พันธุวิศวกรรมสามารถนำมาประยุกต์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างไร

1. พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)

พันธุวิศวกรรมสามารถนำมาประยุกต์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างไร

พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)

พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) หมายถึง หมายถึง กระบวนการทางชีววิทยาที่เกี่ยข้องกับการตัดต่อยีนจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเข้ากับยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อให้ได้ยีนที่มีสมบัติตามที่ต้องการ และขยายยีนให้มีปริมาณมากพอที่จะนำไปทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น และได้ปริมาณการผลิตสูงขึ้น ตามต้องการ สิ่งมีชีวิตที่ได้จากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรมเรียกว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMOs(genetically modified organisms)

ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ

  1. ด้านเกษตร
    การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์และพืชโดยใช้เทคนิคต่างๆ
    1. การคัดเลือกพันธุ์ผสม
    2. การโคลนนิ่ง
    3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
    4. การใช้พันธุวิศวกรรม
    5. การฝากถ่ายตัวอ่อน

    การถ่ายฝากตัวอ่อน (Embryo transfer)

    พันธุวิศวกรรมสามารถนำมาประยุกต์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างไร

    การฝากถ่ายตัวอ่อน

    ประโยชน์การถ่ายฝากตัวอ่อน (Embryo Transfer)

    • ขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก
    • ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
    • ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขยายพันธุ์
    • ช่วยอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่างๆที่ใกล้สูญพันธุ์
  2. ด้านอุตสาหกรรม =  ผลผลิตจากด้านเกษตรกรรม, การใช้จุลินทรีย์ และการปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์
  3. ด้านอาหาร = เป็นผลพลอยได้จากด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
  4. ด้านการแพทย์ = การผลิตฮอร์โมน การผลิตวัคซีน วิตามินและยาปฏิชีวนะที่มีคุณภาพดี, ปลอดภัยและมีปริมาณที่มากพอสำหรับผู้ป่วย, การตรวจสอบสภาวะพันธุกรรมของโรคต่างๆ จากการผลิตชิ้นส่วนของยีน, การแก้ไขภาวะผิดปกติและการรักษาโรคต่างๆ ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม, จากการทำาแผนที่ยีน การรักษาด้วยยีนหรือยีนบกาบำบัด

อ้างอิง

  • www.ds.ru.ac.th/download/sat52/scim4/24-06-52-2.pdf
  • th.wikipedia.org/wiki/พันธุวิศวกรรม

เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมพืช

ปัจจุบัน “เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมพืช” เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีลักษณะตามต้องการ จากสมัยก่อนที่ใช้การผสมพันธุ์พืชแบบดั้งเดิม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานหลายสิบปี กว่าจะได้พันธุ์ที่ต้องการ แต่หลังจากมนุษย์ค้นพบและศึกษาจนเข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และยังค้นพบวิธีการถ่ายยีนเข้าสู่พืชได้ จึงสามารถสร้าง “พืชดัดแปลงพันธุกรรม” หรือ พืชจีเอ็ม (GM plant – Genetically Modified Plant) ได้สำเร็จ การปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีลักษณะตามที่ต้องการจึงทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ“พืชดัดแปลงพันธุกรรม” ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถจำหน่ายในเชิงการค้าครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ได้แก่ มะเขือเทศสุกช้า ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า มะเขือเทศเฟลเวอร์ เซเวอร์ จวบจนปัจจุบัน เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมเพื่อดัดแปลงพันธุกรรมของพืช มุ่งเน้นไปลักษณะพิเศษต่างๆ ของพืชที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการปรับปรุงพันธุ์แบบเดิมๆ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ คือพันธุวิศวกรรมธัญพืชและพืชดอกยุค แรกของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมพืช เกิดขึ้นในบริษัทเอกชนเป็นหลัก โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพ และพัฒนาสายพันธุ์ให้มีลักษณะใหม่ๆ เช่น การต้านทานแมลงศัตรูพืช การต้านทานไวรัสศัตรูพืช หรือการทนทานต่อยาฆ่าแมลงใน ระยะ 10 ปีที่ผ่านมา งานด้านพันธุวิศวกรรมพืชมุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวญี่ปุ่น ให้เป็นข้าวทองหรือโกลเดนไรซ์ ซึ่งมีสารโปรวิตามินเอสูง โดยใช้ยีนจากดอกแดฟโฟดิลและแบคทีเรีย หลังจากนั้นมีการทำโกลเดนไรซ์ 2  ในข้าวสายพันธุ์อินดิคา โดยใช้ยีนจากข้าวโพด  ปัจจุบัน มีการทำข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ กล้วย มันสำปะหลัง และมันเทศที่มีวิตามินเอ วิตามินอีและแร่เหล็กมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนธาตุอาหารของประชากรในกลุ่มประเทศโลกที่สามใ ส่วนของไม้ดอกไม้ประดับซึ่งมีมูลค่าสูง มีการศึกษาวิถีและกลไกของการเปลี่ยนสีดอกในพืชหลายชนิด พืชต้นแบบที่ใช้ในการศึกษา คือ พิทูเนีย และสแนปดรากอน โดยมีบริษัทฟลอริยีน และบริษัท ซันทอรีของญี่ปุ่นเป็นผู้นำในการวิจัยด้านนี้ และประสบความสำเร็จในการทำคาร์เนชั่นและดอกกุหลาบให้เป็นสีน้ำเงิน

