ดนตรีช่วยพัฒนาสติปัญญา อย่างไร

การจำกัดขอบเขตความคิด การแสดงออก จะส่งผลต่อการพัฒนาระบบการเรียนรู้ของเด็กในภายภาคหน้าได้ เพราะเมื่อมีการจำกัดซึ่งกระบวนการในการคิดโดยไม่ได้มีการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เด็กได้คิดเป็นหรือสร้างสรรค์เป็นแต่อย่างใดนั้น ก็เหมือนว่าการเรียนรู้นั้นย่ำอยู่กับที่

ดังนั้นจึงเกิดแนวความคิดที่จะปรับเปลี่ยนแนวการพัฒนาคน โดยมุ่งเน้นให้คนคิดเป็น ทั้งสามารถสร้างสรรค์และพัฒนาความรู้ด้านต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองอย่างไม่หยุดอยู่กับที่ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มมีการปรับเปลี่ยนคนตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต และเครื่องมือที่เห็นว่าจะสามารถพัฒนากระบวนการฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นแก่เด็กได้ง่ายที่สุดและดีที่สุดประการหนึ่ง ก็คือการใช้ดนตรีเป็นสื่อนั่นเอง เพราะดนตรีนั้นเป็นที่โปรดปราน เปรียบเหมือนขนมหวานที่รับประทานได้ง่ายสำหรับเด็กทุก ๆ คน

ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย

เมื่อเด็กได้ยินเสียงดนตรีที่มีทำนองและจังหวะที่สนุกสนาน เด็กจะกระโดดโลดเต้นเคลื่อนไหวร่างกายตามเสียงดนตรีอย่างมีความสุข เป็นการออกกำลังกาย เป็นการช่วยให้เด็ก ๆ มีร่างกายแข็งแรงเพราะได้บริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนร่างกาย

ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจ

อารมณ์ความรู้สึกของคนมีขึ้นมีลงคล้ายท่วงทำนองของเสียงดนตรี ดนตรีที่มีจังหวะช้าจะทำให้เด็กมีอารมณ์ผ่อนคลาย สงบ มีสมาธิและช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน ในขณะที่ดนตรีที่มีจังหวะเร็ว จะทำให้เด็ก ๆ มีอารมณ์แจ่มใสและมีจิตใจที่เบิกบาน

ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสังคม

-กิจกรรมดนตรีแบบกลุ่ม คือ การที่เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมดนตรีร่วมกับผู้อื่น เช่น ร้องเพลง เต้น ระบำ รำละคร หรือการตั้งวงดนตรีเล่นกับพ่อแม่ในบ้านหรือกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน ช่วยส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้รู้จักการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

-กิจกรรมดนตรีแบบเดี่ยว เช่น การเล่นดนตรี การร้องเพลง หรือการเต้นระบำรำฟ้อนคนเดียวต่อหน้าคนอื่น ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพและสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าและตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง

ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญา

-ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องจำนวนและการนับหรือการที่เด็กหัดอ่านโน้ตดนตรี

-ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ

-ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางด้านภาษา เช่น เพลงที่มีคำศัพท์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพลงคำคล้องจอง

ข้อควรระวังในการใช้ดนตรีพัฒนาเด็กปฐมวัย

สิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงเป็นอย่างมากสำหรับการใช้กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์คือ ต้องไม่ปลูกฝังการสอนดนตรีอย่างผิดทิศทาง เพราะนั่นถือเป็นการปิดการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในเด็กได้เช่นกัน ซึ่งสิ่งที่พึงระวังคือ

1.ไม่ควรสอนดนตรีในลักษณะให้เลียนแบบ เพราะเด็กจะไม่ได้คิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง

ผู้ใหญ่ควรเป็นผู้สังเกตไม่ใช่ผู้ออกคำสั่งให้เด็กทำตาม ดังนั้นเพียงแค่สังเกตว่าเด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสมกับวัยของเขาและไม่เป็นอันตรายก็เพียงพอแล้ว เช่นเมื่อเด็กเต้นประกอบเพลงแล้วเคลื่อนไหวท่าทางโดยกระโดดสูงมากเกินไปหรือหมุนตัวเร็วเกินไปก็ต้องให้คำแนะนำเพราะอาจเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

2.ไม่ควรสร้างค่านิยมว่าการเล่นดนตรีบางชนิดสามารถเล่นได้เฉพาะเด็กที่มีฐานะทางสังคมสูงเท่านั้น เช่น เด็กที่จะเรียนหรือเล่นไวโอลีนหรือเปียโนได้ต้องมีเงินเด็กในชนบทเรียนไม่ได้เพราะไม่มีเงินค่านิยมเหล่านี้เป็นค่านิยมที่ทำร้ายทั้งจิตใจและทำร้ายทั้งการพัฒนาการเรียนรู้ทางดนตรีของเด็กอย่างมากมายทีเดียว

3.ไม่ควรมุ่งเน้นการประกวดในกิจกรรมดนตรีที่ไม่เหมาะสม เช่น ประกวดเต้นรำด้วยการใช้ท่าทางการเต้นหรือการแต่งตัวที่ไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมกับวัยที่บริสุทธิ์ของเด็กและไม่ควรกดดันและคาดหวังในผลแพ้ชนะ เพราะนั่นจะทำให้เด็กไม่มีความสุขในการทำกิจกรรมดนตรีอย่างสร้างสรรค์แต่อย่างใดเลย มีแต่จะทำให้เด็กเกิดความเครียดและบางคนอาจไม่อยากที่จะทำกิจกรรมดนตรีอีกต่อไปซึ่งจะเป็นการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็กได้

ในปัจจุบันมีงานวิจัยจำนวนมากศึกษาถึงประโยชน์ของดนตรีต่อพัฒนาการของเด็กในด้านต่าง ๆ ส่วนใหญ่พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยการให้ทำกิจกรรมทางดนตรีตั้งแต่ยังเล็ก อย่างการร้องเพลงหรือเล่นเครื่องดนตรี มีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการและทักษะความสามารถด้านต่าง ๆ ของเด็กได้มาก 

ตามปกติแล้ว เด็กจะมีพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และร่างกายไปตามลำดับ การส่งเสริมให้ลูกเติบโตและเรียนรู้อย่างสมวัยในแต่ละช่วงอายุ จึงมีผลต่อพัฒนาการและความสามารถของเด็ก และส่งผลมาจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ ซึ่งดนตรีนับเป็นอีกทางเลือกในการเสริมพัฒนาการเด็กที่พ่อแม่ยุคใหม่ให้ความสนใจอยู่ไม่น้อย

ดนตรีช่วยพัฒนาสติปัญญา อย่างไร

นอกจากดนตรีจะช่วยให้เด็กเพลิดเพลินแล้ว การที่เด็กได้ทำกิจกรรมทางดนตรีชื่นชอบ สนใจ หรือมีความถนัดอาจส่งผลดีต่อพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. ความสามารถในการรับรู้และความสามารถทางภาษา

พ่อแม่ที่อยากให้ลูกมีพัฒนาการด้านการรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือทักษะทางภาษาและการสื่อสารที่รวดเร็ว ลองมองการเล่นดนตรีไว้เป็นทางเลือกได้เลย การใช้เวลากับการเล่นดนตรีสามารถช่วยเสริมความสามารถในการรับรู้ด้านภาษาและส่งผลไปถึงทักษะการอ่านที่ดี เนื่องจากเสียงดนตรีและคำพูดนั้นมีระบบการทำงานร่วมกัน 

การเล่นดนตรีบ่อย ๆ จึงช่วยฝึกการถอดเสียงและรูปแบบคำต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น ยิ่งเด็กใช้เวลากับดนตรีนานเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้สมองส่วนภาษาศาสตร์พัฒนาไปด้วย โดยจะสามารถจำคำศัพท์และมีการรับรู้ด้านการอ่านที่ดี

2. ทักษะคณิตศาสตร์

ทักษะการคิดคำนวณเป็นประโยชน์ดี ๆ ที่ได้มาจากการเล่นดนตรี งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาทดลองแบ่งเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ออกเป็น 2 กลุ่ม พบว่าเด็กกลุ่มที่มีประสบการณ์เล่นดนตรี 2 ปีขึ้นไป สามารถทำคะแนนทดสอบคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้สูงกว่าเด็กกลุ่มที่ไม่เคยเล่นดนตรีมาก่อน 

นอกจากนี้ ในกลุ่มที่เคยเล่นดนตรีมาก่อน เด็กที่เล่นคีย์บอร์ดมีคะแนนการทดสอบสูงกว่าเด็กที่เล่นเปียโนและร้องเพลงมาก ดังนั้นหากลูกสนใจเล่นคีย์บอร์ดก็น่าสนับสนุนทีเดียว เพราะเป็นไปได้ว่าเขาจะมีทักษะการคิดคำนวณที่ยอดเยี่ยมตามมาด้วย

3. พัฒนาการทางสติปัญญา

ไม่มีพ่อแม่คนไหนไม่อยากเห็นลูกเติบโตเป็นเด็กฉลาด การเล่นดนตรีเป็นอีกทางที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ได้ มหาวิทยาลัยโทรอนโตแห่งแคนาดาทดลองแบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม โดย 2 กลุ่มแรกเรียนคีย์บอร์ดและร้องเพลง 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 7 เดือน 

ส่วน 2 กลุ่มหลังทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเล่นดนตรี ปรากฏว่าทั้งกลุ่มที่เรียนดนตรีและไม่เรียนดนตรีมีไอคิวสูงขึ้นตามพัฒนาการ แต่ข้อแตกต่างคือ เด็กกลุ่มที่เรียนดนตรีมีไอคิวสูงขึ้นถึง 7 จุด ขณะที่อีกกลุ่มที่ไม่ได้เรียนดนตรีนั้นมีไอคิวเพิ่มขึ้น 4.3 จุด 

ทั้งนี้ยังพบว่าการเล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะอย่างคีย์บอร์ด จะสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาได้ดีกว่ามาก เมื่อเทียบกับการเล่นเปียโนหรือการร้องเพลง

4. การพัฒนาด้านร่างกาย และสุขภาพที่ดี

ไม่เพียงการพัฒนาทางสติปัญญาและจิตใจเท่านั้น ประโยชน์ของดนตรีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ช่วยเพิ่มทักษะการประสานงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้ การทดสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในวัยก่อนเข้าเรียน การเล่นดนตรีมีประโยชน์พอ ๆ การเล่นพละด้วยซ้ำ 

นอกจากนี้งานวิจัยล่าสุดยังพบประโยชน์ของการร้องเพลงที่มีต่อระบบภูมิคุ้มกัน หัวใจ การหายใจและการทำงานของปอด ช่วยปรับท่าทางที่ดีขึ้นให้ร่างกาย ทำให้อารมณ์ดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่มความสุขสนุกสนาน ซึ่งแม้จะทดลองกับผู้ใหญ่แต่ประโยชน์เหล่านี้ก็น่าจะเกิดขึ้นกับเด็กได้เช่นกัน

5. การพัฒนาตนเองและทักษะด้านสังคม

แน่นอนว่าการเล่นดนตรีเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาตนเองและทักษะการเข้าสังคม ในด้านการพัฒนาตนเอง การเล่นดนตรีจะทำให้เด็กรู้สึกประสบความสำเร็จจากความมุ่งมั่นและอดทนที่เกิดจากการฝึกซ้อมจนทำได้ รวมถึงเป็นการสร้างวินัยให้ตัวเองไปในตัว เมื่อทำได้สำเร็จ จึงเกิดความนับถือและเชื่อมั่นในตัวเอง และยังส่งผลให้เติบโตเป็นคนที่กล้าแสดงออกอีกด้วย

ทักษะและการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเหล่านี้ยังนำไปสู่พัฒนาการทางสังคม ความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองจากการเล่นดนตรีส่งผลให้เด็กมีทักษะทางสังคมที่ดียิ่งขึ้น การเล่นดนตรีเป็นทีมหรือการเรียนรู้ร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ ช่วยสร้างมิตรภาพและความรู้สึกในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน

ประโยชน์ของดนตรีต่อพัฒนาการของเด็กนั้นมีไม่น้อยเลย การส่งเสริมให้ลูกเล่นดนตรีตั้งแต่ยังเล็กนับเป็นอีกตัวช่วยของพ่อแม่ในการเพิ่มพัฒนาการหลาย ๆ ด้านของลูกได้อย่างยอดเยี่ยม นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ลูกได้ผ่อนคลายจากเสียงดนตรีและพบปะเพื่อนใหม่ไปในตัว หากลูกของคุณมีความสนใจทางด้านดนตรีก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและควรสนับสนุนมากเลยทีเดียว

การดนตรีช่วยส่งเสริมสติปัญญามีวิธีการอย่างไร

4. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาของเด็ก ดนตรีเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทางด้านสติปัญญาของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะมีกิจกรรมดนตรีหลากหลายให้เด็กได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาษา โดยเด็กๆ สามารถเรียนรู้ในเรื่องของภาษาผ่านทางเนื้อร้องของแต่ละบทเพลง ในเรื่องของคณิตศาสตร์ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องของตัวเลขจาก ...

ดนตรีส่งผลต่อการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์อย่างไร

1) กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน และช่วยให้มีสมาธิจดจ่อได้ดียิ่งขึ้น 2) ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย และสะท้อนให้เห็นถึงระดับความสามารถด้วยเช่นกัน 3) เป็นเสมือนแบบฝึกหัดที่เข้าใจง่าย แม้จะไม่รู้ภาษาก็ตาม 4) เสริมสร้างการรับรู้ที่มีความหมาย และมีความสนุกสนานไปพร้อมกัน

ดนตรีช่วย เสริม สร้าง พัฒนาการ อย่างไร

ดนตรีมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาของเด็กได้ เนื่องจาก ช่วยวัยเด็กอายุ 1-3 ขวบจะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีพัฒนาการด้านการสื่อสาร เพราะฉะนั้นควรให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการฟัง รวมถึงเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ช่วงวัยของเด็กเมื่อเขาได้ยินเสียงดนตรีจะทำให้เด็กเกิดการซึมซับและเรียนรู้ในเรื่องของการจำแนกเสียง เรียนรู้คำศัพท์ภาษา ...

บทเพลงแบบใดบ้างที่ทำให้อารมณ์สดชื่น แจ่มใส *

หากต้องการอารมณ์ที่จรรโลงใจและดีต่อสุขภาพจิต ลองเลือกฟังดนตรีที่ให้ความสงบสุข เช่น ดนตรีของ Kitaro, Enja หรือบทเพลงทางศาสนา ส่วนเพลงบรรเลง (Light Music) ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่น สบาย หรือถ้าอยากปลุกความสามัคคีก็ลองเลือกฟังเพลงประเภทประสานเสียง เป็นต้น