ปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่มีลักษณะการใช้งานอย่างไร

โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส

Show

โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป็น 4,600 ล้านคน

วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

  • 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac
  • 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC
  • 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS
  • 2.75G ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น CDMA2000 1xRTT, EDGE
  • 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA, CDMA2000 1x-EVDO
  • 3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA
  • 4G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ Real-Digital สามารถเชื่อมต่อข้อมูล 3 แบบ ภาคพื้นดิน CDMA PA-H และการเชื่อมต่อ ewifi และ Wi-Max เพื่อการเชื่อมภาพและเสียงเป็นข้อมูลเดียวกัน

ระบบปฏิบัติการมือถือ

  • ซิมเบียน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในค่ายโนเกีย
  • วินโดวส์โมบาย จะใช้กับโทรศัพท์มือถือที่เป็น PDA (Personal digital assistants)
  • ไอโอเอส (ios) ใช้เฉพาะใน ไอโฟน ไอแพด และ ไอพอดทัช
  • BlackBerry OS (BB)
  • แอนดรอยด์ จากทาง google
  • เว็บโอเอส (webOS)
  • มีโก (MeeGo) จากทางโนเกีย(nokia)

ประวัติโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

  • ปี พ.ศ. 2529 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้เริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยนำระบบ NMT (Nordic Mobile Telephone System) ซึ่งมีให้บริการในประเทศแถบสแกนดิเนเวียน แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องความถี่ในการนำมาให้บริการจาก ความถี่ 450MHz เป็น 470MHz จึงเป็นที่มาของชื่อระบบ NMT470 ซึ่งนับเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแรกของประเทศไทย ระยะแรกให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมลฑลและจังหวัดชายฝั่งด้านตะวันออก ก่อนขยายบริการไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ลักษณะของเครื่องลูกข่ายของระบบ NMT470 จะมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 1-5 กิโลกรัม ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบมือถือเช่นปัจจุบัน บางครั้งผู้ใช้จึงเรียกว่าโทรศัพท์กระเป๋าหิ้ว
  • ปี พ.ศ. 2530 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้นำระบบ AMPS (Advance Mobile Phone System) ความถี่ 800MHz มาให้บริการ โดยคุณลักษณะเด่นของระบบ AMPS800 คือเครื่องลูกข่ายที่มีขนาดเล็ก สามารถถือไปมาได้โดยสะดวก จึงได้รับความนิยมมากและเป็นที่มาของโทรศัพท์มือถือ ระบบ ANPS800 เริ่มให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ก่อนขยายไปตามหัวเมืองใหญ่ แต่การให้บริการระยะแรกไม่ได้เรียกผ่านรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ (รหัส 01) แต่ต้องทำการเรียกผ่านหมวดเลขหมายของพื้นที่กรุงเทพฯ จึงทำให้ผู้ใช้บริการต้องเสียค่าโทรทั้งการโทรออกและรับสาย

การกำหนดรหัสเรียกเข้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

  • ในปี พ.ศ. 2529 ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้เริ่มให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ NMT470 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยนั้น ได้กำหนดรหัสสำหรับการเรียกเข้าสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการเฉพาะขึ้น นอกเหนือจากรหัสทางไกลสำหรับโทรไปยังภูมิภาคต่างๆ รหัสที่กำหนดคือ 01 ซึ่งผู้ที่ต้องการติดต่อหรือโทรเข้ายังระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องใส่รหัส 01 หน้าเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 7 หลัก ซึ่งใช้สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขององค์การโทรศัพท์และบริษัทผู้รับ สัมปทานของทศท. แต่ผู้ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยและบริษัทที่รับ สัมปทานของกสท.จะต้องเรียกเลขหมายซึ่งขึ้นต้นด้วย 02 เหมือนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน ต่อมาจึงได้ปรับให้มีการใช้เลขหมาย 01 เช่นกัน
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2544มี การขยายตัวของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นจำนวนมาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้มีการปรับระบบเลขหมายโทรศัพท์ (Numbering Plan) ใหม่ทั้งระบบทั่วประเทศ จากการเรียกเลขหมายในกลุ่มเดียวกันที่ไม่ต้องใช้เลขหมายทางไกล(กลุ่ม)มาเป็น ใส่เลขหมายทางไกลนำหน้าของโทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ เขตนครหลวง รหัสทางไกล 02 และเลขหมาย 7 หลักจาก (02) xxx-xxxx เป็น 0-2XXX-XXXX กลุ่มภาคกลางเขต 1 รหัสทางไกล 032 และเลขหมาย 6 หลักจาก (032) XXX-XXX เป็น 0-32XX-XXXX เป็นต้น และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ 01 มาเป็นการเรียก 01นำหน้าเลขหมาย 7 หลัก มาเป็น 0-1XXX-XXXX

