ทักษะการแสวงหาความรู้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการทํางานอย่างไร

ความหมายของการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง        การแสวงหาความรู้  คือ ทักษะที่จะต้องอาศัยการเรียนรู้และวิธีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ช่วยทำให้เกิดแนวความคิดความเข้าใจที่ถูกต้องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะผู้เรียนจะเกิดทักษะในการค้นคว้า สิ่งที่ต้องการและสนใจใคร่รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ

ทักษะการแสวงหาความรู้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการทํางานอย่างไร

ความหมายของการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

        การแสวงหาความรู้  คือ ทักษะที่จะต้องอาศัยการเรียนรู้และวิธีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ช่วยทำให้เกิดแนวความคิดความเข้าใจที่ถูกต้องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะผู้เรียนจะเกิดทักษะในการค้นคว้า สิ่งที่ต้องการและสนใจใคร่รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ   จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง   และสามารถเปรียบเทียบข้อเท็จจริงที่ได้มาว่าควรเชื่อถือหรือไม่ 

ทักษะการสร้างปัญญา

        ทักษะการสร้างปัญญาให้กับผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมี  10  ขั้นตอน  ดังนี้

        ขั้นตอนที่  1 ทักษะการสังเกต  คือ การสังเกตสิ่งที่เราเห็น สิ่งแวดล้อม  หรือสิ่งที่เราจะศึกษา  โดยสังเกตเกี่ยวกับแหล่งที่มา ความเหมือน  ความแตกต่าง  สาเหตุของความแตกต่าง ประโยชน์ และผลกระทบ  วิธีฝึกการสังเกต  คือ   การฝึกสมาธิ  เพื่อให้มีสติ และทำให้เกิดปัญญา  มีโลกทรรศน์  มีวิธีคิด 

        ขั้นตอนที่  2  ทักษะการบันทึก  คือ   การบันทึกสิ่งที่ต้องจำหรือต้องศึกษา  มีหลายวิธี  ได้แก่  การทำสรุปย่อ การเขียนเค้าโครงเรื่อง  การขีดเส้นใต้   การเขียนแผนภูมิ  การทำเป็นแผนภาพ  หรือ ทำเป็นตาราง เป็นต้น วิธีฝึกการบันทึก  คือ  การบันทึกทุกครั้งที่มีการสังเกต  มีการฟัง หรือมีการอ่าน  เป็นการพัฒนาปัญญา

        ขั้นตอนที่  3  ทักษะการนำเสนอ  คือ   การทำความเข้าใจในเรื่องที่จะนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้ได้ โดยจดจำในสิ่งที่จะนำเสนอออกมาอย่างเป็นระบบ  ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การทำรายงานเป็นรูปเล่ม การรายงานปากเปล่า การรายงานด้วยเทคโนโลยี  เป็นต้น   วิธีฝึกการนำเสนอ คือ  การฝึกตามหลักการของการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถนำเสนอ ได้ดีซึ่งเป็นการพัฒนาปัญญา

        ขั้นตอนที่  4  ทักษะการฟัง คือ การจับประเด็นสำคัญของผู้พูด สามารถตั้งคำถามเรื่องที่ฟังได้  รู้จุดประสงค์ในการฟัง  ผู้เรียนจะต้องค้นหาเรื่องสำคัญในการฟังให้ได้  วิธีฝึกการฟัง คือ  การทำเค้าโครงเรื่องที่ฟัง จดบันทึกความคิดหลัก  หรือถ้อยคำสำคัญลงในกระดาษบันทึกที่เตรียมไว้ อาจตั้งคำถามในใจ  เช่น  ใคร  อะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  เพราะเหตุใด  อย่างไร  เพราะจะทำให้การฟัง มีความหมายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

        ขั้นตอนที่  5  ทักษะการถาม  คือ  การถามเรื่องสำคัญ ๆ  การตั้งคำถามสั้น ๆ เพื่อนำคำตอบมา เชื่อมต่อให้สัมพันธ์กับสิ่งที่เรารู้แล้วมาเป็นหลักฐานสำหรับประเด็นที่ กล่าวถึง สิ่งที่ทำให้เราฟัง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  คือ  การถามเกี่ยวกับตัวเราเอง  การฝึกถาม-ตอบ เป็นการฝึกการใช้เหตุผลวิเคราะห์ สังเคราะห์  ทำให้เข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างชัดเจน ถ้าเราฟังโดยไม่ถาม-ตอบ  ก็จะเข้าใจ ในเรื่องนั้น ๆ ไม่ชัดเจน

        ขั้นตอนที่  6  ทักษะการตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม   คือ  การตั้งสมมติฐาน  และตั้งคำถาม สิ่งที่เรียนรู้ไปแล้วได้ว่า   คืออะไร  มีประโยชน์อย่างไร  ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จได้   การฝึกตั้งคำถาม ที่มีคุณค่าและมีความสำคัญ ทำให้อยากได้คำตอบ

        ขั้นตอนที่  7  ทักษะการค้นหาคำตอบจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ  เช่น  จากหนังสือ   อินเทอร์เน็ต  คุยกับคนแก่ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม  การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่สำคัญจะสนุก และทำให้ได้ความรู้มาก บางคำถามหาคำตอบทุกวิถีทางแล้วไม่พบ ต้องหาคำตอบต่อไปด้วยการวิจัย

        ขั้นตอนที่   8  ทักษะการทำวิจัยสร้างความรู้  การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ทุกระดับ การวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่  ทำให้เกิดความภูมิใจ  สนุก และมีประโยชน์มาก

