โคลงโลกนิติบทใดบ้างที่สามารถนําไปประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจําวันยกตัวอย่างมา 3 บท

 
๑. ที่มาของโคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร มีทั้งที่เขียนเป็น
ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ที่เขียนเป็นภาษาบาลี คือ คัมภีร์โลกนิติ (โลกนิติปกรณ์) ธรรมนีติ ราชนีติ
ธรรมบท ชาดก และที่ไม่ทราบอีก ส่วนที่เขียนเป็นภาษาสันสกฤต คือ จาณักยศตกะ วยาการศตกะ
และ หิโตปเทศ ในจำนวนนี้คัมภีร์ที่เป็นที่มาที่สำคัญที่สุด คือ คัมภีร์โลกนิติซึ่งได้เป็นที่มาของโคลงโลกนิติ
ถึง ๗๓ บท (โคลงโลกนิติที่นำมาเรียนมี ๔๒บท) และที่สำคัญรองลงไปก็คือ คัมภีร์ธรรมนีติ อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า คาถาใดในคัมภีร์โลกนิติที่เป็นที่มาของโคลงโลกนิติ คาถานั้นมักจะปรากฏอยู่ในคัมภีร์ธรรมนีติเช่นกัน การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคัมภีร์โลกนิตินั้นได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์ธรรมนีติ
ถึงแม้ว่าในบทส่งท้ายของโคลงโลกนิติจะแจ้งว่า มีจำนวนโคลงทั้งสิ้น ๔o๘ บท แต่เมื่อสอบดูแล้วพบว่า
มีเพียง ๔o๒ บท เท่านั้น ในจำนวนนี้ที่ทราบมาอย่างชัดเจนมีด้วยกันทั้งหมด ๑๕๓ บท ที่สันนิษฐานว่ามาจาก
คัมภีร์ต่างๆ มี ๒๙ บท ที่มีอุปมาอุปไมยจากชาดกหรือนิทานไทยแท้แต่โบราณมี ๕ บท ที่มีเนื้อความตรงกับ
วรรณคดีอื่นๆ ๖ บท ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของกวีมี ๑o๙ บท ที่ปรากฏคาถาแต่ยังไม่ทราบที่มามี ๒๔ บท และที่ยังไม่ทราบที่มามี ๗๓ บท นอกจากนี้ก็ยังมีโคลงโลกนิติอีกจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏในต้นฉบับตัวเขียน แต่ปรากฏอยู่ในประชุมจารึกวักพระเชตุพนฯ และประชุมโคลงโลกนิติ ซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้รวบรวม และอ้างว่าเป็นพระนิพนธ์ของกรมพระยาเดชาดิศรเช่นกัน ในกลุ่มนี้มีโคลงจำนวน ๓๑ บท ซึ่งสามารถทราบ
ที่มาได้ ในบรรดาที่มาของโคลงโลกนิตินั้น สังเกตได้ว่า คัมภีร์ภาษาบาลีนั้นมีอิทธพลต่อโคลงโลกนิติ
มากกว่าคัมภีร์สันสกฤต ส่วนชื่อของโคลงโลกนิติ เพราะเหตุที่มาจากคัมภีร์โลกนิติในชั้นแรก
จึงใช้ชี่อว่าโลกนิติตามชื่อคัมภีร์ซึ่งเป็นที่มา ต่อมาเมื่อมีการแต่งโคลงโดยอาศัยคัมภีร์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก คัมภีร์โลกนิติก็มิใช่เป็นคัมภีร์เดียวที่เป็นที่มาของโคลงโลกนิติ อนึ่ง มีโคลงโลกนิติจำนวนมากที่เกิดจาก
การสร้างสรรค์ของกวี ดังนั้น ชื่อของโคลงโลกนิติจึงน่าจะมีความหมายในวงกว้างว่า ชี้ หรือ แนะ (ประโยชน์)
ให้แก่โลก 

๒. ลักษณะของโคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติเริ่มด้วยการยกโคลงแม่บทซึ่งเป็นโคลงที่แต่งถูกต้องตามข้อบังคับ เช่น เอก ๗ โท 4
ไม่มีเอกโทษ โทโทษ ไม่มีการใช้คำตายแทนเสียงเอก เป็นต้น
โคลงโลกนิติ แต่งได้ถูกต้องตามข้อบังคับของโคลง มีการใช้คำสัมผัสให้ไพเราะยิ่งขึ้นโดยใช้สัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคแรกกับคำแรกของวรรคหลัง รวมทั้งสัมผัสภายในวรรคด้วย ขณะเดียวกันก็มีวิธีการรวบคำเพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับด้วย

๓. คุณค่าของกวีนิพนธ์ประเภทโคลง (โคลงโลกนิติ)
๓.๑ คุณค่าด้านวรรณศิลป์
กวีมีความฉลาดและแยบคายในการประพันธ์ให้ผู้อ่านเห็นภาพ และเกิดความซาบซึ้งในโวหารเปรียบเทียบ มีการเลือกสรรถ้อยคำที่ใช้อย่างประณีตบรรจง ใช้คำสั้นแต่มีความหมายลึกซึ้ง ไพเราะทั้งเสียง ทั้งจังหวะ และเมื่ออ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะก็ยิ่งจะได้รับรสของคำประพันธ์มากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างคำประพันธ์ต่อไปนี้

“ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่รายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์”

จากคำประพันธ์ข้างต้นเป็นการใช้สัมผัสอักษรเล่นคำที่ทำให้เสียงไพเราะ มีจังหวะ ใช้คำง่ายๆ คมคาย ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพอย่างแจ่มชัดและจดจำคำกลอนได้ง่าย

การใช้โวหารภาพพจน์
โคลงโลกนิติมีการใช้โวหารภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่ทำผู้อ่านได้เข้าถึงสาระของบทกวีดียิ่งขึ้น เช่น
ภาพพจน์อุปมา คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งเพื่ออธิบายสิ่งนั้นให้ชัดเจนขึ้น เช่น
“นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งยโส แมลงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี”
โคลงบทนี้มีการอุปมาหรือการเปรียบเหมือนว่า งูนั้นมีพิษมากมายมหาศาลเหมือนดวงอาทิตย์ที่มีแสงสว่างเป็นดวงพลังอันยิ่งใหญ่
ภาพพจน์อุปลักษณ์ เป็นการแสดงความเปรียบแสดงลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการกล่าวถึงอีกสิ่งหนึ่งแทน เพื่อโยงไปถึงเรื่องที่ต้องการอธิบาย เช่น

“อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า มาถนอม
สูงสุดมือมักตรอม อกไข้
เด็ดแต่ดอกพะยอม ยามยาก ชมนา
สูงก็สอยด้วยไม้ อาจเอื้อมเอาถึง”

โคลงบทนี้ใช้อุปลักษณ์ในคำว่า ดอกฟ้า เปรียบเป็นสิ่งที่อยู่สูงยากที่จะเอื้อมถึง หากคิดจะเอื้อมก็อาจจะทำได้ลำบากหรือมีอุปสรรคมากมาย และเปรียบ ดอกพะยอม เป็นสิ่งที่อยู่ในระดับต่ำ
ลงมากว่าดอกฟ้า แม้มีอุปสรรคแต่ก็น่าจะฝ่าฟันไปได้ไม่อยาก ซึ่งอาจเป็นการกล่าวถึงบางสิ่งบางอย่างที่มนุษย์ต้องการจะไขว่คว้ามาเป็นของตน เช่น ความรัก เป็นต้น

โคลงโลกนิติบทใดบ้างที่สามารถนําไปประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจําวันยกตัวอย่างมา 3 บท

๓.๒ คุณค่าด้านเนื้อหา
โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีประเภทคำกลอน เป็นโคลงสุภาษิตเพื่อสอนให้เป็นคนดีปฏิบัติตนให้ถูกต้องในสังคม เป็นโคลงที่เข้าใจแก่นแท้และธรรมชาติของมนุษย์ทั้งทางโลก และทางธรรม เช่น
การใช้ทรัพย์ สอนให้รู้จักใช้ทรัพย์อย่างถูกวิธี ให้จัดสรรปันส่วนในการใช้จ่าย เช่น

“ทรัพย์มีสี่ส่วนไซร้ ปูนปัน
ภาคหนึ่งพึงเกียดกัน เก็บไว้
สองส่วนเบ็ดเสร็จสรรพ์ การกิจ ใช้นา
ยังอีกส่วนควรให้ จ่ายเลี้ยงตัวตน”

ลักษณะของคนดี สอนให้รู้ว่าคนดีควรมีลักษณะอย่างไร เช่น

“ให้ท่านท่านจักให้ ตอบสนอง
นบท่านท่านจักปอง นอบไหว้
รักท่านท่านควรครอง ความรักเรานา
สามสิ่งนิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชน”

ความรัก-ความชัง สอนให้รู้ถึงสัจธรรมของมนุษย์ว่า เมื่อรักกันอยู่ไกลเพียงไหนก็เหมือนใกล้ แต่เมื่อเกลียดชังถึงอยู่ใกล้ก็เหมือนห่างไกล ทั้งนี่เพราะ “ใจมนุษย์” เป็นผู้กำหนด เช่น

“รักกันอยู่ฟ้า เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียวตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง”

โคลงโลกนิติบทใดบ้างที่สามารถนําไปประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจําวันยกตัวอย่างมา 3 บท

๓.๓ คุณค่าด้านสังคม
โคลงโลกนิติเป็นโคลงที่มีคุณค่าต่อสังคมมาก เพราะเปรียบเสมือนเป็นกระจกส่องให้เห็นถึงพฤติกรรมของความเป็นมนุษย์ที่มีผลต่อสังคม โคลงโลกนิติจึงเปรียบเป็นคู่มือในการใช้ครองเรือนให้มีความสุข ดำรงตนเป็นคนดีอยู่ในสังคม
อย่างถูกทำนองคลองธรรม เนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องนี้จึงมีผลอย่างมากต่อผู้อ่านที่จะทำให้เข้าใจ
ถึงความรู้สึกนึกคิด หรือสารที่ผู้แต่งต้องการสื่อออกมา อันจะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ของคนในสังคมให้ดีขึ้น
โคลงโลกนิติบทใดบ้างที่สามารถนําไปประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจําวันยกตัวอย่างมา 3 บท

๓.๔ การนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน
โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีคำสอนซึ่งแสดงให้เห็นวิธีการใช้ชีวิตให้เป็นสุข และสามารถปฏิบัติตน
ให้อยู่ในกรอบที่ดีของสังคม สาระที่ปรากฏอยู่ในโคลงผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตได้ เช่น
การใฝ่ศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าในยุคสมัยใดการเรียนถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงควรขยันหมั่นเพียร เพราะความรู้ไม่มีใครสามารถขโมยไปได้และยังสามารถใช้เลี้ยงชีพของตนได้อีกด้วย ดังโคลงบทนี้
“ความรู้ดูยิ่งล้ำ สินทรัพย์
คิดค่าควรเมืองนับ ยิ่งไซร้
เพราะเหตุจักอยู่กับ กายอาต-มานา
โจรจักเบียนบ่ได้ เร่งรู้เรียนเอา”

การเลือกคบคน การดำรงอยู่ในสังคมย่อมพบเจอกับผู้คนมากมาย ยากที่จะรู้ว่าใครดีหรือร้าย
จากการตัดสินแค่ภายนอกเท่านั้น ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาให้ถ่องแท้ก่อนจะตัดสินว่าเป็นคนเช่นไร ดังโคลงบทนี้

“ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ
ภายนอกแดงดูฉัน ชาดบ้าย
ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน
ดุจดังคนใจร้าย นอกนั้นดูงาม”

ให้รู้จักปล่อยวาง บางสิ่งบางอย่างในโลกนี้เราก็ไม่สามารถห้ามไม่ให้เกิดขึ้นได้ เช่น การนินทา
ซึ่งอยู่คู่กับสังคมตลอดเวลา หากไม่รู้จักปล่อยวางเก็บคำนินทามาคิดก็อาจทำให้ชีวิตไม่เป็นสุข ดังนั้นเมื่อห้ามไม่ได้จึงควรปล่อยให้ผ่านเลยไปเพราะการนินทานั้นเป็นธรรมดาของโลก ดังโคลงบทนี้

“ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน
ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา”

นอกจากนี้ยังมีคำสอนอื่นๆที่น่าสนใจอีก เช่น การให้รู้จักทำบุญกุศล ให้มีความกตัญญูต่อบิดามารดา
อย่าเอาเปรียบเพื่อนพ้อง การเลือกคบเพื่อน และการรู้จักการให้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่ควรปฏิบัติตาม หากสามารถเรียนรู้ที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตก็จะทำให้ได้ประโยชน์จากการอ่าน
วรรณคดีอย่างแท้จริง

โคลงโลกนิติบทใดบ้างที่สามารถนําไปประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจําวันยกตัวอย่างมา 3 บท

อ้างอิง ประพนธ์ เรืองณรงค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3)
เล่ม2 - - พิมพ์ครั้งที่1 - - กรุงเทพฯ : ประสานมิตร , 2545

โคลงโลกนิติบทใดบ้างที่สามารถนําไปประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจําวันยกตัวอย่างมา 3 บท

คุณค่าโคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมคำสอนที่มีคุณค่ายิ่งในการครองตน ให้คติข้อคิดเตือนใจ รู้บาปบุญคุณโทษ
รู้ถูกผิด มีความเข้าใจได้ง่าย เสมือนกระจกเงาที่ส่องตัวตนของมนุษย์ เพื่อปลุกปลอบใจตนเองในยามตกทุกข์ได้ยาก ให้เกิดความมานะอดทนต่อสู้ขยันขันแข็งไม่ย่อท้อ ดังนั้นโคลงโลกนิติ เป็นเรื่องสุภาษิตที่ให้คุณค่าทั้งคติธรรม
และคติโลก ควรแก่การศึกษาและนำไปประพฤติเพื่อความสงบสุขของชีวิต

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

โลกนิติ เป็นการประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ มีโคลงกระทู้บางบท มีการรักษาระเบียบแบบแผนถูกต้อง
ใช้คำที่เข้าใจง่าย มีการนำสำนวนโวหาร สุภาษิตมาเปรียบเทียบให้คิด

1. บทที่ไพเราะทั้งคำและความหมาย

.....เหมหงส์เลี้ยงชีพด้วย......สาคร
ช้างพึ่งพนาดร....................ป่าไม้
ภุมราบุษบากร.....................ครองร่าง ตนนา
นักปราชญ์เลี้ยงตัวได้..........เพื่อด้วยปัญญา

2. การใช้ภาษาที่ทำให้เกิดจินตภาพ
การใช้โวหารให้เกิดจินตภาพเป็นศิลปะการแต่งบทประพันธ์ที่นิยมกันมากมีอยูหลายบทในโคลงโลกนิติ เช่น

.....จระเข้ข้ามน่านน้ำ.............ไฉนหา ภักษ์เฮย
รถใหญ่กว่ารัถยา..................ยากแท้
เสือใหญ่กว่าวนา...................ไฉนอยู่ ได้แฮ
เรือเขื่องคับชะแลแล้..............แล่นโล้ไปไฉน

3. การใช้ภาษาที่เกินความเป็นจริง
กลวิธีนี้ทำให้เกิดความฉงนแล้ววกมาสั่งสอนให้สติเป็นศิลปะ

.....ห้ามเพลิงไว้อย่าให้............ มีควัน
ห้ามสุริยแสงจันทร์.................ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน........................คืนเล่า
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้.........................จึ่งห้ามนินทา

4. การใช้ภาษาเปรียบเทียบกับสิ่งของใกล้ตัวให้เห็นจริง
เป็นการนำสิ่งของใกล้ตัวที่พบเห็นอยู่เสมอมาใช้เป็นคติเตือนใจ จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

.....แม้นมีความรู้ดั่ง.................สัพพัญญู
ผิบ่มีคนชู..............................ห่อนขึ้น
หัวแหวนค่าเมืองตรู.................ตาโลก
ทองบ่รองรับพื้น....................ห่อนแก้วมีศรี

5. การนำธรรมชาติมากล่าวเชิงเปรียบเทียบ
เป็นศิลปะที่กวีใช้ในการแต่งคำประพันธ์กันมากและเมื่อคิตตามจะทำให้เกิดความประทับใจ
และเห็นความเป็นจริงตามไปด้วย

.....ก้านบัวบอกลึกตื้น...............ชลธาร
มารยาทส่อสันดาร....................ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน...............ควรทราบ
หย่อมหญ้าเ***่ยวแห้งเรื้อ............บอกร้ายแสลงดิน

6. การใช้คำสำนวนไทยมาเป็นกระทู้
การนำคำสำนวนพังเพยมานำหน้าโคลง เป็นศิลปะการแต่งคำประพันธ์ที่เพราะกินใจมากเช่น สอนให้คน
ไม่ประมาท ให้มีสติ

.....ช้างสาร หกศอกไซร้.............เสียงา
งูเห่า กลายเป็นปลา..................อย่าต้อง
ข้าเก่า เกิดแต่ตา......................ตนปู่ ก็ดี
เมียรัก อยู่ร่วมห้อง..................อย่าไว้วางใจ