วีรกรรมของท้าวสุรนารี

องค์ความรู้ : คัมภีร์ใบลาน : หลักฐานยืนยัน “ท้าวสุรนารี”

แม้จะมีการกล่าวยืนยันตัวตนของ “คุณผู้หญิงโม” “ย่าโม” หรือ “ท้าวสุรนารี” จากลูกหลานที่สืบเชื้อสาย และจากหลักฐานสำคัญ แต่ก็ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้งในหมู่ประชาชนและสังคมออนไลน์ จนกลายเป็นเรื่องยากที่จะยุติและมีข้อสรุปที่แน่ชัด

แม้จะมีการกล่าวยืนยันตัวตนของ “คุณผู้หญิงโม” “ย่าโม” หรือ “ท้าวสุรนารี” จากลูกหลานที่สืบเชื้อสาย และจากหลักฐานสำคัญ แต่ก็ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้งในหมู่ประชาชนและสังคมออนไลน์ จนกลายเป็นเรื่องยากที่จะยุติและมีข้อสรุปที่แน่ชัด

วีรกรรมของท้าวสุรนารี

          เอกสารสำคัญอย่างหนึ่งที่ยืนยันถึงตัวตนของท้าวสุรนารี คือ เอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลาน เรื่อง พระธาตุกถา และพระปุคคลบัญญัติ ฉบับทองทึบ จารด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย หน้าปกของคัมภีร์ใบลานจารบอกปี ชื่อเรื่อง และชื่อผู้สร้างคัมภีร์ใบลานว่า “พระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ ๒๓๗๕ พระวัสสา ปีมะโรง จัตวาศก พระปุคฺคลบัญญัติปการณ นิฏฺฐิตํ ผูก ๔ ท่านพญาปลัด คุณผู้หญิงโม สร้างไว้สำหรับพระศาสนาแล” สันนิษฐานว่า ภายหลังเสร็จสงครามเจ้าอนุวงศ์ ท่านพญาปลัดและคุณผู้หญิงโม ได้มีศรัทธาสร้างคัมภีร์ใบลานถวายแก่วัดอิสาน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นพุทธบูชา สืบทอดพระศาสนา และเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรม

                   พระธาตุกถา เป็น ๑ ใน ๗ คัมภีร์ของพระอภิธรรม ว่าด้วยปรมัตถธรรมอันสงเคราะห์กันได้  และสงเคราะห์กันไม่ได้ เกี่ยวด้วยธาตุเป็นส่วนมาก โดยมีคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ซึ่งเป็นคัมภีร์อรรถกถา

แต่งอธิบายบทหรือข้อความที่เข้าใจยากในคัมภีร์พระธาตุกถานั้น

                   พระปุคคลบัญญัติ เป็น ๑ ใน ๗ คัมภีร์ของพระอภิธรรม แสดงหลักธรรมต่างๆ เช่น ขันธ์

เป็นต้นว่า ทำไม ด้วยเหตุใด จึงเรียกว่า ขันธ์ เป็นต้น และคัมภีร์นี้ ที่เรียกว่า ปุคคลบัญญัติ เพราะกล่าวถึงบุคคลมากกว่าหลักธรรมอื่นๆ คือ กล่าวทั้งอุทเทส และนิทเทส ส่วนหลักธรรมอื่นๆ กล่าวเฉพาะอุทเทสเท่านั้น

          คัมภีร์ใบลานทั้ง ๒ ฉบับนี้ พบที่วัดอิสาน โดยพระครูปลัดสมพงษ์ มหาพโล เจ้าอาวาสวัดอิสาน ได้มอบให้กับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เป็นผู้จัดเก็บและดูแลรักษา

วีรกรรมของท้าวสุรนารี

วีรกรรมของท้าวสุรนารี

          ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงที่ห้องอีสานศึกษา หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูล-ภาพ: นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา

(จำนวนผู้เข้าชม 4257 ครั้ง)

          ถ้าเอ่ยนาม ท้าวสุรนารี คนไทยจะรู้จักกันดีว่า หมายถึง ย่าโมของชาวจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่จริงแล้วคนไทยทั้งประเทศก็ให้ความเคารพบูชาและรำลึกถึงในวีรกรรมที่ท่านทรงทำไว้เพื่อชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ

          และวันนี้เมื่อ 192 ปีก่อน หรือตรงกับวันที่ 23 มี..2369 คือวันที่ประวัติศาสตร์ไทย ได้จารึกพระนามของท่าน ที่สามารถปกป้องอธิปไตยของชาวไทยไว้ได้อย่างกล้าหาญ เกินกว่าสตรีทั่วไปจะทำได้

วีรกรรมของท้าวสุรนารี

          โดยในวันนั้น เจ้าอนุวงศ์พระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ ได้ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไป

          คุณหญิงโม หรือ ท้าวมะโหโรง (ซึ่งเวลานั้น เป็นภรรยาของ "พระยาสุริยเดช วิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย " ปลัดเมืองนครราชสีมา) พร้อมกับนางสาวบุญเหลือรวบรวมครอบครัวชาย หญิงชาวนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2369 ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด

          และเหตุการณ์ครั้งนี้ ทางเวบไซต์ http://www.koratstartup.com/ได้เล่าเรียงลำดับไว้ดังนี้

          ในช่วงปี พ.. 2369 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ตรงกับรัชสมัยของ เจ้าอนุรุทธราช (เจ้าอนุวงศ์) ผู้ครองนครเวียงจันทร์ ได้ขอเกณฑ์ครอบครัวคนลาวที่เมืองสระบุรี ซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ ในคราวสงครามครั้งที่ได้พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีนั้น กลับนครเวียงจันทร์ แต่ได้รับการปฎิเสธ

          เมื่อไม่ได้ดังประสงค์ก็ก่อการกบฏ โดยยกกองทัพจะลงมาตีกรุงเทพมหานคร โดยเดินทัพมาอย่างเงียบๆ ให้กรุงรัตนโกสินทร์ไม่ทราบความเคลื่อนไหว โดยมีกองทัพหน้าเดินทางไปทางทิศตะวันตกตรงไปยังเมืองสระบุรี (ปากเพรียว)

          ต่อมาวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ..2369 เมื่อกองทัพมาถึงเมืองนครราชสีมา ได้ตั้งมั่นฐานทัพอยู่จนถึงวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.. 2369 จึงได้เข้าโจมตี ซึ่งเป็นช่วงที่พระยาปลัดทองคำ (พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย) สามของคุฯหยิงโม ผู้รักษาเมืองไม่อยู่พอดี ด้วยติดปราบการจลาจลที่เมืองขุขันธ์

          กองทหารของเจ้าอนุวงศ์ จึงตีเมืองโคราชได้โดยง่าย แล้วกวาดต้อนกรมการเมือง ตลอดจนพลเมืองทั้งชายหญิงไปเป็นเชลย รวมถึง คุณหญิงโม และราชบริพารไปด้วย โดยมี เพี้ยรามพิชัย เป็นหัวหน้าควบคุม เหล่าเชลยออกเดินทางสู่เมืองเวียงจันทน์โดยผ่านเมืองพิมาย ส่วนเจ้าอนุวงศ์นั้น ยังตั้งฐานทัพอยู่ที่เมืองนครราชสีมา

          ต่อมาวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.. 2369 ในระหว่างการเดินทางเป็นเชลยศึกนั้น คุณหญิงโม ได้คิดแผนการกอบกู้อิสรภาพกับกรมการเมือง ซึ่งมีนางสาวบุญเหลือ บุตรีหลวงเจริญกรมการเมืองนครราชสีมา ได้มีส่วนร่วมให้ข้อปรึกษาอย่างใกล้ชิด

          คุณหญิงโมได้มอบหมายให้นางสาวบุญเหลือ ซึ่งเสมือนเป็นหลาน เป็นผู้รับแผนการไปปฏิบัติ โดยใช้อุบายให้ชาวบ้านเชื่อฟังทหารผู้ควบคุม แกล้งทำกลัวเกรง และประจบเอาใจจนทหารของเจ้าอนุวงศ์ทั้งหลายหลงตายใจ และพยายามถ่วงเวลาในการเดินทาง กับทั้งยังลอบส่งข่าวถึงเจ้าเมืองนครราชสีมา เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) และพระยาปลัดทองคำ อีกด้วย

          ที่สุดเมื่อเดินทางมาถึง ทุ่งสัมฤทธิ์แขวงเมืองพิมาย ได้พักตั้งค่ายค้างคืนอยู่ คุณหญิงโมจึงได้ออกอุบายให้ชาวเมืองนำอาหารและสุราไปเลี้ยงดูผู้ควบคุมอย่างเต็มที่ จนทหารต่างก็เมามายไม่ได้สติ หมดความระมัดระวัง

วีรกรรมของท้าวสุรนารี

ภาพจาก http://www.rakkorat.com/

          ครั้นถึงเวลาสองยามไปแล้วของวันที่ 4 มีนาคม พ.. 2369 แผนการทุกอย่างจึงเริ่มเปิดฉากขึ้นโดยชาวนครราชสีมา พากันระดมยื้อแย่งอาวุธจากเหล่าทหารลาว และได้โห่ร้องขึ้นทำให้กองทัพเวียงจันทน์เกิดความโกลาหล

          ส่วนนางสาวบุญเหลือขณะนั้นอยู่ใกล้ที่พักของเพี้ยรามพิชัย เมื่อได้ยินเสียงโห่ร้องก็ทราบทันทีว่าแผนการดังกล่าวได้เริ่มขึ้นแล้ว จึงได้โผตัวเข้าคว้าดาบของเพี้ยรามพิชัย โดยหมายล้างชีวิตให้ได้ แต่พลาดท่า เพี้ยรามพิชัยฉวยดาบคืนได้ไปเสียก่อน นางสาวบุญเหลือจึงวิ่งหนีออกไปยังกองไฟ คว้าฟืนที่มีไฟติดอยู่ วิ่งตรงเข้าหากองเกวียนบรรทุกกระสุนดินดำ ขอฝ่ายข้าศึก

          จนเมื่อผู้ไล่ล่าวิ่งตามมาถึง จะเงื้อดาบเข้าฟัน นางจึงตัดสินใจเอาดุ้นฟืนจุดเข้าที่ถุงดินปืนทำให้เกิดระเบิดขึ้น จนทั้งนางสาวบุญเหลือ เพี้ยรามพิชัย และผู้อื่นบริเวณนั้นแหลกสลายกันหมดสิ้น เป็นอันว่าทัพลาวแตกพ่ายกระจัดกระจาย ที่สุดคุณหญิงโม จึงได้รวบรวมชาวเมืองที่เหลืออยู่ช่วยกันใช้ทุ่งสัมฤทธิ์นี้ตั้งมั่นเป็นฐานทัพชั่วคราวอยู่ ณ ที่นั้น

          ส่วนทหารลาวที่หนีตายได้รีบนำความไปแจ้ง เจ้าอนุวงศ์ทราบข่าวก็ให้ เจ้าสุทธิสาร (โป้) บุตรคนใหญ่คุมกำลังทหารเดินเท้าประมาณ 3,200 คน และทหารม้าประมาณ 4,000 คน รีบรุดมาทำการปราบปรามทำการต่อสู้รบกันถึงตลุมบอน

          แต่คุณหญิงโมก็จัดขบวนทัพ กรมการผู้ใหญ่คุมพลผู้ชาย ตัวคุณหญิงโมคุมพลผู้หญิงออกตี กองทัพพวก เวียงจันทน์แตกยับเยิน พอดีเจ้าอนุวงศ์ ได้ข่าวว่ากองทัพจากกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาสนับสนุนช่วยชาวเมืองนครราชสีมา จึงต้องรีบถอนกำลังออกจากเมืองนครราชสีมา เมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ..2369

          วีรกรรมอันห้าวหาญเด็ดเดี่ยวของคุณหญิงโม ทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็น “ท้าวสุรนารี” เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.. 2370 ขณะนั้นคุณหญิงโมมีอายุได้ 57 ปี และพระราชทานเครื่องยศทองคำประดับเกียรติดังนี้ ถาดทองคำใส่เครื่องเชี่ยนหมาก 1 ใบ, จอกหมากทองคำ 1 คู่, ตลับทองคำ 3 ใบเถา, เต้าปูนทองคำ 1 ใบ, คนโท และขันน้ำทองคำอย่างละ 1 ใบ

วีรกรรมของท้าวสุรนารี

          ส่วนนางสาวบุญเหลือที่ได้สละชีพเพื่อชาติอย่างกล้าหาญ คนไทยก็ได้จดจำและรำลึกถึงบุญคุณ เสมอหนึ่งบุคคลที่ควรค่าแก่การได้รับการยกย่องสรรเสริญให้เป็นวีรสตรีไทยอีกท่านหนึ่ง เช่นกัน

////////////////

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5

และเวบไซต์ http://www.koratstartup.com/yamo-korat2559/

ท้าวสุรนารีมีความดีอะไรบ้าง

ท้าวสุรนารี หรือ คุณหญิงโม เป็นบุคคลที่มีจิตใจ ที่เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว และกล้าหาญ พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้ ไหวพริบ ความฉลาดหลักแหลม ในการคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ถึงแม้ท่านจะเป็นผู้หญิง ก็ทำหน้าที่ของผู้นำได้ยอดเยี่ยม ทำให้ประชาชนที่ถูกต้อนไปเป็นเชลยได้รับชัยชนะจากกองทัพของลาวได้สำเร็จ ในฐานะที่เราเป็น ...

คุณธรรมที่ควรยกย่องของท้าวสุรนารีมีอะไรบ้าง

มีความเข้มแข็ง เสียสละ มีสติกล้าหาญ และความจงรักภักดี ต่อแผ่นดินไทย ท้าวสุรนารีเป็นแบบอย่างที่ดีของวีรสตรีไทย ที่กล้าหาญ กอบกู้ชาติบ้านเมืองให้พ้น จากข้าศึกที่มารุกรานประเทศชาติ สิ่งที่ต้องเตรียม

ท้าวสุรนารีมีลักษณะนิสัยอย่างไร

ตามประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ท้าวสุรนารีเป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลานไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำเสมอ ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2395 สิริรวมอายุได้ 81 ปี

ท้าวสุรนารีเกิดการรบต่อสู้กันที่ใด

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (Thao Suranari Monument) หรือ อนุสาวรีย์ย่าโม สัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดที่มักถูกเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “เมืองย่าโม” ที่ครั้งหนึ่งวีรสตรีนามเดียวกันนี้เคยนำชาวบ้านสู้รบกับกองทัพจากเวียงจันทน์อย่างกล้าหาญจนสามารถปกป้องบ้านเมืองเอาไว้ได้ ประวัติ