ภาษีมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร

  • Home

  • BLOG myAccount Cloud

  • บัญชีโคตรง่าย

  • ประโยชน์ของภาษี

ภาษีมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร


งบแต่ละปีจะถูกใช้จ่ายแยกไปตาม กลุ่มงาน รวม 5 กลุ่มใหญ่ๆ แบ่งเป็น

  • กลุ่มงบประมาณรายจ่าย กระทรวง/หน่วยงาน 
  • กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ 
  • กลุ่มงบประมาณรายจ่ายพื้นที่ 
  • กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
  • กลุ่มงบประมาณแผนงานบุคลากรภาครัฐ 

ถ้าแยกเป็น ลักษณะงาน เด่นๆ น่าจะทำให้เข้าใจกับง่ายขึ้นเนอะ

  • งบการศึกษา 
  • งบสวัสดิการผู้สูงอายุ 
  • งบกองทัพ 
  • งบการขนส่ง 
  • งบสาธารณสุขอื่น (ซึ่งรวมถึงบัตรทอง) 
  • งบโรงพยาบาล 
  • งบตำรวจ 
  • ที่เหลือคืองบในลักษณะงานอื่น

ใช้พัฒนาประเทศ
ภาษี เป็นปหล่งรายได้้สำคัญของรัฐแทบทุกประเทศ ลองนึกภาพว่ารัฐคือคนหนึ่งคน รัฐก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลตัวเอง 

  • จ่ายตลาดซื้อของกินของใช้
  • ลงทุนทำธุรกิจเพื่อความมั่งคั่ง
  • ซื้ออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
  • จ่ายค่ารักษาพยาบาล
  • จ่ายค่าเล่าเรี้ยนเพื่ออนาคต
  • เลี้ยงรับรองเพื่อนบ้านเพื่อความสัมพันธ์อันดี

ใช้ดูแลความประพฤติของคนในสังคม

ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ภาษีคือเครื่องมือทางการคลังชนิดหนึ่งของรัฐ มีไว้สำหรับควบคุมพฤติกรรมของประชาชน เช่น หากต้องการให้ประชาชนสุบบุหรี่น้อยลง ก็ใช้วิธีเพิ่มภาระภาษีบุหรี่เพื่อให้ผู้บริโภคมีต้นทุนที่สูงขึ้น หรือ หากต้องการให้ประชาชนวางแผนทำประกันชีวิต ก็ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับค่า เบี้ยประกันชีวิต เพื่อจุงใจให้ประชาชนทำประกันชีวิตเป้นต้น

ภาษีมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร

ในเรื่อง “การทำบัญชี” ธุรกิจองค์กร สิ่งที่สำคัญแทบเหนือสิ่งอื่นใดนั้นคือเรื่องของภาษี ในการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องยนต์ ฯลฯ สิ่งที่เราจ่ายไปทุกอย่างมีการบวกเพิ่มของภาษีหมด บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเนื้อหาในเรื่องของภาษีกัน

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

ความหมายของภาษีคืออะไร

ภาษี(Tax) คือ  เงินตราหรือทรัพย์ที่ประชาชนต้องนำส่งให้กับรัฐหรือสถาบันที่มีหน้าที่เทียบเท่ากับรัฐทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเพื่อนำเงินตราหรือทรัพย์ที่เก็บได้จากประชาชนมาใช้ในการบำรุงผลักดันและสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งภาษีเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในระบบราชการ สาธารณูปโภคทั้งหมดในประเทศชาติเพราะเป็นรายได้หลักจากรัฐที่จะนำมาพัฒนาให้ประชาชนอยู่กันในประเทศอย่างภาสุข

ในความหมายของภาษีเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

1. ภาษีทางตรง คือ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงไม่สามารถผลักภาระไปให้กับบุคคลอื่นอาทิ ภาษีเงินได้บุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น

2. ภาษีทางอ้อม คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ไม่ต้องรับภาระ สามารถที่จะผลักภาระภาษีนี้ไปให้กับบุคคลอื่น ซึ่งเรามักจะเรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น

ประเภทรายได้ที่สำคัญของรัฐบาลแยกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ

1. กรมสรรพากร

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • อากรแสตมป์
  • ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
  • ภาษีอากรอื่นๆและรายได้อื่น

2. กรมสรรพสามิต

  • ภาษียาสูบ
  • ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
  • ภาษีสุราและค่าผลประโยชน์
  • ภาษีเบียร์
  • ภาษีรถยนต์
  • ภาษีรายได้อื่นๆ เช่น ภาษีไฟ ภาษีแก้ว เครื่องหอมเครื่องสำอาง เป็นต้น

3. กรมศุลกากร

  • อากรขาเข้า
  • อากรขาออก

ประวัติในการจัดเก็บภาษี

ศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในยุคสมัยสุโขทัย คาดว่าการจัดเก็บภาษีอากรเป็นวิวัฒนาการของการก่อสร้างราชอาณาจักรไทยในยุคแรกๆ ซึ่งสมัยนั้นต้องมีการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการรบแต่ละครั้งเมื่อชนะก็จะต้องเอาทรัพย์สินผู้คนและให้ประเทศผู้พ่ายแพ้ส่งเครื่องบรรณาการมอบให้ ลักษณะดังกล่าวนี้คือนำรายได้นอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นรูปแบบการจัดเก็บภาษีประเภทหนึ่ง ต่อทาก็มีการพัฒนาเป็นเงินตราใช้แลกเปลี่ยนในราชาอาณาจักร

ที่มา : หนังสือที่ระลึกในการเปิดอาคารกรมสรรพากร

โครงสร้างของภาษีอากร

ในกฎหมายภาษีอากร แบ่งโครงสร้างได้ 6 ข้อหลัก

1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร แบ่งได้เป็น บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

2. ฐานภาษีอากร คือ มูลเหตุที่ต้องเสียภาษี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับกฎหมายที่กำหนดไว้ เช่น

2.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฐานภาษี คือเงินได้สุทธิ

2.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษี คือ มูลค่าการใช้จ่าย

3. อัตราภาษีอากร คือ ร้อยละที่จัดเก็บภาษี แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

3.1 ภาษีแบบบคงที่ คือ ฐานภาษีเปลี่ยนแต่อัตราภาษีคงที่

    – ภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราร้อยละ 20 ของฐานกำไรสุทธิ (ไม่ใช่อัตราลด)

    – ภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าการบริโภค

3.2 อัตราภาษีแบบก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฐานภาษีเงินได้สุทธิ (ตาราง)

เงินได้สุทธิตั้งแต่ (บาท) เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุด อัตราภาษีร้อยละ ภาษีในแต่ละขั้นเงินได้ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
0-150,000 150,000 5 ยกเว้น 0
150,001-300,000 150,000 5 7,500 7,500
300,001-500,000 200,000 10 20,000 27,500
500,001-750,000 250,000 15 37,500 65,000
750,001-1,000,000 250,000 20 50,000 115,000
1,000,001-2,000,000 1,000,000 25 250,000 365,000
2,000,001-4,000,000 2,000,000 30 600,000 965,000
2,000,001-4,000,000 35

3.3 อัตราภาษีแบบถดถอย คือ ฐานภาษีเพิ่มขั้นอัตราลดลง เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ซึ่งจัดเก็บภาษีที่ดิน อัตราภาษีลักษณะนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะไม่สอดคล้องกับความเป็นธรรมทางภาษี

ตัวอย่าง

ช่วงเงินได้สุทธิ(บาท)

อัตราภาษี(ร้อยละ)

1-50000

50001-200000

200001-500000

ฯลฯ

20

10

5

ฯลฯ

4. การประเมินจัดเก็บภาษีอากร แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  • ประเมินตนเอง ซึ่งต้องประเมินตนเองและยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี
  • ประเมินล่วงหน้า เรียกว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

5. การอุทธรณ์ภาษีอากร กรณีมีข้อพิพาทระหว่างผู้เสียภาษีและผู้จัดเก็บภาษี สามารถใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ภาษีเพื่อขอพิจารณาใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง

6. เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและโทษ ผู้ที่ไม่ชำระภาษีกับสรรพากร ชำระไม่ครบ ไม่ตรงเวลา ตามกฎหมายระบุต้องชำระเบี้ยปรับ หรือรับโทษตามกฎหมายที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของภาษี

เมื่อประชาชนจ่ายภาษีให้ภาครัฐบาล เงินภาษีเหล่านี้จะถูกใช้ในการพัฒนาประเทศ เพราะรัฐเองก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหลักเพื่อประชาชน

  • สร้างความปลอดภัยให้กับภาคประชาชน
  • อำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน โรงพยาบาล ฯลฯ
  • สวัสดิการค่าเล่าเรียน
  • สร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
  • ผลักดันส่งเสริมนวัตกรรมใหม่

บทสรุป

เรื่องของภาษีเป็นสิ่งสำคัญมากไม่ว่ารัฐหรือประชาชนเพราะภาษีที่เราร่วมกันช่วยจ่ายให้กับรัฐสุดท้ายก็จะส่งผลย้อนกลับมาที่ตัวเราเอง ญาติผู้ใหญ่ หรือลูกหลานของเรา ถ้าประชาชนทุกๆคนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ก็จะสามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความมั่งคั่งอันสูงสุด

ภาษีมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร

ภาษีอากรจัดเป็นกลไกสำคัญที่ใช้ในการช่วยเศรษฐกิจที่กำลังตกต่ำให้กลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว รวมทั้งมีส่วนสนับสนุนความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ทำให้ผู้คนมีงานทำ นอกจากนี้ในขณะเศรษฐกิจกำลังตกต่ำ รัฐอาจยกเว้นภาษีอากรบางประเภท เพื่อให้เจ้าของธุรกิจมีเงินเหลือและนำไปปรับปรุงขยายงาน รวมทั้งดำรงสภาพการประกอบการอยู่ต่อ ...

เงินภาษีนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

ใช้พัฒนาประเทศ ซื้ออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย จ่ายค่ารักษาพยาบาล จ่ายค่าเล่าเรียนเพื่อสร้างอนาคต เลี้ยงรับรองเพื่อนบ้านเพื่อความสัมพันธ์อันดี ฯลฯ

ความสำคัญของภาษีด้านการศึกษามีอะไรบ้าง

ภาษีโรงเรียน หรือภาษีเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่เพิ่มขึ้นเพราะประชาชนผู้เสียภาษีย่อมรู้สึกของการเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง เงินภาษีทุกบาททุกสตางค์หมายถึงคุณภาพของโรงเรียนที่จะดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้น การเสียภาษีทำให้เป็นการตีกรอบให้สถานศึกษาต้องรับนักเรียนในพื้นที่เพราะคนใน ...

นักเรียนมีส่วนร่วมในการเสียภาษีหรือไม่อย่างไร

1. การยื่นภาษี หรือ เสียภาษี ไม่เกี่ยวกับอายุ เรามักเข้าใจผิดคิดไปเองว่า จะต้องเสียภาษีเมื่อเรียนจบเข้าทำงานแล้วเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเสียภาษีนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุ หรือมีการจำกัดอายุแต่อย่างใด แต่การเสียภาษีเป็นเรื่องของรายได้ที่คุณได้รับในแต่ละปีมากกว่า นั่นหมายความว่า