ศูนย์ตรวจสุขภาพ วชิรพยาบาล โทร

ศูนย์ตรวจสุขภาพ วชิรพยาบาล โทร

ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด

วชิรพยาบาล
Vajira Hospital
ศูนย์ตรวจสุขภาพ วชิรพยาบาล โทร
ศูนย์ตรวจสุขภาพ วชิรพยาบาล โทร
ประเภทโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง681 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
13°46′50″N 100°30′33″E / 13.78056°N 100.50917°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′50″N 100°30′33″E / 13.78056°N 100.50917°E
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง2 มกราคม พ.ศ. 2456 (109 ปี) (ตามปฏิทินสากล)[1]
2 มกราคม พ.ศ. 2455 (ตามปฏิทินแบบเดิม)
สังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
ผู้อำนวยการผศ. นพ. พรชัย เดชานุวงษ์
จำนวนเตียง875 เตียง
บุคลากร2,695 คน [2]
เว็บไซต์www.vajira.ac.th

โรงพยาบาลวชิระ หรือ วชิรพยาบาลในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2455 (นับแบบเก่า) วชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และเป็นที่ทำการเรียนการสอนของ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ตั้งอยู่บน ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

วชิรพยาบาลเดิมเป็นบ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย สรรพการ) โดยประกอบด้วย หลังใหญ่เป็นตึก 3 ชั้น (ปัจจุบันคือ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล) และ หลังเล็กเป็นตึก 2 ชั้น ทั้ง 2 หลังเป็นตึกแบบโบราณพื้นไม้สัก บริเวณทั่วไปมีทั้งที่ราบเนินดินสูง อุโมงค์ ภูเขาจำลอง โขดหิน ต้นไม้ใหญ่น้อยประดับประดาเป็นจำนวนมาก และมีทั้งทางคดเคี้ยวไปมาแบบเดินในสวนสาธารณโบราณ สถานที่นี้ปรากฏในเอกสารบางฉบับ เรียกชื่อว่า “หิมพานต์ปาร์ค” ต่อมาได้ตกเป็นกรรมสิทธิของแบงค์สยามกัมมาจลทุนจำกัด[3]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองสมบัติ พระองค์ทรงคำนึงถึงโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะทรงสร้างพระอารามไว้เป็นเครื่องเฉลิมพระราชศรัทธาและเพื่อให้เป็นสถานที่สถิตย์แห่งภิกษุสงฆ์เป็นผู้ค้ำจุนพระบวรพุทธศาสนาให้ถาวรอยู่เพื่อประโยชน์แห่งผสกนิกร แต่เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์นั้นมีพระอารามภายในพระนครอยู่มาก ครั้นจะสร้างเพิ่มอีกก็จะเกินความจำเป็นในการทะนุบำรุงพระศาสนา ดังนั้น พระองค์ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดิน พร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้างที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้น เพื่อพระราชทานให้เป็นสาธารณสถานดังพระกระแสรับสั่งตอนหนึ่งว่า

" บัดนี้โรงพยาบาลอันนี้ ก็ได้ตกแต่งขึ้นพร้อมแล้ว เราขอให้นามว่า วชิรพยาบาล และขอมอบที่นี้ไว้เป็นสาธารณสถาน เป็นสมบัติสิทธิ์ขาดแก่ประชาชนชาวไทย ”

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 (นับแบบเก่า) โดยให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล (พัฒนาเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา) เป็นผู้ปกปักรักษา พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า "วชิรพยาบาล"

