ระบบประสาทมีความสำคัญ อย่างไร ต่อสุขภาพ การ เจริญ เติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

อธิบายความสำคัญของระบบประสาทมีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

พ 1.1 ม.1/1 อธิบายความสำคัญของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

จุดประสงค์การเรียนรู้

   ด้านความรู้

      นักเรียนสามารถอธิบายความสำคัญของระบบประสาทที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

   ด้านทักษะกระบวนการ

     นักเรียนสามารถวิเคราะห์และนำเสนอความสำคัญของระบบประสาทที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

   ด้านคุณลักษณะ

     1.นักเรียนใฝ่เรียนรู้

      2. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. สังเกตจากการทำกิจกรรมและตอบคำถามในชั้นเรียน

2. ชิ้นงานเรื่องความสำคัญของระบบประสาทที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

เครื่องมือ

1. แบบสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน

2. แบบประเมินใบงาน

Google      You tube       psv       สพม11

ความสำคัญของระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ

ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีผลต่อสุขภาพวัยรุ่น  การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายของคนเรามีคความสัมพันธุ์กัน  ไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ และการดำรงชีวิตของมนูษย์  ก็ขึ้อยู่กับการทำงานของระบบต่างๆ  ในร่างกายหากระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายๆระบบทำงานได้ไม่ดี  ย่อมส่งผลให้สภาวะสุขภาพโดยรวมเกิดปัญหาขึ้นได้

  ระบบทุกระบบในร่างกาย  ล้วนแต่มีความสำคัญต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น  แต่ระบบที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์โดยเฉพาะในช่วง วัยรุ่นมากที่สุดนั่นก็คือ  ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบประสาท ( Nervous System ) ระบบประสาทเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ  ทุกระบบในร่างกายให้ประสานสัมพันธุ์กัน  เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม  และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  คือ ระบบประสาทส่วนกลาง  และระบบประสาทส่วนปลาย

1. ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central Nervous System )  ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง  ซึ้งเป็นศูนย์กลางในการประสานการทำงานของอวัยวะต่างๆ  ของร่างกาย  ให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.1   สมอง ( Brain ) เป็นอวัยวะที่สำคัญและสลับซับซ้อนมาก  ประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อที่มีที่มีความอ่อนนุ่ม  บรรจุอยู่ในกะโหลกศรีษะ  มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาทส่วนกลาง  สมองจะเริ่มเจริญเติบโตตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา  พอช่วงอายุ 1- 9 ปี   สมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  และจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ  18 – 20  ปี  โดยสมองแบ่งออกเป็น  3  ส่วน  ซึ่งมีมีหน้าที่แตกต่างกัน

1.2  ไขสันหลัง  ( Spinal  Cord )  เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง  อยู่ภายในช่องกระดูกสันหลังตลอดความยาวของลำตัว  ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย  เป็นตัวเชื่อมระหว่างอวัยวะความรู้สึกไปยังสมอง  และส่งความรู้สึกจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย  รวมถึงควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะและส่วนต่างๆ  ที่มีเส้นประสาทไขสันหลังต่อสมอง

2 . ระบบประสาทส่วนปลาย  ( Peripheral Nervous System )  เป็นระบบประสาทที่เชื่อมต่อจากส่วนต่างๆ  ของสมองและไขสันหลัง  ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งประกอบด้วย

2.1  ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง

1.  เส้นประสาทสมอง มี  12 คู่ ทอดออกจากพื้นล่างของสมอง  ผ่านไปยังรูต่างๆ  ที่พื้นของกะโหลกศรีษะ  โดยเส้นประสาทสมองบางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก  บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว  และบางคู่จะทำหน้าที่รวม คือ  ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว

2.  เส้นประสาทไขสันหลัง  เป็นเส้นประสาทที่ออกจากสันหลัง  มีจำนวนทั้งหมด  31  คู่  ทุกคู่จะทำหน้าที่รวมคือ  ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว

2.2  ระบบประสาทอัตโนมัติ  ( Automomic Nerve System )  เป็นระบบประสาทที่ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจการบังคับ  และควบคุมของจิตใจ  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้เป็นปกติ  เช่น  ควบคุมการไหลเวียนของโลหิต  การย่อยอาหาร  การหายใจ  การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย  โดยระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งเป็น  2  ส่วน

1. ระบบประสาทซิมพาเทติก  ( Sympathetic Nerve System )  เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานแบบเกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น  ในขณะตื่นเต้น  ประสบภาวะฉุกเฉิน  หรือในระยะเจ็บป่วย  โดยจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว  รูม่านตาขยาย  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกายต่อสถานการณ์นั้นๆ

2.  ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก  ( Parasympathetic Nerve System )  เป็นระบบประสาทที่มีใยประสาทมาจากไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ  ก้นกบ  และเมดัลลาออบลองกาตา  (Medulla Oblongata ) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน  เส้นเลือดและต่อมต่างๆ  ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้ เช่น  ทำให้หัวใจเต้นชช้าลง  เส้นเลือดคลายตัว  ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป

ระบบประสาทอัตโนมัติท้ัง  2  ส่วนนี้ จะทำหน้าที่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามเสมอ เช่น  ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำหน้าที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว  แต่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำหน้าที่ให้หัวใจเต้นช้าลง  ทั้งนี้เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกายให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system)

           

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system

โดยทั่วไป ประกอบด้วย สองส่วนหลักคือ
1. Parenchyma (เนื้อต่อม)ประกอบ ด้วย เซลล์เนื้อผิวชนิดที่ เรียกว่า secretory cells และเป็นเซลล์สำคัญที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งเซลล์เหล่านี้ อาจเรียงตัวเป็นกลุ่ม (clumps) ขดเป็นกลุ่ม (cord) หรือแผ่น (plates) โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด fenestrated หรือ sinusoid capillaries และเส้นน้ำเหลือง จำนวนมากแทรก เพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยง และลำเรียงฮอร์โมน ออกจากเนื้อต่อมเข้าสู่วงจรไหลเวียน ของกระแสเลือดไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ตามเป้าหมาย (target organs) ที่อยู่ห่างไกล

2. Stroma (โครงร่างพยุงเนื้อต่อม) ประกอบ ด้วย เนื้อประสานโดยให้เป็นเปลือกหุ้ม และโครงร่างให้เซลล์ของเนื้อต่อมเกาะ ในต่อมไร้ท่อบางชนิดพบมีส่วน ของเปลือกหุ้มยื่นเข้าไปแบ่งเนื้อต่อม ออกเป็นส่วน เรียกว่า Trabaeculae

ต่อมไร้ท่อแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ต่อมที่พบอยู่เดี่ยว ได้แก่
I ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ Hypophysis)

ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น
1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้นII ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)

   

ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย

III. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) ผลิต ฮอร์โมนที่สำคัญชื่อพาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา

IV.ต่อมหมวกไต (Suprarenal หรือ Adrenal gland)  ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆหลายชนิดเช่น อะดรีนาลินโดยอยู่เหนือไตทั้ง2ข้างมีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด

ต่อมหมวกไตแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ (Pineal gland)

-ต่อม หมวกไตส่วนนอก(Adrenal cortex) สร้างฮอร์โมนกลุ่มสเตอรอยด์ได้แก่ กลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid) เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเมตาบอลิซึมของน้ำตาล ไขมัน และต้านการอักเสบ  อัลโดสเตอโรน(aldosterone) เพิ่มการดูดกลับของเกลือในไตเทสโทสเตอโรน เพิ่มลักษณะของร่างกายที่เป็นเพศชายและการเติบโต

-ต่อม หมวกไตส่วนใน (Adrenal medulla) สร้างฮอร์โมนอีพิเนฟฟริน (Epinephrine) และนอร์อีพิเนฟฟริน (norepinephrine) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน มีหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลและกรดไขมันในเลือด เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม เพิ่มการเต้นของหัวใจ เพิ่มการบีบตัวของเส้นเลือด

