พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกอย่างไรบ้าง

      พุทธจริยา  คือ พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า  หมายถึงการบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ โลกัตถจริยา  ญาตัตถจริยา  และพุทธัตถจริยา

      ญาตัตถจริยา  พระพุทธองค์แม้จะทรงอยู่ในฐานะที่เป็นคนของโลก  แต่พระองค์ก็ไม่ทรงละเลยภารกิจในฐานะที่มีพระญาติ  เช่น การเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์  ได้ทรงแนะนำพระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีได้เข้าใจเหตุผล  สามรถปรองดองกันได้  เป็นต้น

       พุทธัตถจริยา  ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า  หมายถึง  การทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า  เช่น  ทรงวางกฎระเบียบสำหรับควบคุมความประพฤติของผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา  ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตน  จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนาสืบต่อกันมาได้

เริ่มตั้งแต่กิจวัตรในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระสรีระ และทรงประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติบนพุทธอาสน์จนถึงเวลาภิกขาจาร ครั้นถึงเวลาภิกขาจาร ทรงครองจีวร ถือบาตร บางครั้งเสด็จพระองค์เดียว http://winne.ws/n19492

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกอย่างไรบ้าง

1.1 แสน ผู้เข้าชม

Tags :

ผู้รู้ได้เรียบเรียงพุทธกิจ ๕ ประการของพระพุทธเจ้าไว้ว่า

        “ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ  ในเวลาเช้าเสด็จ บิณฑบาต

        สายณฺเห ธมฺมเทสนํ  เวลาเย็นทรงแสดงพระธรรมเทศนา

        ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ  เวลาย่ำค่ำทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุ

         อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ   เที่ยงคืนทรงพยากรณ์ปัญหาแก่เทวดา

         ปจฺจูเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ เวลาใกล้รุ่งทรงตรวจดูหมู่สัตว์ผู้ที่พระองค์จะโปรดได้”

      ในวันหนึ่ง ๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จะทรงบำเพ็ญกรณียกิจอยู่ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นกิจวัตรหลัก พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญประโยชน์ทั้งกลางวัน และกลางคืน เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของเหล่าเวไนยสัตว์ เพราะอัตตหิตประโยชน์ คือ ประโยชน์ของพระองค์ เต็มเปี่ยมบริบูรณ์แล้ว ตั้งแต่ประทับนั่งอยู่ใต้ควงไม้ พระศรีมหาโพธิ์ ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นั่นคืองานขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปจากใจ เหลือเพียงประโยชน์ของชาวโลก คือ งานสร้างสันติสุขให้บังเกิดขึ้นในโลก ซึ่งเป็นพุทธกิจของพระพุทธเจ้า ที่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้หลุดพ้นจาก ทุกข์ ไปสู่อายตนนิพพาน          

          เริ่มตั้งแต่กิจวัตรในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระสรีระ และทรงประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติบนพุทธอาสน์จนถึงเวลาภิกขาจาร  ครั้นถึงเวลาภิกขาจาร ทรงครองจีวร ถือบาตร บางครั้งเสด็จพระองค์เดียว บางครั้งแวดล้อมไปด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือพระนคร บางครั้งเสด็จเข้าไปตามปกติ บางครั้งก็เสด็จเข้าไปด้วยปาฏิหาริย์นานาประการ เพื่อเพิ่มพูนความศรัทธาเลื่อมใสแก่พุทธบริษัทผู้มีบุญ

        ในช่วงคล้อยบ่ายไปแล้ว มหาชนพากันนุ่งห่มเรียบร้อย ถือของหอมและดอกไม้ มาประชุมกันในพระวิหารโดยพร้อมเพรียง  เมื่อถึงเวลาพระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรม ที่ควรแก่กาลสมัยท่ามกลางธรรมสภา ซึ่งการเทศนาของพระพุทธองค์ในแต่ละครั้งจะมีผู้บรรลุธรรมกันมากมาย

        ในช่วงค่ำภิกษุสงฆ์พากันมาเข้าเฝ้าเพื่อฟังธรรม ทูลถามปัญหา หรือทูลขอกรรมฐาน ตลอดช่วงเย็นนั้นพระพุทธองค์จะให้โอกาสกับพระภิกษุสงฆ์ซักถามปัญหาได้เต็มที่จนถึงปฐมยาม ซึ่งอยู่ในช่วงราว ๔ ทุ่ม

      เมื่อสิ้นสุดกิจในปฐมยาม หลังจากภิกษุสงฆ์ถวายบังคมลาพระพุทธองค์แล้ว เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุ จะพากันมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทูลถามปัญหาที่เตรียมมา เทวดาเขารักในการฟังธรรมมากทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเมตตาตอบปัญหาแก่เทวดาจนบรรลุธรรมกันมากมายนับไม่ถ้วน 

       ส่วนปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งเวลาออกเป็น ๓ ส่วน คือ ทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสด็จจงกรม เพื่อเปลื้องจากความเมื่อยล้าที่ทรงนั่งแสดงธรรม และตอบปัญหาเทวดามาเป็นเวลาหลายชั่วโมง 

        พระองค์จะเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ 

ทรงนอนตะแคงขวา พระองค์บรรทมโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ต้องเสด็จลุกขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่สามของปัจฉิมยาม  ครั้นเสด็จลุกขึ้นประทับนั่งแล้ว ทรงใช้พุทธจักษุแผ่ข่ายพระญาณออกไปตลอดหมื่นโลกธาตุ เพื่อตรวจดูสรรพสัตว์ผู้สร้างสมบุญญาธิการไว้อย่างดีแล้ว และมีบุญบารมีมากพอที่จะได้บรรลุธรรมาภิสมัย แม้อยู่ไกลเพียงไร พระองค์ก็จะเสด็จไปโปรดให้ได้บรรลุธรรม 

ชมครูไอโกะน่ารัก เล่าเรื่อง พุทธกิจ 5 ประการ

นี่เป็นพุทธกิจ ๕ ประการ โดยย่อ ๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา

       เราจะเห็นว่า ตลอด ๔๕ พรรษา แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้านั้น เป็นไปเพื่อสันติสุขของมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง ทำให้สรรพสัตว์ได้หลุดพ้นจากความมืดคือวิชชา ได้ดื่มรสอมตธรรม หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฏกันมากมายนับไม่ถ้วน ทำให้ พระพุทธศาสนา

        ปักหลักมั่นเป็นหลักชัยของชาวโลกเรื่อยมา กระทั่งถึง ๒,๕๐๐ กว่าปี เพราะพระองค์ทรงรู้จักบริหารเวลา และใช้เวลาที่ผ่านไปให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงสมควรที่พวกเราพุทธบริษัททั้งหลาย จะเทิดทูนบูชากราบไหว้ และหาโอกาสปฏิบัติธรรมเป็นปฏิบัติบูชา และถวายอามิสบูชาเป็นการตอบแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ให้ได้ทุก ๆ วัน

ที่มา: https://www.dmc.tv/pages//พุทธกิจของพระพุทธเจ้า.html

ขอบคุณวิดิโอจาก : https://youtu.be/wYErCMkebGk

หลักธรรมใดที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก

พุทธัตถจริยา (พุทธ = พระพุทธเจ้า อัตถะ = ประโยชน์ จริยา = การบำเพ็ญ) แปลว่า การบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะเป็น พระพุทธเจ้า

นักเรียนคิดว่าพระพุทธเจ้าทรงทำประโยชน์แก่โลกอย่างไรบ้าง

พระพุทธเจ้าในฐานะพระศาสดา ทรงมีบทบาทและหน้าที่สำคัญที่ทรงปฏิบัติ เพื่อ อนุเคราะห์แก่โลกทั้ง 2 ประการ คือ อามิสทาน และธรรมทาน การแสดงธรรมถือเป็นการ อนุเคราะห์ที่ดีที่สุด และเป็นเลิศกว่าการอนุเคราะห์ด้วยวัตถุ(องฺ.เอก. 33/394/478) (มหามกุฎ ราชวิทยาลัย, 2525) จากพุทธพจน์ของพระองค์ทำให้เห็นว่า การแสดงธรรมเป็นหัวใจสำคัญต่อ ...

พุทธกิจด้านโลกัตถจริยาของพระพุทธเจ้าเป็นการบําเพ็ญประโยชน์แก่ใคร

3. โลกัตถจริยา หมายถึง การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้าแก่ชาวโลกภาย หลังจากตรัสรู้และเสวยวิมุตติสุข (ความสุขอันจากความหลุดพ้นจากกิเลสแล้ว) ทรงบำเพ็ญ ประโยชน์แก่โลก ในฐานะที่พระองค์เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมโลก ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรง อาศัยพุทธกิจประจำวัน 5 ประการคือ

ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติเรียกว่าอะไร

ญาตัตถจริยา แปลว่า การประพฤติประโยชน์ต่อญาติ, การบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ญาติ ญาตัตถจริยา เป็นคำเรียกพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงปฏิบัติประการหนึ่งใน ๓ ประการ