การดูแลสุขภาพที่บ้าน home health care

การดูแลสุขภาพที่บ้าน home health care

การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home health care)

การดูแลสุขภาพที่บ้าน หมายถึง แบบแผนการดูแล, ให้บริการที่เป็นทางการ, สม่ำเสมอโดยบุคลากรทางด้านสุขภาพหลากหลายสาขาวิชาต่อผู้ป่วยโดยตรงในบ้านของผู้ป่วย

การเยี่ยมบ้าน (Home visit)

การเยี่ยมบ้าน หมายถึง วิธีการที่ใช้ในการดูแลสุขภาพที่บ้านซึ่งควรจะมีรูปแบบและวิธีการ เพื่อให้เกิดผลคุ้มค่ามากที่สุด แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวเป็นบุคลากรหนึ่งในทีมเยี่ยมบ้าน ควรที่จะต้องมีความรู้, ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเยี่ยมบ้านด้วย

ข้อบ่งชี้ในการเยี่ยมบ้าน

การที่จะเกิดการเยี่ยมบ้านได้ควรจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

  1. ผู้ป่วยและครอบครัว  มีความเต็มใจให้เยี่ยมบ้าน
  2. ทีมบุคลากรสุขภาพ  มีความเต็มใจในการเยี่ยม

และควรอยู่บนพื้นฐานของระบบบริการปฐมภูมิอันได้แก่ ดูแลแต่แรกทุกเรื่อง, ต่อเนื่อง, เบ็ดเสร็จ, ผสมผสาน, บริการที่เข้าถึงสะดวก และมีระบบปรึกษาและส่งต่อ

Clip VDO การเยี่ยมบ้านของทีมไม้เลื้อย

ทีมไม้เลื้อย โรงพยาบาลกุฉินารายณ์

การดูแลสุขภาพที่บ้าน


เขียนโดย suksala
การดูแลสุขภาพที่บ้าน home health care
การดูแลสุขภาพที่บ้าน home health care

อังคาร 21 ตุลาคม 2557 @ 10:33

แผนงาน
วิจัยการดูแลสุขภาพที่บ้านในระบบบริการปฐมภูมิของไทย
(Operational Research on Home Health Care in Thai Primary Care System) 

เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างระบบการดูแลต่อเนื่อง
Eldery care / Long-term Care / Home Care

ระบบการดูแลสุขภาพบ้านมีความสำคัญและสามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบบริการสุขภาพ อาทิ ความแออัดของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน การกลับเข้ามารับการรักษาซ้ำ (re-admission & revisit) ปัญหาการขาดการดูแลต่อเนื่อง ปัญหาการเดินทางของผู้ป่วยและญาติ ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ในระบบบริการ ปัญหาการขาดแคลนเตียงผู้ป่วย รวมถึงปัญหาเรื่องการฟ้องร้องและการร้องเรียนต่างๆ เพราะการดูแลสุขภาพที่บ้านอย่างเป็นระบบนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่าง เพิ่มการเชื่อมโยงกันระหว่างโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ป่วย และญาติ ทำให้เป็นระบบบริการที่ไร้รอยต่อเชื่อมโยงกันตั้งแต่บ้านถึงสถานบริการ

แผนงานนี้ จึงมุ่งพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านทั้งระบบ ตั้งแต่การระบุครอบครัวผู้ป่วย การจัดระบบเยี่ยมบ้าน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้าง home ward การจัดระบบติดตามและส่งต่อ รวมทั้งการประเมินคุณภาพการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน โดยศึกษาประสบการณ์ของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน เพื่อศึกษาภาระและผลกระทบ ตลอดจนบทบาทขององค์กรและระบบบริการที่มีต่อการสนับสนุนผู้ดูแลในการให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน งานศึกษาดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุและ Asia Center มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งทำให้พบว่าการดูแลผู้ป่วยที่บ้านยังขาดการจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งหากสามารถดำเนินการให้มีมาตรฐานได้ 

นอกจากจะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านมีคุณภาพสูงขึ้นแล้ว ยังจะช่วยลดความทุกข์และภาระอันเกิดแก่ผู้ดูแลที่บ้าน ทั้งภาระทางเศรษฐกิจ ทางกายภาพ ทางจิตใจ และทางสังคม ซึ่งบั่นทอนชีวิตและสุขภาพของผู้ดูแลที่ต้องแบกรับภาระอันหนักอึ้งได้

          ในการออกแบบระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล บ่อยครั้งที่ผู้ดูแลระบบไม่รู้รายละเอียด ลักษณะงาน หรือคำนิยามที่เกี่ยวข้อง ของทีมต่างๆ ในโรงพยาบาล กรณีหนึ่งที่มีคำถามกันบ่อยๆ เช่น เรื่องการเยี่ยมบ้าน ซึ่งในกลุ่มแอดมิน มักคุยกันแค่ว่าลงข้อมูลได้ point หรือไม่ ลง One stop service ไ้ด้หรือไม่ ซึ่งก็มีคำตอบที่แตกต่างกันไป บางคนบอกว่าเป็นหนึ่งมาตรฐานบริการ 4 มิติ เป็นงานสำรวจชุมชนไม่ใช่งานรักษา แต่บางคนก็แย้งว่า ไม่เสมอไปการเยี่ยมบ้านบางครั้งเป็นการออกไปติดตามการรักษา เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ไม่สะดวกที่จะมารักษาพยาบาล ทีมโรงพยาบาลออกไปให้บริการที่บ้าน น่าจะลงข้อมูลได้ ฯลฯ ซึ่งบางทีคงต้องไปดูนิยาม ความหมายของการเยี่ยมบ้านว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบในการอธิบายให้ทีมเยี่ยมบ้านให้เข้าใจในแนวทางเดียวกันว่า ข้อมูลเยี่ยมบ้าน ควรลงบันทึกใน HOSxP อย่างไร

การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home health care)

การดูแลสุขภาพที่บ้าน หมายถึง แบบแผนการดูแล, ให้บริการที่เป็นทางการ, สม่ำเสมอโดยบุคลากรทางด้านสุขภาพหลากหลายสาขาวิชาต่อผู้ป่วยโดยตรงในบ้านของผู้ป่วย



การเยี่ยมบ้าน (Home visit)
การเยี่ยมบ้าน หมายถึง วิธีการที่ใช้ในการดูแลสุขภาพที่บ้านซึ่งควรจะมีรูปแบบและวิธีการ เพื่อให้เกิดผลคุ้มค่ามากที่สุด แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวเป็นบุคลากรหนึ่งในทีมเยี่ยมบ้าน ควรที่จะต้องมีความรู้, ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเยี่ยมบ้านด้วยข้อบ่งชี้ในการเยี่ยมบ้าน  การที่จะเกิดการเยี่ยมบ้านได้ควรจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

  1. ผู้ป่วยและครอบครัว  มีความเต็มใจให้เยี่ยมบ้าน
  2. ทีมบุคลากรสุขภาพ  มีความเต็มใจในการเยี่ยม

และควรอยู่บนพื้นฐานของระบบบริการปฐมภูมิอันได้แก่ ดูแลแต่แรกทุกเรื่อง, ต่อเนื่อง, เบ็ดเสร็จ, ผสมผสาน, บริการที่เข้าถึงสะดวก และมีระบบปรึกษาและส่งต่อชนิดของการเยี่ยมบ้าน

ผู้ป่วยลักษณะไหนบ้างที่ควรเยี่ยมบ้าน ที่เหมาะสมที่สุดน่าจะเป็นผู้ป่วยที่ติดบ้าน (homebound) คือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้หรือต้องใช้เครื่องช่วยเมื่อต้องการออกจากบ้าน แต่เราสามารถแบ่งประเภทของการดูแลสุขภาพโดยใช้วิธีการเยี่ยมบ้านได้เป็น 4 กลุ่ม คือ1. การเยี่ยมบ้านกรณีเจ็บป่วย การเจ็บป่วยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่

  1. กรณีฉุกเฉิน การเยี่ยมบ้านประเภทนี้มักจะเป็นการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้ป่วยในครอบครัว เช่น หมดสติ, หอบมาก เป็นต้น  เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้มักต้องอาศัยการช่วยเหลือที่บ้านหรือที่เกิดเหตุทันที ต้องมีระบบการติดต่อสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ให้การช่วยเหลือ  ทีมที่ช่วยเหลือควรจะมีความรู้และทักษะเป็นอย่างดีในการช่วยเหลือเบื้องต้นในที่เกิดเหตุ ในประเทศไทยการช่วยเหลือลักษณะนี้มักจะพบในอุบัติเหตุตามท้องถนน  ผู้ช่วยเหลือควรจะมีความรู้ในการช่วยเหลือเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายมากขึ้นกว่าเดิมและช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยได้อย่างดี  ก่อนที่จะส่งต่อไปโรงพยาบาลเมื่อจำเป็น
  2. โรคฉับพลัน เช่น  โรคหวัด, ท้องร่วง เป็นต้น  การเยี่ยมบ้านจะช่วยประเมินและในการช่วยเหลือเบื้องต้น
  3. โรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, อัมพาต เป็นต้น  การเยี่ยมบ้านทำเพื่อประเมินและวางแผนในการช่วยเหลือให้กับผู้ป่วย, ญาติ หรือหน่วยงานใดในการช่วยเหลือผู้ป่วย

2. การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต
ผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิตเช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นต้น  จุดประสงค์ในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยประเภทนี้  ได้แก่

  1. การดูแลระยะสุดท้าย ผู้ป่วยประเภทนี้มักจะทรมานจากอาการปวดมาก, บวม หรือหอบ การช่วยเหลือผู้ป่วย เช่นให้ยาลดอาการปวด, ลดอาการบวมให้ผู้ป่วย, เจาะดูดน้ำในช่องท้อง, ให้ออกซิเจน เป็นต้น
  2. ประกาศการเสียชีวิต  เมื่อเกิดการเสียชีวิตในบ้านการบอกสาเหตุของการเสียชีวิตอาจจะผิดพลาดได้เนื่องจาก ผู้ประกาศการเสียชีวิตมักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว  การเยี่ยมบ้านโดยแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวหรือทีมจะช่วยบอกสาเหตุการตายได้  และทำให้อัตราการตายที่รวบรวมไว้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น  เพื่อที่จะใช้บอกแนวโน้มการเสียชีวิตและวางแผนในการป้องกันโรคเหล่านั้น
  3. ประคับประคองภาวะโศกเศร้า  แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวสามารถให้การประคับประคองทั้งร่างกายและจิตใจแก่สมาชิกในครอบครัว ตั้งแต่ระยะที่รู้ว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตจนถึงผู้ป่วยเสียชีวิตลงไป  และประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้นแก่สมาชิกในครอบครัว  เมื่อภาวะโศกเศร้าไม่หายไปในระยะเวลาที่สมควร

3. การเยี่ยมบ้านเพื่อประเมิน

แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวใช้การเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย  ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพกายต้องประเมินการใช้ยาของผู้ป่วยซึ่งมักจะมีการใช้ยามาก ประเมินการใช้แหล่งบริการทางสุขภาพมากผู้ป่วยบางคนอาจนิยมไปหาหมอตามที่ต่างประเมินความเสี่ยงของสมาชิกในบ้านที่อาจจะถูกละลายหรือถูกทำร้ายจากสมาชิกในครอบครัวเช่น ผู้สูงอายุหรือเด็ก เป็นต้น  ประเมินผู้ป่วยที่จำเป็นต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล  ประเมินร่วมกับสมาชิกในครอบครัวเมื่อเกินความสามารถของสมาชิกในครอบครัวจะดูแกผู้ป่วยได้

4.การเยี่ยมบ้านหลังจากออกจากโรงพยาบาล
ประเภทของการเยี่ยมบ้านหลังจากออกจากโรงพยาบาลจากการนอนโรงพยาบาลหรือมาตรวจที่แผนก ผู้ป่วยนอก ได้แก่

  1. นอนโรงพยาบาลโดยโรคฉับพลัน, อุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด  ผู้ป่วยที่มานอนโรงพยาบาลโดยโรคต่าง ๆ หลังจากที่ออกจากโรงพยาบาล  สามารถที่จะติดตามเยี่ยมบ้านต่อได้ เช่น ในผู้ป่วยโรคฉับพลันเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น สามารถกลับบ้านได้แพทย์ประจำครอบครัวสามารถติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อดูอาการหรือปัจจัยบางอย่างที่มีผลต่อโรคผู้ป่วย  ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกการติดตามการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการผู้ป่วย  ประเมินแหล่งที่จะเป็นที่วางไข่ของยุง เป็นต้น  กรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือผ่าตัด  การติดตามการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินบาดแผล, ทำแผลผู้ป่วย, ตัดไหม หรือประเมินสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  2. ครอบครัวและบุตรที่เกิดใหม่ การเยี่ยมบ้านครอบครัวที่มีบุตรเกิดใหม่เพื่อช่วยเหลือพ่อ,แม่ที่มีบุตรใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ในการดูแลลูก  รวมถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมในครอบครัว  เพื่อให้เกิดการดูแลเกิดใหม่อย่างดี
  3. ไม่มาตามนัด ผู้ป่วยที่ขาดนัดหรือไม่มาตามนัด  การเยี่ยมบ้านจะช่วยประเมินสาเหตุหรือเหตุผลของผู้ป่วยที่ไม่มาตามนัด  หรือมีเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยไม่สามารถมาได้เพื่อทำให้การความต่อเนื่องของการรักษาได้ดียิ่งขึ้น

แนวทางการเยี่ยมบ้าน
การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยครั้งนี้เพื่ออธิบายสุขภาวะของผู้ป่วยและครอบครัวจากการเจ็บป่วย ที่สัมพันธ์กับปัจจัยสุขภาพ (health determinants) และระบบบริการสุขภาพ การเยี่ยมบ้านจะต้องเกิดจากความยินยอมของสองฝ่ายคือฝ่ายผู้เยี่ยมและฝ่ายผู้ถูกเยี่ยมมีความยินยอม พร้อมใจกัน เมื่อเลือกครอบครัวที่จะเยี่ยมแล้วแนวทางในการเยี่ยมแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ขั้นตอนก่อนการเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย มีวัตถุประสงค์ในการเยี่ยม, ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว,มีแผ่นที่การเดินทางและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ป่วย, โทรศัพท์หรือติดต่อนัดหมายเวลาเยี่ยม, มีพาหนะที่ใช้ในการเยี่ยม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
  2. ขั้นตอนขณะเยี่ยมบ้าน ประเมินทั้งด้านร่างกาย, จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ของครอบครัว
  3. ขั้นตอนหลังการเยี่ยมบ้าน สรุปปัญหาทางด้านร่างกาย, จิตใจและสังคม, แนวทางการเยี่ยมครั้งต่อไป, บันทึกข้อมูล

ก่อนการเยี่ยมบ้านทีมเยี่ยมบ้านควรจะมีความรู้หรือข้อมูลและเตรียมอุปกรณ์ในการเยี่ยมบ้านวัตถุประสงค์ของการเยี่ยม

  1. ศึกษาองค์ประกอบของสุขภาพ (health determinants) ที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
  2. ทำความเข้าใจถึงประสบการณ์ ปัญหาและสภาวะต่างๆ ในทุกมิติของสุขภาพ ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งการดูแลตนเอง หลังจากมีอาการเจ็บป่วย 
  3. อธิบายความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัวที่มีต่อการเจ็บป่วยและจากแพทย์ / ระบบบริการปฐมภูมิ

อุปกรณ์ในการเยี่ยมบ้าน  การไปเยี่ยมบ้านควรมีอุปกรณ์สำหรับเยี่ยมบ้าน ได้แก่

  • แผนที่ในการเดินทาง, หมายเลขโทรศัพท์
  • สมุดบันทึก
  • กล้องถ่ายรูป / VDO
  • แผนที่การเดินทางและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ป่วย

ก่อนการเยี่ยมบ้านควรจะทราบทางที่จะไปบ้านที่จะไปเยี่ยมหรือมีแผ่นที่เดินทางไปยังบ้าน  หรือมีแผ่นที่การเดินทางภายในเขตที่จะเยี่ยมทำให้สะดวกและประหยัดเวลาในการเยี่ยม ควรจะทราบหมายเลขโทรศัพท์ของบ้านที่จะเยี่ยม กรณีไม่มีอาจจะขอหมายเลขโทรศัพท์ของบ้านใกล้เคียงเพื่อใช้ในการติดต่อโทรศัพท์หรือติดต่อนัดหมายเวลาเยี่ยม

โทรศัพท์นัดหมายเวลาเยี่ยมครอบครัวหรือติดต่อกับครอบครัวที่จะเยี่ยมก่อน  เพื่อไม่ต้องเสียเวลาในการไปเยี่ยมเมื่อไม่มีสมาชิกในบ้านอยู่  หรือกรณีที่สมาชิกในบ้านหรือผู้ป่วยไม่สะดวกที่จะให้เยี่ยมบางเวลา  และครอบครัวควรต้องมีเบอร์ติดต่อของผู้เยี่ยมด้วยเพื่อใช้ในการติดต่อกลับ กรณีที่สมาชิกของครอบครัวต้องการติดต่อกลับเพื่อปรึกษาหรือต้องการให้เยี่ยม  โดยมีข้อตกลงของการให้บริการทั้ง 2 ฝ่ายก่อน

ขั้นตอนขณะเยี่ยมบ้าน

การที่จะประเมินให้ได้ครบถ้วนอาจต้องใช้สิ่งช่วยจำ เช่น จำตัวย่อINHOMESSS หรือจำเป็นระบบร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ (bio psycho social spiritual) สิ่งที่ควรทำ คือ การเริ่มจากทบทวนวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมร่วมกับสมาชิกครอบครัว  

ประเมินปัญหาเดิมของผู้ป่วยและปัญหาใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น

  • การเคลื่อนไหว(immobility)ได้แก่ การประเมินกิจวัตรประจำวัน(Activities of daily living)ได้แก่การอาบน้ำ, การเคลื่อนย้าย, การแต่งตัว, การเข้าห้องน้ำ, การกินอาหาร และการปัสสาวะและอุจจาระหรือประเมินการใช้เครื่องมือในกิจวัตรประจำวัน(Instrumental activities of daily living)ได้แก่  การใช้โทรศัพท์, การรับประทานยา, การไปตลาด, ชำระบิล, เตรียมอาหาร และทำงานบ้าน  สามารถสอบถามหรือสังเกตจากกิจวัตรประจำวันได้
  • อาหาร(nutrition) ได้แก่ การประเมินลักษณะอาหาร, ชนิดของอาหาร ที่ผู้ป่วยและครอบครัวรับประทานว่าเหมาะสมกับโรคหรือภาวะที่เป็นหรือไม่  ประเมินการเก็บอาหาร เป็นต้น
  • สภาพบ้าน(housing) ได้แก่ การประเมินสภาพบ้านครอบครัวที่นิสิตดูแล  ว่าเหมาะสมกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นหรือไม่ เช่น ผู้ป่วยเป็นวัณโรคควรอยู่ในห้องที่มีหน้าต่าง อากาศถ่ายเทได้สะดวก, ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมควรที่จะนอนอยู่ชั้น1ของบ้านไม่เดินขึ้นบันได เป็นต้น
  • เพื่อนบ้าน(other people) ได้แก่ การประเมินดูเพื่อนบ้านของครอบครัวที่นิสิตดูแล  ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อครอบครัวผู้ป่วยมีปัญหา เพื่อนบ้านสามารถให้การช่วยเหลือได้หรือไม่
  • การใช้ยา(medication) ได้แก่ ประเมินวิธีการใช้ยา  ผู้ป่วยกินยาสม่ำเสมอและถูกต้องหรือไม่  ภาชนะที่บรรจุยาเหมาะสมกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นหรือไม่หรือเหมาะสมกับยานั้นหรือไม่ เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคข้อการหยิบยาจากซองยาทำได้ยากต้องบรรจุยาไว้ในขวดยา  ยาบางอย่างไม่ให้ถูกแสง เป็นต้น
  • การตรวจร่างกาย(examination)  ได้แก่ ประเมินจากการสอบถามความผิดปกติของร่างกาย จากผู้ป่วย หรือญาติ
  • แหล่งให้บริการ(services) ได้แก่ การประเมินว่ามีแหล่งบริการอะไรบ้างที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วย ภายในครอบครัวหรือในชุมชนได้ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข, บ้านประธานชุมชน, อสม. เป็นต้น
  • ความปลอดภัย(safety) ได้แก่ การประเมินสภาพบ้านของผู้ป่วยตัวบ้าน, เฟอร์นิเจอร์, อุปกรณ์อำนวยความสะดวก  เป็นต้น  ว่ามีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับครอบครัว ในการอยู่อาศัยเหลือไม่ เช่น สายไฟที่เดินในบ้านใช้มานานควรจะเปลี่ยนหรือไม่, พื้นห้องน้ำลื่นเกินไปหรือไม่, บันไดบ้านชันหรือมีราวให้จับหรือไม่ เป็นต้น
  • จิตวิญญาณ(spiritual) ได้แก่  การประเมินในเรื่องของการค้นหาความหมาย, วัตถุประสงค์และความจริงในชีวิต  ความเชื่อและคุณค่าในสิ่งที่แต่ละบุคคลอาศัยอยู่  เรื่องของความรู้สึก  สิ่งที่อยู่ในจิตใจ  รวมถึงสิ่งที่บุคคลแสดงออกมาจากความเชื่อ ทางจิตวิญญาณของแต่ละบุคคล ส่วนของจิตวิญญาณจะมีผลต่อสุขภาพได้ เช่น นิกายในศาสนาบางนิกายห้ามเติมเลือดจากผู้อื่น  เมื่อผู้ป่วยท่านนั้นจำเป็นต้องผ่าตัด อาจต้องเตรียมการใช้เลือดของผู้ป่วยเองเมื่อจำเป็น เป็นต้น