การฟังและการดูมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเราอย่างไร

ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง

ในชีวิตประจำวันของเรา เราเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แล้วเราเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับระดับของการฟังอย่างง่ายๆ กันค่ะ แล้วลองทบทวนดูว่าส่วนใหญ่แล้วเราฟังที่ระดับการฟังแบบไหนนะคะ 

การฟัง 5 ระดับ

1 ไม่สนใจฟัง คือ ไม่ได้สนใจที่จะฟัง ฟังผ่านหู

2 แกล้งฟัง คือ ทำเหมือนสนใจฟังอยู่ อาจมีการพยักหน้าหรืออือๆ แต่ไม่ได้ฟังอยู่จริง หากผู้พูดถามอะไรมาก็จะตอบไม่ได้ 

3 เลือกฟัง คือฟังเฉพาะสิ่งที่เราสนใจ อะไรที่เราไม่สนใจ ก็ปล่อยผ่านไม่ได้ฟัง

4 ฟังอย่างตั้งใจ คือ การฟังเพื่อจับประเด็นเนื้อหาใจความที่ผู้พูดเล่า เช่น การฟังในห้องเรียน ฟังในที่ประชุม

5 ฟังอย่างเข้าใจ คือ การฟังเพื่อเข้าใจคนตรงหน้าอย่างแท้จริง เป็นการฟังโดยไม่ตัดสินผู้พูด ฟังเพื่อเข้าใจความรู้สึก ความต้องการ มุมมอง ความเชื่อ สิ่งที่ผู้พูดให้ความสำคัญหรือให้คุณค่า 

การฟังอย่างเข้าใจนี้อาศัยสติหรือการรู้ตัวเป็นอย่างมาก เพราะหากเรารู้เท่าทันความคิดของเรา เราถึงจะเห็นว่าเราเผลอตัดสิน (judge) ผู้พูดหรือเปล่า เช่น คิดในใจว่า จริงเหรอ โอ๊ยคิดแบบนี้ได้ไง เป็นต้น ถ้าเผลอตัดสินในใจ เราก็ไม่ได้ฟังอย่างเข้าใจเขาจริงๆ แล้วล่ะค่ะ 

คงมีคำถามในใจเนอะ ว่าปกติคนเราตัดสินคนอื่นบ่อยเหรอ 

คนเราแต่ละคน ล้วนมีความคิด ความเชื่อ คุณค่า ประสบการณ์ที่แตกต่าง แม้กระทั่งพี่น้องกันก็ยังคิดเห็นแตกต่าง ทำให้มุมมองแตกต่าง เรามักคิดว่าสิ่งที่เราคิดถูกต้องเสมอ และมองว่าคนที่คิดไม่เหมือนเราคิดผิด หรือไม่เห็นด้วยกับความคิดเขา (ส่วนใหญ่จะเป็นโดยอัตโนมัติค่ะ) 

หากเราฟังโดยมีสติไม่มากพอเราก็จะไม่เห็นว่าเผลอตัดสินเขาไหม แต่หากเรามีสติมากพอ พอเรารับรู้ถึงความคิดที่ตัดสิน หรือความคิดอื่นๆ ที่แวบเข้ามาในหัวเรา เราก็กลับมาฟังคนตรงหน้าต่อ ก็จะช่วยที่อยู่กับคนตรงหน้าอย่างแท้จริงค่ะ 

แล้วการฟังอย่างเข้าใจ มีประโยชน์อะไร ทำไมเราถึงต้องฟังล่ะ

ประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ

1. ช่วยให้ผู้พูดรู้สึกไว้วางใจและเปิดใจที่จะเล่า

2. ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังดีขึ้น ผู้พูดรู้สึกว่าเราใส่ใจ ให้เกียรติเขา รู้สึกดีต่อเรา

3. เราในฐานะผู้ฟัง เข้าใจผู้พูดและมีความเห็นอกเห็นใจเขามากขึ้น และมีอคติต่อผู้อื่นลดลง

4. ช่วยให้ผู้พูดกล้านำเสนอไอเดียต่างๆ ที่มีประโยชน์ ลองนึกดูนะคะ ถ้าไม่ฟังกันเลย ในที่ประชุมก็จะไม่ค่อยมีคนกล้าแสดงความคิดเห็นอะไรดีๆ เพราะรู้ว่าพูดไปก็ไม่ฟังอยู่ดี เป็นต้นค่ะ

