พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

                พระพุทธรูปสำคัญปางต่างๆ ได้สร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้าในโอกาสต่างๆ             เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระพุทธคุณและเป็นแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตประจำวันของเหล่าชาวพุทธ

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

      พระพุทธรูปปางมารวิชัย

              พระพุทธรูปปางมารวิชัย ความเป็นมาของปางมารวิชัยขณะที่พระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณ โพธิบัลลังก์ พญามารวสวัตตีประทับบนหลังช้างคีรีเมฃล์สูง ๑๕๐ โยชน์ ยกทัพมาหมายจะทำลายความเพียรของพระองค์ พญามารเนรมิตร่างสูงใหญ่มีมือนับพันถือศัสตราวุธพร้อม นำเหล่าเสนามารมากมายมืดฟ้ามัวดิน เหล่าเทวดาทั้งหลายหนีไปหมด แต่พระบรมโพธิสัตว์มิได้หวาดกลัว พวกมารซัดศัสตราวุธเข้าใส่พระบรมโพธิสัตว์ แต่ศัสตราวุธเหล่านั้นกลายเป็นบุปผามาลัยไปสิ้น พญามารยังกล่าวทึกทักว่า รัตนบัลลังก์เป็นของตน พระบรมโพธิสัตว์ ทรงกล่าวว่า รัตนบัลลังก์นี้เกิดมาด้วยบุญที่พระองค์สั่งสมมาแต่ปางก่อน โดยอาศัยแม่พระธรณีเป็นพยาน แม่พระธรณีได้ปล่อยมวยผมบีบน้ำ กรวดอุทิศผลบุญจากการทำทานของพระบรมโพธิสัตว์ให้ไหลพัดพาเหล่ามารไปจนสิ้น

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

  พระพุทธรูปปางลีลา

พระพุทธรูปปางลีลา ความเป็นมาของปางลีลา

          เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยเหล่าเทวดาและพรหมที่ตามมาส่งเสด็จนั้น ขบวนตามเสด็จมาหยุด ณ ประตูสังกัสสนคร เมืองที่พระสารีบุตรจำพรรษาอยู่ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธลีลาและพระสิริงดงามยิ่ง ครอบงำรัศมีของเหล่าเทวดาและพรหมทั้งหลาย เป็นภาพที่งดงามเหนือคำบรรยาย เป็นที่ชื่นชมโสมนัสแก่พุทธบริษัทที่เฝ้ารับเสด็จ

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

พระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนา

พระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนา ความเป็นมาของปางแสดงปฐมเทศนา

          ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหปุณมี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ มีใจความสำคัญดังนี้ คือ ทรงให้งดเว้นทางสุดโต่ง 2 สาย คือ กามสุขขัลลิกานุโยค ได้แก่ การประกอบตนให้หมกมุ่นในกาม และอัตตกิลมถานุโยค คือ ทำตนเองให้ลำบาก ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์ และอริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และเมื่อแสดงธรรมจบลง โกณฑัญญพราหมณ์ (พระอัญญาโกณฑัญญะ) หนึ่งในปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม (สำเร็จเป็นพระโสดาบัน) ในวันนั้น เป็นบุคคลแรกในพุทธศาสนาที่ได้สำเร็จเป็นอริยบุคคล

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

ปางประจำวันเกิดวันอาทิตย์

(ปางถวายเนตร)

พระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้า พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย เป็นเหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือทรงจ้องต้นพระศรีมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลาเจ็ดวันสถานที่นี้เรียกว่า อนิมิสเจดีย์

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

พระประจำวันจันทร์ (ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร)

พระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืน ยื่นพระหัตถ์ทั้งสองไปข้างหน้าแบพระหัตถ์ ตั้งข้างหน้าเสมอพระอุระ จำลองเหตุการณ์ขณะพระพุทธเจ้าประทับที่โรงไฟเมื่อเสด็จไปโปรดชฎิลสามพี่น้องแล้วเกิดฝนตกหนักน้ำหลากมาท่วมบริเวณที่ประทับอยู่พวก ชฎิลสามพี่น้องนี้ขึ้นไปบนที่ดอน พระพุทธเจ้ามิได้เสด็จหนีน้ำไป เช้าขึ้นมาเมื่อพวกชฎิลตามหาพระพุทธองค์ได้พบพระองค์ทรงยืนอยู่ภายในวงล้อมของน้ำที่ท่วมท้นเป็นกำแพงรอบด้านเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

พระพุทธรูปในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา 

พระพุทธรูปในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียร มีพระเขนยรองรับ เรียกอีกอย่างว่า ปางโปรดอสุรินทราหู เป็นเหตุการณ์เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดเชตุวัน เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหูจอมอสูร สำคัญว่าตนมีร่างกายใหญ่โต แสดงความกระด้างกระเดื่องไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะลดทิฏฐิของจอมอสูร จึงทรงเนรมิตกายจนใหญ่กว่า อสุรินทราหู จึงยอมอ่อนน้อม

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

พระประจำวันพุธกลางวัน(ปางอุ้มบาตร)  

พระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตร เป็นเหตุการณ์เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดประยูรญาติกรุงกบิลพัสดุ์ รุ่งขึ้นอีกวันจากวันเสด็จไปถึงในเวลาเช้าพระพุทธองค์ก็ทรงบาตร พาภิกษุสงฆ์ออกไปโปรดสัตว์ เสด็จพุทธดำเนินไปตามถนนในกรุงกบิลพัสดุ์

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

พระประจำวันพุธ (กลางคืน) ปางป่าเลไลยก์

    พระพุทธรูปในพระอิริยาบถประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงาย เป็นเหตุการณ์เมื่อครั้งพระภิกษุเมืองโกสัมพีทะเลาะกันขนานใหญ่ พระพุทธองค์สด็จไปห้ามปราม แต่ไม่มีใครฟัง พระองค์จึงเสด็จหลีกไปประทับอยู่ในป่าโดยมีพญาช้างปาลิไลยกะและลิงคอยเฝ้าปรนนิบัติ

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร


พระประจำวันพฤหัสบดี (ปางสมาธิ หรือ ปางตรัสรู้)   

พระพุทธรูปในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายบนพระเพลา โดยพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นเหตุการณ์เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์      

                                        

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

พระประจำวันศุกร์ (ปางรำพึง)   

พระพุทธรูปในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นทาบพระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นเหตุการณ์เมื่อทรงรำพึงถึงธรรมะที่ตรัสรู้ว่ามีความลึกซึ้งคัมภีรภาพ ยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ ก็ทรงมีพระทัยน้อมไปในความเป็นผู้ขวนขวายน้อย คือไม่อยากไปสอนใคร แต่เมื่อสหัมบดีพรหมมาทูลอัญเชิญ จึงตัดสินพระทัยไปเทศนาสั่งสอนประชาชน

พระพุทธ รูป ปาง ต่างๆ เกี่ยวข้องกับ พุทธ ประวัติ อย่างไร

พระประจำวันเสาร์ (ปางนาคปรก)

พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิ เหนือขนดพญานาคที่มาขดให้ประทับ และแผ่พังพานบังลมและฝนให้ เป็นเหตุการณ์หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ขณะประทับใต้ต้นมุจลินทร์หรือต้นจิก มีฝนตกพรำๆ 7 วันเมื่อฝนหยุดแล้วพญานาคได้จำแลงกลายเป็นมาณพหนุ่มยืมประคองอัญชลีอยู่ข้างๆ

พระพุทธรูปปางสมาธิเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอย่างไร

๒. ปางสมาธิ พระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางหงายซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย หมายถึง พุทธประวัติตอนตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรด้วยปางสมาธิ เมื่อมีมารมาผจญ พระพุทธองค์ทรงแสดงปางมารวิชัยเพื่อปราบมาร เสร็จแล้วจึงเปลี่ยนมาแสดงปางสมาธิอีกครั้งหนึ่ง จนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

การศึกษาเรื่องราวพุทธประวัติผ่านพระพุทธรูปปางต่างๆมีประโยชน์อย่างไร

การศึกษาพุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ทำให้ทราบลักษณะ สัญลักษณ์ของพระพุทธรูปในอิริยาบถต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงพุทธจริยาวัตรว่าครั้งนั้นหรือสมัยนั้นพระพุทธเจ้าทรงทำอะไร และการศึกษาพุทธประวัติจะทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเลื่อมใส และเกิดศรัทธา สามารถนำพระธรรมและโอวาทต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชีวิต และสังคมให้เจริญยิ่ง ...

พระพุทธรูปปางนาคปรกเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอย่างไร

พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้า ...

พระพุทธรูปปางมารวิชัยมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

เดิมเบื้องหน้าของพระพุทธองค์เป็นที่ประดิษฐานรูปนางธรณีบีบมวยผมหลั่งน้ำที่พระพุทธองค์ทรงกระทำทานบารมีไว้ท่วมกองทัพมารจนพ่ายแพ้ไป ตามเหตุการณ์พุทธประวัติของพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธองค์ทรงมีชัยชนะเหนือพญามาร แม้พญามารจะยกเหล่ากองทัพมารมาจำนวนมากมายแต่ก็มิอาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้ พระบรมศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาออก ...