หลักฐานทางประวัติศาสตร์ โรมัน

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

             อารยธรรมโรมันมีศูนย์กลางอยู่ที่แหลมอิตาลี เป็นอารยธรรมของพวกอินโด-ยูโรเปียนเผ่าละติน (Latin) ซึ่งอพยพจากทาง ตอนเหนือมาตั้งถิ่นฐานในแหลมอิตาลีประมาณ 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเรียกตัวเองว่า "โรมัน" พวกโรมันได้ขยายอิทธพล เข้าครอบครองดินแดนที่เป็นศูนย์กลางความเจริญของอารยธรรมเฮลเลนิสติกซึ่งสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช และดินแดนอื่นๆ ทั้งในยุโรปและแอฟริกาเหนือ ทำให้อารยธรรมของโลกตะวันออกซึ่งผสมผสานอยู่ในอารยธรรมกรีกได้ขยาย เข้าไปในทวีปยุโรป และเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

ปัจจัยส่งเสริมการขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมัน
             จักรวรรดิโรมันขยายอำนาจที่ยิ่งใหญ่เหนือดินแดนต่างๆ นานหลายร้อยปี โดยมีปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการขยายอำนาจของ โรมันคือ สภาพภูมิศาสตร์ของแหลมอิตาลี ระบอบการปกครอง และกองทัพโรมัน
             ระบบปกครอง ชาวโรมันได้สถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐขึ้นหลังจากรวมอำนาจในแหลมอิตาลีได้ ระบอบ สาธารณรัฐสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ชาวโรมัน เพราะเป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้พลเมืองโรมันทุกคนทั้งชนชั้นสูง สามัญชน และทหาร มีส่วนร่วมในการปกครอง ด้วยการเลือกตั้งตัวแทนของกลุ่มตนเข้าไปบริหารออกกฎหมาย กำหนดนโยบายต่าง ประเทศ และประกาศสงคราม โดยมีกงสุล (Consull) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่ประมุขและบริหารการปกครองทุกด้าน การ มีส่วนร่วมในการปกครองของพลเมืองโรมันทำให้สาธารณรัฐโรมันแข็งแกร่งมั่นคงและเจริญก้าวหน้า
              ต่อมาเมื่อโรมันขยายอำนาจครอบครองดินแดนอื่นๆอย่างรวดเร็ว จึงเปลี่ยนระบอบปกครองเป็นจักวรรดิ มีจักรวรรดิเป็น ผู้มีอำนาจสูงสุด จักรวรรดิได้แต่งตั้งชาวโรมันปกครองอาณานิคมต่างๆ โดยตรง ทำให้สามารถควบคุมดินแดนต่างๆ และส่งผล ให้จักรวรรดิโรมันมีอำนาจยืนยาวหลายร้อยปี
              กองทัพโรมัน ความเข้มแข็งของกองทัพโรมันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการขยายอิทธิพลของจักรวรรดิโรมัน กองทัพ โรมันมีชื่อเสียงในด้านความสามารถและประสิทธิภาพการรบ ความสำเร็จส่วนใหญ่เกิดจากการจัดองศ์กรภายในกองทัพที่ดีเยี่ยม และการฝึกฝนทหารให้มีประสิทธิภาพและมีวินัย โดยใช้บทลงโทษที่รุนแรง นอกจากนี้ความเข้มแข็งของกองทัพยังรวมถึงความ รับผิดชอบของทหารแต่ละคนอีกด้วย (ทหารโรมันประกอบด้วยพลเมืองชายทุกคน มีหน้าที่รับใช้กองทัพในยามเกิดศึกสงคราม ทหารเหล่านี้ไม่มีตำแหน่งในกองทัพ เว้นแต่ได้ปฏิบัติหน้าที่เกินกว่า 10 ปีขึ้นไป)
             กองทัพโรมันมีสถานะสำคัญมากขึ้นในสมัยจักรวรรดิ ซึ่งต้องอาศัยกองทัพค้ำจุนอำนาจของจักรวรรดิทหารโรมันถูกมอบ หมายให้ปฏิบัติหน้าที่ปกครองจักรวรรดิและเขตแดน จักรวรรดิโรมันได้สร้างป้อมและค่ายทหารจำนวนมากตามแนวชายแดน ของจักรวรรดิโดยเฉพาะทางตอนเหนือ โดยเกณฑ์ชาวพื้นเมืองของดินแดนอาณานิคมมาเป็นทหาร ซึ่งได้รับสัญญาว่าถ้าปฏิบัติ หน้าที่ครบ 25 ปี ก็จะได้รับสิทธิเป็นพลเมืองโรมัน ดังนั้นจักรววรดิโรมัน จึงมีทหารปฏิบัติหน้าที่รักษาชายแดนประมาณเกือบ 500000 คน อนึ่ง เพื่อเป็นการกระชับการปกครองดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิโรมันได้สร้างถนนจำนวนมากเชื่อมระหว่างค่าย ทหารซึ่งต่อมาถูดพัฒนาขึ้นเป็นเมืองกับเมืองหลักต่างๆ ในเขตจักรวรรดิ และยังสร้างถนนหลวงเชื่อมเมืองหลักเหล่านี้กับกรุง โรม จนมีคำขวัญว่า "ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม"
การขยายอำนาจของจักวรรดิโมัน
             ชาวโรมันโบราณที่อพยพเข้ามาอยู่ในแหลมอิตาลีประกอบด้วยเผ่าที่สำคัญ 2 เผ่า คือ พวกละติน ซึ่งอพยพมาจากทางตอน เหนือ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตที่ราบตะวันตก และตามแนวแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber River) จากนั้นได้สร้างเมืองต่างๆ ขึ้นรวมทั้ง กรุงโรม อีกเผ่าหนึ่งคือพวกอีทรัสคัน (Etruscans) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียไมเนอร์เมื่อประมาณ 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวก อีทรัสคันได้ขยายอาณาเขตรุกรานดินแดนของพวกละติน และสถาปนากษัตริย์ปกครองแหลมอิตาลีเมื่อประมาณ 600 ปีก่อน คริสต์ศักราช หลังจากขยายอำนาจปกครองได้ประมาณ 100 ปี พวกอีทรัสคันก็สูญเสียอำนาจ และผสมกลมกลืนกับพวกละติน จนกลายเป็นชาวโรมันในเวลาต่อมา ความเจริญรุ่งเรืองที่พวกอีทรัสคันสร้างไว้ให้แก่อารยธรรมโรมันคือ การนำตัวอักษรกรีก เข้ามาใช้ในแหลมอิตาลี ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นอักษรโรมัน
             พัฒนาการของสาธารณรัฐในโรมัน ชาวโรมันได้สถาปนาสาธารณรัญโรมันขึ้นหลังจากอีทรัสคันเสื่อมสลายไป จากนั้นได้ ขยายอำนาจทั่วแหลมอิตาลีและในดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ระหว่างปี 264-146 ก่อนคริสต์ศักราช โรมันได้ทำ สงครามพูนิก (Punic War) กับคาร์เทจ (Carthage) ถึง 3 ครั้ง คาร์เทจเป็นนครริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือของทวีป แอฟริกาในเขตประเทศตูนิเชียปัจจุบัน ในอดีตเป็นอาณานิคมที่ชาวฟินิเซียนสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าในเขตทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ต่อมาได้เจริญเติบโตและมั่งคั่งพร้อมทั้งมีอาณานิคมของตนหลายแห่ง เมื่อโรมันขยายอำนาจลงมาทางใต้ของ แหลมอิตาลีได้เกิดขัดแย้งกับคาร์เทจ ซึ่งมีอาณานิคมอยู่ไม่ไกลจากแหลมอิตาลีมากนัก คาร์เทจพ่ายแพ้แก่โรมันในสงครามพูนิก ทั้ง 3 ครั้ง ทำให้โรมันมีอำนาจเหนือดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านตะวันตก รวมทั้งสเปน ซึ่งอุดมด้วยเหมืองทองและเงิน
              นอกจากนี้แล้ว ชาวโรมันยังเอาชนะอาณาจักรซิโดเนียซึ่งเป็นพันธมิตรของคาร์เทจได้เมื่อปี 147 ก่อนคริสต์ศักราช ดังนั้น นครรัฐกรีกทั้งปวง ตลอดจนดินแดนในเขจเอเชียไมเนอร์ซึ่งเป็นอดีตอาณานิคมของมาซิโดเนียจึงอยู่ภายในอำนาจของโรมันด้วย
             การสถาปนาจักรวรรดิโรมัน การทำสงครามขยายอำนาจครอบครองดินแดนต่างๆ ทำให้เกิดผู้นำทางการทหารซึ่งได้รับ ความจงรักภักดีจากทหารของตน เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันระหว่างกลุ่มผู้นำกองทัพกับสมาชิกสภาซีเนตซึ่งคุมอำนาจปกครอง อยู่เดิม
มรดกของอารยธรรมโรมัน
             ชาวโรมันนั้นได้ใช้เวลานานกว่า 600 ปีในการผสมผสานและหล่อหลอมอารยธรรมของตน ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วจักรวรรดิ โรมันที่กว้างใหญ่ ความโดเด่นของอารยธรรมโรมันเกิดจากรากฐานที่แข็งแรง ซึ่งได้รับจากอารยธรรมกรีกและอารยธรรมของดิน แดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผสานกับความเจริญก้าวหน้าที่เป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันเองที่พยายามคิดค้นและสร้างระบบ ต่างๆ เพื่อดำรงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันไว้ ทำให้จักรวรรดิโรมันเจริญก้าวหน้า ทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
              ด้านการปกครอง อารยธรรมด้านการปกครองเป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันที่้พัฒนาระบอบการปกครองของตนขึ้นเป็น ระบอบสาธารณรัฐและจักรวรรดิ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับจักรวรรดิโรมัน จุดเด่นของการปกครองแบบโรมัน คือการให้ พลเมืองมีส่วนร่วมในการบริหารราชการส่วนกลาง และการปกครองโดยใช้หลักกฎหมาย
              การปกครองส่วนกลาง พลเมืองโรมันแต่ล่ะกลุ่ม ทั้งชนชั้นสูง สามัญชน และทหาร ต่างมีโอกาสเลือกผู้แทนของตน เข้าไปบริหารประเทศรวม 3 สภา คือ สภาซีเนต (Senate) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มแพทริเซียน (Patricians) หรือชนชั้นสูง สภากอง ร้อย (Assembly of Centuries) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มทหารเหล่าต่างๆ และราษฎร (Assembly of Tribes) ซึ่งเป็นตัวแทนของพวก พลีเบียน (Ple-beians) หรือสามัญชนเผ่าต่างๆ รวม 35 เผ่า แต่ละสภามีหน้าที่และอำนาจแตกต่างกัน รวมทั้งการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ ไปบริหารงานส่วนต่างๆ แต่โดยรวมแล้วสภาซีเนตมีอำนาจสูงสุด เพราะได้ควบคุมการปกครองทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติ และ ตุลาการ ตลอดจนกำหนดนโยบายต่างประเทศด้วย
             กฎหมายโรมัน โรมันมีกฎหมายมาตั้งแต่สมัยสาธารณรัฐ ในระยะแรกกฎหมายไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์ การบังคับใช้ กฎหมายเป็นไปตามวินิจฉัยของผู้พิพากษาซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูง ดังนั้นพวกสามัญชนจึงเรียกร้องให้เขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์ ซึ่งต่อมาได้แกะสลักบนแผ่นไม้รวม 12 แผ่นเรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Twelve Tables) ความโดดเด่นของกฎหมายโรมันคือ ความทันสมัย เพราะมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับโครงสร้างการปกครองที่เปลี่ยนเป็นระบอบจักรวรรดิและ สภาพแวดล้อมของประชาชนในทุกส่วนของจักรวรรดิ นอกจากนี้ตุลาการชาวโรมันยังมีส่วนทำให้เกิดการยอมรับหลักการพื้น ฐานของกฎหมายว่า ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย ซึ่งรวมถึงกระบวนการยุติธรรมที่ยึดเป็นแบบอย่าง ปฏิบัติต่อมาถึงปัจจุบันคือ ให้สันนิษฐานว่าผู้ต้องหาทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าจะมีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่ามีการ กระทำความผิด
              ด้านเศรษฐกิจ จักรวรรดิโรมันมีนโยบายส่งเสริมการผลิตทางด้านเกษตรกรรมและด้านอุตสากหรรมรวมทั้งการค้ากับดิน แดนภายในและภายนอกจักรวรรดิ
              ด้านเกษตรกรรม เดิมชาวโรมันในแหลมอิตาลีประกอบเกษตรกรรมเป็นหลัก และพึ่งพิงการผลิตภายในดินแดนของตน ต่อมาเมื่อจักรวรรดิโรมันขยายอำนาจออกไปครอบครองดินแดนอื่นๆ การเพาะปลูกพืชและข้าวในแหลมอิตาลีเริ่มลดลง เนื่องจากรัฐส่งเสริมให้ดินแดนอื่นๆ นอกแหลมอิตาลีปลูกข้าว โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน ดินแดนที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในแคว้น กอล (Gaull) เขตประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน และตอนเหนือของแอฟริกา ส่วนพื้นที่การเกษตรในแหลมอิตาลีส่วนใหญ่เปลี่ยนไปทำ ไร่องุ่นและเลี้ยงสัตว์
