ลาออกจากประกันสังคมต้องทำอย่างไร

ด้วยสถานการณ์ของการประกาศปิดสถานที่ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อพนักงานและลูกจ้าง โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้า และสถานที่ที่ถูกสั่งปิดหรือจำกัดเวลาเปิดทำการ และทำให้ประชาชนจำนวนมากตกอยู่ในสถานะ “ว่างงาน” แต่รู้หรือเปล่าว่า คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือผู้ประกันตนเอง ก็มีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออกหรือว่างงานตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วยเช่นกัน

ลาออกจากประกันสังคมต้องทำอย่างไร

"เงื่อนไข" ของผู้ที่จะได้สิทธิประกันสังคมหรือเงินชดเชย ประกันสังคมในกรณีลาออก หรือว่างงานเพราะได้รับผลกระทบจาก " "โควิด-19"

1. ว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย

  • ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
  • หน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน

2. ว่างงาน จากการลาออกหรือเลิกจ้าง

  • ว่างงาน จากการลาออก จ่าย 45% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง จ่าย 70% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

3. ลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตน

  • ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน 4% เป็นระยะเวลา 6 เดือน

และยังมีมาตรการขยายเวลาส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. - พ.ค. 63 ออกไปอีก 3 เดือน

  • งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน เม.ย. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ส.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน พ.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ย. 63

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมและผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

ก่อนการขึ้นทะเบียนเพื่อเบิกสิทธิประกันสังคมนั้น ต้องตรวจสอบการจ่ายเงินสมทบก่อน ซึ่งเงื่อนไขคือจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน เช่น หากว่างงานในเดือนเมษายน 2563 ต้องนับระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานคือ เดือนธันวาคม 2561 ถึง เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไปในช่วงเดือนธันวาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 จากนั้นสามารถไปขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านภายใน 30 วัน เพื่อแสดงสิทธิ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพราะหากไปช้ากว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงานนั่นเอง

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยความที่ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดโควิด-19 คุณสามารถขึ้นทะเบียนแบบออนไลน์ง่าย ๆ เพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เลย

ทั้งนี้ การพิจารณาการได้สิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะเป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิประกันสังคมให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง

ช่องทางในการยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนเพื่อรับเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออกหรือว่างงานมีดังนี้

และสามารถสอบถามข้อมูลสิทธิประกันสังคมได้ที่ https://www.sso.go.th หรือโทร. 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา:
bangkokbiznews.com

          คนทำงานที่ออกจากงานแล้ว จะเกิดข้อสงสัยว่าต้องทำอย่างไรกับสิทธิประกันสังคมที่ตนเองมี ต้องส่งเงินเข้ากองทุนต่อหรือไม่ แล้วเราจะได้ใช้สิทธิอะไรบ้างเมื่อลาออกจากงาน ต้องยอมรับว่าคนทำงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบประกันสังคม เพราะอยู่ในสถานะลูกจ้าง ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ๆ แต่มีน้อยคนที่จะรู้และเข้าใจอย่างจริงจังว่า เราสามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้างจากประกันสังคม เมื่อเราลาออกจากงานแล้ว

          คนทำงานที่ลาออกจากงานแล้ว ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่อไป เพียงแต่ต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนในมาตรา 33 (คนทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป) มาเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) โดยต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากลาออกจากงาน

          ผู้ประกันตนต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อรักษาสิทธิของการเป็นผู้ประกันตนให้คงอยู่ และทำให้เราสามารถใช้สิทธิในการรักษาอยู่ต่อไป แม้ว่าเราจะลาออกจากงานที่ทำอยู่ก็ตาม ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงไม่ต้องกังวลใจว่าจะต้องทิ้งสิทธิประกันสังคมของตนเองไป เพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอนให้เรียบร้อย แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำงานอยู่ในบริษัทใดแล้วก็ตาม เราก็จะยังคงรักษาสิทธิที่เรามีไว้ได้ โดยอยู่ในฐานะของผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) แทน

ประกันสังคมมาตรา 39 มีขั้นตอนการสมัครอย่างไร

          คนทำงานที่เพิ่งลาออกจากงาน และต้องการสมัครใช้สิทธิประกันสังคมต่อ ให้ผู้ประกันตนสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  • คุณสมบัติ – ผู้สมัครต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน โดยนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ
  • หลักฐานการสมัคร
    • แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
    • บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา
  • ยื่นใบสมัคร – ผู้ประกันตนต้องยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเอง โดยสามารถยื่นใบสมัครได้ที่
    • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง (กทม) และสำนักงานประกันสังคมจังหวัด
    • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา (ภูมิภาค)

เงื่อนไขการส่งเงินสมทบกองทุน

          ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนต่อสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาท ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองต่อเนื่องจาการประกันตนในมาตรา 33 โดยจะได้รับความคุ้มครองใน 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39

ลาออกจากประกันสังคมต้องทำอย่างไร

          ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวที่สำนักงานประกันสังคมต้องรู้ เช่น การเปลี่ยนที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล ควรแจ้งการเปลี่ยงแปลงล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน พร้อมแนบสำเนาหลักฐานด้วย

          ส่วนในกรณีที่ผู้ประกันตนต้องการลาออก หรือกลับเข้าทำงาน และมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็นลายลักษณ์อักษรทันที แต่ถ้าได้ทำงานในสถานประกอบการใหม่ ให้นายจ้างใหม่แจ้งขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน โดยไม่ต้องแจ้งลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 แต่อย่างใด

ภาพประกอบโดย imagerymajestic เว็บไซต์ freedigitalphotos.net

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

ลาออกจากประกันสังคมต้องทำอย่างไร

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สิทธิประกันสังคมสำหรับคนที่ออกจากงาน

สิทธิประกันสังคมน่ารู้ เงื่อนเวลาที่ไม่ควรพลาด