อยู่เหนือสมอง อยู่บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรัมซ้าย และขวา มีขนาดเท่ากับเม็ดข้าวมีสีแดงปนน้ำตาล เรียกชื่อเต็มว่าเอนอะเซทิลไฟฟ์เมทอคซิทริพทามีน( N acetyl -5- methoxytryptamine) เนื่องจากรูปร่างคล้ายลูกสน(pine cone) จึงเรียกว่าต่อมไพเนียล ในตอนกลางวันจะสร้างเซโรโตนิน กระตุ้นให้เราลุกตื่นขึ้น พอตกกลางคืนก็สร้างเมลาโตนินให้เรารู้สึกง่วงนอน จึงเปรียบเสมือนนาฬิกาชีวภาพ

2. พวกเซลล์ต่อมไร้ท่อที่กระจัดกระจายหรือเป็นกลุ่ม

โดย พบอยู่ร่วมกับพวกเซลล์ต่อมมีท่อ หรือร่วมกับอวัยวะอื่นของร่างกาย เช่น Islets of Langerhans of pancreas,Interstitial cells of Leydig in testis และ APUD cells (Amine Precursor Uptake and Decarboxylation) ซึ่งกลุ่มเซลล์ชนิดหลังสุดประกอบด้วย hormone-secreting cells สร้างและหลั่ง สารเคมีที่มีโครงสร้างคล้าย peptides และ active amines สารเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนหรือ neuro- transmitters พบเซลล์เหล่านี้ กระจัดกระจายแทรกในเนื้อผิว ที่ดาดในท่อทางเดินอาหาร ทางเดินลมหายใจ ในระบบไตและทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น APUD cells มีบางตัวกำเนิดมาจาก neuroectoderm เซลล์ในกลุ่มนี้บางตัว สามารถสาธิตให้เห็นในบทที่เกี่ยวกับ อวัยวะเหล่านั้น ยกเว้นพวก APUD cells เพราะส่วนใหญ่บ่งชี้ได้ ต้องย้อมสีพิเศษ หรือศึกษาในระดับ กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน

ระบบประสาทมีความสำคัญ อย่างไร ต่อสุขภาพ การ เจริญ เติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

ระบบประสาทสำคัญอย่างไรต่อสุขภาพการเจริญเติบโตและพัฒนาของวัยรุ่น

ระบบประสาทเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ที่แสดงออกมาทั้งในด้านพฤติกรรมและจิตใจ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในสมองของวัยรุ่น ทำให้ส่วนที่ควบคุมการตัดสินใจยังไม่สมบูรณ์และชอบที่จะเสี่ยงลองหาประสบการณ์ต่าง ๆ ทำให้การคิดวิเคราะห์ขาดความชัดเจน มีความว้าวุ่นใจและเกิดความเครียดทาง ...

นักเรียนคิดว่าระบบประสาทมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของคนเราอย่างไร

ระบบประสาทจึงมีความสำาคัญต่อภาวะสุขภาพ การ เจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการด้านต่าง ๆ คือ เป็นตัวควบคุมการทำางานและรับความรู้สึกของอวัยวะ ทุกส่วนในร่างกาย รวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำาต่าง ๆ ซึ่งเมื่อได้รับการกระตุ้นจาก ภายในและภายนอก จะมีการส่งกระแสประสาทกลับไป กลับมา ระหว่างสมองและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้ ...

ระบบประสาทมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

ระบบประสาท มีหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยจะรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกรอบตัวแล้วสั่งการให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาสมดุลของระบบต่าง ๆ

ระบบต่อมไร้ท่อมีความสําคัญอย่างไรต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

ระบบต่อมไร้ท่อจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของวัยรุ่น ดังนี้ ๒.๑) กระตุ้นการใช้สารอาหารและผลิตพลังงานภายใน ร่างกายเพื่อการเจริญเติบโต ท าให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายนั้นได้รับ สารอาหารอย่างเพียงพอ และก่อให้เกิดพลังงานในการด าเนินชีวิต ซึ่งจะ ช่วยให้การเจริญเติบโตของร่างกายเป็นไปตามวัย