              ด้านการค้า ในจักรวรรดิโรมันมีความรุ่งเรืองมากมีทั้งการค้ากับดินแดนภายในและนอกจักรวรรดิปัจจัยสำคัญที่ทำให้การ ค้าเจริญรุ่งเรือง ได้แก่ ขนาดของดินแดนที่กว้างใหญ่และจำนวนประชากร ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่สามารถรองรับสินค้าต่างๆได้ มาก นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีการค้าก็อยู่ในอัตราต่ำและยังมีการใช้เงินสกุลเดียวกันทั่วจักรวรรดิ ประกอบกับภายในจักวรรดิ โรมันมีระบบคมนาคมขนส่งทางบก คือ ถนนและสะพานที่ติดต่อเชื่อมโยงกับดินแดนต่างๆ ได้สะดวก ทำให้การติดต่อค้าขาย สะดวกรวดเร็ว การค้ากับดินแดนนอกจักรวรรดิโรมันที่สำคัญได้แก่ ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะการค้ากับอินเดียซึ่งส่งสินค้าประเภท เครื่องเทศ ผ้าฝ้าย และสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ สำหรับชนชั้นสูงเข้ามาจำหน่าย โดยมีกรุงโรมและนครอะเล็กซานเดรียในอียิปต์เป็น ศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
              ด้านอุตสาหกรรม มีความรุ่งเรืองทางกาค้าของจักรวรรดิโรมันส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ดินแดนที่มีการประกอบอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ แหลมอิตาลี สเปน และแคว้นกอล ซึ่งผลิตสินค้าประเภทเครื่องปั้นดินเผา และสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมในเขตจักรวรรดิโรมันส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้แรงงานคนเป็นหลัก
              ด้านสังคม จักรวรรดิโรมันมีความเจริญในด้านสังคมมากที่สำคัญได้แก่ ภาษา การศึกษา วรรณกรรม การก่อสร้าง และ สถาปัตยกรรม วิทยาการต่างๆ และวิถีดำรงชีวิตของชาวโรมัน
              ภาษาละติน ชาวโรมันได้พัฒนาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษากรีกที่พวกอีทรัสคันนำมาใช้ในแหลมอิตาลี ภาษา ละตินมีพยัญชนะ 23 ตัว ใช้กันแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของยุโรปสมัยกลาง และเป็นภาษาทางราชการของศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอลิกมาจนถึงศตวรรษ 1960 นอกจากนี้ภาษาละตินยังเป็นภาษากฎหมายของประเทศในยุโรปตะวันตกนานหลายร้อยปี และเป็นรากของภาษาในยุโรป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และโรมาเนีย ภาษาละตินยังถูกนำไปใช้เป็นชื่อทาง วิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับภาษากรีกด้วย
              การศึกษา โรมันส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนของตนทั่วจักวรรดิในระดับประถมและมัธยม โดยรัฐให้เยาวชนทั้งชาย และหญิงที่มีอายุ 7 ปี เข้าศึกษาในโรงเรียนประถมโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ส่วนการศึกษาระดับมัธยมเริ่มเมื่ออายุ 13 ปี วิชาที่ เยาวชนโรมันต้องศึกษาในระดับพื้นฐาน ได้แก่ ภาษาละติน เลขคณิต และดนตรี ผู้ที่ต้องการศึกษาวิทยาการเฉพาะด้าน ต้องเดิน ทางไปศึกษาตามเมืองที่เปิดสอนวิชานั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น กรุงเอเธนส์สอนวิชาปรัชญา นครอะเล็กซานเดรียสอนวิชาการแพทย์ ส่วนกรุงโรมเปิดสอนวิชากฎหมาย คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

ที่มา : http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/02/อารยธรรมโรมัน/