        ขั้นตอนที่   9  ทักษะการเชื่อมโยงบูรณาการ คือ  การเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนรู้มา ให้เห็นภาพรวมทั้งหมด  มองเห็นความงดงาม  มองให้เห็นตัวเอง  ไม่ควรให้ความรู้นั้นแยกออกเป็นส่วน ๆ

        ขั้นตอนที่  10  ทักษะการเขียนเรียบเรียง คือ  การเรียบเรียงความคิดให้ประณีตขึ้น  โดยการค้นคว้า หาหลักฐานอ้างอิงความรู้ให้ถี่ถ้วน แม่นยำขึ้นการเรียบเรียงทางวิชาการจึงเป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ  และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป

การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  (กรมสามัญศึกษา, 2545, หน้า  12-20)

        การศึกษาหาความรู้มีขั้นตอน  ดังนี้

        1.  การกำหนดประเด็นค้นคว้า  ประกอบด้วย
             1.1  การตั้งประเด็นค้นคว้า
             1.2  การกำหนดขอบเขตของประเด็นค้นคว้า
             1.3  การอธิบายประเด็นค้นคว้าซึ่งเป็นการนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นค้นคว้า
             1.4  การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นค้นคว้า

        2.  การคาดคะเน  ประกอบด้วย
             2.1  การตั้งประเด็นคาดคะเน
             2.2  การอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นคาดคะเนผล
             2.3  การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นคาดคะเนผล

        3.  การกำหนดวิธีค้นคว้าและการดำเนินการ  ประกอบด้วย
             3.1  จำแนกวิธีการค้นคว้า  คือ  การระบุแนวทางต่าง ๆ
             3.2  เลือกวิธีการค้นคว้าพร้อมระบุเหตุผล
             3.3  วางแผนค้นคว้าตามแนวทางที่ได้แสดงขั้นตอนการดำเนินการค้นคว้า
             3.4  การคาดคะเนสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคในการค้นคว้า
             3.5  ดำเนินการค้นคว้า

        4.  การวิเคราะห์ผลการค้นคว้า  ประกอบด้วย
             4.1  การจำแนก  จัดกลุ่ม  และจัดลำดับข้อมูล
             4.2  การพิจารณาองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล  โดยจัดลำดับความสำคัญ

        5.  การสรุปผลการค้นคว้า  ประกอบด้วย
             5.1  การสังเคราะห์ข้อมูล  คือ  การเรียบเรียงข้อมูลที่ค้นพบจากการค้นคว้าและสรุปเป็นประเด็น
             5.2  การอภิปรายผลการค้นคว้า  คือ การแสดงความเห็นอย่างมีเหตุผล  เกี่ยวกับประเด็น ที่พบจากการค้นคว้า  พร้อมทั้งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ค้นพบ  ที่สามารถเรียบเรียงไป ถึงประเด็นค้นคว้าใหม่
             5.3  การสรุปกระบวนการในการค้นคว้า  คือ  การระบุขั้นตอนหลักของกระบวนการค้นคว้า
             5.4  การประเมินกระบวนการที่ใช้ในการค้นคว้า  คือ  การวิเคราะห์  จุดอ่อน  จุดแข็ง  และแนวทางแก้ไขกระบวนการค้นคว้าที่กำหนดในการประเมินทักษะการแสวงหาความรู้

ทักษะการแสวงหาความรู้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการทํางานอย่างไร

การแสวงหาความรู้ช่วยพัฒนาการทำงานอย่างไร

การแสวงหาความรู้ คือ ทักษะที่จะต้องอาศัยการเรียนรู้และวิธีการฝึกฝนจนเกิดความ ช านาญ ช่วยท าให้เกิดแนวความคิดความเข้าใจที่ถูกต้องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะผู้เรียนจะเกิด ทักษะในการค้นคว้า สิ่งที่ต้องการและสนใจใคร่รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จะท าให้ทราบข้อเท็จจริง และ สามารถเปรียบเทียบข้อเท็จจริงที่ได้มาว่าควรเชื่อถือหรือ ...

ทักษะการแสวงหาความรู้มีประโยชน์อย่างไร

การแสวงหาความรู้ คือ ทักษะที่ จะต้องอาศัยการเรียนรู้และวิธีการฝึกฝนจนเกิด ความชานาญ ช่วยท าให้เกิดแนวคิดความเข้าใจที่ ถูกต้องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะผู้เรียนจะเกิด ทักษะในด้านการค้นคว้า สิ่งที่ต้องการและสนใจ ใคร่รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จะท าให้ทราบ ข้อเท็จจริงและสามารถเปรียบเทียบข้อเท็จจริงที่ ได้มาว่าควรเชื่อถือ ...

ทักษะในการแสวงหาความรู้ มีอะไรบ้าง

การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีขั้นตอน ดังนี้(กรมสามัญศึกษา, 2545) ๑. การก าหนดประเด็นค้นคว้า ประกอบด้วย (๑) การตั้งประเด็นค้นคว้า (๒) การก าหนดขอบเขต ของประเด็นค้นคว้า (๓) การอธิบายประเด็นค้นคว้าซึ่งเป็นการน าเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นค้นคว้า (๔) การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นค้นคว้า

ประโยชน์ของการแสวงหาความรู้ควบคู่กับการบันทึกมีอะไรบ้าง

1.เป็นหนทางนำไปสู่องค์ความรู้ 3.เป็นสิ่งที่เพิ่มพูนปัญญา คุณลักษณะของที่พึงมีของผู้แสวงหาความรู้text. 2.มีความขยันหมั่นเพียร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