พร้อมกันนี้ก็ได้เพิ่มกลุ่มเลขหมายเคลื่อนที่อีกหนึ่งกลุ่มคือ 09 ซึ่งเลขหมายเป็น 0-9XXX-XXXX แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการเปิดใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงได้มีการเพิ่มกลุ่มเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่ม 06 ซึ่งมีเลขหมายเป็น 0-6XXX-XXXX

ระบบโทรศัพท์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้น มีวิวัฒนาการเรื่อยมา นับตั้งแต่เมื่อที่ Alexander Graham Bell เป็นผู้คิดค้นเครื่องโทรศัพท์ที่มีสายไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่าง 2 เครื่อง จวบจนปัจจุบันที่เครื่องโทรศัพท์เป็นแบบไร้สาย และไม่จำเป็นต้องมีเสาอากาศเนื่องจากระบบโทรศัพท์ยุคใหม่เป็นการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า VoIP Phone

อย่างไรก็ตาม ระบบโทรศัพท์ VoIP Phone นั้น จะให้เสียงที่คมชัดหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ใช้ด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้ว พัฒนาการของ VoIP Phone นั้น ขึ้นอยู่กับยุคสมัยของอินเตอร์เน็ตด้วยเช่นกัน เช่น หากสัญญาณอินเตอร์เน็ตแรงและเร็ว การใช้งานของระบบโทรศัพท์ย่อมคมชัดและมีประสิทธิภาพสูงตามไปด้วย

พัฒนาของอินเตอร์เน็ตในแต่ละยุคนั้น มีความเชื่อมโยงกับระบบโทรศัพท์และอุปกรณ์สื่อสารกันเหมือนเส้นขนาน เรามาดูกันว่า แต่ละยุคสมัยของเทคโนโลยีการสื่อสารนั้น มีความเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน

  • 1G ยุคของโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก

ถือเป็นยุคแรกๆ ที่มีโทรศัพท์มือถือใช้บนโลกใบนี้ ในยุค 1G นั้น เครื่องโทรศัพท์ยังเป็นแบบปุ่มกดนูนๆ ที่มาพร้อมกับเสาอากาศขนาดใหญ่ ในยุคนั้นเครื่องโทรศัพท์ทำได้เพียงแค่การโทรเข้า-ออก และรับสายหรือที่เรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบอนาล็อก โดยหลักการของการสื่อสารแบบอนาล็อกนั้น จะเป็นการส่งสัญญาณแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) หรือแบ่งช่องความถี่เป็นแบบย่อยๆ หลายช่อง แล้วใช้สัญญาณวิทยุส่งคลื่นเสียงไปยังสถานีรับส่งสัญญาณ หนึ่งคลื่นความถี่จึงเท่ากับหนึ่งช่องสัญญาณ การใช้บริการระบบโทรศัพท์จึงใช้ได้เพียงช่องความถี่ที่ว่างอยู่เท่านั้น ในยุค 1G จึงไม่สามารถรับส่งข้อความใดๆ ได้ และไม่รองรับการใช้งานจำนวนมาก อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการดักฟังโทรศัพท์ได้ง่าย

  • 2G พัฒนาการส่งคลื่นเสียงแบบอนาล็อกไปเป็นดิจิทัล

ยุคนี้มีการพัฒนาจากแบบอนาล็อกมาเป็นดิจิทัล ซึ่งอาศัยการเข้ารหัสโดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้ปลอดภัยในการใช้งาน และช่วยเรื่องสัญญาณเสียงที่คมชัดมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่าง FDMA กับ TDMA (Time Division Multiple Access) สามารถรองรับผู้ใช้งานในปริมาณมากขึ้น รวมทั้งส่งข้อความถึงกันได้มากกว่าแค่โทรเข้า-ออก และรับสาย อีกทั้งรูปลักษณ์ของโทรศัพท์ในยุคนี้ได้พัฒนาให้ดูทันสมัย มีน้ำหนักเบา และใช้งานง่ายขึ้น

  • 2.5G ยุคที่มีการกำเนิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS

เป็นช่วงที่มีเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) เกิดขึ้น ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้มากกว่าแค่ข้อความ แต่เป็นการส่งภาพหรือข้อความในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นหรือที่เรียกว่า MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอเริ่มเป็นจอสี เสียงเรียกเข้าเริ่มพัฒนาเป็นแบบ MP3 และเริ่มเล่นอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 115 kbps

  • 2.75G มีการพัฒนาจาก GPRS เป็น EDGE เพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 3G

เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data Rates for Global Evolution) ซึ่งพัฒนาต่อมาจาก GPRS ในยุค 2.75G ผู้คนจึงสามารถเล่นอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็วที่มากขึ้นหรือสูงสุดที่ 180 kbps

  • 3G มีความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่าย 24 ชั่วโมง (Always on)

ถือเป็นยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เช่น สามารถออนไลน์ผ่านมือถือได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยุค 2G จะออนไลน์ได้เฉพาะเมื่อมีการ Log-in เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายเท่านั้น แต่ยุค 3G จะมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายตลอดเวลา แต่จะเสียค่าบริการเมื่อมีการใช้ข้อมูลผ่านเครือข่าย ต่างจากยุคก่อนหน้านี้ที่เมื่อ Log-in เข้าระบบจะเสียค่าบริการทันที โดยในยุคนี้ความเร็วของเครือข่ายจะสูงกว่าแบบเดิม เป็นยุคที่เริ่มมีการโทรผ่านอินเตอร์เน็ตได้ คุยแบบเห็นหน้าได้ ประชุมทางไกล ดูทีวีและวีดิโอออนไลน์ ตลอดจนเล่นเกมออนไลน์ได้

  • 4G มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 100 Mpbs 

ถือเป็นยุคที่มีการประมวลเอาคุณภาพของการสื่อสารยุค 1G-3G มาพัฒนาในเรื่องความเร็วของการรับส่งข้อมูล โดยจะอยู่ที่ 100 Mbps ทำให้สามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตได้และสัญญาณไม่มีการกระตุก สามารถดูวีดิโอออนไลน์ได้อย่างคมชัด โทรทางไกลข้ามประเทศผ่านอินเตอร์เน็ตม Video Call และประชุมผ่านโทรศัพท์ได้ง่ายดาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งสามารถรองรับระบบโทรศัพท์ VoIP Phone ได้อย่างราบรื่น

  • 5G ระบบการสื่อสารไร้สาย รับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า 4G ถึง 20 เท่า

สำหรับยุค 5G นั้น ถือเป็นการเข้าสู่การสื่อสารยุคใหม่ของทั่วโลก ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ประเทศที่เริ่มใช้ 5G ในเชิงพาณิชย์ อาทิ จีน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และยุโรปบางประเทศ ส่วนในไทยได้ประมูลคลื่นความถี่กันเป็นที่เรียบร้อยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สิ่งที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยเปิดใช้เครือข่าย 5G คือ ความเร็วสูงกว่า 4G อย่างมากหรือราวๆ 500 Mbps (หรือขั้นต่ำตั้งแต่ 1Gbps – มากกว่า 10 Gbps) สามารถรองรับเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์อัจฉริยะ ตลอดจนการผลักดันเมืองไปสู่การเป็น Smart City เป็นต้น

โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ในปัจจุบันเป็นแบบใด

ระบบCellular. ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรังผึ้ง ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน โดยการแบ่งเซลล์ ออกเป็นย่อยๆเหมือนเซลล์ แต่ละเซลล์ ความถี่ซ้ำกันได้ซึ่งเป็นการใช้ความถี่ให้คุมค่าเซลล์ทุกเซลล์ จะทำงานสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องกัน ช่วยกันตลอด ดังนั้นจึงสามารถถือโทรศัพท์ไปใช้ในเซลล์ไหนก็ได้

โทรศัพท์มีลักษณะอย่างไร

เครื่องโทรศัพท์ (อังกฤษ: Telephone) เป็นอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่อนุญาตให้ ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่า สามารถสนทนากัน เมื่อพวกเขาไม่ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันที่จะได้ยินเสียงกันโดยตรง เครื่องโทรศัพท์จะแปลงเสียง, โดยทั่วไปเป็นเสียงมนุษย์, ให้เป็นสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสำหรับการส่งผ่านทางสายเคเบิลหรือผ่านสื่ออื่น ๆ ...

โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้สัญญาณอะไร

โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่นโทรศัพท์มือถือที่มี ...

โทรศัพท์มือถือมีความสําคัญอย่างไร

ข้อดี 1.ใช้สื่อสารทางไกลสื่อสารรวดเร็ว (ดีที่สุดล่ะ) 2.ศึกษาหาความรู้ จากการท่องอินเทอร์เน็ต 3. ดูหนัง ฟังเพลง และความบันเทิงอื่นๆ 4.ใช้เป็นนาฬิกาปลุกกะเครื่องคิดเลข 5.ใช้บันทึกข้อมูล เตือนความจํา