พันธุวิศวกรรมพืชพลังงานพันธุ วิศวกรรมเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชที่ผลิตสารให้พลังงาน เช่น ไบโอเอทานอล ไบโอดีเซล ไบโอก๊าซ ก๊าซไฮโดรเจน และไบโอโซลาเซลล์  เป็นความหวังใหม่ของการผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งในระยหลัง ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก โดยมีการพัฒนา 2 แนวทาง ได้แก่

  1. การผลิตพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบให้ได้จำนวนมากขึ้น โดยพัฒนาพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสง ลดอัตราการใช้ปุ๋ยและน้ำ และทนต่อสภาพดินต่างๆ เพื่อให้ปลูกได้หลายที่
  2. การปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีแป้งหรือน้ำตาลที่หมักได้ง่ายขึ้น เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดให้มีแป้งที่หมักเป็นแอลกอฮอล์ได้ง่าย  ในขณะเดียวกันสามารถใช้พันธุวิศวกรรมปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มี ประสิทธิภาพในการหมักน้ำตาลจากพืชให้เป็นแอลกอฮอล์ได้ดีขึ้น

สำหรับ ประเทศไทย ซึ่งมีพืชพลังงานอยู่หลายชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย และสบู่ดำ การใช้พันธุวิศวกรรมเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืชเหล่านี้จึงทำได้หลายแนวทาง เช่น กระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง ทนสภาพดินเค็ม หรือ ดินที่เป็นกรด-ด่างได้ดี เป็นต้น

พันธุวิศวกรรมพืชเวชกรรม

พันธุ วิศวกรรมเพื่อผลิตพืชเวชกรรมกำลังมาแรง และมีแนวโน้มจะได้รับการยอมรับมากกว่าพืชอาหาร  ที่ผ่านมามีงานวิจัยในข้าวโพด ยาสูบ ข้าว และคาโนลา แต่เนื่องจากพืชเหล่านี้เป็นพืชอาหารด้วยซึ่งอาจมีข้อกังวลเกี่ยวกับการถ่าย ทอดยีนไปยังสายพันธุ์พืชที่ใช้เป็นอาหาร จึงมีการเสนอให้วิจัยในพืชอื่น เช่น อัลฟัลฟา แซฟฟลาเวอร์ ดั๊กหวีด และสาหร่าย การผลิตสารสำคัญทางการแพทย์ในพืชดัดแปลงพันธุ กรรมมีข้อได้เปรียบหลายประการที่ทำให้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น ราคาถูกกว่าการผลิตในยีสต์หรือแบคทีเรีย ราว 10–100 เท่า ขยายขนาดได้ง่าย ปลอดภัย ง่ายต่อการสกัดและการนำสารมาใช้ใน ปี พ.ศ. 2548 มีการผลิตยาสูบที่มีตัวยาสำหรับรักษาโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ เช่น การผลิตยีนภูมิคุ้มกันในน้ำนมคนให้อยู่ในน้ำนมข้าว การใช้ยีนจากหญิงที่เป็น หมัน ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายสเปิร์มมาผลิตในข้าวโพด เพื่อทำยาคุมกำเนิดใส่ในถุงยางอนามัย หรือการพัฒนาให้ข้าวโพดผลิตวัคซีนไวรัสตับอักเสบ

พันธุวิศวกรรมพืชอุตสาหกรรมสำหรับ งานพันธุวิศวกรรมในอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จีนได้พยายามทำฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมให้มีใยสีฟ้าสำหรับ ทำผ้ายีนส์ ซึ่งจะช่วยลดมลพิษจากกระบวนการย้อมสียีนส์     จนถึงปัจจุบันสามารถทำฝ้ายใยสีเขียวได้แล้ว  นอกจากนี้ยังศึกษากลไกการสร้างใยฝ้าย และการควบคุมยีนที่ผลิตโพลีเมอร์บางอย่างเพื่อทำให้เสื้อปราศจากรอยย่น ผสมเข้าไปเพื่อทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งในปี พ.ศ.2547 มีการศึกษาวิจัยในยาสูบให้สามารถสร้างโปรตีนของใยแมงมุมซึ่งมีความเหนียว เพื่อนำไปทำเสื้อกันกระสุนใน อุตสาหกรรมพลาสติกมีรายงานว่าสามารถทำให้ต้นยาสูบและต้นอะราบิดอบซิส สร้างเม็ดพลาสติกในเนื้อเยื่อของพืชได้ และในอเมริกามีการวิจัยดังกล่าวใน ข้าวโพดและคาโนลา แต่ปัญหาคือพืชบางชนิดไม่สามารถทนต่อการมีเม็ดพลาสติกภายในเซลล์ ทำให้พืชชะลอการเจริญเติบโต เช่น ยาสูบ ฝ้าย และป่าน แต่พบว่า ซูการ์บีท ข้าวโพด และคาโนลา ทนต่อการมีเม็ดพลาสติกภายในเซลล์ได้ ดังนั้นการเลือกชนิดของพืชจึงมีความสำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมการทำกระดาษ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อยู่ที่การ  กำจัดลิกนิน นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามตัดต่อยีนเพื่อลดปริมาณลิกนิน เช่น การทำยูคาลิปตัสที่มี    ลิกนินน้อยลงพันธุวิศวกรรมพืชเพื่อสิ่งแวดล้อมนอก จากการผลิตพืชต้านทางแมลงศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีแล้ว  ยังมีการวิจัยเพื่อผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองที่มีฟอสฟอรัสสูงและไฟเททต่ำ เพื่อใช้เป็นอาหารของสุกร เป็ด และไก่ ช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องซื้อฟอสฟอรัสมาเป็นอาหารเสริม และลดปริมาณไฟเททที่มักถูกปล่อยลงแหล่งน้ำพร้อมกับมูลสัตว์ ก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ  นอกจากนี้ยังมีการสร้างพืชกำจัดสารพิษ ที่สามารถดูดสารพิษมากักเก็บไว้ หรือเปลี่ยนสารพิษให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็นพิษหรือเป็นพิษน้อยก่อนที่ปล่อยสู่ สิ่งแวดล้อม เช่น เหมืองตะกั่วในรัฐโคโลราโด มีการใช้ต้นอินเดียนมัสตาร์ดที่ได้รับการถ่ายยีนจากวัชพืช เพื่อให้เจริญเติบโตได้ดีและดูดซับสารตะกั่วได้มากขึ้น และยังมีการสร้างต้นยาสูบที่สามารถดูดสารทีเอ็นทีและอาร์ดีเอ็กซ์ ซึ่งเป็นวัตถุระเบิดได้แนว โน้มการพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม อาจแบ่งได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ช่วงปี พ.ศ.2533–2543 ที่เน้นการพัฒนาลักษณะทางการเกษตร เช่น ต้านทานโรค แมลง และสารกำจัดศัตรูพืช รวมถึงความทนทานต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น ทนเค็ม ทนแล้ง และช่วงปี พ.ศ.2543–2563 ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้มีลักษณะที่ต้องการหลายประการในพืชชนิดเดียว เช่น ต้านทานทั้งแมลงและสารกำจัดวัชพืช รวมไปถึงเรื่องเวชภัณฑ์ปัจจุบัน ทั่วโลกมีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ.2546–2549 เพิ่มขึ้นเกือบ 20% จากการรวบรวมข้อมูลจาก 63 ประเทศ พบว่ามีงานวิจัยด้านพันธุวิศวกรรมในพืชอาหารและพืชเส้นใย ทั้งที่อยู่ระหว่างการทดลองและมีจำหน่ายแล้วทั้งสิ้น 57 ชนิด ประเทศที่เป็นผู้นำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้แก่ อเมริกา อาร์เจนตินา จีน แคนาดา และบราซิล สำหรับประเทศที่งานวิจัยมีความก้าวหน้ามากได้แก่ ออสเตรเลีย ยุโรปตะวันตก เม็กซิโก แอฟริกาใต้ และประเทศที่น่าจับตามองคือ อินโดนีเซีย อียิปต์ และอินเดีย ซึ่งกำลังพัฒนางานวิจัยด้านพันธุวิศวกรรมพืชอย่างมากสำหรับประเทศไทยมี งานวิจัยเพื่อการพัฒนาพันธุวิศวกรรมในพืชหลายชนิด เช่น มะละกอเพื่อให้ต้านทานต่อโรคจุดวงแหวนที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือ มะเขือเทศเพื่อให้ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง เป็นต้น อย่างไรก็ตามงานวิจัยเหล่านี้ยังไม่สามารถพัฒนาไปจนสำเร็จลุล่วงได้เนื่อง จากข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่สามารถทดสอบพืชดัดแปลงพันธุกรรมในภาคสนามได้มา ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2544 จึงเป็นที่น่าสนใจว่าประเทศไทยจะมีนโยบายและกลยุทธ์เกี่ยวกับพืชดัดแปลง พันธุกรรมไปในทิศทางใด จึงจะก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันได้

อ้างอิง จากบทความ “ก้าวทันเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมพืช” เขียนโดย รศ.ดร. จรัญญา ณรงคะชวนะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชาลีนี คงสวัสดิ์ และจินตนา จันทร์เจริญฤทธิ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

2. การโคลนยีน (Cloning Gene)

ความหมาย  การโคลนนิ่ง คือ การสร้างสัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ใช้อสุจิของเพศผู้ แต่ใช้นิวเคลียสจากเซลล์เต็มวัยไปใส่แทนที่เซลล์ไขเซไข่่ ทำให้ได้สัตว์ตัวใหม่ที่มีรูปร่างหน้าตา เหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมเกือบทุกประการ ถ้าเจ้าของเซลล์เป็นเพศเมียก็จะได้สัตว์ให้เป็นเพศเมีย ถ้าเจ้าของสัตว์เป็นเพศผู้จะได้สัตว์ใหม่เป็นเพศผู้เหมือนกับเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ เหมือนแกะออกมาจากเบ้าพิมพ์เดียวกัน

พันธุวิศวกรรมสามารถนำมาประยุกต์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างไร

การโคลนยีน

Cloning : หมายถึง กระบวนการสร้างสิ่งที่มีลักษณะทางพันธุกรรม เหมือนกันกับสิ่งที่มีอยู่ก่อน มนุษย์รู้จักโคลนนิ่งมาแต่สมัยโบราณแล้ว แต่เป็นการรู้จักโคลนนิ่ง ที่เกิดกับพืช นั่นคือ การขยายพันธุ์พืชโดย ไม่อาศัยเพศ เช่น การแตกหน่อ

เมื่อพูดถึงโคลนนิ่ง สาธารณชนมักคิดไปไกลถึงการโคลนนิ่งมนุษย์โดยปะติดปะต่อเรื่องราวจากความสำเร็จของการโคลนนิ่งแกะดอลลี่ ซึ่งถือกำเนิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1996 แต่ที่สาธารณชนให้ความสนใจน้อยกว่าคือแกะ ดอลลี่นั้นเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิด ได้แก่ ข้ออักเสบอย่างรุนแรงและโรคปอดเสื่อมสภาพ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตัดสินใจยุติชีวิตมันด้วยความเมตตาดังที่เรียกว่า การุณยฆาต (Euthanasia)

พันธุวิศวกรรมสามารถนำมาประยุกต์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างไร

อ้างอิง

  • www.kr.ac.th/ebook2/sakdanai/04.html
  • biotech.about.com/od/cloning/tp/DNAcloning.htm
  • www.agi.nu.ac.th/webnewasp/ereading/gene/gene.pdf
  • edltv.thai.net/courses/735/51biM6-KOs030201.pdf

3. วิเคราะห์ DNA และจีโนม

การศึกษาจีโนม

  1. ศึกษาความแตกต่างของจีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน สามารถ
    ตรวจสอบโดยอาศัยการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ
  2. แล้วนำชิ้น DNA ไปแยกขนาดโดยวิธีการ เจลอิเล็กโทรโฟริซิส ได้รูปแบบ
    ของแถบ DNA ที่แตกต่างกัน
  3. รูปแบบของแถบ DNA ดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงถึง จีโนมและลักษณะ
    บางฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตนั้นได้

เรียกความแตกต่างของรูปแบบของแถบ DNA ที่เกิดจากการตัดของเอนไซม์ตัดจำเพาะเหล่านี้ว่า เรสทริกชัน แฟรกเมนท์ เลจท์พอลิมอร์ฟิซึม (restriction fragmentlength polymorphism : RFLP)ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรม (genetic marker) ได้ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 ได้มีการริเริ่มโครงการ จีโนมมนุษย์ (Human Genome Project) เพื่อที่จะศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของมนุษย์ทั้งจีโนม โครงการนี้เป็นโครงการนานาชาติ

  1. โดยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ
    • ออโทโซม 22 โครโมโซม
    • โครโมโซม X และโครโมโซม Y
  2. มีการศึกษา
    • แผนที่ยีน
    • แผนที่เครื่องหมายทางพันธุกรรมควบคู่กันไป
  3. นำไปสู่การพัฒนาในเชิงเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้อย่างมากมายใน
    ปัจจุบัน

นอกจากมนุษย์แล้ว ยังมีโครงการศึกษาจีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ที่
มีความสำคัญในการศึกษาในเชิงชีววิทยา เช่น

  • จีโนมของ E. coli
  • จีโนมของ ยีสต์
  • จีโนมของ หนู

ปัจจุบันการศึกษาจีโนมของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญดำเนินไปมากกว่าร้อยละ 99
แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถ

  • ทราบคำตอบมากมายเกี่ยวกับโครงสร้างของจีโนม
  • ควบคุมการแสดงออกของยีนต่างๆส่งผลถึงการเจริญเติบโตและพัฒนา
    ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

อ้างอิง

  • www.biotec.or.th/Genome/whatGenome.html
  • www.biotec.or.th/biotechnology-th/newsdetail.asp?id=4054
  • th.wikipedia.org/wiki/โครงการจีโนมมนุษย์

4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

การผสมเทียมในหลอดแก้วแล้วถ่ายฝากตัวอ่อน

การทำเด็กหลอดแก้วเป็นภาษาที่พูดกันทั่วไป  มีหมายความถึงกระบวนการกระตุ้นไข่ในรังไข่ให้เจริญเติบโตครั้งละหลายๆฟอง แล้วเจาะดูดเอาออกมาผสมกับอสุจิที่เตรียมไว้ให้เกิดการปฏิสนธิในหลอดแก้ว หรือในห้องทดลอง  เมื่อมีการแบ่งตัวของตัวอ่อนในระยะเหมาะสมก็นำกลับใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของ แม่  เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์และเจริญคลอดออกมาเป็นทารกต่อไป

การทำเด็กหลอดแก้ว เรามักทำเป็นขั้นตอนท้าย ๆ ของกระบวนการช่วยการมีบุตรยาก  หลังจากที่รักษาโดยวิธีง่าย  ๆ อย่างอื่นแล้วไม่ตั้งครรภ์  ได้แก่  การกระตุ้นการตกไข่  การผสมในโพรงมดลูก  และการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ ฯลฯ เพราะการทำเด็กหลอดแก้วเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ สถานที่ และบุคคลากรที่มากกว่าและมีความจำเพาะต่องานมากกว่าธรรมดา จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายมากกว่าและอาจมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่าด้วย การทำเด็กหลอดแก้วในคนประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว  และมีการแตกแขนงออกไปทำ GIFT, CIFT และ ICSI

ประโยชน์การทำเด็กหลอดแก้ว คือช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสตั้งครรภ์มีบุตรได้

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว 
หลังจากประเมินแล้วว่าฝ่ายชายสามารถผลิตอสุจิได้ ฝ่ายหญิงมีรังไข่ที่ยังทำงานผลิตไข่ได้มีมดลูกที่ตั้งครรภ์ได้และสุขภาพไม่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์แล้ว
มีขั้นตอนดังนี้กระตุ้น รังไข่  เพื่อให้ไข่ในรังไข่เจริญคราวละหลาย ๆ ฟอง  (ตามธรรมชาติ จะมีการเจริญขึ้นคราวละฟองเดียว — เมื่อกระต้นให้ได้ไข่หลาย ๆ ฟองก็สามารถทำปฏิสนธิให้เกิดตัวอ่อนได้หลายตัวอ่อนในคราวเดียวกัน  และสามารถใส่ตัวอ่อนในโพรงมดลูกได้คราวละมากกว่า 1 ตัวอ่อน  เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และเก็บแช่แข็งตัวอ่อนที่เหลือไว้ใช้ต่อได้ด้วย)ยาที่ใช้ในการ กระตุ้นรังไข่มีหลายตัว  แล้วแต่แพทย์จะเลือกใช้ ในช่วงเวลาและจุดประสงค์จำเพาะที่แตกต่างกัน ได้แก่ Enantone, Cetrotide, Pergonal, Gonal-F, Pregnyl, Ovidelหลักการคือพยายามกระตุ้นไข่ ให้เจริญเติบโตคราวละหลาย  ๆ ฟอง  และในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนของรังไข่ตอบสนองผิดปกติ หรือ มีการตกไข่ก่อนเวลาอันควร (เราต้องการกำหนดเวลาที่ไข่ควรจะตก  เพื่อจะได้เจาะดูดเอาไข่ออกมาก่อนที่มันจะตกหายไปในช่องท้อง)  ต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome – OHSS)   และระวังอาการจากการแพ้ยามี หลายเหตุการณ์ที่การกระตุ้นรังไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้วต้องหยุดกลางคัน  และยกเลิกในรอบนั้น ๆ เช่น รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (ฮอร์โมนขึ้นมากเกิน) หรือ น้อยเกินไป (ได้ไข่เพียง 1-2 ฟอง) เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย  หรือเพื่อไม่ให้เกิดความไม่คุ้มค่า  จำเป็นต้องหยุดยาฉีด  และไม่มีการเจาะไข่เกิดขึ้นสิ่งที่ใช้ เป็นเครื่องชี้วัดความพอดี  คือ จำนวนไข่ที่ถูกกระตุ้นขึ้นมา  และระดับฮอร์โมนที่สูงในเลือด ขณะไข่หลายฟองกำลังเจริญเติบโต  นั่นคือ  ท่านจะได้รับการทำอัลตราซาวนด์และการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเป็นระยะ ๆ  ( ฮอร์โมนเอสโตรเจน)  และคอยดูผลข้างเคียงของยาที่ให้  ที่อาจเกิดขึ้นได้แก่  น้ำหนักขึ้น  บวมน้ำ  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  ปวดท้องน้อย  เจ็บคัดเต้านม  อารมณ์แปรปรวน  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  เป็นต้น
อาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป 
การเกิดอาการนี้จะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงมากเกินไปร่วมกับมีการฉีด HCG เพื่อทำให้ไข่ตกเกิดขึ้น  ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนคือ

  1. มีการคั่งของน้ำในร่างกาย  และรั่วเข้ามาในช่องท้อง อาจรั่วเข้ามาในช่องปอดด้วย  ทำให้อึดอัดท้องและหายใจลำบาก
  2. น้ำไหลออกจากเส้นเลือด  ทำให้เลือดข้นเกินไป  การไหลเวียนไม่ดี  ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือด  เกิดภาวะอุดตันและก้อนเลือดอาจหลุดไปอุดที่ปอดหรือที่สมองได้  อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต  หรือพิการ
  3. รังไข่โตเกินขนาดทำให้มีโอกาสถุงรังไข่แตกหรือมีการปิดที่รังไข่ได้ (ทำให้ต้องผ่าตัดฉุกเฉิน) อาการทั้ง 3 อย่างนี้  อาจจะต้องทำให้คนไข้อยู่โรงพยาบาลเพื่อรักษาตัวนานขึ้น

เพื่อ คอยเฝ้าระวังไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวข้างต้น  จึงต้องมีการตรวจและเฝ้าระวัง  คือ การเจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและทำอัลตราซาวนด์รังไข่บ่อย ๆ การตรวจทั้ง 2 อย่างนี้นอกจากจะระวังเรื่องรังไข่ตอบสนองมากเกินไปแล้ว  ยังช่วยบอกจำนวนและขนาดของรังไข่ที่ถูกกระตุ้น  และระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้ยาทำให้ไข่สุก  และเวลาในการเจาะไข่ด้วย  การเจาะเลือดบางทีก็ตรวจระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและ LH ด้วย (ระยะการกระตุ้นไข่จะอยู่ประมาณ 7 – 12 วัน)

การเจาะเลือดก็ทำให้มีผลข้างเคียงได้ เช่น

  1. เจ็บที่เข็มแทง
  2. ผิวหนัง ที่เจาะเลือดมีการอักเสบ  ทำให้เจ็บ
  3. เส้นเลือดแตก  เกิดรอยห้อเลือด
  4. ทำให้เลือดแข็งตัวในเส้นเลือดดำทำให้มีอาการเจ็บบริเวณนั้นได้

การทำอัลตราซาวนด์  มักจะตรวจผ่านทางช่องคลอดไม่ก่อให้เกิดอันตราย  แต่รู้สึกไม่สะดวกเล็กน้อย  หรือเจ็บได้บ้างในช่วงที่ไข่ใกล้จะตกการ กระตุ้นรังไข่ด้วยยากระตุ้นการตกไข่  อาจทำให้ไข่หรือถุงไข่โตและไข่ตกหลายฟองในคราวเดียวได้  การที่มีไข่ตกหลายฟองในคราวเดียวกัน  จะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จ  แต่ก็มีโอกาสเกิดครรภ์แฝดได้  สถิติพบครรภ์แฝดจากการผสมเทียมในหลอดแก้ว  20-25% ของการตั้งครรภ์  แต่เราจะพยายามไม่ใส่ตัวอ่อนเกินคราวละ 3 ฟอง เพราะกลัวจะเกิดครรภ์แฝดหลายคนเกินไป  และเกิดอันตรายต่อแม่และทารกได้

การเจาะไข่ การจะได้ไข่มาผสมกับอสุจิในหลอดแก้ว จะต้องเจาะผ่านทางช่องคลอดแล้วดูดออกมาโดย ใช้เครื่องอัลตราซาวนด์คอยบอกว่าถุงไข่และปลายเข็มที่เจาะรังไข่อยู่ตำแหน่ง ได  แล้วดูดเอาน้ำในถุงไข่ซึ่งมีไข่อยู่ด้วยออกมา(เจาะผ่านทางช่องคลอดเพราะรัง ไข่อยู่ใกล้บริเวณนั้น และผนังช่องคลอดบาง เจาะง่าย กผลข้างเคียงน้อย)  ปกติจะใช้เวลาประมาณ  30  นาที  สำหรับขั้นตอนนี้มีความเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนได้คือ

  1. ปฏิกริยาต่อยาดมสลบผิดปกติ
  2. ผลจากการแทงเข็มผ่านช่องคลอด เช่น มีการอักเสบ  มีเลือดออก
  3. การแทงไปถูกอวัยวะอื่นใกล้เคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ลำไส้  กระเพาะปัสสาวะ  เส้นเลือด  เป็นต้น

(โอกาส ดังกล่าวเกิดขึ้นน้อยมาก  แต่ต้องกล่าวไว้  เพราะมีรายงาน บางคนต้องเย็บเพื่อหยุดเลือด  หรือมีการอักเสบมาก  จนอาจต้องตัดมดลูกได้)

การเก็บและเตรียมอสุจิ
ในขณะที่มีการเก็บไข่  สามีก็จะเก็บน้ำอสุจิออกมาโดยการช่วยตัวเอง (ก่อนถึงวันนี้สามี-ภรรยาต้องงดการหลับนอนด้วยกันและห้ามมีการหลั่งน้ำกาม 3-5 วัน)  หลังจากเก็บน้ำเชื้อได้ก็จะถูกส่งไปห้องแล็บ (Lab.) เพื่อเตรียมเอาเฉพาะเชื้ออสุจิที่แข็งแรงออกมา  เพื่อการผสมกับไข่ให้เกิดการปฏิสนธิ  สามีบางคนมีความเครียดในวันนั้น  ทำให้เก็บเชื้อไม่ได้  ถ้าใครคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นให้เก็บน้ำเชื้ออสุจิแช่แข็งในห้องปฏิบัติการ ของเราก่อน

การใส่เชื้ออสุจิในไข่และการเลี้ยงตัวอ่อน 
หลัง จากดูดน้ำออกมาจากถุงไข่แล้ว น้ำนั้นจะถูกส่งเข้าห้องแล็บ (Lab.) เพื่อตรวจดูว่ามีไข่อยู่หรือเปล่า แล้วเอามาเก็บเตรียมการปฏิสนธิกับอสุจิ  ตอนเจาะดูดไข่อาจได้ไข่ออกมาหลายฟอง ก็จะทำการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการทั้ง หมดทุกฟอง  เพื่อให้ได้จำนวนตัวอ่อนมากที่สุด เพื่อตัวอ่อนที่เหลือจากการใส่ในโพรง มดลูกในครั้งแรก จะถูกแช่แข็งไว้แล้วนำกลับมาใส่ใหม่ในครั้งต่อไปถ้าไม่สำเร็จ(หรือแม้ถ้าสำเร็จในครั้งแรกมีการตั้งครรภ์)  ส่วนที่เหลือจะนำมาใช้ให้มีการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป  หรือหลังจากคลอดบุตรแล้วต้องการจะทำอีก (แต่ถ้าใครไม่ต้องการให้มีการแช่แข็งควรบอกแพทย์ เพื่อจะไม่เก็บตัวอ่อน ไว้ หรือเมื่อตั้งครรภ์แล้วตัวอ่อนที่แช่แข็งอยู่ ผู้ป่วยไม่ต้องการใช้ อาจนำออกมาทำลายหรือบริจาคให้ผู้อื่นได้  )วันรุ่งขึ้นหลังจากใส่ เชื้ออสุจิรวมกับไข่ในหลอดแก้ว ก็จะสามารถตรวจดูได้ว่ามีการปฏิสนธิหรือไม่ โดยจะเห็นโปรนิวเคลียสของไข่และ ของอสุจิอยู่คู่กันในเซลล์ไข่ (เรียกเซลล์นี้ว่า Zygote) หลังจากนั้นจะปล่อยให้ Zygote เจริญและแบ่งตัวต่อไปอีก 2 วัน (เรียกตอนนี้ว่า ตัวอ่อน – Embryo) เป็น 4-8 เซลล์แล้วจึงนำไปใส่ในโพรงมดลูกของแม่บางคนต้องการจะเลี้ยงตัว อ่อนต่อไปอีก 2 วัน เพื่อให้เจริญเป็นบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) แล้วนำไปใส่ในโพรงมดลูก เพื่อหวังว่าจะมีการตั้งครรภ์มากขึ้นก็ได้ แต่การ เลี้ยงจนถึงบลาสโตซิสต์อาจเหลือจำนวนบลาสโตซิสต์น้อยลง (บางตัวหยุดการเจริญไปก่อนจะเป็นบลาสโตซิสต์ เพราะความไม่สมบูรณ์ของตัวอ่อนหรือจากสิ่งแวดล้อมในหลอดแก้ว ที่ไม่เหมือนธรรมชาติ 100 %อยู่แล้ว)การใส่บลาสโตซิสต์อาจทำให้ อัตราการตั้งครรภ์ต่อการใส่ตัวอ่อนแต่ละครั้งสูงขึ้น 10-20%  ซึ่งพ่อแม่จะต้องยอมรับที่ตัวอ่อนจะสลายไปบ้างก่อนได้บลาสโตซิสต์  และเป็นเรื่องที่ควรจะคุยปรึกษากันกับแพทย์ในกรณีมีการปฏิสนธิในไข่หลาย ๆ ฟอง

การใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูก
ตัวอ่อนจะถูกใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ 3 หรือวันที่ 5 หลังจากเจาะดูดออกมาจากรังไข่ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงตัวอ่อนถึง 4-8 เซลล์ หรือถึง บลาสโตซิสต์    ตัวอ่อนจะถูกใส่เข้าในโพรงมดลูกโดยใส่ผ่านท่อพลาสติกเล็ก ๆ สอดเข้าทางปากมดลูกขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่มาก ไม่ต้องใช้ยา สลบ เพราะไม่เจ็บและไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลค้างคืน จำนวนตัวอ่อนที่ใส่ใน แต่ละคราวจะไม่ให้เกิน 2-4 ตัวอ่อน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แฝดเด็กคราวละหลายคนเกินไปขณะ ใส่ตัวอ่อนอาจมีการบีบตัวของมดลูก  ทำให้มีอาการปวดได้บ้าง  การบีบตัวของมดลูกนี้อาจบีบให้ตัวอ่อนเข้าไปในท่อนำไข่  ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ตั้งครรภ์นอกมดลูกได้บางราย (มีอุบัติการณ์ 2-5% ของการตั้งครรภ์)  ดังนั้นเมื่อตั้งครรภ์โดยทำเด็กหลอดแก้วต้องคอยดูด้วยว่ามีการตั้งครรภ์นอก มดลูกแฝงอยู่ด้วยหรือไม่  (ซึ่งวินิจฉัยในระยะแรกได้ค่อนข้างยาก  มักตรวจพบเมื่อท่อนำไข่ตรงที่ตัวอ่อนไปฝังตัวถูกยืดมาก หรือจนแตกแล้ว)เมื่อใส่ตัวอ่อนในโพรงมดลูกแล้ว  แม่จะต้องได้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเสริม  อาจเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือสอดใส่ทางช่องคลอดในรูปของยาเม็ดหรือเจ ลเพื่อเสริมฮอร์โมนกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีความสมบูรณ์ที่จะเลี้ยงตัว อ่อนได้ดี  เมื่อถึง 2 สัปดาห์หลังจากดูดเจาะไข่ จะให้ตรวจเลือดดูฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (BHCG) ถ้ามีการตั้งครรภ์จะให้ฮอร์โมนเสริมต่อไปอีก จนตั้งครรภ์ 8-12 สัปดาห์จึงหยุดให้เพราะหลังจากนั้นฮอร์โมนจากรกเลี้ยงตัวอ่อนได้เองพอเพียง แล้ว

การใส่ยาโปรเจสเตอโรนที่ช่องคลอด  อาจมีอาการข้างเคียง ดังนี้

  1. ช่องคลอดแห้ง
  2. ท้องอืด
  3. อาการหดหู่  อารมณ์แปรปรวน
  4. ประจำเดือนอาจมาช้าไปบ้าง

เปอร์เซ็นต์ การตั้งครรภ์ในแต่ละครั้งแปรตามจำนวนตัวอ่อนที่ใส่เข้าไป  แต่ถ้าใส่มากเกินก็เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์แฝดที่มีเด็กมากเกิน  ซึ่งเสี่ยงต่อการแท้ง  การคลอดก่อนกำหนด ฯลฯ (ดูเรื่องครรภ์แฝด) และค่าใช้จ่ายที่อาจจะต้องนอนโรงพยาบาลนานก่อนคลอด  เด็กได้รับการบริบาลนานและนอนโรงพยาบาลนานเพราะคลอดก่อนกำหนด  และความยากลำบากในการเลี้ยงลูกคราวเดียวหลายคนนอกจากนี้เมื่อตั้ง ครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วแล้วก็มีโอกาสแท้งเหมือนกับการตั้งครรภ์โดย ธรรมชาติ  มีโอกาสท้องทั้งในและนอกมดลูก (ถ้าเป็นท้องนอกมดลูกก็จำเป็นต้องรักษาโดยการส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง เพื่อรักษา)ในกรณีที่มีตัวอ่อนเหลือแต่ละครั้ง  คนไข้อาจจะเลือกตัดสินใจว่า

  1. แช่แข็งไว้ใส่ครั้งต่อไป
  2. บริจาค ให้คนอื่นที่ต้องการตัวอ่อน ( ซึ่งตามหลักการเราจะไม่ให้รู้ว่าให้กับใครและไม่ให้คนได้ตัวอ่อนทราบด้วยว่า ได้จากใครเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดในภายหลัง)
  3. ปล่อยให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตในห้องทดลองจนหยุดการแบ่งตัวและสลายไปเอง

ข้อพิจารณาสำหรับคู่สมรสที่ต้องการทำเด็กหลอดแก้ว
ขบวน การทำเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์  รวมถึงการทำเด็กหลอดแก้ว  อาจจะทำให้เกิดปัญหาทางจิตวิทยา เช่น ความเครียด  ความกังวล  ความผิดหวัง  เสียใจได้  หดหู่ท้อถอย ขาดความมั่นใจในตัวเองและผลของการทำจนสำเร็จสมใจนั้นมากที่สุดไม่เกิน 50%  ในแต่ละครั้ง  จึงต้องทำใจไว้ก่อน  และถ้าไม่มั่นใจในตัวเองอาจให้แพทย์แนะนำจิตแพทย์ให้ก่อนได้นอกจากนี้ระหว่างขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว  สตรีที่ทำต้องให้เวลาในการพบแพทย์เพื่อตรวจตามนัดทุกครั้ง  ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-6 สัปดาห์  แล้วแต่ว่าจะทำแบบใด  ฝ่ายชายต้องช่วยสนับสนุนและต้องพร้อมที่จะมานำน้ำเชื้ออสุจิออกมาเมื่อถึง เวลาเจาะดูดไข่  และทำการปฎิสนธิด้วยการทำเด็กหลอดแก้วแต่ละครั้ง อาจมีเหตุต้องล้มเลิกกลางคันแล้วเริ่มต้นใหม่ภายหลัง ไม่มีการรับประกันการตั้งครรภ์และการได้บุตร  มีเหตุผลมากมายทั้งที่อธิบายได้และอธิบายไม่ได้ที่ทำให้ไม่ตั้งครรภ์  ที่พอจะอธิบายได้  มีดังนี้

  1. ไม่ได้ไข่ที่ต้องการ เนื่องจาก
    – กระตุ้นไข่แล้วถุงไข่ไม่เจริญ  โตตามที่ต้องการ
    – มีการตกไข่ (ไข่ตก) ก่อนถึงเวลาเจาะไข่
    – ถุงไข่บางถุงเจาะดูดแล้วไม่ได้ไข่ออกมา
    – มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานซึ่งยากที่จะเจาะไข่อย่างปลอดภัยได้
  2. ไข่ที่ดูดออกมาได้อาจไม่ปกติ
  3. มีปัญหาในการเอาอสุจิมาปฏิสนธิกับไข่  ได้แก่
    – ถึงเวลาแล้ว  ฝ่ายชายเอาเชื้ออสุจิออกมาไม่ได้
    – ได้เชื้ออสุจิน้อยเกินกว่าที่จะปฏิสนธิได้
    – ห้องปฏิบัติการมีความสามารถบางอย่างไม่พอ
    – กรณีขอเชื้ออสุจิบริจาคแล้ว  เมื่อถึงเวลาไม่ได้เชื้อมา
  4. ไม่มีการปฏิสนธิ  แม้ไข่และอสุจิจะตรวจแล้วว่าปกติ
  5. ตัวอ่อนไม่เจริญแบ่งตัวตามที่ควรจะเป็น
  6. การใส่ตัวอ่อนทำยาก  หรือใส่ไม่ได้  หรือ ใส่ได้แต่ไม่มีการเกาะที่เยื่อบุโพรงมดลูก  หรือไม่มีการเกาะ  แต่ไม่เจริญ ต่อไป
  7. ขั้นตอนต่าง ของ การทำเด็กหลอดแก้ว  ประสบปัญหาที่ไม่ได้คิดมาก่อน  เช่น ความแปรปรวนสิ่งแวดล้อม เครื่องมือเสีย  สภาพห้องปฏิบัติการผิดปกติ
  8. มีการไม่สบายของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  9. ความผิดพลาดของปุถุชน ฯลฯ

เมื่อ มีการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้ว  ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการตั้งครรภ์ธรรมชาติ  ได้แก่  การตั้งครรภ์แล้วเด็กไม่เจริญเติบโต  การแท้ง  การท้องนอกมดลูก  การคลอดก่อนกำหนด  การพิการแต่กำเนิด  และความผิดปกติทางยีนส์ของเด็กที่เกิดมา  แต่ที่แตกต่างคือ  มีอัตราการตั้งครรภ์แฝดมากกว่าธรรมชาติ  ทำให้มีโรคที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์แฝดมากกว่า  คือ  ครรภ์เป็นพิษ  การแท้ง  การคลอดก่อนกำหนด  การตายคลอด เป็นต้น

สามารถนำพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

GMOs คือ พันธุวิศวกรรมที่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมเกษตร ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นวิกฤตใหญ่ของโลก อีกทั้งยังช่วยปรับแต่งพันธุกรรมของพืชเศรษฐกิจ ให้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และป้องกันตนเองจากการจู่โจมของศัตรูพืชได้

Genetic Engineering ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในด้านใด

พันธุวิศวกรรมมีการประยุกต์ใช้ในงานด้านการแพทย์, การวิจัย, อุตสาหกรรมและการเกษตรและสามารถนำมาใช้ในวงกว้างของพืช, สัตว์และจุลินทรีย์.

พันธุวิศวกรรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสารใดได้แล้วบ้าง *

เทคนิคทางพันธุวิศวะกรรม สามารถนำมาใช้สารเคมีต่างๆ ถึงระดับอุตสาหกรรมได้ เช่น อุตสาหกรรมยา ผลิตวัคซีน เซรุ่ม น้ำยาสำหรับตรวจวินิจฉัยโรค ยาต่อต้านเนื้องอก เอนไซม์ผสมลงในผงซักฟอก เป็นต้น สารที่มีคุณค่าเหล่านี้ผลิขึ้นได้และนำออกมาจำหน่ายในท้องตลาด และที่กำลังอยู่ในขั้นทดลอง เช่น

วิชาพันธุศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

พันธุวิศวกรรมถูกนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล เช่น ด้านเกษตรกรรม การแพทย์ การใช้ประโยชน์ทางสังคม เช่น นิติวิทยาศาสตร์ การตรวจสอบหาหลักฐานอาชญากรรมต่างๆ การนำไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับความเป็นมาของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในอดีต หรือใช้ในการศึกษาจีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งจะทำให้เข้าใจ ...