เทคนิคการเก็บ และการ กรอ มีความ เหมือน หรือ แตก ต่าง กัน อย่างไร

   
เทคนิคการเก็บ และการ กรอ มีความ เหมือน หรือ แตก ต่าง กัน อย่างไร

ศัพท์สังคีต
          คือ ภาษาเฉพาะที่ใช้พูดกันในวงการดนตรีไทยซึ่งเป็นที่รู้กันว่าหมายความถึงอะไร หรือให้ปฏิบัติอย่างไรจะนำมาอธิบายเฉพาะคำที่มีกล่าวไว้ในบทข้างต้น ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างศัพท์สังคีต 
         กรอ เป็นวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) อย่างหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีตี ๒ มือ สลับกันถี่ ๆ เหมือนรัวเสียงเดียว (ดูคำว่า รัว) หากแต่วิธีที่เรียกว่า "กรอ" นี้ มือทั้งสอง มิได้ตีอยู่ที่ลูกเดียวกัน 
         ทางกรอ เป็นคำเรียกทางของการดำเนินทำนองเพลงอย่างหนึ่งที่ดำเนินไปโดยใช้เสียงยาว ๆ ช้า ๆ เพลงที่ดำเนินทำนองอย่างนี้ เรียกว่า "ทางกรอ" ที่เรียกอย่างนี้ก็ด้วยเหตุที่เพลงที่มีเสียง ยาว ๆ นั้น เครื่องดนตรีประเภทตีไม่สามารถจะทำเสียงให้ยาวได้ จึงต้องตีกรอ (ดูคำว่า กรอ) ให้ได้ความยาวเท่ากับความประสงค์ของทำนองเพลง เพลงทางกรอนี้ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นต้นคิดขึ้น เป็นทางเพลงที่นิยมมาก 
          กวาด คือ วิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) โดยใช้ไม้ตี ลากไปบนเครื่องดนตรี (ลูกระนาดหรือลูกฆ้อง) ซึ่งมีกิริยาอย่างเดียวกับใช้ไม้กวาด กวาดผง การกวาดนี้จะกวาดจากเสียงสูงมาหาเสียงต่ำหรือจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงก็ได้ 
          เก็บ ได้แก่ การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าเนื้อเพลงธรรมดา ถ้าจะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ ๒/๔ ก็จะเป็นจังหวะละ ๔ ตัว ห้องละ ๘ ตัว (เขบ็ต ๒ ชั้นทั้ง ๘ ตัว) อธิบาย: การบรรเลงที่เรียกว่า เก็บ นี้ เป็นวิธีการบรรเลงของระนาดเอก และ ฆ้องวงเล็ก ส่วนเครื่องดนตรีอื่น ๆ เก็บ" รวมบันทึก เปรียบเทียบไว้กับ "สะบัด" (ดูคำว่าสะบัด) 
          ขยี้ เป็นการบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้น ไปจาก "เก็บ" อีก ๑ เท่า ถ้า จะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ ๒/๔ ก็จะเป็นจังหวะละ ๘ ตัว ห้องละ ๑๖ ตัว (เขบ็ต ๓ ชั้นทั้ง ๑๖ ตัว) อธิบาย :การบรรเลงที่เรียกว่าขยี้นี้ จะบรรเลงตลอดทั้งประโยคของเพลง หรือ จะบรรเลงสั้นยาวเพียงใดแล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควร วิธีบรรเลงอย่างนี้บางท่านก็ เรียกว่า "เก็บ ๖ ชั้น" ซึ่งถ้าจะพิจารณาถึงหลักการกำหนดอัตรา (๒ ชั้น ๓ ชั้น) แล้ว คำว่า ๖ ชั้นดูจะไม่ถูกต้อง ตัวอย่างโน้ต "ขยี้" รวมบันทึกเปรียบเทียบไว้กับ "สะบัด" (ดูคำว่า สะบัด) 
          ขับ คือ การเปล่งเสียงออกไปอย่างเดียวกับร้อง (ดูคำว่า ร้อง) แต่การขับมักใช้ในทำนอง ที่มีความยาวไม่แน่นอน การเดินทำนองเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น และถือถ้อยคำเป็น สำคัญ ทำนองต้องน้อมเข้าหาถ้อยคำ เช่น ขับเสภา เป็นต้น การขับกับร้องมีวิธีการที่ คล้ายคลึง และมักจะระคนปนกันอยู่ จึงมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "ขับร้อง"
          ครวญ เป็นวิธีร้องอย่างหนึ่งซึ่งสอดแทรกเสียงเอื้อนยาว ๆ ให้มีสำเนียงครวญคร่ำรำพัน และ เสียงเอื้อนที่สอดแทรกนี้มักจะขยายให้ทำนองเพลงยาวออกไปจากปรกติ อธิบาย: เพลงที่จะแทรกทำนองครวญเข้ามานี้ ใช้เฉพาะแต่เพลงที่แสดงอารมณ์ โศกเศร้า เช่น เพลงโอ้ปี่ และเพลงร่าย (ในบทโศก)เป็นต้น และบทร้องทำนองครวญ ก็จะต้องเป็นคำกลอนสุดท้ายของบทนั้น ซึ่งเมื่อร้องจบคำนี้แล้วปี่พาทย์ก็จะบรรเลง เพลงโอดประกอบกิริยาร้องไห้ติดต่อกันไป 
          คร่อม คือ การบรรเลงทำนองหรือบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ หรือร้องดำเนินไปโดยไม่ ตรงกับจังหวะที่ถูกต้อง เสียงที่ควรจะตกลงตรงจังหวะกลายเป็นตกลงในระหว่าง จังหวะซึ่งกระทำไปโดยไม่มีเจตนา และถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด เรียกอย่างเต็มว่า "คร่อมจังหวะ" 
          รั่น เป็นวิธีที่ทำให้เสียงสะดุดสะเทือน เพื่อความไพเราะเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน อธิบาย : การทำเสียงให้สะดุดและสะเทือนที่เรียกว่าครั่นนี้ ใช้เฉพาะกับการขับร้อง หรือเครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น ปี่ ขลุ่ย และเครื่องดนตรีประเภทสี เช่น ซอต่าง ๆ เท่านั้น การขับร้องคั่นด้วยคอ เครื่องดนตรีประเภทเป่า ครั่นด้วยลมจากลำคอและเครื่อง ดนตรีประเภทสีครั่นด้วยคันสี 
          คลอ เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง โดยดำเนินทำนองเป็นอย่างเดียวกัน คือ บรรเลงไปตามทางร้อง เช่น ซอสามสายสีคลอไปกับเสียงร้อง เป็นต้น เปรียบเทียบ ก็เหมือนคน ๒ คนเดินคลอกันไป เคล้า เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง (เช่นเดียวกับคลอ ดูคำว่า คลอ)โดย เพลงเดียวกัน แต่ต่างก็ดำเนินทำนองไปตามทางของตน คือร้องก็ดำเนินไปตามทางร้อง ดนตรีก็ดำเนินไปตามทางดนตรี ยึดถือแต่เนื้อเพลง จังหวะ และเสียงที่ตกจังหวะ (หน้าทับ) เท่านั้น เช่น การร้องเพลงทะแย ๒ ชั้น ในตับพรหมาสตร์ที่มีบทว่า "ช้างเอย ช้างนิมิต เหมือนไม่ผิดช้างมัฆวาน ฯลฯ" ซึ่งคนร้องดำเนินทำนองไปอย่างหนึ่ง ดนตรี ก็ดำเนินทำนองไปอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นเพลงทะแยที่ ร้องและบรรเลงไปพร้อม ๆ กัน เทียบได้กับการคลุกเคล้าปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยวเค็มเข้าผสมผสานกันให้โอชารส วิธีการเช่นนี้บางท่านเรียกว่า "คลอ" 
          จน หมายถึงการที่นักดนตรีบรรเลงเพลงอันถูกต้องที่เขาประสงค์ไม่ได้ อธิบาย : เพลงที่นักดนตรีจำจะต้องบรรเลงให้ถูกต้องตามความประสงค์นั้น หลายอย่าง เป็นต้นว่านักร้องเขาส่งเพลงอะไรนักดนตรีก็ต้องบรรเลงรับด้วย เพลงนั้น หรือเมื่อคนพากย์เจรจา หรือคนบอกบทเขาบอกให้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ อะไร นักดนตรีก็ต้องบรรเลงเพลงนั้น ถ้าหากนักดนตรีบรรเลงเพลงให้ตรงกับที่นักร้อง เขาร้องไม่ได้ หรือบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ตามที่คนพากย์เจรจา หรือคนบอกบทเขาบอกไม่ได้ จะเป็นนิ่งเงียบอยู่หรือบรรเลงไปโดยกล้อมแกล้มหรือบรรเลงไปเป็นเพลง อื่นก็ตาม ถือว่า "จน" ทั้งสิ้น
          เดี่ยว เป็นวิธีบรรเลงอย่างหนึ่งที่ใช้เครื่องดนตรีจำพวกดำเนินทำนองเช่น ระนาด ฆ้องวง จะเข้ ซอ บรรเลงแต่อย่างเดียว การบรรเลงเครื่องดำเนินทำนองเพียงคนเดียวที่ เรียกว่า "เดี่ยว" นี้ อาจมีเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง โทน รำมะนา สองหน้า หรือกลองแขก บรรเลงไปด้วยก็ได้ การบรรเลงเดี่ยวอาจบรรเลงตลอดทั้งเพลงหรือแทรกอยู่ในเพลงใดเพลงหนึ่งเป็นบางตอนก็ได้ การบรรเลงเดี่ยวมีความประสงค์อยู่ ๓ ประการ คือ
          ๑. เพื่ออวดทาง คือ วิธีดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีชนิดนั้น
          ๒. เพื่ออวดความแม่นยำ
          ๓. เพื่ออวดฝีมือ
          ตับ หมายถึง เพลงหลาย ๆ เพลง นำมาร้องและบรรเลงติดต่อกันไปซึ่งแยกออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ
          ๑. ตับเรื่อง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกันนั้น มีบทร้องเป็นเรื่อง เดียวกัน และดำเนินไปโดยลำดับ ฟังได้ติดต่อกันเป็นเรื่องราว ส่วนทำนองเพลงจะเป็น คนละอัตรา คนละประเภท หรือลักลั่นกันอย่างไร ไม่ถือเป็นสำคัญ เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ เป็นต้น
          ๒. ตับเพลง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกันนั้น เป็นทำนองเพลง ที่อยู่ในอัตราเดียวกัน (๒ ชั้น หรือ ๓ ชั้น) มีสำนวนทำนองสอดคล้องติดต่อกัน สนิทสนม ส่วนบทร้องจะมีเนื้อเรื่องอย่างไร เรื่องเดียวกันหรือไม่ถือเป็นสำคัญ เช่น ตับลมพัดชายเขา ตับเพลงยาว เป็นต้น ตับเพลงนี้บางทีก็เรียกว่า"เรื่อง"เฉพาะจำพวก เรื่องมโหรี (ดูคำว่า เรื่อง) ตัว เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่าท่อนของเพลงบางประเภท (ดูคำว่า ท่อน) เพลงที่เรียก "ตัว" แทนคำว่า "ท่อน" ก็ได้แก่เพลงจำพวกตระและเชิดต่าง ๆ นอกจากเชิดนอก 
          ล่อน ได้แก่ การปฏิบัติในวิธีที่เรียกว่า สะบัด ขยี้ รัว หรือกวาด ได้ชัดเจนทุกเสียง ไม่ กล้อมแกล้มหรือกระทบเสียงอื่นที่ไม่ต้องการ เหมือนกับผลเงาะที่แกะเนื้อออกไม่มีติด เมล็ดเลย เราก็เรียกว่า "ล่อน" 
ลำลอง เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง (เช่นเดียวกับคลอและเคล้า ดูคำว่า คลอและเคล้า) อีกแบบหนึ่งแต่วิธีการบรรเลงและร้องต่างก็ดำเนินไป โดยอิสระคือ ไม่ต้องเป็นเพลงเดียวกัน เสียงที่ตกจังหวะก็ไม่ต้องเป็นเสียงเดียวกันบางทีอาจไม่ถือ จังหวะของกันและกันก็ได้ สิ่งที่จะต้องยึดถือในการบรรเลงและร้องในลักษณะ ลำลองนี้ ก็คือ เสียงที่บรรเลงกับร้องจะต้องเป็นระดับเสียงเดียวกันทำนองของเพลงทั้ง ๒ ฝ่ายสัมพันธ์กลมกลืนกัน เช่น การร้องเพลง "เห่เชิดฉิ่ง" ในเพลงตับพรหมาสตร์ ซึ่งคนร้องร้องเป็นทำนองเห่ส่วนดนตรีบรรเลงเพลงเชิดฉิ่งไปพร้อม ๆ กัน 
ลูกล้อ เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรี (หรือร้อง) ออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเรียกว่าพวกหน้า อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง ทั้ง ๒ พวกนี้ ผลัดกันบรรเลง คนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง (เช่น เดียวกับคำว่าลูกขัดที่กล่าวมแล้ว) แต่ที่จะเรียกได้ว่า "ลูกล้อ" นี้เมื่อพวกหน้าบรรเลง ไปเป็นทำนองอย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทำนองซ้ำอย่างเดียวกันกับพวกหน้า และทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ ก็แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้น จะสั้นยาวเท่าใดหรือ เพียงพยางค์เดียวก็ได้ 
          ลูกหมด เป็นชื่อเพลงประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงสั้น ๆ มีจังหวะเร็ว เทียบเท่ากับจังหวะ หน้าทับสองไม้ชั้นเดียวหรือครึ่งชั้น สำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่าง ๆ เพื่อแสดงว่า จบ (หมด) 
          ลูกบท ได้แก่เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่ซึ่งถือว่าเป็น แม่บท เพลงเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ลูกบทนี้ อาจเป็นเพลงในอัตรา ๓ ชั้น ชั้นเดียว ครึ่งชั้น หรือเพลงภาษาต่าง ๆ ก็ได้ อุทาหรณ์ : เมื่อร้องและบรรเลงเพลงจระเข้หางยาว ๓ ชั้น จบแล้ว จึงออก ลูกหมด แล้วร้องและบรรเลงเพลงจีนขิมเล็กต่อไป เสร็จแล้วก็ออกลูกหมดอีกครั้ง หนึ่งเพลงจีนขิมเล็กนี้แหละคือลูกบท ส่วนเพลงจระเข้หางยาวนี้บรรเลงแต่ต้นเป็นเพลง แม่บท ทั้งแม่บทและลูกบท เมื่อจะจบเพลงของตนต่างก็มี "ลูกหมด" ของตนเองเพื่อ แสดงว่าเพลงจบหรือ "หมดเพลง" แล้ว 
          ลำ ในสมัยโบราณใช้เรียกแทนคำว่าเพลง เช่น เพลงนางนาค เรียกว่า ลำนางนาค การละเล่นอย่างหนึ่งทางภาคอีสานที่ร้องเคล้าไปกับแคน เรียกว่า "ลำแคน" คนร้องเรียกว่า "หมอลำ" และคนเป่าแคนเรียกว่า "หมอแคน" ในสมัยปัจจุบัน มักจะแยกความหมายระหว่าง "เพลง" กับ "ลำ" เป็นคนละ อย่าง เพลงหมายถึงทำนองที่มีกำหนดความสั้นยาวแน่นอน (ดูคำว่า เพลง) แม้เพลง บางเพลงที่มีโยนซึ่งไม่จำกัดจำนวนจังหวะ แต่เมื่อถึงเนื้อเพลงก็มีทำนองอันแน่นอน หากจะมีบทร้องก็ต้องถือทำนองเพลงเป็นใหญ่ ส่วนลำนั้นถือถ้อยคำเป็นบทร้องเป็น สำคัญต้องน้อมทำนองเข้าหาถ้อยคำ และความสั้นยาวไม่มีกำหนดแน่นอน เช่น การขับ ลำของหมดลำ เป็นต้น 
          สวม ได้แก่ การบรรเลงซึ่งอาจเป็นเครื่องดนตรีทั้งวงหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ได้ บรรเลงเหลื่อมล้ำเข้ามาในตอนท้ายก่อนจบของผู้อื่นที่จะต้องบรรเลงติดต่อ เพื่อความ สนิทสนมกลมกลืนกัน อธิบาย : การบรรเลงเพลงสวมนี้ ที่ปฏิบัติกันเป็นปรกติก็คือเวลาร้องก่อนจะจบ ดนตรีก็บรรเลงสวมตอนท้ายเข้ามา หรือระหว่างเครื่องดนตรีที่บรรเลงเดี่ยวด้วยกัน เครื่องดนตรีที่จะบรรเลงต่อ ก็บรรเลงสวมตอนท้ายก่อนจะจบของเครื่องที่บรรเลงก่อน เช่นเดียวกับการต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ต้องสวมหรือเข้าปากประกบเชื่อมกันให้สนิท 
          ไหว หมายถึง การบรรเลงให้เสียงดนตรีหลาย ๆ เสียงที่ติดต่อกันนั้น มีระยะถี่และในจังหวะ เร็ว หากทำได้ถี่และเร็วมาก ก็เรียกว่าไหวมาก          
ออก คือ การบรรเลงที่เปลี่ยนจากเพลงหนึ่งไปอีกเพลงหนึ่ง เช่น บรรเลงเพลงช้าแล้วเปลี่ยน เป็นเพลงเร็ว ก็เรียกว่า ออกเพลงเร็ว เปลี่ยนจากเพลงธรรมดาไปเป็นเพลงลูกหมด ก็ เรียกว่า ออกลูกหมด 


เทคนิคการเก็บ และการ กรอ มีความ เหมือน หรือ แตก ต่าง กัน อย่างไร

http://writer.dek-d.com/title30016/story/view.php?id=200394
http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=1&chap=9&page=t1-9-infodetail06.html

   
เทคนิคการเก็บ และการ กรอ มีความ เหมือน หรือ แตก ต่าง กัน อย่างไร