การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

หน้าแรก » ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ (Historical Attraction) หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศาสนา รวมถึงสถานที่หรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่มีอายุเก่าแก่หรือเคยมีเหตุการณ์ สำคัญเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ เช่นโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณ กำแพงเมือง คูเมือง พิพิธภัณฑ์ วัด ศาสนสถาน และสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางศิลปะและสถาปัตยกรรม
ประวัติศาสตร์ คือสิ่งบ่งบอกความเป็นมาในอดีตและพัฒนาการแห่งอารยธรรมของสังคม ที่สะท้อน ผ่านร่องรอยในโบราณสถานและโบราณวัตถุ อุทยานประวัติศาสตร์ จึงเป็นเสมือนพยานหลักฐานของวิถีชีวิต คติความเชื่อ อุดมการณ์ ตลอดจนความรุ่งเรื่องของสังคม แต่ละยุคสมัยในดินแดนนี้.
 ” เรื่องโบราณสถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆแผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษา ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯแล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย “  พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

อ้างอิง

https://sites.google.com/site/archcommunitydevelopment/tourism

การท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับวิชาประวัติศาสตร์ เนื่องจากวิชาประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาพฤติกรรมในอดีตของมนุษย์ ผ่านร่องรอยหลักฐานต่างๆ และร่องรอยเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับการท่องเที่ยวในแง่ที่ว่า องค์ความรู้ของประวัติศาสตร์จะทำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจถึงความเป็นมาของ สถานที่ต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้ง เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ตลอดจนวิเคราะห์พฤติกรรมผู้คนในอดีตที่มีความสัมพันธ์ต่อแหล่งท่องเที่ยวได้ อย่างเป็นเหตุเป็นผล ความรู้ทางประวัติศาสตร์ยังมีส่วนสำคัญที่จะทำให้นักท่องเที่ยวมีจิตสำนึก ต่อแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวจนเกิดความภาคภูมิใจในมรดกของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากเนื้อหาประวัติศาสตร์ศูนย์อำนาจของรัฐหรือ ประวัติศาสตร์ชาติที่มุ่งเน้นคุณค่าในวีรกรรมของผู้นำซึ่งเป็นแบบอย่างในการ สร้างคุณความดีเพื่อส่วนรวมผ่านร่องรอยหลักฐานที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวไม่ว่า จะเป็น อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถานต่างๆ ขณะที่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เป็นเรื่องของพัฒนาการชุมชนย่อยในสังคมใหญ่ นั้นก็มีส่วนสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึกในเชิงดังกล่าวไม่น้อย เนื่องจากสาระจะทำให้ชาวชุมชนท้องถิ่นรู้ที่มาของตนเองผ่านร่องรอยหลักฐาน ต่างๆ ที่ต่อมาได้กลายเป็นแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่

ดังนั้นวิชาประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญอย่างสูงในแง่การใช้ความรู้เป็น แนวทางจัดการท่องเที่ยวของพื้นที่นั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากจุดมุ่งหมายของวิชาประวัติศาสตร์ที่ว่า การรู้ถึงที่มาตลอดจนความเข้าใจต่อพฤติกรรมของผู้คนในสังคมย่อมสามารถคาด การณ์ไปข้างหน้าได้อย่างถูกต้องและรู้เท่าทันนั้นย่อมทำให้การท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism) มีหลักการสำคัญประการหนึ่งคือ เป็นการท่องเที่ยวที่ใช้จุดมุ่งหมายของวิชาประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือปลูก จิตสำนึกทางอุดมการณ์ร่วมกัน กระทั่งนำไปสู่สำนึกความเป็นชาติหรือท้องถิ่น นอกจากนี้ยังอาจเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญาของชุมชน เช่นโบราณสถาน โบราณวัตถุ และแหล่งประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในท้องถิ่น    ดังจะเห็นได้จากที่สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ ( International Council On Monuments And Sites : ICOMOS ) เสนอกฎบัตรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการสถานที่ อันเป็นสัญลักษณ์มรดกเพื่อการท่องเที่ยว ( International Cultural Tourism Charter Managing Tourism at Places of Heritage Significance ) โดยมีสาระสำคัญได้แก่การจัดท่องเที่ยวที่มีการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติและ วัฒนธรรมอย่างรับผิดชอบ พร้อมกับการจัดการที่ดีควบคู่กันระหว่างคนในท้องถิ่นและผู้มาเยือนโดยมีการ อนุรักษ์และการวางแผนการท่องเที่ยวในแหล่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งมีจุด เน้นสำคัญก็คือนอกจากจะสร้างความรื่นรมย์แก่ผู้มาเยือนแล้วก็ต้องเป็นการ จัดการท่องเที่ยวเพื่อคุ้มครองมรดกทางประวัติศาสตร์ด้วย อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าวิชาประวัติศาสตร์นั้นมีคุณูปการต่อการท่องเที่ยวทั้ง ในระดับชาติ ระดับชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ด้วยเหตุผลสำคัญคือ

ประการแรก ประวัติศาสตร์เป็นทั้งโครงสร้างและเนื้อหาสาระที่เป็นรากฐานให้แต่ละสังคม ได้เจริญเติบโต และกลายเป็นองค์ความรู้หรือบทเรียนให้ชุมชนหรือสังคมในท้องถิ่นได้เรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างสรรค์ลักษณะต่างๆ ของชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง มีพลังเป็นต้นทุนเพียงพอที่จะใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยว

ประการที่สอง เป้าหมายของประวัติศาสตร์ในแง่ที่ว่า อดีตที่ไม่ดีระวังไม่ให้ซ้ำรอย ที่ดีต้องทำตาม ถือเป็นกลไกสำคัญในการปลูกฝังพฤติกรรมแก่นักท่องเที่ยวให้เกิดสำนึกรับผิด ชอบ ยอมรับกฎเกณฑ์กติกาของสังคมอันเป็นอุดมการณ์หลักของการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นในเรื่องการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรการท่องเที่ยว อย่างมีคุณค่าและอย่างยั่งยืนหรือไม่ใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างสิ้น เปลืองโดยไม่รู้คุณค่าของทรัพยากรเหมือนในอดีต เป็นต้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกทักษะด้วยตนเองให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการ ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

2. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้จากการท่องเที่ยวเชิงประวัติ ศาสตร์ในการประกอบอาชีพและเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากการท่องเที่ยวเชิงประวัติ ศาสตร์และวัฒนธรรม

3. เพื่อการอนุรักษ์และสร้างสำนึกให้เห็นคุณค่าของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์กับการท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

การท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับวิชาประวัติศาสตร์ เนื่องจากวิชาประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาพฤติกรรมในอดีตของมนุษย์ ผ่านร่องรอยหลักฐานต่างๆ และร่องรอยเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับการท่องเที่ยวในแง่ที่ว่า องค์ความรู้ของประวัติศาสตร์จะทำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจถึงความ ...

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มีความหมายว่าอย่างไร

2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism) หมายถึง การเดินทาง ท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เพื่อชื่นชมและเพลิดเพลินในสถานที่ ท่องเที่ยว ได้รับความรู้และมีความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดีในท้องถิ่นพื้นฐานของความ รับผิดชอบและมีจิตส านึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของ ...

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง

ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์.
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ... .
ศาลหลักเมือง ... .
วัดป่าประดู่ ... .
พระเจดีย์กลางน้ำ ... .
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน ... .
สวนพฤษชาติโสภา.

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้างและมีความเป็นมาอย่างไร

10 สุดยอดโบราณสถานไทย แหล่งอารยธรรมโบราณและความเป็นมาของชาติ.
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย.
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ “วัดพระแก้ว” จังหวัดกรุงเทพฯ.

ประวัติศาสตร์กับการท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มีความหมายว่าอย่างไร แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้างและมีความเป็นมาอย่างไร การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ คืออะไร การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ pdf การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ในประเทศไทย การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในต่างประเทศ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก