่อให้สินค้าจากต้นน้ำไปถึงปลายทางหรือคือลูกค้า ประกอบไปด้วย

  • การจัดหาวัตถุดิบ
  • การผลิตสินค้า/การนำเข้าวัตถุดิบ (ผลิตเพื่อใคร ผลิตอย่างไร )
  • การจัดเก็บสินค้า (การจัดการคลังสินค้า)
  • การส่งสินค้า/การกระจายสินค้า (วิธีการส่งสินค้า)
  • การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (ความพึงพอใจของลูกค้า)

ซัพพลายเชนมีความเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์อย่างไร

โดยการบริหาร supply chain เป็นภาพใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 flows ดังนี้

1. Product flow การไหลของสินค้า/ วัตถุดิบ

2. Information flow การไหลของข้อมูล เช่น สถิติการผลิต ข้อมูลการขนส่ง

3.   financial flow การไหลของเงินในระบบ

 

ซึ่งถ้าเราบริหารหรือจัดการในส่วนไหนไม่ดีก็จะทำให้เกิดปัญหา อาทิ ไม่มีการเก็บข้อมูลการผลิตสินค้า ทำให้ไม่สามารถคาดการการผลิตหรือการขนส่งได้ เมื่อวิเคราะห์ผิด อาจทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าไม่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิดการเสียโอกาส ที่ลูกค้าจะไปใช้เจ้าอื่น การที่ไม่มีเงินทุนหมุนในระบบ ไม่สามารถซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบได้ เป็นต้น 

 

การบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้เกิดค่าเสียโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งใน Supply Chain การขนส่งสินค้าหรือการกระจายสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนัก เพราะการขนส่งที่ไม่ได้มีการวางแผนจะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากร ทั้งน้ำมัน แรงงาน และค่าใช้จ่าย เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง DTC จึงได้พัฒนาระบบ GPS Tracking เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง และควบคุมการใช้ยานพาหนะที่ผิดวัตถุประสงค์ ลดการสิ้นเปลืองในการใช้ความเร็วเกินกำหนด, จอดรถติดเครื่องเปิดแอร์นอน, การขโมยน้ำมัน เป็นต้น

 

เลือกติดจีพีเอสที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกชัวร์ เลือกติดที่   DTC   พร้อมบริการหลังการขายครบวงจร มั่นใจ เชื่อถือได้ด้วยคุณภาพยาวนานกว่า 25 ปี  CallCenter 1176 ตลอด 24 ชั่วโมง   www.dtc.co.th

โลจิสติกส์กับโซ่อุปทานมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

โลจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทานซึ่งจะวางแผน ดำเนินการ และควบคุมการไหลไปข้างหน้าและการไหลย้อนกลับและการจัดเก็บสินค้า การบริการ และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันระหว่างจุดกำเนิดและจุดบริโภคอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”

โลจิสติกส์มีความเกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนหรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Supply Chain Management ระบุให้โลจิสติกส์เป็น“ ส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนใน Supply Chain ที่วางแผนดำเนินการและควบคุม Flow ของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การจัดเก็บสินค้า การบริการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งจากต้นทางไปยังปลายถึงผู้บริโภค เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า”

การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนคืออะไร

การจัดการซัพพลายเซนและโลจิสติกส์ (Supply Chain and Logistics Management) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจำหน่าย การจัดเก็บสินค้า การขนส่งหรือการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้า โดยเชื่อมโยงกระบวนการทุกขั้นตอนเข้าด้วยกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่าย ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ธุรกิจ ...

Supply Chain มีความสําคัญอย่างไร

Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) คือ กระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นมา ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ บริหารการผลิต การจัดเก็บสินค้า ไปจนถึงกระบวนการจัดส่งสู่มือของลูกค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ (Demand) ของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง