ให้ นักเรียน ยก ตัวอย่าง ผล ของอารมณ์และ ความเครียด ต่อสุขภาพ มา อย่าง น้อย 5 ตัวอย่าง

ให้ นักเรียน ยก ตัวอย่าง ผล ของอารมณ์และ ความเครียด ต่อสุขภาพ มา อย่าง น้อย 5 ตัวอย่าง

ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ไม่สบายใจ วิตกกังวล รู้สึกกดดัน ซึ่งเมื่อต้องตกอยู่ในสภาวะแบบนี้ไปนานๆ อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้ ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกายในเรื่องใดบ้าง เรามีคำตอบมาบอกค่ะ

ผลของความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย โดยจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ

  • ทางด้านจิตใจและอารมณ์ ความเครียดอาจทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถจัดการกับชีวิตตนเองทำให้ขาดสมาธิ วิตกกังวล โมโหง่าย จิตใจขุ่นมั่ว ในบางรายที่ต้องเผชิญกับภาวะเครียดเป็นเวลานาน ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น จะทำให้เซลล์ประสาทฝ่อและลดจำนวนลง และยังมีผลต่อการทำงานของระบบสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และพฤติกรรมโดยเฉพาะสารสื่อประสาท จึงทำให้เกิดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลกว่าเวลาปกติ
  • ทางด้านร่างกาย ความเครียดที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เป็นลม หน้ามืด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน และเมื่อต้องตกอยู่ในภาวะความเครียดนี้เป็นเวลานาน จะทำให้สุขภาพเลวลงเนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆภายใน การเกิดอาการทางกายนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตั้งแต่ปวดหลัง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ในบางรายหากเกิดความเครียดที่รุนแรงมากๆ อาจส่งผลต่อชีวิตได้เนื่องจากการทำงานที่ล้มเหลวของร่างกาย
  • ทางด้านพฤติกรรม นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายแล้ว ยังส่งผลทำให้พฤติกรรมการแสดงออกนั้นเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น เบื่ออาหาร มีอาการไม่หลับหรือหลับยาก ปลีกตัวออกจากสังคม การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีบางอย่างในสมองมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ทำร้ายผู้อื่น หรือทำร้ายตนเอง

ทั้งนี้หากเริ่มรู้สึกว่าความเครียดส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ควรเข้าพบและปรึกษาจิตแพทย์สำหรับแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสมถูกต้องต่อไปค่ะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777 

ให้คะแนนบทความนี้

[คะแนนบทความนี้: 2]

.

สาเหตุของความเครียด

ความเครียดเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยใหญ่ๆ นั่นคือ

  • ปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องงาน การหย่าร้าง ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ การย้ายบ้าน เป็นต้น
  • ปัจจัยภายใน โดยที่บางคนมีนิสัยคิดมาก ชอบวิตกกังวลในเรื่องเล็กน้อย หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุลทำให้เกิดอารมณ์เครียดและเศร้าง่าย

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความเครียด

เกิดได้ทั้งจากกรรมพันธุ์ที่ทำให้ระบบประสาทเกิดความเครียดง่ายหรือพ่อแม่มีนิสัยเครียด กังวลง่าย ลูกก็เรียนรู้นิสัยจากพ่อแม่ รวมถึงคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เครียด เช่น ทำงานที่กดดัน มีปัญหาในครอบครัว

อายุที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียดได้ง่าย คือช่วงที่เป็นรอยต่อ จากเด็กไปสู่วัยรุ่น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน มีการปรับตัวในสังคม และในช่วงของวัยใกล้หมดประจำเดือน (menopause) ของผู้หญิง รวมถึงผู้ชายวัยทองที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นกัน ถึงแม้อาการน้อยกว่าผู้หญิง แต่ก็ทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด วิตกกังวลและโกรธง่ายเช่นกัน

ประเภทของความเครียด

ความเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  • Acute stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีจากความกดดันในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น เส้นตายในการทำงาน การเผชิญหน้ากับความท้าทายหรือเหตุการณ์ที่ทำให้สะเทือนใจ เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
  • Episodic acute stress คือ เกิดจากการประสบกับความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีหลายครั้งติดต่อกัน เช่น เริ่มจากมีปัญหาสุขภาพ หลังจากนั้นตกงาน ตามมาด้วยการหย่าร้าง เป็นต้น หรือบางคนชอบเครียดและวิตกกังวลจนรีบเร่งและใจร้อนในทุกเรื่อง ทำให้เกิดความเครียดบ่อยๆ
  • Chronic stress คือ ความวิตกกังวลและความกดดันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเหมือนไม่มีวันสิ้นสุดจนสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ความเครียดเช่นนี้มีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อาการ

นอกจากความรู้สึกที่บ่งบอกว่าเครียดแล้ว เมื่อรู้สึกเครียดมากยังทำให้เกิดอาการอื่นๆได้ เช่น

  • ปวดหัว ปวดตามร่างกาย
  • ลำไส้ทำงานปั่นป่วน มีปัญหาการย่อยอาหาร ท้องเสีย
  • ใจสั่นง่าย เหงื่อออก
  • อ่อนล้า ไม่อยากทำอะไร
  • ความดันโลหิตสูง
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • โรคหัวใจ
  • โกรธ หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย
  • ไม่มีสมาธิ
  • รู้สึกซึมเศร้า
  • รู้สึกวิตกกังวล

คุณควรปรึกษาแพทย์เมื่อใด

หากคุณรู้สึกว่าคุณเครียดและวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ควบคุมความรู้สึกเหล่านี้ไม่ได้หรือมีความเครียดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจนไม่มีความสุข และมีอาการที่มีผลกระทบด้านลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น นอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง มีอาการทางกายต่างๆที่มาจากความเครียด

การวินิจฉัยและการรักษาความเครียด

แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการพูดคุย สอบถามอาการเพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมและสถานการณ์ที่เป็นสาเหตุของความเครียด และช่วยคุณปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อให้คุณเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

การป้องกันความเครียด

มีวิธีการมากมายที่ช่วยลดความเครียดและจัดการกับความเครียด นอกจากปฎิบัติตามหลักสุขศึกษา คือ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังและนอนหลับให้เพียงพอแล้ว ยังมีวิธีการอื่นๆเช่น

  • ทำกิจกรรมที่ทำให้คุณรู้สึกสนุกเพลิดเพลินและผ่อนคลาย
  • ระบายอารมณ์ออกมาบ้าง เช่น พูดคุยถึงความรู้สึกกับเพื่อนหรือคนใกล้ชิด
  • ฝึกการผ่อนคลาย เช่น การฝึกหายใจ การทำสมาธิ การฝึกจินตภาพเพื่อเอาชนะความเครียด ความวิตกกังวล
  • เปลี่ยนแปลงทัศนคติ เช่น มองความท้าทายว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้และเติบโต หรือใช้หลักการทางศาสนาเข้าช่วยเพื่อให้มีสติและมีความสงบสุขในจิตใจ

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.42 of 10, จากจำนวนคนโหวต 48 คน

หากรู้สึกว่าตัวเองเครียด และวิตกกังวลเกินกว่าเหตุเป็นเวลานาน ควรรีบปรึกษาแพทย์

โรควิตกกังวลภาวะเครียด

อ่านเพิ่มเติม

โรควิตกกังวล เป็นโรคทางจิตใจอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวล มักจะมีอาการแสดงเช่น เครียด รู้สึกไม่สบายใจ

โรควิตกกังวลภาวะเครียด

อ่านเพิ่มเติม