พฤติกรรมสุขภาพของผู้ สูงอายุ

การสะสมหรือก่อตัวของโรคเรื้องรังต่างๆ ตัวอย่างเช่น โรคความดันโลหิตสูงที่มักเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอันตรายต่างๆ ที่เกิดจากการไม่ควบคุมดูแลระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจนเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงขึ้นมาซึ่งการสะสมอาการของโรคนั้นไม่ใช่จะเกิดขึ้นภายในเวลาอันสั้นแต่ต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี หากมีการดูแลสุขภาพในช่วงวัยทำงานจะทำให้ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพจะเกิดขึ้นน้อยเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุก็จะไม่มีหรือได้รับผลกระทบจากโรคเรื้อรังน้อยลง

โรคที่พบในผู้สูงอายุไทย โรคผู้สูงอายุที่เป็นกันมากและพบได้บ่อยเนื่องจากปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในวัยทำงานที่สะสมต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดโรคเรื้อรังขึ้นมาเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง ฯลฯ ผลกระทบต่อร่างกายของผู้สูงอายุจากปัญหาสุขภาพในวัยสูงอายุจะทำให้คุณภาพชีวิตด้อยลง ป่วยเป็นอัมพาต พิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงหากขาดการดูแลสุขภาพที่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเกิดโรคต่างๆ ตามมานอกจากจะทำให้เสียสุขภาพและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาแล้วเนื่องจากโรคเหล่านี้มักเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายสิ่งที่ทำได้ก็เพียงประคับประคองไมให้อาการของโรคเรื้อรังหนักมากขึ้นคือต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคเรื้อรังไปจนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายซึ่งผู้สูงอายุบางคนที่ปรับตัวไม่ได้ก็เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้

การป้องกันโรคในผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วหากจะพูดว่าเป็นแก้ปัญหาที่ปลายเหตุก็ได้เพราะหากในวัยทำงานได้สร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้ติดตัวเป็นนิสัยพอก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุก็จะมีสุขภาพที่ดีไปตามวัยคือเป็นแค่โรคชราที่เกิดจากอายุที่ล่วงเลยไปตามวัยไม่มีโรคเรื้อรังเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วและมีโรคเรื้อรังเกิดขึ้นจึงต้องมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเพื่อประคับประคองสุขภาพอย่าให้แย่ลงกว่าที่เป็นอยู่ นอกจากนี้ยังต้องมีการส่งเสริมสุขภาพวัยผู้สูงอายุก็ด้วยจุดประสงค์เดียวกันนั่นเอง

การปรับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อประคองอาการและลดความรุนแรงของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่แล้วและเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ เรื่องพฤติกรรมการกินอาหารเป็นสิ่งสำคัญอับดับต้นๆ เนื่องจากการกินอาหารที่เหมาะสม ถูกต้องครบห้าหมู่และได้สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไข พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องที่ทำต่อเนื่องมาเป็นเวลานานต้องได้รับการแก้ไขหากต้องการเป็นผู้สูงอายุไทยที่มีสุขภาพดี ถัดจากเรื่องอาหารการกินก็เป็นการปรับพฤติกรรมเรื่องการออกกำลังกายและการพักผ่อน พฤติกรรมผู้สูงอายุที่ปฏิบัติกันมานานมักทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่แย่แทนที่จะเป็นการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นหรือป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกลับจะทำให้สุขภาพแย่ลง นอกจากการกินอาหารที่เหมาะสมได้สัดส่วนแล้วการจัดเวลาสำหรับออกกำลังกายและการพักผ่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน พฤติกรรมผู้สูงอายุส่วนมากจะกินแล้วไม่ค่อยออกกำลังกายทำให้น้ำหนักเกินและเกิดโรคอ้วนลงพุงซึ่งเกิดกับผู้สูงอายุไทยจำนวนมากและเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา ดังนั้นผู้สูงอายุควรกำหนดเวลาสำหรับออกกำลังกายและพักผ่อนในแต่ละวันเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุเอง

วัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ทำให้ผู้สูงอายุต้องพบกับปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรัง จิตใจหดหู่ ภาวะซึมเศร้า ฯลฯ แต่หากผู้สูงอายุยอมรับความเปลี่ยนแปลงและพยายามปรับตัวจะทำให้ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุลดลงและส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุน้อยลงซึ่งการปรับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุจะเป็นการลดผลกระทบและช่วยป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพในเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่เพียงพอและทำอารมณ์ให้แจ่มใสไม่เครียดก็จะช่วยลดปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทยให้น้อยลงได้

พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ หมายถึง การกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ปฏิบัติแล้วส่งผลดีต่อสุขภาพของบุคคลนั้นๆเอง (ร่างกาย จิตใจ และสังคม)

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านการบริโภคอาหาร  ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม และด้านการดูแลตนเองในภาวะเจ็บป่วย

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 65 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พร้อมด้วย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ (The Active) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ (มส.ผส.) ร่วมกันจัดเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น หลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ระเบียบวาระของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565 โดยมี นพ.สมชาย พีระปกรณ์ เป็นประธานการพิจารณา

สำหรับเวทีสมัชชาสุขภาพในครั้งนี้ ภาคีสมาชิกสมัชชาสุขภาพได้เห็นพ้องร่วมกันว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นและมีความพร้อมที่จะจัดให้มีระบบหลักประกันรายได้ฯ ที่คนในสังคมทุกช่วงวัย ทุกสาขาอาชีพจากทุกภาคส่วน ร่วมเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และควรมีนโยบายสาธารณะเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันดำเนินการและขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม และเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจนต่อไป

พฤติกรรมสุขภาพของผู้ สูงอายุ

ทั้งนี้ จึงมีฉันทมติเห็นชอบต่อกรอบทิศทางนโยบาย (Policy Statement) ภายใต้ 5 องค์ประกอบหลักที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน ได้แก่ 1. การพัฒนาผลิตภาพประชากร การมีงานทำ และมีรายได้จากการทำงานที่เหมาะสมตลอดช่วงวัย 2. เงินอุดหนุนที่เพียงพอต่อการดำรงชีพที่ผู้สูงอายุทุกคนควรได้รับ และบริการสังคมที่จำเป็นจากรัฐ 3. การออมระยะยาวเพื่อยามชราภาพที่เชื่อมโยงทั้งการออมของปัจเจกบุคคลและการออมรวมหมู่ ที่ครอบคลุม เพียงพอ และยั่งยืน รวมถึงการบริหารจัดการการเงินทั้งระดับบุคคลและครอบครัว 4. การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ ในทุกกองทุนให้มีการเน้นการคัดกรองความเสี่ยงและป้องกันภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุ ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องการรักษา เช่น มะเร็ง การสำลัก วัคซีน ภาวะสมองเสื่อม การหกล้ม และการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์ที่ยังไม่ครอบคลุม เช่น ผ้าอ้อม วัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ รวมถึงการบริการสุขภาพระยะยาว (Long-term care) 5. การดูแล การจัดสรรทรัพยากรร่วม และการบริหารจัดการ โดยครอบครัว ผู้ดูแลผู้สูงวัย ชุมชน และท้องถิ่น

ขณะเดียวกันยังเสนอให้มีการกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ที่มีหน่วยงานรับผิดชอบ และเอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อให้เป็นนโยบายสาธารณะที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเห็นผลรูปธรรม โดยมีกลไกระดับชาติทำหน้าที่บูรณาการระบบย่อยและขับเคลื่อนระบบใหญ่ เชื่อมโยงกับกลไกระดับพื้นที่เพื่อการจัดสรรและบริหารจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างความเป็นธรรม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยสูงอายุของประชาชนทุกคน

พฤติกรรมสุขภาพของผู้ สูงอายุ

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า เป็นที่ทราบดีว่าประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ ที่มีประชากรผู้สูงวัยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งจะตามมาด้วยภาระค่าใช้จ่ายที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นการสร้างระบบหลักประกันรายได้เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ถูกนำมาพิจารณาและได้รับฉันทมติร่วมกันในครั้งนี้ ก่อนที่จะมีการรับรองและสร้างพันธะสัญญาในการขับเคลื่อนร่วมกันอีกครั้ง ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 ธ.ค. 2565

"เรากำลังเผชิญสถานการณ์หลังโควิด-19 ที่ซ้ำเติมด้วยวิกฤติเศรษฐกิจ สร้างปัญหาด้านปากท้อง การอยู่การกิน ที่เชื่อมโยงกับมิติสุขภาพอย่างองค์รวม ในบริบทความท้าทายของสังคมผู้สูงอายุ ที่คาดว่าจะมีจำนวนผู้สูงวัยเพิ่มปีละประมาณ 1 ล้านคน ต่อเนื่องไปอีก 20 ปี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องร่วมมือกัน วางแผนชีวิต และออกแบบระบบเพื่อเตรียมพร้อม เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องของผู้สูงวัยเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นถัดไป ที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกันกำหนดภาพอนาคตอันพึงประสงค์นี้ไปด้วยกัน" นพ.ประทีป กล่าว

พฤติกรรมสุขภาพของผู้ สูงอายุ

ขณะที่ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาเคยมีการพูดถึงประเด็นการสร้างความมั่นคงทางรายได้ หรือพูดอย่างง่ายคือการมีระบบบำนาญให้กับคนไทย แต่คำถามคือระบบที่จะเกิดขึ้นนี้ควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องรายได้ของประชาชนเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีในส่วนรายจ่ายของประเทศด้วยที่จะต้องพิจารณา

"ขั้นตอนสำคัญหลังเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติแล้ว ข้อเสนอนี้ก็จะถูกส่งเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนต่อ แต่อีกส่วนที่เราจะทำคือการชวนสังคมมาช่วยกันทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นด้วย เพราะเราไม่ได้ต้องการที่จะสื่อสารเรื่องถึงนักการเมือง หรือผู้มีอำนาจเท่านั้น แต่ยังต้องการพูดกับสังคมโดยรวมให้รับรู้และเข้าใจถึงเรื่องนี้ ทั้งในส่วนของการวางระบบและการปรับพฤติกรรมการออมต่างๆ" นพ.สมศักดิ์ กล่าว

ด้าน นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท คณะทำงานพัฒนาประเด็นฯ กล่าวว่า จะเห็นได้ว่ากรอบทิศทางนโยบายที่สมาชิกสมัชชาสุขภาพร่วมกันมีฉันทมติในครั้งนี้ ประกอบด้วยเสาหลัก 5 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในมุมของการสร้างผลิตภาพผู้สูงวัย ที่ไม่ได้หมายความเฉพาะงานที่สร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างคุณค่าให้กับสังคมที่มองได้ในหลายแง่มุม การเอื้อให้เกิดการออมระยะยาวที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน เงินอุดหนุนและสวัสดิการอื่นๆ ที่ช่วยลดรายจ่ายของคน ระบบหลักประกันสุขภาพ รวมไปถึงการดูแลผู้สูงอายุโดยสังคม เป็นต้น

พฤติกรรมสุขภาพของผู้ สูงอายุ

"สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนวิธีคิดของผู้คน ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเฉพาะผู้สูงอายุ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทุกวัย ส่วนหลักประกันก็ไม่ใช่เพียงบำนาญหรือตัวเงินเท่านั้น แต่คือทั้ง 5 เสาหลัก และเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของทุกคน ดังนั้นเป้าหมายหนึ่งของมติสมัชชาสุขภาพ คือเราจะประกาศนโยบายนี้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อที่ทุกคนจะมาร่วมกันรับรู้และร่วมกันทำให้เกิดขึ้น" นพ.วิรุฬ กล่าว.

การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างไร

ผู้สูงอายุมักมีปัญหาคุณภาพการนอนที่ลดน้อยลง อาจหลับยากขึ้น ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก และตื่นมาไม่สดชื่น โดยมีสาเหตุจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามวัย รวมถึงอาจมีสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล อาการปวดต่างๆ กรดไหลย้อน ปัญหาการหายใจหรือโรคนอนกรน ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ผลข้างเคียงจากยา

พฤติกรรมด้านสุขภาพมีอะไรบ้าง

การกระท าหรือการปฏิบัติของบุคคลตามแบบแผนของพฤติกรรมสุขภาพเช่นนี้จะจัดว่า เป็นทักษะชีวิต (Life skill) ของบุคคลนั้นๆ นั่นเอง เช่น การล้างมือฟอกสบู่หลังกินอาหารและหลัง การขับถ่าย การออกก าลังกายหลังเลิกงาน การรับประทานปรุงสุกทุกมื้อ การรัดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ที่ขับรถ การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

พฤติกรรมที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง

1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง.
มีระเบียบวินัย.
มีความรับผิดชอบ.
มีสุขภาพดี.
มีความซื่อสัตย์.
รู้จักประหยัด.
มีความขยันอดทน.
ใฝ่เรียนใฝ่รู้.
มีนิสัยรักการอ่าน.

พฤติกรรมสุขภาพมีความสําคัญอย่างไร

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมสุขภาพมีความส าคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงาน ทุก องค์กรของประเทศและมีผลต่อการพัฒนาประเทศให้มั่นคง ดังนั้น ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมสุขภาพที่ เหมาะสมและถูกต้อง จะส่งผลให้บุคคลนั้นมีสุขภาพดี เมื่อบุคคลมีสุขภาพดีจะส่งผลให้ครอบครัว ชุมชนและสังคมมีสุขภาพดีไปด้วย