ในขั้นต้นที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการวชิรพยาบาลนั้น ตามหลักฐานปรากฏว่าผู้ที่มาเป็นแพทย์ประจำคนแรกคือ พระยาวิรัชเวชกิจ (โรเบิร์ต เอ็ดวิน คุณะดิลก) เรียกกันในเวลานั้นว่า หมอติลลิกี (Dr. Tilleke) ซึ่งขณะนั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาลสามเสน สังกัดกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ตั้งอยู่เชิงสะพานแดง (ตรงถนนสุโขทัยด้านแม่น้ำเจ้าพระยามีสะพานแดงต่อจากถนนยื่นลงแม่น้ำ) โรงพยาบาลสามเสนนี้ จากหลักฐานที่ปรากฏ ได้ช่วยเหลือวชิรพยาบาลในคราวตั้งตัวอยู่มาก ทั้งตัวแพทย์และเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ เมื่อหมอติลลิกีมาเป็นผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ได้สละเครื่องมือแพทย์ ยาต่าง ๆ ครุภัณฑ์ เครื่องแก้ว เครื่องมือตรวจเชื้อ เช่น กล้องจุลทรรศน์ เครื่องปั่นโลหิตและปัสสาวะตลอดจน เตียงตรวจ เตียงผ่าตัดและของใช้เบ็ดเตล็ด เพื่อเป็นสาธารณกุศลใช้ในวชิรพยาบาลในวันพิธีเปิดป้ายโรงพยาบาล ส่วนเตียงผู้ป่วยภายในนั้นยืมเตียงนายทหารชั้นนายพันจากกรมยกกระบัตรกระทรวงกลาโหมมาสมทบชั่วคราวจำนวน 20 - 30 เตียงเพื่อให้ทันกำหนดเปิดโรงพยาบาล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะกรรมการปกครองวชิรพยาบาล รับผิดชอบขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยเป็นองค์ประธานการวางระเบียบการโรงพยาบาลเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชดำริ[4] โดยในปี พ.ศ. 2472 ทรงวางโครงการให้วชิรพยาบาลเป็นศูนย์กลางการศึกษาของกรมสาธารณสุข และได้ทรงวางแบบแปลนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมในการขยายวชิรพยาบาล[5]

วชิรพยาบาลได้เจริญสืบมาเป็นลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2528 ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้เป็นแหล่งศึกษาชั้นคลินิกของนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ ในปี พ.ศ. 2536 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้ง วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร ขึ้นโดยให้วชิรพยาบาลเป็นแหล่งศึกษาชั้นคลินิกนักศึกษาแพทย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ โดยได้รวม "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร" และ "วชิรพยาบาล" เข้าเป็นหน่วยราชการเดียวกันในชื่อ "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล"

ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งในต่อมาได้รับพระราชทานนามมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช[7] จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดช วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล จึงเปลี่ยนสถานะเป็น "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล" โดยมีวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ศูนย์ตรวจสุขภาพ วชิรพยาบาล โทร

อาคารอำนวยการและอาคารเพชรรัตน โดยมีพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ด้านหน้า

ดูเพิ่ม[แก้]

  • คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
  • มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา. “พระบรมราชโองการ ประกาศ ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่: ราชกิจจานุเบกษา.” ราชกิจจานุเบกษา . 1 มกราคม 2484. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/31.PDF (19 มีนาคม 2560 ที่เข้าถึง).
  2. http://www.vajira.ac.th/b/images/file/pdf/annual_report/AnnualReport2018_V.1.pdf
  3. ประวัติคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
  4. https://mahidol.ac.th/temp/document/prabida/missive.pdf
  5. https://www.slideshare.net/ssriboonsong/20-51189071
  6. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
  7. พระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครเป็นมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์ทางการวชิรพยาบาล
  • วชิรเวชสาร Archived 2011-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ้างอิง[แก้]

  • หนังสือ 96 ปีวชิรพยาบาล จัดพิมพ์โดย มูลนิธิวชิรพยาบาล
  • ประวัติโรงพยาบาลวชิระ Archived 2012-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หน่วยงานในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

วัด/องค์กรศาสนา

วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร • วัดพุทธปทีป

ศูนย์ตรวจสุขภาพ วชิรพยาบาล โทร

สถาบันการศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยศิลปากร • วชิราวุธวิทยาลัย • โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย • โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย • โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย • โรงเรียนราชินี • โรงเรียนราชินีบน • โรงเรียนราชินีบูรณะ • โรงเรียนวิเชียรมาตุ • โรงเรียนสภาราชินี • โรงเรียนศรียานุสรณ์ • โรงเรียนห้องสอนศึกษา • โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา • คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล • โรงเรียนสายน้ำผึ้ง • โรงเรียนศรีอยุธยา • โรงเรียนเพชรรัชต์ • โรงเรียนเพชรรัตนราชสุดา • โรงเรียนเพชราวุธวิทยา • วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ • วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ • วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสยาม • โรงเรียนมหาวชิราวุธ

กองสาธารณสุข

วชิรพยาบาล • โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ • สภากาชาดไทย • โรงพยาบาลศิริราช

องค์กรสาธารณกุศล

สมาคมศิษย์เก่านักศึกษาวิชาทหาร • สมาคมกำลังสำรองรักษาดินแดนไทย

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คณะ

แพทยศาสตร์วชิรพยาบาล • พยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์• วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ

วิทยาลัย

พัฒนามหานคร • พัฒนาชุมชนเมือง

โรงพยาบาล

วชิรพยาบาล

หมวดหมู่ • โครงการ • สถานีย่อย

โรงพยาบาลในประเทศไทย

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์)

  • กัลยาณิวัฒนาการุณย์
  • จักรีนฤบดินทร์
  • จุฬาลงกรณ์
  • ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • นเรศวร
  • บูรพา
  • ปัญญานันทภิกขุ
  • พะเยา
  • พระมงกุฎเกล้า
  • มหาราชนครเชียงใหม่
  • แม่ฟ้าหลวง
  • รามาธิบดี
  • วชิรพยาบาล
  • วลัยลักษณ์
  • ศรีนครินทร์
  • ศิริราช
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
  • สงขลานครินทร์
  • สุทธาเวช
  • สุรนารี
  • อุบลราชธานี

ศูนย์ตรวจสุขภาพ วชิรพยาบาล โทร

โรงพยาบาลส่วนกลาง (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)

  • เมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
  • ราชวิถี
  • เลิดสิน
  • สงฆ์
  • นพรัตนราชธานี

โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

โรงพยาบาลศูนย์

  • ขอนแก่น
  • เจ้าพระยายมราช
  • เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
  • ชลบุรี
  • เชียงรายประชานุเคราะห์
  • ตรัง
  • นครปฐม
  • นครพิงค์
  • บุรีรัมย์
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พระปกเกล้า
  • พุทธชินราช พิษณุโลก
  • พุทธโสธร
  • มหาราชนครราชสีมา
  • มหาราชนครศรีธรรมราช
  • ยะลา
  • ร้อยเอ็ด
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลำปาง
  • วชิระภูเก็ต
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สรรพสิทธิประสงค์
  • สระบุรี
  • สวรรค์ประชารักษ์
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • หาดใหญ่
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์

โรงพยาบาลทั่วไป

  • กระบี่
  • ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
  • กาฬสินธุ์
  • กันทรลักษ์
  • กำแพงเพชร
  • เกาะสมุย
  • ชัยนาทนเรนทร
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพรเขตรอุดมศักด์
  • ชุมแพ
  • เชียงคำ
  • ดำเนินสะดวก
  • ตราด
  • ตะกั่วป่า
  • เทพรัตน์นครราชสีมา
  • นครนายก
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นราธิวาสราชนครินทร์
  • น่าน
  • บางบัวทอง
  • บางใหญ่
  • บ้านโป่ง
  • บ้านหมี่
  • เบตง
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปัตตานี
  • ปักธงชัย
  • ปากช่องนานา
  • พระจอมเกล้า
  • พระนั่งเกล้า
  • พระนารายณ์มหาราช
  • พระพุทธบาท
  • พหลพลพยุหเสนา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • เพชรบูรณ์
  • แพร่
  • โพธาราม
  • ภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ
  • มหาสารคาม
  • มะการักษ์
  • มุกดาหาร
  • แม่สอด
  • ยโสธร
  • ระนอง
  • ลำพูน
  • เลย
  • วารรินชำราบ
  • ศรีสังวรสุโขทัย
  • ศรีสังวาลย์
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
  • สมเด็จพระยุพราชสระแก้ว
  • สมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
  • สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสาคร
  • สิงห์บุรี
  • สิรินธร
  • สุโขทัย
  • สุไหงโก-ลก
  • เสนา
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • หัวหิน
  • อ่างทอง
  • อำนาจเจริญ
  • อินทร์บุรี
  • อุทัยธานี

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

  • กระนวน
  • กุฉินารายณ์
  • จอมบึง
  • ฉวาง
  • เชียงของ
  • ด่านซ้าย
  • เดชอุดม
  • เด่นชัย
  • ตะพานหิน
  • ท่าบ่อ
  • ธาตุพนม
  • นครไทย
  • บ้านดุง
  • ปัว
  • ยะหา
  • เลิงนกทา
  • เวียงสระ
  • สระแก้ว
  • สว่างแดนดิน
  • สายบุรี
  • หล่มเก่า

โรงพยาบาลชุมชน

รายชื่อโรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทย

โรงพยาบาลเฉพาะทาง

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

  • ทันตกรรม
  • ธัญญารักษ์
  • ประสาท เชียงใหม่
  • ประสาทวิทยา
  • โรคทรวงอก
  • โรคผิวหนัง
    • โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้
  • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
  • ศูนย์สิรินธรฯ
  • ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด
    • เชียงใหม่
    • ขอนแก่น
    • ปัตตานี
    • แม่ฮ่องสอน
    • อุดรธานี
  • ศูนย์มะเร็ง
    • ชลบุรี
    • ลพบุรี
    • ลำปาง
    • สุราษฎร์ธานี
    • อุดรธานี
    • อุบลราชธานี
  • ศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี
  • ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ
  • สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

บำราศนราดูร

  • ราชประชาสมาสัย

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  • กัลยาณ์ราชนครินทร์
  • จิตเวชขอนแก่น
  • จิตเวชนครพนม
  • จิตเวชนครราชสีมา
  • จิตเวชนครสวรรค์
  • จิตเวชเลย
  • จิตเวชสงขลา
  • จิตเวชสระแก้ว
  • พระศรีมหาโพธิ์
  • ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
  • ราชนครินทร์
  • ราชานุกูล
  • ศรีธัญญา
  • สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
  • สมเด็จเจ้าพระยา
  • สวนปรุง
  • สวนสราญรมย์
  • อื่น ๆ

    • จุฬาภรณ์
    • ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม

    กรมแพทย์ทหารบก

    • ค่ายกฤษณ์สีวะรา
    • ค่ายกาวิละ
    • ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช
    • ค่ายเขตอุดมศักดิ์
    • ค่ายจักรพงษ์
    • ค่ายจิรประวัติ
    • ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร
    • ค่ายธนะรัชต์
    • ค่ายนวมินทราชินี
    • ค่ายประจักษ์ศิลปาคม
    • ค่ายพระยอดเมืองขวาง
    • ค่ายพ่อขุนผาเมือง
    • ค่ายพิชัยดาบหัก
    • ค่ายภาณุรังสี
    • ค่ายเม็งรายมหาราช
    • ค่ายรามราชนิเวศน์
    • ค่ายวชิรปราการ
    • ค่ายวชิราวุธ
    • ค่ายวิภาวดีรังสิต
    • ค่ายวีรวัฒนโยธิน
    • ค่ายศรีพัชรินทร
    • ค่ายศรีสองรัก
    • ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
    • ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    • ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    • ค่ายสรรพสิทธิประสงค์
    • ค่ายสุรนารี
    • ค่ายสุรศักดิ์มนตรี
    • ค่ายสุรสิงหนาท
    • ค่ายสุรสีห์
    • ค่ายสุริยพงษ์
    • ค่ายเสนาณรงค์
    • ค่ายอดิศร
    • ค่ายอิงคยุทธบริหาร
    • ทหารผ่านศึก
    • พระมงกุฎเกล้า
    • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
    • อานันทมหิดล

    กรมแพทย์ทหารเรือ

    • กรมสรรพาวุธทหารเรือ
    • ฐานทัพเรือพังงา
    • ฐานทัพเรือสงขลา
    • ทหารเรือกรุงเทพ
    • โรงเรียนนายเรือ
    • ป้อมพระจุลจอมเกล้า
    • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
    • สมเด็จพระปิ่นเกล้า
    • อาภากรเกียรติวงศ์

    กรมแพทย์ทหารอากาศ

    • กองบิน 1
    • กองบิน 2
    • กองบิน 4
    • กองบิน 5
    • กองบิน 7
    • กองบิน 21
    • กองบิน 23
    • กองบิน 41
    • กองบิน 46
    • กองบิน 56
    • จันทรุเบกษา
    • ภูมิพลอดุลยเดช

    โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ

    สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

    • กลาง
    • เจริญกรุงประชารักษ์
    • ตากสิน
    • ราชพิพัฒน์
    • ลาดกระบัง
    • เวชการุณย์รัศมิ์
    • สิรินธร
    • หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
    • บางขุนเทียน

    โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

    • ตำรวจ
    • ดารารัศมี
    • นวุติสมเด็จย่า
    • ยะลาสิริรัตนรักษ์

    โรงพยาบาลสภากาชาดไทย

    • จุฬาลงกรณ์
    • สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

    อื่น ๆ

    • บุรฉัตรไชยากร (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
    • การท่าเรือแห่งประเทศไทย (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)
    • การไฟฟ้านครหลวง (การไฟฟ้านครหลวง)
    • โรงงานยาสูบ (กระทรวงการคลัง)
    • ราชทัณฑ์ (กระทรวงยุติธรรม)

    โรงพยาบาลเอกชน

    รายชื่อโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย