พระพุทธศาสนาช่วยพัฒนาสังคมไทยอย่างไร

ศาสนาทุกศาสนาล้วนมีหลักคำสอนของศาสดาผู้ให้กำเนิดศาสนาที่คล้ายคลึงกันอย่างหนึ่งคือ “มุ่งให้ศาสนิกเป็นคนดี” แม้นิยามของคนดีจะมีความหมายที่แตกต่างกันบ้าง แต่ก็ไม่ทิ้งห่างจากหลักการที่ทำคนให้เป็นคนดีมากนัก เพราะคนดีที่เป็นสากลนั้นไม่ว่าจะดำรงตนอยู่ในโลกตะวันออกหรือโลกตะวันตกก็ล้วนแท้แต่มีคุณูปการต่อสังคมโลกทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำกล่าวที่ติดปากติดคำสืบต่อกันมาว่า “คนดีตกน้ำไม่ไหลและตกไฟไม่ไหม้” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ยกย่องและเชิดชูคุณค่าของคนดีให้มีขวัญและกำลังใจ

คนดีที่โลกลืมกับคนดีที่โลกจดจำจารึกแม้จะมีนัยที่แตกต่างกันในเชิงบริบทก็ตาม แต่ทว่าเมื่อพิจารณาคุณลักษณะของคนดีแล้ว ย่อมถือได้ว่าไม่แตกต่างกันแต่ประการใด เนื่องเพราะคนดีที่โลกลืมคือคนดีที่ไม่มุ่งหวังการยกย่องจากใคร เป็นการทำดีเพื่อความดี หาใช่ทำดีเพื่อชื่อเสียงและเกียรติยศไม่ คนดีที่โลกลืมมีคุณค่าเหมือนทองคำที่ถูกโคลนตมกลบ

1.คนดีศรีสังคม : คนดีตามแนวคิดและทฤษฎีของสังคมไทย คือคนที่ซื่อสัตย์สุจริต และกตัญญูกตเวที หรือทดแทนคุณของแผ่นดิน มีจิตใจที่เสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว เพื่ออุทิศตนต่อส่วนรวม หรือชาติบ้านเมือง

คนดีจึงกำหนดวัดที่พฤติกรรมหรือการกระทำสิ่งที่ดีงาม มิใช่กำหนดที่การร่ำรวยหรือมั่งคั่ง และหรือชาติตระกูล ดังคำกล่าวที่ว่า “อันคนดี มิใช่ดีเพราะมีทรัพย์ มิใช่นับเผ่าพันธุ์ชันษา อันคนดี ดีด้วยการงานนานา อีกวิชาศีลธรรมนำให้ดี” คนดีศรีสังคมจึงเป็นคนดีตามค่านิยม 11 ประการของรัฐบาล คสช.

2.คนดีวิถีพุทธ : ในทรรศนะทางพระพุทธศาสนานั้น คนดีคือคนที่มี กาย วาจา และใจสุจริต หรือประพฤติดีด้วยกาย วาจา และใจ 10 ประการ คือ

2.1 ประพฤติดีทางกาย 3 ประการ ได้แก่ 1) งดเว้นจากการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ 2) งดเว้นจากการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือยักยอกเบียดบัง และฉ้อโกง และ 3) งดเว้นจากการค้ามนุษย์หรือล่วงละเมิดทางเพศ

2.2 ประพฤติดีทางวาจา 4 ประการ ได้แก่ 1) งดเว้นจากการพูดเท็จ 2) งดเว้นจากการพูดส่อเสียด 3) งดเว้นจากการพูดหยาบคาย และ 4) งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

2.3 ประพฤติดีทางใจ 3 ประการ ได้แก่ 1) งดเว้นจากการเพ่งเล็งทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน 2) งดเว้นจากการอาฆาตพยาบาทในชีวิตผู้อื่น และ 3) งดเว้นจากการคิดนึกตรึกตรองในแนวทางที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม

ความดีทั้ง 10 ประการเหล่านี้ เป็นหนทางนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต บุคคลที่มีชีวิตที่ตกต่ำหรือทุกข์ระทม เพราะขาดหลักการในการพัฒนาตนตามแนวทางของคนดีวิถีพุทธ

3.จุดยืนของพุทธบริษัท : ชาวพุทธโดยทั่วไปเมื่อประสบกับสิ่งที่เป็นอนิฏฐารมณ์ คือสภาพการที่เลวร้ายในสังคม มักจะเกิดความท้อแท้และเสื่อมคลายในสิ่งที่ตนยึดมั่นหรือศรัทธา ดังกรณีที่ชาวพุทธในประเทศไทยรู้สึกสิ้นหวังกับวงการสงฆ์เกี่ยวกับคดีเงินทอนวัด ที่มีพระเถระผู้ใหญ่เข้าไปมีส่วนรู้เห็น และถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการจับกุม ซึ่งเป็นข่าวสะเทือนจิตใจในช่วงสัปดาห์ส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวิสาขบูชาโลกที่ผ่านมา

ชาวพุทธหรือพุทธศาสนิกชนที่เคยเคารพนับถือหรือเป็นศิษยานุศิษย์ของพระเถระผู้ใหญ่ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมและดำเนินคดีนั้น บางคนถึงกับร้องห่มร้องไห้ เพราะมั่นใจว่าท่านไม่ได้กระทำผิด แต่ถ้าเราฉุกคิดสักนิดหนึ่งก็จะเกิดสติระลึกถึงกฎแห่งความเป็นจริงในทางพระพุทธศาสนาข้อที่ว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ใครทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ย่อมเป็นทายาทคือเจ้าของแห่งกรรมนั้น พระเทวทัต เป็นโอรสของกษัตริย์ แต่ได้กระทำกรรมอันเป็นอกุศลต่อพระพุทธเจ้า ยังถูกแผ่นดินสูบ แม้จะเกิดจิตสำนึกผิดแล้วก็ตาม

พระพุทธเจ้ามิได้ทรงพยากรณ์ว่า ศาสนาของท่านจะมีอายุยืนนานถึงกี่ปี แต่ท่านทรงกล่าวเตือนว่า “ขึ้นอยู่กับพุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ (พระผู้ชาย) ภิกษุณี (พระผู้หญิง) อุบาสก (ผู้นับถือที่เป็นผู้ชาย) และอุบาสิกา (ผู้นับถือที่เป็นผู้หญิง) ได้ประพฤติและปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม มากน้อยเพียงใด” ซึ่งหมายความว่าศาสนาพุทธจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับพุทธบริษัททั้ง 4 เป็นประการสำคัญ

หากเมื่อใดพุทธบริษัททั้ง 4 ย่อหย่อนและอ่อนแอต่อพระธรรมวินัย เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาก็เสื่อมสูญจากโลกนี้

4.ขอปรบมือดังๆ ให้กับรัฐบาล คสช. : เมื่อรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คลช.) มีนโยบายปฏิรูปวงการสงฆ์เพื่อธำรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนา ด้วยการชำระล้างมลทินที่เปรอะเปื้อนศาสนจักรมาเป็นเวลาช้านาน จนสะสมและหมักหมมเป็นดินพอกหางหมูจนยากที่จะคลี่คลายด้วยวิธีการตามปกติโดยทั่วไปได้ เพราะผู้นำสงฆ์ในระดับสูงรู้สึกเกรงใจพวกเดียวกัน และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีพฤติกรรมที่แอบแฝงในเชิงจิตวิทยาสังคม จึงปล่อยปละละเลยกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ศาสนสถานที่เคยมีความศักดิ์สิทธิ์จึงกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม และเต็มไปด้วยปัญหาสารพัด ทั้งยาเสพติด มลพิษ และคนจรจัดพลัดถิ่นนานัปการ การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบันมีโครงสร้างอำนาจที่เทอะทะและขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล พระผู้ใหญ่ส่วนใหญ่หากไม่มีกิจนิมนต์ไม่สู้จะสนใจในการตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงภายใต้การกำกับดูแลแต่ประการใด จึงเกิดช่องว่างให้ข้าราชการบางคนทำมาหากินกับวัดจนมีฐานะร่ำรวยอย่างผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นในแทบทุกวัดที่มีรายได้และผลประโยชน์จากที่ธรณีสงฆ์ และกัลปนาสงฆ์

เมื่อรัฐบาล คสช.ได้ทำคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งใหญ่ไพศาลเช่นนี้แล้ว ก็ควรจะเดินหน้าต่อด้วยการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารกิจการพระพุทธศาสนา ใน 2 ประเด็นหลัก คือ

4.1 ปรับปรุงกฎหมายคณะสงฆ์ หรือ พ.ร.บ.การปกครองคณะสงฆ์ ให้เอื้อต่อการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ เพราะมีรูปแบบและเนื้อหาที่ล้าหลังมาก ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการองค์กรให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ตามเจตนารมณ์ของพระธรรมวินัย มหาเถรสมาคมส่วนใหญ่เป็นพระเถระที่อาวุโสและชราภาพ ซึ่งทางฝ่ายอาณาจักรถือว่าเป็นวัยเกษียณอายุการทำงาน แต่ในฝ่ายศาสนจักรเพิ่งจะเริ่มต้น เพราะกว่าจะได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ชั้นเจ้าคณะรอง หรือรองสมเด็จ อายุอานามก็มากแล้ว ส่วนตำแหน่งสมเด็จนั้นต้องประคองขึ้นรถและลงรถ เพราะมีวัยล่วง 80 ปีเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้จะให้พระคุณท่านบริหารกิจการคณะสงฆ์ในฐานะเจ้าคณะใหญ่ได้อย่างไร

4.2 ยุบรวมสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกับกระทรวงวัฒนธรรม : เมื่อรัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย เพื่อให้กิจการอุดมศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก็ควรจะจัดตั้งกระทรวงศาสนาและวัฒนธรรมด้วย เพื่อให้กิจการพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์ระหว่างกันมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเวลาพระสงฆ์ติดต่อเรื่องสมณศักดิ์ ต้องไปที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่ถ้าติดต่อขอพระราชทานเพลิง ต้องไปที่กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น และที่สำคัญสามารถแก้ปัญหาเงินทอนวัดได้อย่างยั่งยืน

4.3 ภารกิจของกระทรวงศาสนาและวัฒนธรรม : หากความฝันเป็นจริง กระทรวงศาสนาและวัฒนธรรมจะประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

4.3.1 สำนักงานมหาเถรสมาคม
4.3.2 สำนักงานส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา
4.3.3 สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ
4.3.4 กรมพระปริยัติธรรม
4.3.5 กรมสมณศักดิ์และศาสนพิธี
4.3.6 กรมศาสนูปถัมภ์
4.3.7 กรมส่งเสริมศีลธรรมและจริยธรรม
4.3.8 กรมอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม
4.3.9 กรมศาสนสัมพันธ์
4.3.10 กรมกิจการพระธรรมทูต
4.3.11 กรมพัฒนาศาสนสถานและบูรณปฏิสังขรณ์

การบูรณาการหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันให้มาอยู่ในกระทรวงเดียวกัน ทำให้การบริหารจัดการเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้เคยดำเนินการจัดตั้งกระทรวงศาสนาและวัฒนธรรมมาแล้ว แต่มีพระและฆราวาสกลุ่มหนึ่งเกิดความโลภ ต้องการกระทรวงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ท่านนายกฯทักษิณจึงประชดด้วยการตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแทน

ซึ่งท่านรองนายกฯวิษณุ เครืองาม รู้ดีที่สุด

สรุป พระพุทธศาสนาจะเกิดความมั่นคงและยั่งยืนต่อไปได้ก็ด้วยพุทธศาสนิกชนในยุคปัจจุบันช่วยกันจรรโลงรักษา และพัฒนาต่อยอดด้วยประพฤติและปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามกำลังสติปัญญา ซึ่งอย่างน้อยที่สุดต้องมีศีล 5 เป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตที่เป็นคฤหัสถ์ ส่วนบรรพชิตต้องมุ่งมั่นในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา หากปฏิบัติได้ดังนี้ พระพุทธศาสนาก็จะมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อสังคมไทยซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ เมื่อพระพุทธศาสนามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ศาสนาอื่นๆ ก็จะพลอยได้รับอานิสงส์ และสามารถดำรงอยู่เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติได้เช่นกัน การปฏิรูปองค์กรสงฆ์เพื่อจรรโลงรักษาพระพุทธศาสนา ด้วยการจัดระบบระเบียบ ปรับแถวปรับแนวให้เกิดความคล่องตัว แม้จะต้องกระทบกระเทือนหรือเจ็บปวดต่อภาพลักษณ์แห่งความเชื่อมั่นบ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงความเป็นความตายของพระพุทธศาสนา ถือว่าคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะสอดคล้องกับหลักพุทธธรรมข้อที่ว่า “สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และสละชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้อง”

จึงขอให้กำลังใจในความกล้าหาญของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มา ณ โอกาสนี้

รศ.ดร.กิตติทัศน์ ผกาทอง

พระพุทธศาสนามีส่วนช่วยในการพัฒนาชาติไทยได้อย่างไร *

๑. พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทย เพราะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตของ พุทธศาสนิกชน นอกจากนี้การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปฏิบัติยังช่วยให้ประเทศชาติพัฒนา บ้านเมืองสงบสุขร่มเย็น ๒. พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจที่เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชน โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก การศึกษาพุทธประวัติ จะทำให้ได้ ...

พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมไทยอย่างไรบ้าง

อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์เชื่อว่า พระพุทธศาสนามีความสำคัญในการพัฒนาชาติเป็น ปัจจัยทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านสติปัญญาและความเจริญในทางวัตถุโดยพระพุทธ ศาสนามีบทบาทในการพัฒนาชาติคือ พระพุทธศาสนาต้องช่วยสร้างสังคมที่มีสมรรถภาพ โดย บุคคลในสังคมต้องมีอิสรภาพและเสรีภาพ สังคมนั้นต้องมีความยุติธรรมบนฐานความเมตตา กรุณาของ ...

พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างไร

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงหลักพุทธธรรมทั้งสองข้อดังนี้ ๑. พุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยหลักสนอง หลักการสนอง หมายถึง การสอนให้ตั้งเนื้อตั้งตัวให้ได้ในทางเศรษฐกิจ ให้พยายามยกฐานะของตน ให้สูงขึ้นด้วยความขยันหมั่นเพียรและวิธีการอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุขให้เกิดมีความขึ้นให้ได้สนอง ตามความต้องการของมนุษย์

พระพุทธศาสนามีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนอย่างไร แนวทางการนำไปปฏิบัติ

แนวทางการพัฒนาชุมชนของนักเรียนตามหลัก ของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ คนเราหากทาตามหลักธรรมคาสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าเว้นจากการทาความชั่ว รู้จัก ควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดีไม่เบียดเบียนตน และคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ จะทาให้อยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข