แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส เหมือน และ ต่าง กัน อย่างไร

แรงที่ไม่สัมผัสคือแรงที่กระทำต่อวัตถุโดยไม่สัมผัสวัตถุ [1]ส่วนใหญ่แรงติดต่อไม่คุ้นเคยคือแรงโน้มถ่วงซึ่งฟาโรห์น้ำหนัก [2]ในทางตรงกันข้ามแรงสัมผัสคือแรงที่กระทำต่อวัตถุที่สัมผัสทางกายภาพกับวัตถุนั้น [2]

ปฏิสัมพันธ์พื้นฐานที่รู้จักทั้งสี่นั้นเป็นแรงที่ไม่สัมผัส: [3]

  • แรงโน้มถ่วงแรงของแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ระหว่างหน่วยงานทั้งหมดที่มีมวลแรงที่กระทำต่อวัตถุแต่ละชิ้นโดยน้ำหนักของวัตถุแต่ละชิ้นนั้นเป็นสัดส่วนกับมวลของวัตถุที่หนึ่งคูณกับมวลของวัตถุที่สองหารด้วยกำลังสองของระยะห่างระหว่างวัตถุทั้งสอง
  • แม่เหล็กไฟฟ้าเป็นแรงที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า บริเวณที่เกิดเหตุการณ์นี้เรียกว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ตัวอย่างของพลังนี้รวมถึง: ไฟฟ้า , แม่เหล็ก , คลื่นวิทยุ , ไมโครเวฟ , อินฟราเรด , แสงที่มองเห็น , รังสีเอกซ์และรังสีแกมมาแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางในกระบวนการทางเคมี ชีวภาพ ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
  • แรงนิวเคลียร์ที่แข็งแกร่ง : แรงโน้มถ่วงซึ่งแตกต่างและแม่เหล็กไฟฟ้าแรงนิวเคลียร์ที่แข็งแกร่งเป็นแรงระยะทางสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคพื้นฐานภายในนิวเคลียสมันมีประจุอิสระและทำหน้าที่เท่าเทียมกันระหว่างโปรตอนกับโปรตอนนิวตรอนและนิวตรอน และโปรตอนกับนิวตรอน แรงนิวเคลียร์ที่แข็งแกร่งเป็นพลังที่แข็งแกร่งที่สุดในธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม พิสัยของมันมีขนาดเล็ก (ทำหน้าที่เฉพาะในระยะทาง 10 -15ม.) แรงนิวเคลียร์อย่างแรงจะเป็นสื่อกลางทั้งปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันและปฏิกิริยาฟิวชัน
  • แรงนิวเคลียร์ที่อ่อนแอ : อ่อนแอไกล่เกลี่ยแรงนิวเคลียร์ผุβของนิวตรอนซึ่งในนิวตรอนสูญสลายลงในโปรตอนและในกระบวนการปล่อยอนุภาคβและอนุภาคประจุไฟฟ้าเรียกว่านิวตริโนอันเป็นผลมาจากกระบวนการไกล่เกลี่ยผุβแรงนิวเคลียร์ที่อ่อนแอจะมีบทบาทสำคัญในซูเปอร์โนวาทั้งกองกำลังที่แข็งแกร่งและอ่อนแอเป็นส่วนที่สำคัญของกลศาสตร์ควอนตัม

เอฟเฟกต์คาซิเมียร์ยังอาจถูกมองว่าเป็นแรงที่ไม่สัมผัส

ดูสิ่งนี้ด้วย

  • ความตึงเครียด
  • แรงกาย
  • แรงพื้นผิว
  • การกระทำในระยะไกล (ฟิสิกส์)

อ้างอิง

  1. ^ รัสตี้ แอล. ไมเยอร์ส (2006). พื้นฐานของฟิสิกส์ . กลุ่มสำนักพิมพ์กรีน็อด หน้า 40 . ISBN 0313328579.
  2. ^ รัสตี้ แอล. ไมเยอร์ส (2006). พื้นฐานของฟิสิกส์ . กลุ่มสำนักพิมพ์กรีนวูด หน้า 40 . ISBN 0313328579.
  3. ^ จอน เอ. เซเลเซีย (1997). การเตรียมการสำหรับเบื้องต้นวิทยาลัยฟิสิกส์: ไกด์นักศึกษารองพื้น หน้า 41.

กฎการเคลื่อนที่ไม่ใช่แค่เรื่องของคนเรียนสายวิทย์

โดย :

ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์

เมื่อ :

วันจันทร์, 28 ตุลาคม 2562

           หากพูดถึงเรื่องของแรงหรือเรื่องของกฎการเคลื่อนที่คงจะเป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับนักเรียนสายวิทย์ที่ต้องเรียนตั้งแต่ มัธยมศึกษาปีที่ 4 แต่ว่าเรื่องทั้งสองนี้ก็เป็นเรื่องที่เป็นความรู้รอบตัวที่สำคัญแม้แต่ผู้ที่เรียนทางด้านภาษาหรือสังคมก็ควรรู้เอาไว้ วันนี้จึงจะมาเล่าเรื่องพวกนี้ให้เข้าใจง่าย ๆ คนที่ไม่มีพื้นฐานก็จะสามารถอ่านทำความเข้าใจได้อย่างแน่นอน

แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส เหมือน และ ต่าง กัน อย่างไร

ภาพการขี่จักรยานแสดงการเคลื่อนที่
ที่มา https://pixabay.com, Free-Photos

           ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจพื้นฐานของกฎการเคลื่อนที่นั้น เราต้องรู้จักคำว่า “แรง” กันก่อน

           แรง (F) คือสิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ ทำให้วัตถุมีความเร็วมากขึ้นก็ได้ ความเร็วลดลงก็ได้ หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ก็ได้ เพราะทั้งสามอย่างนี้เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับขนาดและทิศทางของแรง นอกจากนี้แรงยังเป็นสิ่งที่ทำให้วัตถุรักษาสภาพรูปร่างไว้ได้ (maintain) หรือทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างก็ได้ (distort) โดยแรงมีหน่วยสากลคือ นิวตัน (N)

ประเภทของแรง

  1. แรงที่เกิดการสัมผัส (Contact Force) เป็นแรงที่ต้องมีการสัมผัสกันของวัตถุ 2 ชิ้น เช่น การวิ่ง (เป็นการกระทำแรงลงบนพื้น) การชนกันของวัตถุ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีก 6 ประเภท คือ
    1. แรงตึง (tensional)

    2. แรงสปริง (spring)

    3. แรงปฏิกิริยา (normal reaction)

    4. แรงเสียดทาน (friction)

    5. แรงต้านอากาศ (air friction)

    6. น้ำหนัก (weight)

  2. แรงที่ไม่เกิดการสัมผัส (Non - Contact Force) เช่น แรงโน้มถ่วง แรงทางแม่เหล็ก แรงทางไฟฟ้า เหล่านี้ล้วนเป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุใด ๆ ได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัสและสามารถเกิดแรงเหล่านี้ได้แม้แต่ในอวกาศ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

    1. แรงโน้มถ่วง (gravitational)

    2. แรงทางไฟฟ้า (electrical)

    3. แรงทางแม่เหล็ก (magnetic)

หน่วยของแรง

  • แรงคือปริมาณเวกเตอร์ (ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง)

  • หน่วย SI ของแรงคือ นิวตัน N (คนที่คุณก็รู้ว่าใคร)

  • 1 นิวตัน = 1 kg⋅m/s2 ; kg = kilogram, m = meter, s = second

 (ตรงนี้อาจจะเข้าใจยากแต่ที่มาที่ไปคือ แรงเกิดจากการนำ “มวล” คูณกับ “ความเร่ง”)

แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

    สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องแรงนั้นผู้ที่ได้คิดค้นเป็นผู้แรกและถูกบันทึกไว้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เราทุกคนน่าจะเคยได้ยินชื่อของท่าน เซอร์ไอแซค นิวตัน โดยท่านได้บัญญัติกฎเรื่องแรงขึ้นมา 3 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้

ข้อที่ 1

" วัตถุที่หยุดนิ่งจะพยายามหยุดนิ่งอยู่กับที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ส่วนวัตถุที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำเช่นกัน "

นี่คือสิ่งที่เรียกว่า  ความเฉื่อย กล่าวคือ วัตถุจะไม่มีการเพิ่มความเร็ว ลดความเร็ว หรือเปลี่ยนทิศทางถ้าไม่มีแรงมากระทำ (อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องปกติแต่ว่ามันพิเศษมากที่ท่านสามารถสังเกตจนสรุปและบัญญัติออกมาเป็นกฎได้)

ข้อที่ 2

“ ความเร่งของวัตถุจะแปรผันตามแรงที่กระทำต่อวัตถุ แต่จะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ ”

F = ma ถ้าคุณผู้อ่านหยิบสูตรนี้ไปถามนักเรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์ เด็ก ๆ จะตอบได้อย่างแน่นอนเพราะเป็นเรื่องที่ถูกบรรจุอยู่ในรายวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน ม.4 แรงเพิ่ม ความเร่งก็เพิ่ม แรงลด ความเร่งก็ลด กลับกัน ถ้ามวลเพิ่ม ความเร่งจะลด มวลลด ความเร่งจะเพิ่ม ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเขวี้ยงลูกบอลออกไปกระแทกลงพื้น ในขณะที่บอลกระทบพื้นนั้นบอลจะกระจายแรงของตัวเองลงสู่พื้นซึ่งมีค่าขึ้นกับความเร่งของลูกบอล แต่ในขณะเดียวกันนั้นพื้นก็มีแรงกระแทกกลับสู่ลูกบอลซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ลูกบอลเด้งกลับขึ้นมาจากพื้น ซึ่งสูตรนี้ของนิวตันทำให้เราประยุกต์ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างมากมายเพราะถ้าเราทราบหรือมีข้อมูลของตัวแปรสองตัวเราก็สามารถรู้และหาค่าตัวที่สามได้ทันที และเราก็ยังรู้ด้วยว่าเมื่อใดก็ตามที่วัตถุมีความเร่ง หมายความว่าวัตถุนั้นต้องมีแรงกระทำกับมันอย่างแน่นอน

ข้อ 3   

“แรงที่วัตถุที่หนึ่งกระทำต่อวัตถุที่สองย่อมเท่ากับแรงที่วัตถุที่สองกระทำต่อวัตถุที่หนึ่งแต่ทิศทางตรงข้ามกัน”

“(Action = Reaction)”

ยกตัวอย่างเช่น     ถ้าคุณมีโอกาสได้ไปล่องเรือชมเมืองเวนิสก่อนที่มันจะจมน้ำหมดในอีกไม่ถึง 100 ปี และคุณกระโดดออกจากเรือลงสู่แม่น้ำ แรงที่คุณกระโดดไปข้างหน้าเพื่อออกจากเรือนั้น จะมีแรงที่มีขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงข้ามผลักเรือไปข้างหลัง ซึ่งแรงทั้งสองนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน

          ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านที่ไม่เคยศึกษาเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ของท่านเซอร์ไอแซก นิวตันได้เห็นคุณค่าของผลงานท่านที่เป็นมรดกมาจนถึงทุกวันนี้ และได้เรียนรู้เรื่องของแรงไปในระดับหนึ่ง

แหล่งที่มา

Definition of Force in Physics.  Retrieved Aug 10, 2019, from https://www.thoughtco.com/force-2698978

 Force Definition and Examples (Science)

.Retrieved Aug 10, 2019, from https://www.thoughtco.com/force-definition-and-examples-science-3866337

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

กฎการเคลื่อนที่, แรง, ประเภทของแรง, หน่วยของแรง, มวล, ความเร่ง, นิวตัน

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันเสาร์, 10 สิงหาคม 2562

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ฟิสิกส์

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส เหมือน และ ต่าง กัน อย่างไร

Hits

แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส เหมือน และ ต่าง กัน อย่างไร
(17888)

อย่างที่เราเข้าใจกันดีว่าทฤษฎีต่างๆ ในวงการวิทยาศาสตร์ทุกแขนงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อไรที่ค้นพบข้ ...

แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส เหมือน และ ต่าง กัน อย่างไร

Hits

แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส เหมือน และ ต่าง กัน อย่างไร
(38902)

ทุกคนน่าจะพอทราบความหมายของแรงโน้มถ่วงกันมาบ้างว่ามันคือแรงที่ดึงดูดระหว่างดาวเคราะห์ไว้ด้วยกัน (เก ...

แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส เหมือน และ ต่าง กัน อย่างไร

Hits

แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส เหมือน และ ต่าง กัน อย่างไร
(55152)

ความเร็วและความเร่งคือแนวคิดหลักสองอย่างเมื่อทำการศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีเวลาเข้ามาเก ...

แรงที่ไม่สัมผัสมีอะไรบ้าง

แรงที่ไม่เกิดการสัมผัส (Non - Contact Force) เช่น แรงโน้มถ่วง แรงทางแม่เหล็ก แรงทางไฟฟ้า เหล่านี้ล้วนเป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุใด ๆ ได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัสและสามารถเกิดแรงเหล่านี้ได้แม้แต่ในอวกาศ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ แรงโน้มถ่วง (gravitational) แรงทางไฟฟ้า (electrical)

แรงผลักมีอะไรบ้าง

แรงผลักหรือการผลัก เป็นการออกแรงดันหรือเข็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกจากตัว เช่น คนเตะฟุตบอล ช้างงัดซุง เด็กปั่นจักรยาน ฯลฯ แรงจากการเตะฟุตบอล แรงดันรถเข็น แรงผลักวัตถุ

แรงไฟฟ้าเป็นแรงชนิดใด(แรงสัมผัส หรือ แรงไม่สัมผัส)

เมื่อถูวัตถุบางชนิดจะเกิดแรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นแรงไม่สัมผัส โดยเมื่อนำวัตถุบางชนิดที่ผ่านการถูนี้ไปเข้าใกล้วัตถุอื่นจะดึงดูดวัตถุนั้นให้เคลื่อนที่ได้โดยวัตถุไม่จำเป็นต้องสัมผัสกัน

แรงหมายถึงอะไร ป.3

แรง (force) หมายถึง สิ่งที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงลักษณะหรือสภาพการเคลื่อนที่ เช่น ทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น ช้าลง หยุดนิ่ง รวมทั้งยังทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ เนื่องจากแรงเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง