วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมีความสําคัญอย่างไร

กลุ่มวิจัย Postharvest Logistics เป็นหนึ่งในสี่กลุ่มวิจัยหลักของศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว โดยการสนันสนุนภายใต้สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อลดความสูญเสียของผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว ในเรื่องระบบการจัดการและระบบการเก็บรักษาของผลิตผลทางการเกษตร ตั้งแต่ในแปลงปลูก การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขนส่ง จนไปถึงตลาดปลายทางเพื่อแก้ปัญหาการจัดการคุณภาพในตลาดสินค้าเกษตรทั้งในประเทศ (ซุปเปอร์มาร์เก็ตและตลาดค้าปลีก) และการส่งออก และมุ่งเน้นไปที่การทำงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพานิชย์ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาโทและเอก เพื่อผลิตบุคคลากรที่คุณภาพทางด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวไปทำงานวิจัยในหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งยังมีผลงานในการตีพิมพ์บทความในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ และมีการจัดเผยแพร่งานวิจัยของกลุ่มวิจัยฯ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์และความสำคัญ

การลดการสูญเสียของผลผลิตเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเป็นเครื่องมือที่สำคัญของระบบการค้าสินค้าเกษตรของไทยในเวทีการค้าโลก สามารถเพิ่มผลกำไรและมูลค่าสินค้าเกษตร ทำให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดการค้าที่นับวันจะทวีความรุนแรงในด้านราคาและคุณภาพ

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมีความสําคัญอย่างไร

งานวิจัยที่มุ่งเน้น

งานวิจัยปัจจุบันมุ่งเน้นการรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลสดทางการเกษตร เช่น เงาะ มะม่วง มะละกอ กล้วยไม้ และข้าว ซึ่งเป็นสินค้าที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงในกลุ่มสินค้าเกษตรทั้งในและต่างประเทศ

ตัวอย่างงานวิจัยที่ทำการวิจัย

ระบบการเก็บรักษาเงาะ
  • การยืดอายุเงาะภายใต้บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงสภาพบรรยากาศ
  • การยืดอายุเงาะภายใต้สภาพบรรยากาศควบคุม
  • การใช้สารส่งเสริมคุณภาพเพื่อลดการคายน้ำ และรักษาสภาพขนเงาะ
  • การศึกษาโซ่อุปทานและระบบการขนส่งเงาะเพื่อการส่งออก
ระบบการเก็บรักษามะละกอ
  • การยืดอายุผลมะละกอดิบและสุกหลังการเก็บเกี่ยว
  • ระบบการเก็บรักษาเส้นมะละกอดิบ
  • การเก็บรักษามะละกอสุกตัดแต่งสดพร้อมบริโภค
ระบบการเก็บรักษากล้วยไม
  • การใช้น้ำยาส่งเสริมคุณภาพลดการสูญเสียของกล้วยไม้หลังตัดดอก
  • การยืดอายุการปักแจกันไม้ตัดดอก และกล้วยไม้
ระบบการเก็บรักษามะม่วง
  • การยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงภายใต้สภาวะดัดแปลงบรรยากาศ
  • การยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงโดยใช้สารเคลือบ
  • การยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงโดยใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ

แผนงานวิจัยในอนาคต

ทิศทางของงานวิจัยของกลุ่ม Postharvest Logistics ในอนาคตจะมุ่งเน้นระบบการเก็บรักษาเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพดี เพื่อสามารถรับรองอายุการเก็บรักษาของผลิตผลแต่ละชนิดได้ โดยมุ่งวิจัยการควบคุมคุณภาพผลิตผลตั้งแต่แปลงก่อนการเก็บเกี่ยว ระบบโซ่อุปทาน และงานวิจัยทาง Logistics รวมไปถึงการใช้ระบบการตรวจสอบคุณภาพของผลิตผลก่อนถึงมือผู้บริโภค

ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากร ก่อให้เกิดวิกฤตในด้านต่างๆ ตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะด้านอาหารที่ถูกจำกัดทั้งการผลิตและขนส่งตามมาตรการการควบคุมและป้องกันโรค ส่งผลให้ปริมาณอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในหลายๆ ประเทศจึงประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารในการบริโภคนับว่าเป็นการซ้ำเติมการดำเนินชีวิตของประชากร สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก ปัญหาการขาดแคลนอาหารจึงไม่รุนแรงดังเช่นประเทศอื่น อย่างไรก็ตามในช่วงต่อจากนี้เราจึงควรพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยการพัฒนาภาคการเกษตรของไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ และสามารถผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งเป็นส่วนช่วยนำเงินตราต่างประเทศมาพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกัน เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและพัฒนาการผลิตภาคเกษตรของประเทศไทยอย่างครบวงจร ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเฉพาะในระดับกลางน้ำซึ่งมีส่วนสำคัญเพื่อเชื่อมโยงทั้งระดับต้นน้ำและปลายน้ำเข้าด้วยกัน จึงจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ดังนั้น การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของประเทศไทย (ระดับกลางน้ำ) จึงมีบทบาทสำคัญในการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดความสูญเสียรวมถึงการพัฒนาคุณภาพผลิตผลในระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง ตลอดจนการเก็บรักษา จึงมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว ในยุคที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 และกระบวนการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรักษาศักยภาพการเป็นประเทศผู้ค้าผลผลิตเกษตรที่สำคัญของโลกไว้ รวมทั้งการคำนึงถึงความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหารสำหรับการพัฒนาด้านการเกษตรที่ยั่งยืน ในการนี้ต้องอาศัยการถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจากการค้นคว้าและวิจัยสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมิติต่างๆ ผ่านการจัดประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 19 แบบออนไลน์ นับได้ว่าเป็นโอกาสสำคัญที่นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สาธารณะ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ปัญหา และประสบการณ์ ผ่านระบบการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ ความเข้าใจ และการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัย อันจะส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลกเพิ่มอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการ จากภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจได้นำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยน ปัญหา อุปสรรค เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  2. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในสายงานวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ได้นำข้อมูลความรู้ไปประยุกต์ใช้ทั้งด้านงานวิจัยและปฏิบัติงานจริง ถ่ายทอดนวัตกรรมด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพสู่ภาคเอกชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อเปิดโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจจากต่างสายงานให้ได้รับรู้ข้อมูลความรู้ทางด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว อันอาจก่อให้เกิดการขยายขอบเขตงานวิจัยร่วมกันให้กว้างขวางขึ้น
  4. เพื่อสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของไทยต่อไปในอนาคต

หัวข้อการประชุมวิชาการ

จำแนกตามประเภทของการผลิต คือ พืชสวนและพืชไร่ ซึ่งต้องเป็นผลิตภัณฑ์สดที่ยังไม่ได้ทำการแปรรูป เช่น การเก็บรักษาผัก ผลไม้ ดอกไม้ ธัญพืช และเมล็ดพันธุ์ หรือผลิตภัณฑ์สดที่ผ่านการแปรรูปตัดแต่งเล็กน้อย (Minimally processing produce, Fresh-cut) หรือการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งหลังการเก็บเกี่ยว มีรายละเอียดดังนี้

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมีความสำคัญอย่างไร

มีวัตถุประสงค์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ออกไปให้นานที่สุดซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่เหมาะสมอย่างประณีตและรวดเร็วรวมทั้งการปรับสภาพแวดล้อมระหว่างการเก็บรักษาให้เหมาะสมเพื่อคงความสดของผักและผลไม้ ในขณะเดียวกันก็ต้องชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ด้วยโดยการลดอุณหภูมิให้ต่ำ ...

การปฏิบัติหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจะต้องคำนึงถึงสิ่งใด

ขั้นตอนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ลดกิจกรรมทางชีววิทยาของผลิตผล โดยการรักษาระดับอุณหภูมิให้เหมาะสม อุณหภูมิต่ำจะลดอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ลดอัตราการสูญเสียน้ำ โดยการรักษาระดับความชื้นในอากาศให้สูง

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตมีความสำคัญต่อการปลูกพืชอย่างไรบ้าง

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว หมายถึง เทคโนโลยีที่มีเปาหมายในการลดความสูญเสียของผลิตผล ทางการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งในดานปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการนําผลิตผลเกษตรที่ไดไป ใชประโยชนอยางมีประสิทธิภาพสูงสุด

การแยกผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมีวิธีการอย่างไร

วิธีการเก็บเกี่ยวผลิตผลแบ่งออกเป็น 4 วิธีคือ การเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงคน การเก็บเกี่ยว โดยใช้เครื่องจักรกล และการเก็บเกี่ยวโดยใช้สัตว์ช่วยเก็บเกี่ยว