สิ่งสำคัญของการฟัง คือ การฝึกฟังที่ฟังจริงๆ แม้มุมมองจะต่างกัน แต่เราฟังด้วยเจตนาที่อยากเข้าใจเขา เข้าใจโลกแบบมุมมองเขาค่ะ

อ่านมาถึงตรงนี้ เห็นว่าส่วนใหญ่เราฟังแบบไหนนะ แล้วจะลองไปฝึกฟังกับใครก่อนดี อาจจะลองฟังคนใกล้ตัวก่อนก็ได้นะคะ คนใกล้ตัวแหละค่ะ แหล่งฝึกที่ดีเลย ^^

เช่น ลองไปถามคุณพ่อคุณแม่ว่าชีวิตวัยเด็กเป็นยังไงก็ได้นะคะ แล้วก็ฟังยาวๆ ห้ามพูดแทรกค่ะ แล้วจะเข้าใจและรักเขามากขึ้นเลยค่ะ 

หวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าการฟังของตนเองเป็นอย่างไร และอยากที่จะฝึกฟังเพิ่มขึ้นนะคะ

ขอบคุณที่ติดตามค่ะ และขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการพัฒนาทักษะการฟังนะคะ

อ.ก้อย

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง: 6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 

การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

การฟังอย่างลึกซึ้งเพื่องานบริการ

การฟังและการดูเป็นกระบวนการทำงานของสมอง  ซึ่งสืบเนื่องมาจากสิ่งที่ได้ฟังและได้เห็นจดจำและนำมาตีความ  จนเป็นผลให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  การฟังและการดูให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้

  1. ประเภทของการฟังและการดู  แบ่งเป็น  2  ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

การฟังและการดูโดยไม่ตั้งใจ  เป็นการฟังและการดูแบบผิวเผินไม่ได้ดูและฟังอย่างตั้งใจหรือเอาใจใส่  เช่น  การฟังวิทยุในรถยนต์  การดูป้ายโฆษณาบนถนน  เป็นต้น

การฟังและดูโดยตั้งใจเป็นการฟังและดูโดยมีจุดประสงค์  ความต้องการและเป้าหมายให้ชัดเจน  คือจะดูหรือฟังเพื่ออะไร  อย่างไร  เช่น  การฟังบรรยายในชั้นเรียน  เป็นการฟังเพื่อจับใจความสำคัญว่าเนื้อหาที่ได้ศึกษาเป็นเรื่องอะไร  ม่ความเป็นมาอย่างไร  มีลักษณะอย่างไร  เป็นต้น

  1. ความสำคัญของการฟังและการดู

การฟังและการดูมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราดังนี้

ช่วยในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน

ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ

ช่วยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

  1. จุดมุ่งหมายของการฟังและการดู  ที่สำคัญมีดังนี้

ฟังและดูเพื่อให้เกิดความรู้

ฟังและดูเพื่อความบันเทิง

ฟังและดูเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน

ฟังและดูเพื่อความสุนทรีย์

หลักการฟังและดู

การฟังและดูที่มีประสิทธิภาพ  ควรมีความรู้ความเข้าใจในหลักการฟังและการดูพอสมควร  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. หลักการฟัง  การฟังเพื่อให้ได้ผลควรยึดหลักการฟังตามหลักเกณฑ์  ซึ่งจะทำให้ได้ผลดีต่อผู้ฟังเป็นอย่างมากหลักสำคัญสำหรับการฟังและการดูพอสรุปดังนี้

วางตัวตามสบาย

ตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ

ฟังเรื่องราวโดยตลอด

ฟังเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งชื่นชมและประทับใจ

ฟังแล้วเกิดจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ฟังแล้วสามารถจับประเด็นสาระและสรุปเรื่องได้

  1. หลักการดู หลักการสำคัญสำหรับการดู  จำแนกได้ดังนี้

ดูอย่างสบาย

ดูอย่างจดจ่อ

ดูให้ครบถ้วนตลอดเรื่องราว

ดูโดยมีข้อมูล

ดูแล้วติตาม

ดูแล้วเล่าได้

มารยาทในการฟังและดู

สำหรับการฟังและการดูในที่สาธารณะนั้น  ผู้ฟังควรเข้าประจำที่ที่จัดไว้ให้นั่งฟังหรือดูก่อนเวลาที่กำหนดเล็กน้อย  หากมาถึงสถานที่ก่อนเวลาควรเลือกแถวนั่งด้านหน้า  แต่ถ้ามาสายควรยืนและน้อมตัวเล็กน้อยไปทางประธานเพื่อเป็นการขออนุญาตแล้วจึงนั่งลง

มารยาทในการฟัง

  1. เมื่อผู้พูดขึ้นเวทีควรปรบมือเพื่อเป็นการให้เกียรติ
  2. ควรฟังด้วยความตั้งใจ
  3. ไม่ควรก่อความรำคาญหรือรบกวนผู้อื่น
  4. ปิดอุปกรณ์สื่อสารเพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น
  5. ควรปรบมือให้เกียรติผู้พูดเป็นครั้งคราว
  6. เมื่อมีธุระที่จำเป็นจะต้องออกจากห้องประชุม  ควรทำความเคารพแล้วหันไปทางผู้พูดเพื่อเป็นการขออนุญาต
  7. เมื่อผู้พูด  พูดจบควรปรบมือ
  8. เมื่อผู้พูดเปิดโอกาสให้ซักถาม  ควรยกมือขึ้นก่อนแล้วรอให้ได้รับอนุญาตก่อนแล้วค่อยถามหรือเดินไปที่ไมโครโฟน
  9. หากมีข้อสงสัยควรจดหรือเขียนใส่กระดาษโดยไม่ต้องเขียนคำทักทาย
  10. ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
  11. เมื่อผู้พูดลงจากเวทีหรือมีการมอบของที่ระลึกควรปรบมือ
  12. เมื่อผู้พูดที่เป็นผู้ใหญ่ออกจากเวทีควรลุกขึ้นยืนเพื่อเป็นการให้เกียรติ
  13. หากผู้พูดกล่าวคำทักทายควรตอบสั้น ๆ ด้วยท่าทางสำรวมและเหมาะกับสถานภาพ

มารยาทในการดู

  1. การดูที่มีเก้าอี้ที่มีหมายเลขกำกับ  ผู้ชมควรไปถึงก่อนเวลาเล็กน้อย
  2. การยืนดูควรใช้หลักการอะลุ่มอล่วยกัน  คือ  ให้ความเห็นใจ  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
  3. ในขณะที่ชมการแสดงไม่ควรแสดงตนอวดรู้
  4. การเดินเข้าไปในสถานที่ชมควรเดินเข้าออกตามลำดับ
  5. การวิจารณ์ผู้แสดงไม่ควรพูดในขณะที่แสดง

การนำอาหารเครื่องดื่มหรือสัตว์เลี้ยงเข้าไปในที่แสดงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะจะทำให้เกิดความรำคาญและรบกวนผู้อื่น

การฟังมีประโยชน์ และ มีความสำคัญ อย่างไร บาง สำหรับ การ ดำรง ชีวิต ของ เรา

1. การฟังทาให้เป็นพหูสูต 2. การฟังทาให้ได้ความรู้ 3. การฟังทาให้ได้รับความเพลิดเพลิน ประโยชน์ของการฟัง 1. เข้าใจความรู้สึกของผู้พูด 2. เพิ่มความรู้และประสบการณ์ 3. มีความสุขและเพลิดเพลิน 4. พัฒนาสมรรถภาพทางความคิด

การฟังและการดูมีความสำคัญอย่างไรในชีวิตประจำวันและในเชิงวิชาชีพ

4. ใช้พัฒนาตนเองและสังคม การรับสารด้วยการฟังและการดูทำให้เกิดความรู้ สร้างความคิด สร้างความเพลิดเพลินใจ และเสริมสร้างโลกทัศน์ของผู้รับสารให้กว้างไกล ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการพัฒนาในส่วนของผู้รับสารเอง เมื่อผู้รับสารนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งสร้างประโยชน์ให้ผู้คนรอบข้างหรือหน่วยงาน ก็จะเป็นการพัฒนาสังคมได้ดี ...

จุดประสงค์ของการฟังและการพูดที่สําคัญคืออะไร

การฟังต้องมีจุดมุ่งหมาย มีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ คือ 1. ฟังเพื่อความรู้ ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่เป็นวิชาการ ข่าวสารและข้อแนะนำต่าง ๆ 2. ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน คือ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนานเพลิดเพลิน 3. ฟังเพื่อให้ได้รับคติหรือความจรรโลงใจ คือ การฟังเรื่องที่ทำให้เกิดแนวคิด และสติปัญญา

จุดมุ่งหมายของการฟังและการดูในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง

จุดมุ่งหมายของการฟังและการดู ๑) เพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ๒) เพื่อรับความรู้ ๓) เพื่อความเพลิดเพลิน ๔) เพื่อคติชีวิตและความจรรโลงใจ